เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 minutes
สวัสดีครับทุกท่าน ทุกวันนี้จะสังเกตุได้ว่าค่ายเพลงได้ผุดขึ้นเยอะแยะมากมาย หรือกระทั่ง ห้องสตูดิโอ เพื่อทำเพลงเองก็เช่นเดียวกันและสามารถทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้านหรือที่ทำงาน และศิลปินหน้าใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นให้รึ่ม มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ เดี๋ยวก่อนครับ ห้องบันทึกเสียง หรือห้องสตูดิโอที่ดีที่ควรจะเป็นนี่สิเขาทำยังไงกัน เอออันนี้สำคัญ

การจะทำสตูดิโอเป็นของตัวเอง อย่างแรกเลยหลายคนคงคิดถึงขนาดของพื้นที่ โดยมองว่าห้องสตูดิโอหนึ่งห้องนั้นต้องเกิดจากการปลูกสร้างขึ้นมา ซึ่งจะต้องมีงบประมาณพอสมควรที่จะเนรมิตห้องสตูดิโอดีๆ สักห้องขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์หรืออุปกรณ์จิปาถะ คิดแล้วก็ปวดเฮดครับ

ทุกวันนี้การทำงานเพลง สามารถทำได้เองที่บ้าน ในพื้นที่ส่วนตัว ใครๆ ก็สามารถมีห้องสตูดิโอของตัวเองได้ แล้วห้องสตูดิโอมีกี่แบบกันนะ ผมขอแบ่งออกให้เห็นภาพกันแบบง่ายๆ 3 แบบแล้วกันนะครับในแบบฉบับของผมเองจะได้มองภาพออกแบบง่ายๆ ถือว่ามาแชร์ประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ แล้วกันนะครับ และเผื่อนำไปต่อไอเดียให้กับทุกท่านที่คิดจะมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง พร้อมแล้วมาลุยกันเลยครับ
1. ห้องสตูดิโอที่ถูกต้องและเป็นมืออาชีพ
2. ห้องสตูดิโอที่ดี
3. ห้องสตูดิโอแบบ All in one หรือแบบรวมนั่นเองครับ
เอ๊ะมันแตกต่างกันอย่างไร?

พอพูดถึงห้องสตูดิโอก็จะมองเห็นภาพเป็นห้องทึบๆดูขลึมๆและดูจริงจังและดูซีเรียสนิดหนึ่ง อ้อลืม มีกระจกบานใหญ่ๆ บานหนึ่งสำหรับมองเห็นการทำงานของซาวด์เอ็นจิเนีย หรือโปรดิวส์เซอร์และนักร้องเองด้วยครับ แค่คิดตามก็ดูมีความกดดันนิดๆ ยิ่งเป็นมือใหม่ด้วย ร้องไปด้วยมีคนมาจ้องเราไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดการประหม่าได้เช่นกัน แต่อย่างว่าครับจะทำงานใหญ่ใจต้องนิ่งครับ ศิลปินดังๆ ล้วนแต่เคยผ่านจุดนี้มาแล้วทั้งนั้น

แบบที่หนึ่งห้องสตูดิโอแบบถูกต้อง แน่นอนว่าทุกอย่างจะต้องเป๊ะและให้ความเป็นมืออาชีพสูง ตามหลักของห้องสตูดิโอที่น่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นอคูสติกห้องหรือการเก็บเสียงทุกอย่างก็จะถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งในจุดนี้ก็ค่อนข้างจะมีรายละเอียดพอสมควร เช่น ในเรื่องของผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้อง วัสดุซับเสียงต่างๆ ก็มีความสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของงาน ซึ่งในห้องสตูดิโอแบบแรกนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆครับ

ส่วนที่หนึ่งในส่วนนี้จะเป็นพื้นที่ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เช่น มิกเซอร์ โปรเซสเซอร์ต่างๆลำโพงมอนิเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ก็ควรกว้างพอที่ ให้ซาวด์เอ็นจิเนียและโปรดิวส์เซอร์สามารถนั่งทำงานได้ไม่อึดอัด

ส่วนที่สอง ก็คือห้องสำหรับบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง เสียงกลอง กีต้าร์ และเครื่องดนตรีอื่นๆซึ่งในห้องนี้ควรมีเสียงรบกวนที่ต่ำมากๆเท่าที่จะทำได้ หรือเงียบเป็นพิเศษซึ่งก็จะเป็นเรื่องของเทคนิคที่จะทำให้ห้องนี้มีเสียงรบกวนที่ต่ำที่สุด

เพื่อให้ได้คุณภาพของเสียงร้องและเครื่องดนตรีที่มาจากแหล่งต้นกำเนิดเสียงที่เราจะบันทึกให้ได้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด และทั้งสองส่วนนี้ทั้งห้องคอนโทรลและห้องบันทึกเสียงก็ไม่ควรมีเสียงเล็ดรอดมารบกวนซึ่งกันและกัน

แบบที่สองห้องสตูดิโอแบบที่ดี ห้องสตูดิโอแบบนี้เป็นอย่างไร ห้องสตูดิโอแบบนี้จะให้ความเรียบง่ายและมีอิสระในการดีไซน์ แต่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน เช่นห้องว่างของบ้านสักสองส่วนเนรมิตเป็นห้องสตูดิโอ หรือจะไปเนรมิตทำสตูดิโอในสวนที่เราสามารถจัดให้สวยงามตามใจชอบ และท่ามกลางเมฆไม้ที่เราสามารถมองเห็นเพื่อจะทำให้ผ่อนคลายและเพิ่มความสดชื่นและเพิ่มไอเดียในการทำงานมากยิ่งขึ้น และเน้นแสงจากธรรมชาติเป็นตัวช่วยให้ความสว่าง

เรียกกันว่าแบบที่สองนี้จะอาศัยธรรมชาติเป็นตัวช่วย ซึ่งหลายคนก็อาจจะชอบวิธีนี้ ห้องสตูดิโอแบบที่สองก็จะมีส่วนเหมือนกันกับแบบที่หนึ่ง

คือจัดแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนเช่นกัน แต่การดีไซน์เราอาจทำให้แตกต่างด้วยไอเดียที่แตกต่างกันออกไป คือ ห้องบรรทึกเสียงและห้องคอนโทรลอาจจะอยู่เยื้องๆกันแยกกันอิสระ หรือจัดห้องคอนโทรลและห้องบันทึกเสียงอยู่ข้างๆกันก็ได้

อาจจะดูแปลกสักนิด แต่ก็เพื่อลดความกดดันและให้อิสระและเพิ่มฟีลลิ่งในการทำงานของทุกฝ่ายเพิ่มขึ้น ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน

แบบที่สามแบบ All in one หรือห้องรวมมิตร ห้องสตูดิโอแบบนี้ค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับท่านที่มีงบจำกัด ที่ไม่สามารถสร้างห้องเป็นสัดส่วนเหมือนแบบที่ 1 และ 2 อาจจะด้วยงบหรือพื้นที่ขนาดจำกัด อาจจะเลือกห้องใดห้องหนึ่งของที่บ้านมาจัดแจงให้เป็นสตูดิโอที่ต้องการ โดยทั้งอุปกรณ์ควบคุมเสียงฮาร์ทแวและซอฟท์แวต่างๆอยู่รวมกัน รวมทั้งเป็นสถานที่บันทึกทั้งเสียงร้องและดนตรีด้วย ซึ่งแบบที่สามนี้ก็ได้รับความนิยมค่อนข้างมากเลยทีเดียวในยุคปัจุบันนี้
สำหรับแนวคิดสำหรับการออกแบบห้องสตูดิโอและเทคนิคสำคัญมีดังนี้ครับ

ทำไมจะต้องพิถีพิถันในการออกแบบห้องสตูดิโอ ก็เพื่อผลรับฟังที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้ทุกย่านความถี่เสียงโดยจะไม่ลดหรือมีย่านความถี่ใดเกิดการบวมของความถี่เสียง เพื่อให้ได้ความบาลานซ์และสมดุลมากที่สุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วัสดุซับเสียง และการดีไซน์หลักการสะท้อนของเสียงที่ถูกต้องอีกด้วย

ห้องทั่วไปที่ทำห้องสตูดิโอจะมีผนังและพื้นรวมถึงเพดานที่ขนานกัน ซึ่งทำให้เกิดเสียงก้องวิ่งวนไปมา เรียกเสียงแบบนี้ว่า สแตนดิ้งเวฟ และหากเสียงก้องนี้เกิดการค้างของความถี่เสียงที่นานขึ้นเรียกว่า เรโซแนนซ์

เทคนิคการปรับห้องที่ดีและมีประสิทธิภาพรวมถึงเพดานห้อง ควรปรับผนังของแต่ละด้านให้มีความลาดเอียงไม่ให้ขนานกันและไม่เท่ากันหรือจะทำให้เกิดการหักมุมไปมาเหมือนฟันปลาหรือใบเลื่อย ส่วนเพดานก็ควรให้มีความลาดเอียงเช่นกัน ส่วนพื้นก็ให้ราบเรียบเหมือนเดิมได้ การทำแบบนี้ก็เพื่อลดปัญหาที่กล่าวไปแล้วนั้นเอง นี่ก็เป็นเทคนิคง่ายๆคร่าวๆเบื้องต้นที่แนบท้ายในบทความนี้ครับ

ส่วนงานจะออกมาดีมีคุณภาพระดับมืออาชีพนั้น ทุกส่วนย่อมเอื้อประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อมรวมถึงสถานที่ห้องสตูดิโอที่ควรจะเป็น หรือตัวบุคคลเอง ทั้งศิลปิน ซาวด์เอ็นจิเนีย โปรดิวส์เซอร์ ก็ล้วนมีความสำคัญเป็นหลักครับ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับผม
หากอ่านบทความนี้แล้ว อยากได้ ไมค์บันทึกเสียง ลำโพงมอนิเตอร์สตูดิโอ หรือ มิกเซอร์ สามารถ คลิกดูที่ภาพด้านล่างได้เลยครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)
Facebook : SoundDD.Shop
Website: www.sounddd.shop
Tel: 02 435 8998 | 085 396 8888
เขียนบทความ…SoundDD.Shop
โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า