ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?

ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร

หลายคนอาจจะเคยเห็นคำว่า (ohmΩ) หรือ โอห์ม ตาม specsheet ไม่ว่าจะของลำโพงหรือหูฟังแน่นอนว่าสองอย่างนี้มีดอกลำโพงต่างกันแค่ขนาดดอกลำโพง ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงกรณีของหูฟัง ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ? แล้วค่าโอห์มส่งผลต่อเสียงมาน้อยขนาดไหน วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วครับไปชมกันเลย

ค่าโอห์ม คืออะไร ?

ค่าโอห์ม (Ohm Ω) คือหน่วยวัดค่า ความต้านทาน (Impedance) ของหูฟัง ยิ่งหูฟังมีค่าโอห์มหรือความต้านทานที่สูง กำลังขับกระแสไฟของตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกับหูฟังจะต้องมีมากพอที่จะส่งผ่านไปที่ตัวหูฟังได้ หรือในทางกลับกันยิ่งหูฟังมีค่าโอห์มหรือความต้านทานที่ต่ำ ก็จะใช้กำลังขับของกระแสไฟจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับหูฟังจ่ายไฟผ่านไปที่ตัวหูฟังน้อย ในกรณีที่หูฟังมีค่าโอห์มหรือความต้านทานที่ต่ำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีกำลังขับกระแสไฟที่สูงเกิน อาจจะทำให้หูฟังของเรา เกิดความเสียหาย พัง หรือหูฟังจากเราไปก่อนอายุการใช้งานจริงๆ

ก่อนหน้านี้เราได้กล่วงถึงค่าโอห์มของลำโพงด้วยหากสนใจสามารถอ่านบทความได้ที่ลิงก์ด้านล่างครับ

ทำไมหูฟังต้องมีหลายโอห์ม ?

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า ค่าโอห์มคือหน่วยวัดค่าความต้านทานที่จะส่งผลให้กำลังขับเสียงของหูฟังนั้นออกมาง่ายหรือยาก ซึ่งค่าโอห์มที่สูงนั้นทำให้เสียงที่ขับออกมาจะขับได้ยากขึ้น แล้วหูฟังที่ขับเสียงยาก ๆ โอห์มสูง ๆ ล่ะผลิตขึ้นมาทำไม ทำไมไม่ผลิตหูฟังโอห์มต่ำออกมาให้หมดเลย นั่นก็เพราะว่ายังมีอุปกรณ์ที่มีกำลังขับเยอะแล้วต้องใช้หูฟังในการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นห้องอัด สตูดิโอ หรือห้องที่ใช้มิกเซอร์ตัวใหญ่ ทั้งหมดที่กล่าวนี้จะมuกำลังขับสูงสูงครับจึงมีการผลิตหูฟังที่มีโอห์มสูงเพื่อรองรับการใช้งานกับห้องเหล่านี้หรือที่เราเรียกว่า หูฟังสตูดิโอ 

พูดง่าย ๆ บ้าน ๆ ก็คือหากเราเอาหูฟังที่มีค่าโอห์มสูง ๆ ไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีกำลังขับน้อยๆ เสียงก็จะออกมา เล็ก เล็ก ~ เบา เบา ~ ตัวอย่างเช่น เอาหูฟังที่มีค่าโอห์มสูงมาใช่กับสมาร์ทโฟนที่มีกำลังขับน้อยๆ แต่ถ้าหากเราใช้กับอุปกรณ์ที่เหมาะสมหูฟังก็จะขับเสียงและให้ประสิทธิภาพเต็มที่สำหรับตัวหูฟัง หรือการนำหูฟังที่มีโอห์มต่ำ ๆ ไปใช้งานอุปกรณ์ที่มีแรงขับสูงๆ ผลที่ตามมาคือ หูฟังอาจเสีย และเกิดอันตรายต่อหูของเราได้ ฉะนั้นการทำหูฟังที่มีหลากหลายโอห์มก็เพื่อรองรับการใช้งาน เช่น กำลังขับอุปกรณ์เยอะก็ต้องใช้หูฟังโอห์มสูงเพื่อไปต้าน สูงเจอสูง ต่ำเจอต่ำ เพื่อความสมดุลนั่นเองครับ

เลือกค่าโอห์มหูฟังอย่างไร? ให้เหมาะกับการใช้งาน

สำหรับบางคนก็อาจจะเข้าใจว่าหูฟังก็คือหูฟังเหมือนกันหมดนั่นแหละ ไม่ได้พิจารณาถึงเรื่องโอห์มและมองข้ามไปโดยที่อาจจะไม่รู้ว่าค่าโอห์มนั้นส่งผลต่อเสียงของหูฟังของเรา แล้วจะเลือกค่าโอห์มอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน การเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับต้นทางหรือแหล่งกำเนิดเสียง โดยเราเป็นออกเป็น 3 กลุ่มหลักได้แก่

  1. สำหรับฟังเพลงทั่วไป ที่มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีชิพเสียงขนาดเล็ก ค่าโอห์มที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 32 โอห์ม หรือ 48 โอห์ม
  2. สำหรับนักดนตรีหรือโฮมสตูดิโอขนาดเล็ก ที่มีการเชื่อมต่อผ่าน interface ขนาดเล็ก ค่าโอห์มที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 80 ถึง 250 โอมห์
  3. สำหรับงาน Pro ในห้องอัดเสียงระดับสูง ที่มีการเชื่อมต่อกับมิกเซอร์ขนาดใหญ่หลายสิบชาเนลและ  interface ขนาดใหญ่ ค่าโอห์มที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 250 ถึง 600 โอมห์
สีขาว
สีดำ
สีดำขาว
฿9,000 (รวม VAT 7% แล้ว)

สรุป

หูฟังที่มีค่าโอห์มสูง ๆ ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นหูฟังมอนิเตอร์ หูฟังฟูลไซส์ ที่ไว้ใช้งานด้านการทำเพลง การนำหูฟังที่มีโอห์มต่ำมาใช้กับอุปกรณ์ที่มีพลังขับเยอะเกินไปอาจจะเกิดผลเสียหรืออัตรายต่อหูฟังและหูของเราได้ ค่าโอห์มที่สูงจะให้รายละเอียดเสียงดีก็ต่อเมื่อเราเลือกใช้งานเหมาะสมกับแหล่งกำเนิดเสียง เช่น หูฟังมีค่าโอห์มสูงใช้งานกับอุปกรณ์ที่มีพลังขับสูงก็จะให้รายละเอียดเสียงและประสิทธิภาพเต็มที่

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก