เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 minute
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ทีเป็นปัญหาและอุปสรรค ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงที่ผ่านมาโดยตลอด ปัญหาที่เป็นอันดับต้นๆ ย่อมหนีไม่พ้น การเกิดเสียง ไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างแน่นอน… บทความนี้จึงภูมิใจนำเสนอ ลดการเกิดเสียง ไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างง่าย… ด้วย 5 เทคนิคนี้
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อน…ว่าทำไม ถึงเกิดเสียงไมค์หวีดหอน…!!
ไมค์หอนนั้นเกิดได้จากปัจจัย..หลายๆ กรณีด้วยกัน แต่หลักๆ นั้นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดนั่น คือการป้อนสัญญาณเสียง หรือเสียงที่เราพูดผ่านไมโครโฟน จากแหล่งต้นเสียง (Source) จนกระทั่งสัญญาณเดินทางผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อออกสู่ลำโพง หากแม้สัญญาณที่ได้นั้น ออกสู่ผู้ฟัง ตามกระบวนการที่น่าจะเป็น ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ หากแต่สัญญาณที่ได้เกิดอาการวนซ้ำ กลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง ผลลัพธ์ที่จะได้รับกลับมา นั่นคือ การเกิดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นเอง
ทีนี้เรามาดู 5 เทคนิด สุดเจ๋ง…ที่จะช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นคือ
1. การตั้งค่าเกน (Gain) อินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ให้ได้ระดับสัญญาณที่เหมาะสม ที่สุด…
การปรับเกน (Gain) บนมิกเซอร์ เป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง หรือผู้ที่สนใจด้านระบบเสียง ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจของ ระดับสัญญาณให้ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้งานให้ได้ดีที่สุด ในบางครั้งการเพิ่มเกน (Gain) อินพุท (Input) ในระดับสัญญาณที่มาก ยิ่งได้รายละเอียดของเสียงที่ดียิ่งขึ้น แต่อาจได้มา ซึ่งสัญญาณรบกวนรอบข้างเข้ามาได้ง่าย และจำนวนมากอีกด้วย นั่นเป็นสาเหตุอันดับแรก…ที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอนได้ง่าย
เพราะฉะนั้นการปรับเกน (Gain) หรือขยายสัญญาณของอินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ควรปรับให้อยู่ในระดับ ความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมอย่างที่สุด…เป็นวิธีแรกที่ช่วยให้เราป้องกันเสียง ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังได้เกนอินพุท (Gain Input) ขาเข้าของสัญญาณได้อย่างเหมาะสม และยังได้เนื้อเสียงทีดี และมีคุณภาพอีกต่างหาก…
2. การเลือกใช้ชนิดของไมโครโฟนให้ถูกต้องและเหมาะกับสมกับลักษณะของงาน
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจและศึกษาเบื้องต้นกันเสียก่อน…ว่าไมโครโฟนที่เราจะนำมาใช้งานนั้น มีลักษณะรูปแบบการรับเสียงในแบบใด ซึ่งเราเรียกรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนนี้ว่า “แพทเทิล” (Pattern) โดยแต่ละรูปแบบ ก็จะมีพื้นฐานการรับเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเราต้องคำนึงถึงรูปแบบการรับเสียงเป็นสำคัญ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานให้ถูกวัตถุประสงค์และถูกต้อง ให้มากที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น การนำไมโครโฟนทีมีรูปแบบการรับเสียงในแบบ “ออมนิไดเร็คนั่นแนล” (Omnidirectional) มาใช้งานบนเวที ซึ่งรูปแบบการรับเสียงไมโครโฟนชนิดนี้ นั้นสามารถรับเสียงได้ ในแบบรอบทิศทาง ซึ่งแน่นอนว่าบนเวที มีทั้งเสียงลำโพง และเสียงเครื่องดนตรีอย่างมากมาย และปัญหาที่จะตามมา นั่นคือ เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงจากลำโพงเข้าสู่ ไมโครโฟนได้โดยง่าย ปัญหาที่ตามนั้น…ก็คงจะหนีไม่พ้น ปัญหาการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) …นั่นเอง (คลิก ดูไมโครโฟน)
หากเราเลือกใช้ไมโครโฟนให้ถูกต้องกับลักษณะงาน ก็จะช่วย ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้ในระดับนึงแล้วครับ
3. พฤติกรรมการใช้งานไมโครโฟนของ…ผู้ใช้งาน
ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง ย่อมจะต้องทำความเข้าใจ แนวทางที่จะก่อให้เกิดปัญหาเสียงไมค์หวีดหอนอย่างถ่องแท้…เสียก่อน และทำความเข้าใจกับผู้ที่ใช้งานจริง บนเวทีด้วย เช่น พิธีกรในงาน ศิลปิน หรือ Mc ประชาสัมพันธ์ ตามงานและพิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง ในรูปแบบ และเทคนิคการใช้งานต่างๆ เช่น…
การพูดให้ใกล้ไมโครโฟนที่สุด เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะได้ความชัดเจนของเสียงยิ่งขึ้น เพราะการพูดห่างไมโครโฟนมากเกินไป อาจทำให้ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงต้องเร่งเกน ของสัญญาณอินพุทของไมโครโฟนเพิ่มมากขึ้น นั่นอาจทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback)ได้โดยง่าย
พฤติกรรมที่ชอบกำหัวไมค์ในขณะ พูด หรือร้องเพลงของผู้ใช้งาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback) ได้ง่าย เพราะการกำหัวไมค์ขณะใช้งาน ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดการผิดเพี้ยนของวงจรการรับเสียงของตัวไมโครโฟนเอง ที่ผิดพลาด และผิดแปลกไป ทำให้เกิดการวนของสัญญาณภายในตัวของไมโครโฟน..นั่นเอง
4. การออกแบบระบบและจัดวางลำโพงที่ถูกต้อง
แน่นอนว่า..หากการออกแบบระบบเสียง หรือการจัดตั้งลำโพงผิดพลาด หรือการเลือกใช้งานลำโพงที่ผิดประเภท ตั้งแต่แรก ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ของห้อง หรือ พื้นที่ ในการใช้งาน เช่น การออกแบบและจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ให้อยู่ด้านหลังของจุดตั้งวางใช้งานไมโครโฟน ย่อมก่อให้เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟนได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นการจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ผู้ออกแบบต้องจัดวางลำโพงให้เยื้องและจัดวางให้ล้ำ มาด้านหน้าเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่ออกมาจากด้านหน้าของตัวตู้ลำโพง วนซ้ำกลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง
5. การใช้เครื่องมือและ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)
สำหรับวิธีสุดท้าย…ที่จะช่วย แก้ไมค์หวีดหอน นั่นคือ การใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ เข้ามาใช้งานภายในระบบของเรา เช่น อุปกรณ์จำพวก อีควอไลเซอร์ (Equalizer) , คอมเพรสเซอร์ (Compressor) , แอนตี้ ฟี๊ดแบค (Anti Feedback) หรือ อุปกรณ์จำพวก Filter ต่างๆ (หรือกรองคลื่นความถี่) ซึ่งอุปกรณ์จำพวกนี้ในยุคปัจจุบัน มีออกมาให้เลือกใช้งานกัน อย่างแพร่หลาย…วิธีการใช้งานก็ขึ้นอยู่ กับความสามารถ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานของแต่ละท่าน เช่น
– การใช้อีควอไลเซอร์ (Equalizer) เพื่อบูธ หรือ เพิ่มเพื่อหาย่านความถี่เสียงที่ทำให้เกิดเสียงหอน และลด หรือคัท เสียงในย่านความถี่นั้นลง เพื่อลดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) การใช้งานในลักษณะนี้ผู้ใช้งานต้องมีประสบการณ์ในการฟังเสียงและการปรับแต่ง…เป็นอย่างมาก
– การใช้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อกดระดับสัญญาณของเสียง เพื่อให้ได้ระดับสัญญาณของเสียง ตามที่เราต้องการ เพื่อลดปัญหาการเกิดการพีค (Peak) ของสัญญาณเสียง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)
– การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “แอนตี้ ฟี๊ดแบค” (Anti feedback) โดยการให้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ หาย่านความถี่ของเสียงที่ทำให้เสียงไมค์หวีดหอนโดยอัตโนมัติ และทำการคัท หรือลดเสียงย่านนั้นลงอัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้งานง่ายและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
และนี่คือ 5 เทคนิคสุดเจ๋ง…ช่วย ลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างง่าย…ที่ไม่ว่าใครๆ ก็สามารถนำไปเป็นเทคนิค และ แนวทางในการทำงานได้อย่างถูกต้อง ก็หวังว่าจะ แก้ไมค์หวีดหอน กันได้บ้างนะครับ แล้วพบกับบทความดีๆ พร้อมสาระที่เป็นประโยชน์อีกครั้ง ในโอกาสต่อไป เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์แก่ท่านบ้าง ..ไม่มากก็น้อย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)
Facebook : SoundDD.Shop
Website: www.sounddd.shop
Tel: 02 435 8998 | 085 396 8888
เขียนบทความ…SoundDD.Shop
โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด
บทความ สาระความรู้
Reverb คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน
ในบทความนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ดำดิ่งสู้โลกแห่ง Reverb ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกดิ!
Halo 100 ลำโพงปาร์ตี้แบบพกพา พร้อมเอฟเฟกต์ไฟสวยงาม จาก Tronsmart
ลำโพงปาร์ตี้ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ เวลานี้ ด้วยพลังเสียงที่เกินตัว นอกจากนี้คุณภาพเสียงก็ทำออกได้ดีไม่แพ้กัน ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมีในเฉพาะในลำโพง Tronsmart เท่านั้น
ทำไมวงไอดอล YAMI YAMI ถึงเลือกใช้ SU-990D/HT
ประกาศการให้ความร่วมมือระหว่างแบรนด์ SOUNDVISION กับค่ายเพลงไอดอล Catsolute ที่มีคอนเซปต์การสร้างความฝันบทใหม่ผ่านรูปแบบศิลปินไอดอล (Idol Girl Group) สนับสนุนไมโครโฟนให้กับน้องๆ Sora Sora และ Yami Yami จะลงตัวแค่ไหน
ใหม่! JBL Tour Pro 2 หูฟังไร้สาย จะมีหน้าจอทัชสกรีนเพื่อ..?
หูฟังไร้สายรุ่นเรือธงของ JBL จัดเต็มในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ งานประกอบ คุณภาพเสียง และฟีเจอร์การใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!
โปรโมชั่น
YAMAHA Stagepas Series ยกระดับความเป็นโปรกับงานแสดงเสียงบนทุกเวที
YAMAHA Stagepas Series ยกระดับความเป็นโปรกับงานแสดงเสียงบนทุกเวที กับชุดเครื่องเสียง PA ที่หลากหลายขนาดจากแบรนด์ Yamaha ในซีรี่ย์นี้!
6.6 ลำโพง BOSE MEGA RAINY SALE ราคาพิเศษ 6 วันเท่านั้น
6 - 11 มิ.ย. 2566
6.6 เครื่องเสียง Klipsch ดูหนัง ฟังเพลง รายละเอียดชัด เสียงสมจริง
6 - 12 มิ.ย. 2566
JBL BEYOND KARAOKE SET ระดับพรีเมียม สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ
ชุดคาราโอเกะระดับพรีเมียม JBL KARAOKE SET สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ จากแบรนด์คุณภาพที่คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี
ผลงานการติดตั้ง
ผลงานติดตั้ง บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด (สำนักงานใหญ่)
พาชมผลงานติดตั้งระบบภาพและเสียงห้องประชุมระดับมืออาชีพ ที่บริษัท วงศ์สยาม โดยทีมงานซาวด์ดีดี
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ จากทีมงาน ซาวด์ ดีดี
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
พาชมผลงานติดตั้งระบบเสียงคาราโอเกะ หน้าตาห้องสำหรับร้องคาราโอเกะจะเป็นยังไง!? จะตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแค่ไหน?? อยากรู้ คลิกเลย!
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง ห้องประชุม โดยก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี