คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้

คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้

Estimated reading time: 16 นาที

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ SoundDD.Shop จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ที่ควรรู้” พร้อมคำอธิบายและความหมายที่เข้าใจง่ายกันนะครับ จุดมุ่งหมายหรือวัถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างคำ ศัพท์เทคนิค ระบบเสียง ให้กับมือใหม่และบุคคลที่สนใจ ได้เข้าใจความหมายของคำศัพท์ต่างๆเกี่ยวกับระบบเสียงได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ พร้อมแล้วติดตามกันได้เลยครับ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับความหมายของ ซาวด์ (Sound) คืออะไร?

เสียงหรือคลื่นความถี่เสียง อธิบายได้ง่ายๆและให้เห็นภาพ เมื่อเราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ แล้วทำให้น้ำกระจายออกเป็นระลอกเกิดคลื่นขึ้น มันก็เหมือนการเคลื่อนที่ของเสียง (Wave) สามารถอธิบายเชิงลึกได้ว่าก้อนหินคือ ต้นกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดเสียง (Source) จุดที่ก้อนหินกระทบกับน้ำแล้วก่อให้เกิดเสียงเรียกว่า (Sound)

ส่วนการกระจายตัวของคลื่นน้ำก็เปรียบสเมือนคลื่นเสียง (Sound wave) ซึ่งแต่ละลูกคลื่นที่น้ำกระจายตัวออกมาเรียกว่า ไซเคิล (Cycles) สำหรับความเร็วของการเคลื่อนที่ของวงคลื่นนับตั้งแต่จุดที่เราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ จนเกิดการกระจายของคลื่นสิ้นสุดลงเราเรียกว่า ความถี่ (Frequency) การปาหินลงน้ำนั้นไม่ว่าจะเบาหรือแรงมากน้อยเพียงใด มันย่อมส่งผลต่อคลื่นในน้ำ ที่สูงและต่ำไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าความสูงต่ำของรูปคลื่นของน้ำนั้นเปรียบได้กับค่าความดังของเสียง ซึ่งเรียกว่า sound pressure level เรียกย่อๆว่าค่า SPL

ทีนี้เรามาเรียนรู้ คำศัพท์เทคนิค ระบบเสียง กันครับ หากดูผ่านคอมพิวเตอร์ เลือกดูเรียงตามตัวอักษรที่ด้านล่างนี้ได้เลย

คำศัพท์เทคนิคระบบเสียงที่ควรรู้

1. Active Crossover

แอคทีฟครอสโอเวอร์ คืออุปกรณ์ แบ่งความถี่เสียงในย่านความถี่ต่างๆ เช่นเสียง ทุ้ม กลาง แหลม เป็นต้น ทำไมจะต้องมีอุปกรณ์นี้ ก็เพราะว่าในอุปกรณ์จำพวกลำโพง มีทั้งลำโพงเสียงทุ้ม กลาง แหลม อุปกรณ์นี้ ก็จะแบ่งหรือกรองความถี่ให้เหมาะสมกับความสามารถในการตอบสนองความถี่ของลำโพงนั้นๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ครอสโอเวอร์อนาล็อก VS ครอสโอเวอร์ดิจิตอล แตกต่างกันอย่างไร จุดเด่นและข้อจำกัดมีอะไรบ้าง ?

คุณเคยสงสัยบ้างหรือเปล่าว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? จุดเด่นและข้อจำกัดมีอะไรบ้าง?

อ่านเลย คลิก

2. ADC หรือ A/D ย่อมาจาก Analog-to-digital converter

หมายถึงการแปลงสัญญาณเสียงจากอนาล็อก (สัญญาณไฟฟ้า) เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล ตัวอย่างกระบวนการนี้ คือ

  1. เราส่งเสียงของเราซึ่งเป็นเสียงทางกายภาพ เป็นเสียง เป็นคลื่นจริงๆ เข้าไปที่ไมโครโฟน
  2. ไมโครโฟนเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Analog)
  3. สัญญาณไฟฟ้าที่เป็นอนาล็อกส่งเข้าไปที่ ADC ถูกแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล

ดังนั้น ADC คือตัวแปลงเสียงอนาล็อก เป็น ดิจิตอล เราใช้ ADC เพื่อการแปลงสัญญาณในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล

3. Ampere แอมป์แปร์

แอมป์ หรือ แอมแปร์ (A หรือ Ampere) หน่วยที่ใช้เรียกปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น 10 A. หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลเท่ากับ 10 แอมแปร์

4. Amplifier

แอมปริไฟเออร์ หรือเครื่องขยายเสียงที่เรารู้จักกันดี ซึ่งทำหน้าที่ขยายสัญญาณเอาต์พุตขาออกให้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาณที่อินพุตเข้ามา ซึ่งแอมป์ขยายก็มีให้เลือกใช้งานหลายรุ่น กำลังวัตต์และคุณภาพก็แตกต่างกันไป

เทคนิคการเลือกใช้ เพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) เลือกเครื่องขยายเสียงอย่างไร ให้เหมาะกับลำโพงของคุณ??

Power Amplifier เป็นอุปกรณ์ในภาคขยายเสียงภาคสุดท้าย ที่เพิ่มขนาดของสัญญาณขาออกให้สูงขึ้น

อ่านเลย คลิก

5. Amplitude แอมพลิจูด

คือขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแกว่งตัวในระบบ ตัวอย่างเช่น คลื่นเสียง คือการแกว่งตัวของแรงดันในบรรยากาศ แอมพลิจูดของมันคือการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในแต่ละรอบ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในคาบการแกว่งตัวปกติ จะสามารถวาดเส้นกราฟของระบบออกมาโดยให้ค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นแกนตั้ง และเส้นเวลาเป็นแกนนอน แสดงให้เห็นภาพของแอมพลิจูดเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด

6. Audiophile

ออดิโอไฟน์ คือ คุณภาพการบันทึกแผ่นซีดี โดยเน้นคุณภาพเป็นพิเศษ โดยให้ความพิถีพิถันทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การบันทึกเสียงในห้องอัด การบันทึกลงแผ่น ใช้อุปกรณ์คุณภาพดี เพื่อให้ได้มาซึ่งแผ่นที่ให้คุณภาพเสียงได้ใกล้เคียงกับต้นกำเนิดเสียง คำว่า AUDIOPHILE จึงหมายถึงการเล่นเครื่องเสียงเพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด

7. Auxiliary Audio Input

อ๊อกซิลาลี่ ออดิโอ อินพุต เป็นจุดรับสัญญาณเข้าสำหรับรองรับเครื่องเล่นเพลงหรือเครื่องกำเนิดเสียงต่างๆไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์,โน๊ตบุ๊คและเครื่องเล่นต่างๆอย่าง MP3, CD Player เป็นต้น

8. Aux sent

อ๊อกเซนท์ เป็นจุดสำหรับส่งสัญญาณออกเพื่อต่อกับอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น เอฟเฟค อีคิว แอมป์ขยาย เป็นต้น นิยมใช้เพื่อส่งสัญญาณออกไปเพื่อต่อระบบลำโพงมอนิเตอร์เพื่อให้ได้ยินเสียงตัวเอง หรือต่อกับเอฟเฟคสำหรับเสียงร้อง เป็นต้น

1. Band pass Filter

แบนพาสฟิลเตอร์ คือ วงจรกรองแถบความถี่ผ่าน (Band-Pass Filter, BPF) ใช้อุปกรณ์ L,C เป็นวงจรที่ยอมให้ช่วงความถี่บางช่วงผ่านไปได้ดี และทำการลดทอนสัญญาณที่มีความถี่ต่ำกว่าและสูงกว่าออกไปโดยใช้ L จะยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้ง่าย ความถี่สูงผ่านยาก C ความถี่ต่ำผ่านยาก ความถี่สูงผ่านง่าย

2. BGM หรือ background music

แบ็คกราวน์มิวสิค หมายถึงระบบเสียงที่เปิดเพลงเดียววนๆซ้ำๆไปมาหรือจะเปิดหลายเพลง จุดประสงค์เปิดเพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สถานที่นั้นๆเช่นเพลงที่เราได้ยินเสียงคลอๆเบาๆตามห้างสรรพสินค้า โรงแรม ห้องสปา ร้านอาหาร เป็นต้น

3. Bi-Directional

Bi-Directional หรือ Figure 8 ไมโครโฟนประเภทนี้รับสัญญาณได้เกือบเท่ากัน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่จะรับได้น้อยมาก ที่ด้านข้าง พื้นที่การรับเสียงจึงมีลักษณะคล้ายกับเลข 8 ที่จุดตัดกันของเลข 8 เป็นตำแหน่งของไมโครโฟน ไมโครโฟนประเภทนี้ยังถูกเรียกได้ในอีกชื่อหนึ่งคือ Bi-Directional แนวการใช้งานนั้นสามารถใช้กับการร้องของนักร้องสองคนโดยแต่ละคนในแต่ละด้านของไมค์หรือการอัดเสียงเครื่องดนตรีโดยด้านหนึ่งรับเสียงจากเครื่องดนตรีและอีกด้านหนึ่งจับบรรยากาศของห้อง เป็นต้น

4. Bridge Power mode

บริจเพาเวอร์ โหมดรูปแบบการ Bridge mono นั้น เครื่องขยายเสียงจะรวมสัญญาณขาออก ทั้ง 2 แชนแนล รวมมาออกชาแนลเดียวกัน เพื่อเพิ่มกำลังขยายสูงสุด จึงเป็นที่นิยมใช้กับ ลำโพงซับวูฟเฟอร์ (Subwoofers) โดยที่สเปคทางเทคนิคเครื่องขยายเสียงจะบอกถึงสเปคกำลังขยายเสียง ทั้งในรูปแบบ Stereo และ Bridge mono ไว้ด้วยทั้ง 2 แบบ ยกตัวอย่างเช่น Crown XLi 1500 กำลังขับ 330 W ที่ 8 ohms Stereo และ กำลังขับ 900 W ที่ 8 ohms Bridge mono ในข้อดีของโหมด Bridge mono นั้น จะทำให้กำลังขยายเสียงเพิ่มสูงมากขึ้นสำหรับการใช้งานแบบโมโน

5. Butterworth Filters

บัทเตอร์เวิร์ส ฟิลเตอร์ การกรองเสียงในรูปแบบ บัตเตอร์เวิร์ธ จัดว่าเป็นแบบที่มีคุณภาพสูง ให้ความราบของเนื้อเสียงที่ค่อนข้างสมบูรณ์สุด โดยมีผลกระทบทางด้านเฟสเสียงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการกรองเสียงในแบบอื่นๆ

1. Cardioid Direction

คาร์ดิออยด์ ไดเร็คชั่น ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid สามารถรับเสียงจากทางด้านหน้าได้ดีที่สุด แต่รับเสียงที่มาจากทางด้านหลังได้น้อยมากๆ หรือ ไม่ได้เลย เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถรับเสียงที่ห่างไมโครโฟน โดยไม่มีปัญหาเสียงรบกวนคาร์ดิออยด์ นอกจากจะเป็นการรับเสียงของไมโครโฟนแล้ว ยังมีการเซ็ทอัพลำโพงซับวูฟเฟอร์แบบคาร์ดิออยด์อีกด้วย ซึ่งการเซ็ทหรือทำลำโพงให้มีการกระจายเสียงแบบคาร์ดิออยด์ ไม่ได้หวังผลเรื่องความดัง แต่หวังผลเรื่องทิศทางของเสียงมากกว่า

ว่าด้วยเรื่อง “Basic Microphone” ที่คุณควรรู้… EP.2 รู้จัก…รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน (Polar Pattern) ก่อนเลือกใช้งาน…

เทคนิคการเลือกใช้งานไมโครโฟน ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะของงาน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

อ่านเลย คลิก

2. Class A amplifiers

เป็นการออกแบบเน้นในเรื่องของคุณภาพเสียง มีค่าความเพี้ยนตํ่า และเสียงรบกวนน้อย แต่มีข้อเสียในเรื่องของความร้อนที่ค่อนข้างจะสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีสัญญาณอินพุตเข้ามาก็ตาม  และกำลังขับที่ได้นั้นก็ค่อนข้างจะน้อย Class ประเภทนี้จึงเหมาะกับนักฟังที่เน้นรายละเอียดของเสียงกลาง-แหลม ไม่เน้นอัดกระแทกแรงๆ

3. Class AB amplifiers

เป็นการรวมตัวกันของ เครื่องขยายเสียง-Amplifier ทั้ง Class A และ Class B ที่กล่าวมา คือใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว แต่จะมีการป้อนกระแสไฟปริมาณตํ่าๆเอาไว้ล่วงหน้าอยู่ตลอด แต่จะไม่มากเท่า Class A และการจัดวงจรก็ใช้แบบ Push-Pull เหมือน Class B จึงทำให้เครื่องขยายเสียง-Amplifier ประเภทนี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดี  ถึงแม้จะไม่เท่า Class A แต่ได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และเกิดความร้อนน้อยกว่า และ Class AB นี้แหละ เป็น เครื่องขยายเสียง-Amplifier ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน และสามารถนำไปขับได้ทั้งลำโพงกลาง-แหลม และ ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์ก็ได้

4. Class B amplifiers

เป็นการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานแบบ Push-Pull หรือผลักดันช่วยกันทำงานคนละครึ่งทาง และจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้า ซึ่งมีข้อดีคือเครื่องไม่ร้อนแต่ข้อเสียกลับมากกว่าเพราะความผิดเพี้ยนสูงมาก เสียงจึงไม่มีคุณภาพแต่ในปัจจุบันเครื่องขยายเสียง-Amplifier Class นี้อาจจะไม่มีให้เห็นแล้ว

5. Class D amplifiers

เป็นการออกแบบให้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการขยาย ซึ่งแทนที่จะเสียกำลังไปในเรื่องของความร้อน เนื่องจากไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เพราะความถี่สูงจะถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวก และลบทำให้อุปกรณ์ไม่ได้ทำงานตลอดเวลาความร้อนจึงต่ำ ในด้านประสิทธิภาพนั้นจึงสูงกว่า Class AB หลายเท่าแต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตอบสนองความถี่เสียง ซึ่ง Class นี้เหมาะใช้ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์ เน้นพลังเบสกระแทกแรงๆแต่ไม่นิยมที่นำไปขับลำโพงกลาง-แหลม

6. Class G amplifiers

เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้นมาอีกขั้น โดยลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ พื้นฐานใกล้เคียงกับ Class AB และมีประสิทธิภาพเท่ากับ Class D หรือ Class T แต่การออกแบบวงจรจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

7. Class H amplifiers

เป็นการออกแบบมีความคล้ายคลึงกับแอมป์คลาส G แอมป์คลาส H เป็นการนำเอาข้อดีในด้านประสิทธิภาพของแอมป์คลาสดี แต่ให้คุณภาพได้ดีเหมือนแอมป์คลาส AB แอมป์คลาส S นี้มีรูปแบบวงจรที่สลับซับซ้อนพอสมควรเรียกได้ว่าเป็น แอมป์ที่ให้วัตต์สูงแบบแอมป์คลาส D แต่ให้คุณภาพเสียงเหมือนแอมป์คลาสเอบีและมีราคาค่อนข้างสูง

8. Class T amplifiers

เป็นการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (tripath) ทำให้วงจรทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียง (20-20,000 hz) ทำให้ Class T สามารถขับได้ทั้งลำโพงซับวูฟเฟอร์ และลำโพงกลาง-แหลม เครื่องขยายเสียง Class T ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า Class AB

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ POWER AMP แต่ละ CLASS ต่างกันอย่างไร ?

คลาสเอ (Class AB) ,คลาสเอบี (Class AB) ,คลาสดี (Class D),คลาส H (Class H) ,คลาสอี (Class E)...[อ่านต่อ คลิก]

อ่านเลย คลิก

9. Condenser microphone

คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน หมายถึงไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) ภายในประกอบด้วย แผ่น diaphragm บางๆ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไมค์ชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงแรงดันตั้งแต่ 1.5 ถึง 48โวลท์ เพื่อทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำงาน ไมค์ชนิดนี้มีความไวเสียงสูง สามารถรับช่วงความถี่เสียงได้กว้างกว่าไมค์ไดนามิค ให้รายละเอียดเสียงที่ดี เหมาะสำหรับเครื่องดนตรีประเภทอะคูสติก ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานในห้องหรือสตูดิโอ ข้อดีคือ เสียงที่ได้มีความชัดเจนเก็บรายละเอียดได้ดีแต่เนื่องจากความไวสูง หากนำไปใช้ในที่ที่มีเสียงรบกวนสูง ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

10. Control room level 

คอลโทรลรูมเลเวล  ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง

11. Coverage

คอฟเวอร์เรจ หมายถึง มุมกระจายเสียงของตู้ลำโพง เช่น H 120 ,V 40

  • H 120 ย่อมาจาก Horizontal (ฮอริซอนทัล ) มุมกระจายเสียงในแนวนอน 120 องศา
  • V 40 ย่อมาจาก Vertical (เวอร์ติคอล ) มุมกระจายเสียงในแนวตั้ง 40 องศา

12. Crossover แบบ Active

ครอสโอเวอร์แบบแอคทีฟ คืออุปกรณ์สำหรับกรองหรือแบ่งความถี่เสียง ทุ้ม กลาง แหลม อุปกรณ์นี้จะถูกต่อก่อนเข้าเครื่องขยายเสียง อุปกรณ์นี้มีทั้งแบบดิจิตอลและอนาล็อก

13. Crossover แบบ Passive

ครอสโอเวอร์แบบพาสซีพ คืออุปกรณ์สำหรับกรองความถี่เสียง ทุ้ม กลาง แหลม  อุปกรณ์นี้จะถูกติดตั้งอยู่ในตู้ลำโพงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ครอสโอเวอร์เน็ทเวิร์ค

ครอสโอเวอร์อนาล็อก VS ครอสโอเวอร์ดิจิตอล แตกต่างกันอย่างไร จุดเด่นและข้อจำกัดมีอะไรบ้าง ?

คุณเคยสงสัยบ้างหรือเปล่าว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? จุดเด่นและข้อจำกัดมีอะไรบ้าง?

อ่านเลย คลิก

1. Damping Factor

แดมปิ้งเฟคเตอร์ (DF) คือ ความสามารถของเครื่องขยายเสียงในการหยุดการสั่นค้าง ของดอกลำโพง จะมีผลมากกับความถี่ต่ำๆค่าแดมปิ้งแฟคเตอร์มันก็คือ ค่า วัดอัตราส่วน ของ ค่าอิมพีแด้นของลำโพง ต่อ ค่าอิมพีแด้นเอ้าท์พุทของ power amp ครับ ว่ามีค่ามากน้อยเท่าไหร่ ค่านี้ยิ่งมากยิ่งดีครับ จะทำให้ได้เสียงที่กระชับเพราะมีค่าการหยุดการสั่นของลำโพงสูง

2. Digital-to-Analog (D/A) Converter

ดิจิตอล ทู อนาล็อก DAC หรือ D/A ย่อมาจาก Digital-to-analog converter หมายถึงการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อก ซึ่งก็คือการทำงานย้อนกระบวนการกับ ADC แปลเป็นภาษาแบบชาวบ้านก็คือ ตัวแปลข้อมูลเป็นเสียง แปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อก DAC ทำหน้าที่เล่นหรือ Playback

ทั้ง ADC และ DAC ในมุมตัวแปลงสัญญาณจะอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ในรูปแบบชิป (Chip)

3. Digital Signal Processors

ดิจิตอลซิกแนลโปรเซสเซอร์ เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิตอล DSP (digital signal  processing) หรือ เครื่องประมวลสัญญาณเสียงดิจิตอล ซึ่งในหนึ่งเครื่องของดิจิตอล ซิกเเนล โปรเซสเซอร์ ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องปรับแต่งเสียงต่างๆรวมอยู่ในเครื่องเดียวเช่น Graphic Egualizer  Crossover  Compresser Noise gate Feedback effects  เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเพิ่มขึ้น

ไขข้อสงสัย DSP คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับระบบเสียง?

DSP คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรกับระบบเสียง? เพื่อความเข้าใจ หาคำตอบไปพร้อมกัน

อ่านเลย คลิก

4. Direct Output

ไดเรคเอาท์พุท ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง (Effects) หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์

5. D.I. box

ย่อมาจากคำเต็มว่า direct box เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานในการทำงานระบบเสียง และจัดเป็นอุปกรณ์หลัก อีกตัวหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการลากสายสัญญาณที่มีความยาว ในระยะทางที่ไกลมาก โดย D.I. box จะช่วยลดการสูญเสียของสัญญาณให้น้อยที่สุด และช่วยลดการรบกวนของสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีอีกด้วย เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ High Impedance (ความต้านทานสูง) ให้เป็นสัญญาณ Low Impedance (ความต้านทานต่ำ) และทำหน้าที่แปลงสัญญาณในรูปแบบ Unbalance ให้เป็น Balance อีกด้วย

D.I. Box (ไดเร็ก บอกซ์) ตัวช่วยของนักดนตรี ที่มีดี…ยิ่งกว่าประโยชน์

DI-Box มีความสำคัญอย่างไร? มาทำความรู้จักกันดีกว่า เพราะเหตุใดนักดนตรี หรือคนทำงานด้านเสียง ต้องใช้มัน!

อ่านเลย คลิก

6. D.I. box พาสซีพ

ประเภทพาสซีฟ จะใช้หลักการทำงานโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) ในการแปลงสัญญาณ ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง คุณภาพของเสียงก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบ การเลือกใช้คุณภาพของหม้อแปลงในการผลิต ของผู้ผลิตแต่ละราย ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจขึ้นอยู่ที่ยี่ห้อ และราคาด้วยครับ

7. D.I. box แอคทีพ

ประเภทแอคทีฟ จะใช้หลักการทำงานของวงจรอิเลคทรอนิกส์ในการแปลงสัญญาณ D.I. box ประเภทแอคทีฟ จำเป็นต้องใช้ไฟ DC ขนาด 9 – 48V+ เพื่อไปเลี้ยงวงจรในขณะใช้งานอยู่เสมอ บางยี่ห้อ บางรุ่นอาจใช้งานได้ทั้งการใส่ถ่าน 9 V และการปล่อยไฟ Phantom 48V+ โดยตรงจากมิกเซอร์เพื่อใช้งานร่วมกันได้เลย คุณภาพของเสียงก็ตามยี่ห้อ และราคา ตามความสามารถในการออกแบบวงจรของ D.I. box ของผู้ผลิตแต่ละราย ว่าจะสามารถตอบโจทย์คุณภาพการใช้งาน ได้มากน้อยเพียงใด

8. Dynamic microphone

ไดนามิก ไมโครโฟน ไมโครโฟนแบบไดนามิกมูฟวิ่งคอล์ย(Dynamic Movie Coil Microphone) หรือที่เรียกสั้นๆว่าไดนามิกไมโครโฟน เป็นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของการเคลื่อนที่ของขดลวดตามเสียงที่มากระทบ และเมื่อขดลวดตัดผ่านสนามแม่เหล็กถาวร ก็จะเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามคลื่นเสียงนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ครอบคลุมการใช้งานเกือบทุกประเภท เพราะสามารถรับเสียงในย่านกว้างทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงได้

1. Effect Return

เอฟเฟครีเทิร์น ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก Effect Send อีกทีหนึ่ง เพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟค

2. Effect Send

เอฟเฟคเซนด์ ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ละช่องเสียงไปสู่เอฟเฟคต่างๆเช่น รีเวิร์บ (Reverb) หรือดีเลย์ ซึ่งมักใช้ปุ่ม Aux เป็นตัวส่งสัญญาณ

3. EQ bypass

ทำหน้าที่ปิดหรือเปิดในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ ทั้งนี้เพื่อการรับฟังเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิวและหลังใช้จะเป็นอย่างไร

4. Equalizer (EQ)

อีควอไลเซอร์ หรือ อีคิวมีหน้าที่บูสท์หรือคัดความถี่ต่างๆที่หูมนุษย์เราสามารถได้ยิน ก็คือตั้งแต่ 20Hz – 20KHz ซึ่งอีคิวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ Graphic EQ และ Parametic EQ

1. Fader

เฟดเดอร์ ทำหน้าที่ปรับเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้าและออกไปจากมิกเซอร์ Output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง บางครั้งเรานิยมเรียกทั่วไปว่าโวลุ่ม (Volume)

2. Frequency

ฟรีเควนซี่ คือย่านความถี่เสียงตั้งแต่ย่านความถี่ที่ต่ำมากจนถึงย่านความถี่ที่สูงมาก ทั้งระดับหูมนุษย์เราสามารถได้ยินและไม่สามารถได้ยิน บางความถี่จะเป็นความถี่ที่สัตว์สามารถได้ยิน แต่เราไม่สามารถได้ยิน

3. Full range

ฟลูเรนซ์ ไดรฟ์เวอร์ลำโพงแบบ full-range ถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์เวอร์ที่ทำช่วงความถี่เสียงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะลำโพง Full-range จะเป็นดอกลำโพงเดียวที่สามารถให้เสียงได้ครบทุกช่วงเสียง ระบบควบคุมส่วนใหญ่จะเป็นแบบดอกเดยว เช่น วิทยุหรือลำโพงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่จะสามารถตอบสนองความถี่เสียงออกมาได้ทั้งหมด

**FULL RANGE DRIVERS เป็นลำโพงที่มีเสียงย่านความถี่ครบทั้ง สูง – กลาง – ต่ำ ในดอกเดียวกัน

ดอกลำโพง 6 ประเภท แตกต่างกันอย่างไร เสียงเป็นยังไง?

ดอกลำโพง ใจหลักสำคัญที่มีหลากหลายประเภท ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป คุณภาพเสียง ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ พร้อมอัปเดตไปด้วยกันเลยครับ

อ่านเลย คลิก

1. Graphic EQ

กราฟฟิค อีคิว มีหน้าที่บูสท์และคัดความถี่ได้ตามที่โรงงานเป็นผู้กำหนดความถี่เท่านั้นไม่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความถี่ได้ เช่น บูสท์หรือคัดความถี่ที่ 80Hz ก็จะมีผลเฉพาะความถี่นี้เท่านั้น ความถี่ที่ใกล้เคียงน้อยหรือมากกว่า 80Hz จะไม่มีผล อีคิวชนิดนี้เหมาะสำหรับปรับอะคูสติกห้องหรือสถานที่มีความก้องหรือสะท้อนของเสียง อีคิวชนิดนี้เป็นที่นิยมและก็พบการใช้งานทั่วไป

2. Group or Bus

กรุ๊ปหรือ บัส ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง (Channel) เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ Output เดียว เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถกรุ๊ปหรือบัสเสียงกลุ่มนักร้องประสานเสียงจากหลายๆ ช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวได้ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียวเพื่อสะดวกต่อการควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมด การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้แพน (Pan) เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับช่องเลือกสัญญาณ (Track Selected)

3. Grille

กริล หมายถึง วัสดุที่เป็นตะแกรงตู้ลำโพง ตะแกรงลำโพง

1. High-pass Filter

ไฮพาสฟิลเตอร์หรือโลคัท วงจรนี้จะยอมให้ความถี่ที่สูงกว่ากำหนดผ่านไปได้ ส่วนควาถี่ที่ต่ำกว่าที่กำหนดจะถูกคัททิ้ง เช่นในมิกเซอร์จะมีฟังก์ชั่น HPF หรือ Lo-cut 100Hz ความหมายคือ ความถี่ที่ต่ำกว่า 100 Hz จะถูกคัททิ้งไป

2. High Impedance microphone

ฮายพาส อิมพิแดนซ์ ไมโครโฟน อิมพีแดนซ์สูงมีค่า Impedance อยู่ระหว่าง 5-10, 50 และ 100 K Ohm ซื่งจะเขียนติดไว้บนตัวไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ควรใช้สายยาวเกินกว่า 25 ฟุต จะทำให้เกิดเสียงฮัมและสูญเสียกำลังไปในสาย

3. Hypercardioid

ไฮเปอร์ คาร์ดิออยด์ มีลักษณะคล้าย Cardioid ตรงที่จะรับเสียงได้ดีมากที่สุดด้านหน้า แต่สิ่งที่แตกต่างคือ จะรับสัญญาณเสียงได้น้อยที่ด้านข้างทั้งสองข้างคือ ประมาณตำแหน่งองศาที่ 150 – 160 และ 200 – 210 Hypercardioid มักจะนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการทิศทางการรับเสียงที่แคบกว่า Cardioid และ Supercardioid มีรัศมีการรับเสียงแบบนี้ มักนิยมใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการแยกการบันทึกเครื่องดนตรีที่อยู่ใกล้กันมาก เป็นต้น

1. Impedance

อิมพีแดนซ์ เป็นการบ่งบอกถึงแรงต้านต่อกระแสที่ไหลผ่านในวงจร วัดออกมาในหน่วยเป็นโอห์ม (ohms) ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ 4 โอห์มจะให้กำลังได้มากกว่าลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ 8 โอห์ม เมื่อใช้กำลังวัตต์ที่เท่ากัน เป็นเพราะว่าความต้านทานภายในที่น้อยกว่านั่นเอง

2. Insert jack

อินเสิร์ต แจ็ค ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับสัญญาณที่อยู่ในแต่ล่ะ ชาแนลของมิกเซอร์ ทำให้แยกสัญญาณจากชาแนลเพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงแต่งเสียงต่างๆ Signal Processor เช่นคอมเพรสเซอร์ หรือ ดีเลย์ เป็นต้น ได้เป็นอิสระแต่ล่ะช่องเสียง

3. Installation

อินสตอเลชั่น สำหรับระบบเสียงคือ การติดตั้งระบบเสียงไม่ว่าจะเป็นระบบเครื่องเสียงชุดประชุม, ระบบเสียงประกาศ, ระบบเสียงคาราโอเกะ เป็นต้น

4. IP (IP Rating, IP Code, IP Standard)

ชื่อเต็ม International Protection Standard ซึ่งบางครั้งตีความว่าเป็นเครื่องหมายการป้องกัน (Ingress Protection Marking) และจำแนกระดับของการป้องกันจากการคือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องฝุ่นและน้ำ (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529

มาตรฐาน IPX4, IPX7, IP67 กันฝุ่น กันน้ำได้อย่างไรบ้าง? | คลิกเลย

ระดับการป้องกันฝุ่น และน้ำ เราใช้ มาตรฐาน IP ในการจัดลำดับ (IP Rating, IP Code, IP Standard) ป้องกันฝุ่น กันน้ำ

อ่านเลย คลิก

1. Low Pass-Filter

โลพาสฟิลเตอร์ ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหว่าง 8-10 KHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้โดยสะดวก ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ผ่านได้อีกด้วย

2. Low Impedance microphone

โลอิมพีแดนซ์ ไมโครโฟน อิมพีแดนซ์ต่ำมีค่า Impedance 200 – 600 โอมห์ สามารถใช้สายไมโครโฟนได้ยาว กว่า 100 ฟุต

1. Midrange Speaker

มิดเร้นท์สปีคเกอร์ หรือลำโพงที่มีขนาดอยู่ระหว่าง 3 นิ้วถึง 6 นิ้ว ตอบสนองย่านความถี่เสียงกลาง นิยมนำมาประกอบเข้ากับลำโพง เสียงแหลมและเสียงทุ้ม เพื่อให้ได้ลำโพงที่สมบูรณ์มากขึ้น

2. Mixer

มิกเซอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ผสมสัญญาณเสียงในตัวเครื่องก็จะมีช่องอินพุตต่างๆเช่น ช่องอินพุตไมค์และ Line สำหรับรองรับไมค์หรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ มาเสียบอินพุตเข้า เลือกดูสินค้ามิกเซอร์คลิก

คู่มือ…การใช้มิกเซอร์(MIXER)ให้เป็นมือโปร

ทำไมปุ่มกด ปุ่มหมุน มันเต็มไปหมดเลย ทำหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้นเราจะนำพาท่านให้รู้จักกับมิกเซอร์ และการทำงานของปุ่มต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น

อ่านเลย คลิก

3. Monitor out

มอนิเตอร์ เอาท์ ในระบบเสียงหมายถึง สัญญาณขาออกสำหรับต่อชุดลำโพงมอนิเตอร์เพื่อให้ได้ยินเสียงที่ต้องการเช่นเสียงตัวเอง เป็นต้น ฟังก์ชั่นนี้พบมากในมิกเซอร์ เพาเวอร์มิกเซอร์

4. Mono Amplifier

โมโนแอมปริฟายเออร์ เพาเวอร์แอมป์โมโนจะมีภาคขยายอยู่เพียงชาแนลเดียว เครื่องขยายชนิดนี้จะให้เสียงที่เป็นมิติเดียวจะไม่สามารถแยกมิติของเครื่องดนตรีซ้ายหรือขวา ยกเว้นใช้แอมป์ชนิดนี้สองเครื่อง มาขับลำโพงแบบแยก ซ้ายขวาเพื่อทำเป็นระบบสเตอริโอ

5. MOSFET

มอสเฟตย่อมาจาก Metal Oxide Semiconductor Field Effect Transistors เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีความเร็วในการสวิทช์สูงกว่าทรานซิสเตอร์แบบไบโพล่าร์ และกำเนิดความร้อนในปริมาณที่น้อยกว่ามาก MOSFET’s จึงให้การตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิผลสูง

6. MUTE

ปุ่มมิ้วท์ Mute เมื่อกดปุ่มนี้ลงก็จะทำหน้าที่หยุดการทำงานของอุปกรณ์ที่กดชั่วคราว หรือหยุดการทำงานชั่วคราวของแต่ละชาแนลบนมิกเซอร์

1. Neodymium magnet

นีโอไดเมี่ยมแมกเนท เป็นหนึ่งในหลายๆชนิดของแม่เหล็กที่นำมาใช้ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา อำนาจแม่เหล็กสูง แม่เหล็กนีโอไดเมี่ยมจะใช้กันทั่วไปในลำโพงเสียงกลางและในลำโพงทวีตเตอร์เสียงแหลม

1. OHM (Ω)

โอห์ม หน่วยวัดอิมพีแดนซ์หรือความต้านทาน เพื่อบอกให้ทราบว่ามีจำนวนของการต้านต่อการไหลของกระแสมากน้อยเพียงใด ถ้าใช้สัญญาณ 2 สัญญาณที่เหมือนๆกันป้อนเข้าลำโพง สัญญาณแรกป้อนเข้าลำโพง 4 โอห์ม และอีกสัญญาณป้อนเข้าลำโพง 8 โอห์ม กระแสที่ไหลในลำโพง 4 โอห์มจะมากกว่าเป็นสองเท่า หรืออีกนัยหนึ่งก็อาจกล่าวได้ว่าลำโพง 8 โอห์มต้องการกำลังวัตต์มากกว่าเป็นสองเท่าในความดังเสียงที่เท่าๆกัน

ข้อแตกต่างของ ระบบเสียง โอห์ม (Ohm) และ โวลท์ไลน์ (VoltLine)

สาระน่ารู้ เรื่องระบบโอห์ม และ ไลน์ สำหรับท่านที่มีข้อสงสัย คลิปเดียวอธิบายเข้าใจง่าย!

อ่านเลย คลิก

2. Omni directional

โอมนิไดเร็คชั่นแนล เป็นรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนชนิดหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการรับเสียงแบบรอบทิศทาง ไมค์ประเภทนี้ได้แก่ ไมค์หนีบปกเสื้อหรือ Lavalier microphone ซึ่งนิยมใช้สำหรับ รีวิว ไลฟ์สด การถ่ายคลิป เป็นต้น

1. Pad (-10db )

แพด บนมิกเซอร์มีความหมายว่า ลดทอนสัญญาณลง เช่น Pad -10 db เมื่อกดปุ่มนี้สัญญาณจะลดลงถึง -10 db

2. Pan

แพน หรือ pan ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวา และทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง (Track) เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย

3. Parametic EQ

พารามีติก อีคิว มีหน้าที่บูสท์และคัดความถี่และเราสามารถกำหนดความถี่ได้เอง อีคิวชนิดนี้เมื่อเราบูสท์หรือคัดความถี่ใดความถี่หนึ่งก็จะมีผลกับความถี่ใกล้เคียงด้วย เช่นเราบูสท์หรือคัดความถี่ 80Hz ก็จะมีผลกับความถี่ที่ต่ำและสูงกว่า 80Hz ด้วย อีคิวชนิดนี้เหมาะสำหรับปรับคุณภาพของเสียงแต่ละชาแนล อีคิวชนิดนี้ส่วนมากก็จะอยู่บนชาแนลของมิกเซอร์ทั้ง อนาล็อกและดิจิตอลมิกเซอร์

4. Peak meter

พีคมิเตอร์ ทำหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาในชาแนลนั้นๆของมิกเซอร์ Input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (Gain) หรือพาราเมตริก อีคิว วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้เต็มที่ ในขณะที่เราวัดจาก VU Meter และทำให้ทราบได้ว่ามีช่วง ไหนของสัญญาณทีมีความแรงที่สุด

5. Peak Power

พีค เพาเวอร์ เป็นค่าที่มากกว่า Program Power หนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง

6 . Peak Power Handling

พีคเพาเวอร์ แฮนด์ดิ้ง คือกำลังสูงสุด แต่เป็นค่าที่วัดแค่เสี้ยววินาทีแต่ไม่ก่อให้เกิดการเสียหายแก่อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขยายเสียงหรือลำโพง และค่านี้จะบอกว่ากำลังของเครื่องขยายเสียงหรือลำโพงให้ค่า พีคเพาเวอร์สูงสุดที่เท่าไหร่

ผู้ผลิตบางรายจะบอกกำลังขับสูงสุดนี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนเอง แทนการบอกอัตรากำลังเฉลี่ย(RMS) จึงอยากแนะนำให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเลือกอย่างเหมาะสม

7. Phantom

แฟนทอม ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ DC ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์ (Volt)

8. Phase

เฟส ทำหน้าที่ในการปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้อง ที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายสัญญาณผิดพลาดหรือสลับขั้ว หรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟสกัน (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนสัญญาณอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งในบางครั้งเราสามารถสังเกตุได้จากการฟังเสียงว่ามีเสียงในบางย่านความถี่หายไป หรือ เบาลงหรือไม่ ซึ่งเราสามารถลองกดปุ่มนี้ได้เลย โดยไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

9. Polypropylene

โพลี่โพไพลีน เป็นวัสดุที่นิยมสำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่นตู้ลำโพง ดอกลำโพง วัสดุโพลี่โพรไพลีนให้ความยืดหยุ่นมีความแข็งแรง และทนทานต่อความเปียกชื้นได้สมบูรณ์แบบ

10. Power Handling

เพาเวอร์ แฮนด์ดิ้ง หรือ Power Handling ของตู้ลำโพงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • คอนทินิว เพาเวอร์ Continuous Power หรือ RMS Power
    เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับแบบต่อเนื่องด้วยสัญญาณ Sine Wave ต่อเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนดโดยที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงไม่เกิดความเสียหาย
  • โปรแกรม เพาเวอร์ Program Power
    เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด ซึ่งแอมปิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอด
  • พีคเพาเวอร์ Peak Power
    เป็นค่าที่มากกว่า Program Power หนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพง สามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพง
วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานลำโพงร่วมกับเพาเวอร์แอมป์

คำนึงถึง "เพาเวอร์แอมป์" เพื่อดึงประสิทธิภาพของตู้ลำโพง Passive นั้นๆ ออกมาให้เต็มประสิทธิภาพ

อ่านเลย คลิก

11. Post ในมิกเซอร์

Post โพสต์ หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาชาแนลเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟกต์อื่นๆ ก็ตาม

12. Pre ในมิกเซอร์

ปรี หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในชาแนลเสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์ (เฟดเดอร์นี้มักจะอยู่ล่างสุดและมีลักษณะยาว) ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่จะไปดังออกที่ภาคปรี (Pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (Reverb) เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวิร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักที่ทำให้สามารถนำสัญญาณนั้น ๆ ไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามแต่ต้องการหรือสร้างสีสันทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง

PRE (ปรี) และ POST (โพสต์) ในมิกเซอร์ คืออะไร? ทำหน้าที่อะไร?

ไม่ว่าจะป็นมิกเซอร์รุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ อนาล็อกหรือดิจิตอลมิกเซอร์ เราก็จะสังเกตเห็น 2 คำนี้เสมอๆ

อ่านเลย คลิก

13. Preamp

ปรีแอมป์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับซอร์ทเสียงต่างๆเช่น เครื่องเล่น, ซีดี, เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องมัลติเพลเยอร์อื่นๆ เข้ามาที่ตำแหน่งอินพุตของ ปรีแอมป์ ก่อนจะส่งต่อไปหาเครื่องขยายเสียง ในตำแหน่งเอาต์พุตของปรีแอมป์ ในปรีแอมป์ก็จะประกอบด้วยฟังก์ชั่นเบสิคพื้นฐานเช่น ปุ่มปรับเพิ่มความดัง บางรุ่นมีปุ่มปรับเสียงทุ้มเสียงแหลม และมีปุ่มปรับบาลานซ์ซ้ายขวา มีช่องอินพุต และช่องเอาต์พุตด้วย

14. Public Address system (P.A)

พลับบริคแอดเดรส หรือระบบเสียง พี.เอ หรือระบบ Sound Reinforcement ระบบเสียงแบบนี้พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่างๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, งานกระจายเสียงทั่วไป, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึงในห้องประชุม เป็นต้น

1. RACK

แร็ค คือตู้หรือกล่องสำหรับเก็บอุปกรณ์เครื่องเสียงและสามารถนำอุปกรณ์เครื่องมาติดตั้งไว้ในตู้แร็คเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบ ซึ่งตู้แร็คมีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน มีหน่วยเรียกความสูงเป็น U (ยู ) เช่น 2 U 4U 16U เป็นต้น

2. Resonance

เรโซแนนท์ เป็นการสั่นสะเทือนของกรวยลำโพง ซึ่งกรวยลำโพงทั่วไปจะมีการสั่นสะเทือนในความถี่ที่ถูกต้อง การก้องสะเทือนที่มากเกินไปจะทำให้ความเที่ยงตรงในการทำงานของลำโพงน้อยลงไป

3. RMS Power

อาร์ เอ็ม เอส ย่อมาจาก root mean square เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับแบบต่อเนื่องด้วยสัญญาณ Sine Wave ต่อเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนดโดยที่เครื่องขยายเสียงหรือตู้ลำโพง หรือ ดอกลำโพงไม่เกิดความเสียหาย

4. Resistance

รีซิสแตนท์ ความต้านทาน (Resistance) ในความหมายของอิเล็กทรอนิกส์เป็นอะไรที่คล้ายกับค่าความเสียดทานในรูปแบบทางเครื่องกล คือการหยุดอิเล็กตรอน (การวิ่งของอิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า) มากมายที่ไหลผ่านวัสดุ

ซึ่งเป็นตัวที่ทำหน้าที่เป็นความต้านทานในวงจรโดยจะมีหลายค่าให้เลือกใช้งาน ทั้งแบบคงที่และแบบปรับค่าได้ หน่วยเป็นโอห์ม

1. Sensitivity microphone

เซนซิติวิตี้ ไมโครโฟน ค่าความไวของไมโครโฟน เกิดจากกระแสไฟฟ้าขาออกจากตัวไมโครโฟนมีหน่วยเป็นมิลลิโวลท์ กระแสไฟฟ้าที่ออกมานี้เกิดจากการรับสัญญาณที่เข้ามาจากไดอะแฟรมซึ่งเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กน้อยออกมา และใช้หน่วยวัดความถี่เสียงที่เรียกว่า spl

ค่าความไวในการรับเสียงของไมโครโฟน ว่ามีความไวในการรับเสียงอยู่ที่…เท่าไหร่เช่น

-54.5 dBV/Pa (1.85 mV)

1 Pa = 94 dB SPL (ทดสอบจากระยะห่างจากไมโครโฟนที่ระยะ 1 นิ้ว)

2. Sensitivity speaker

เซนซิติวิตี้ สปีกเกอร์. คือค่าความไวของลำโพงมีหน่วยเป็น db เช่น 98db 103db หรือ 88 db บ้าง แล้วแต่ความไวของลำโพงแต่ละชนิด การวัดค่าความดัง(db)

เมื่อเทียบกับวัตต์ (1 watt) และให้วัดระยะห่างจากลำโพงที่ 1 เมตร ก็จะได้ความดังหรือความไว ซึ่งหน่วยจะเป็นเดซิเบล แนะนำควรเลือกลำโพงที่มีค่า db สูงๆเพื่อใช้งาน

3. Shot Gun

ชอร์ทกัน ไมโครโฟน มีรัศมีในการรับเป็นแบบเฉพาะจุดในทิศทางที่ไมค์ชี้ไปหาต้นเสียง จึงเหมาะสำหรับงานของนักข่าวหรือใช้งานกับการบันทึกเสียงสัตว์ในป่า หรือ การแสดงละครร้องหรือบทพูดบนเวที เป็นต้น

4. Signal-to-Noise Ratio

ซิกแนล ทู นอยท์ เรโช คือ อัตราสัญญาณเสียงต่อคลื่นรบกวน หรือการวัดความดังของสัญญาณรบกวนเมื่อกล้องถูกใช้งานในการขับกำลังที่ 1 วัตต์ โดยมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล dB

5. Solo

โซโล ปุ่มโซโล่ทำหน้าที่ตัดสัญญาณแต่ล่ะช่องเสียงออกมาเพื่อการรับฟังโดยอิสระโดยเราจะได้ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องปิดช่องเสียงอื่นๆ เช่น ในขณะที่กำลังฟังเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์สี่ช่องเสียงพร้อมๆกัน และเราต้องการฟังตรวจสอบเสียงจากช่องเสียงที่สองเพียงช่องเดียว เราก็กดปุ่มโซโลลงไปเราจะได้ยินเสียงจากช่องเสียงที่สองเท่านั้นซึ่งมันจะทำหน้าที่ตัดแยกเสียงในช่องเสียงอื่นๆให้เงียบโดยอัตโนมัติ

6. Sound

ซาวด์ เสียงหรือคลื่นความถี่เสียง อธิบายได้ง่ายๆ ถ้าเราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ แล้วทำให้น้ำกระจายออกเป็นระลอกเกิดคลื่นขึ้น มันก็เหมือนการเคลื่อนที่ของเสียง (Wave) สามารถอธิบายเชิงลึกได้ว่าก้อนหินคือ ต้นกำเนิดเสียงที่ทำให้เกิดเสียง (Source) จุดที่ก้อนหินกระทบกับน้ำแล้วก่อให้เกิดเสียงเรียกว่า (Sound) ส่วนการกระจายตัวของคลื่นน้ำก็เปรียบสเมือนคลื่นเสียง (Sound wave) ซึ่งแต่ละลูกคลื่นที่น้ำกระจายตัวออกมาเรียกว่า ไซเคิล (Cycles) สำหรับความเร็วของการเคลื่อนที่ของวงคลื่นนับตั้งแต่จุดที่เราปาก้อนหินลงไปกระทบน้ำ จนเกิดการกระจายของคลื่นสิ้นสุดลงเราเรียกว่า ความถี่ (Frequency)

7. Sound Pressure Level (SPL)

ซาวด์ เพรสเชอร์ เลเวล (เอา พี เอล) เป็นหน่วยวัดค่าความดังสูงสุดของเสียงใช้หน่วยวัดเป็น dB เดซิเบล ไม่มีกำหนดค่ามาตรฐาน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่มาก หมายถึงความดังเสียงที่ดังเพิ่มขึ้น และ ในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่น้อย หมายถึงความดังเสียงที่ดังลดลง SPL จะวัดในหน่วย dB

8. Soundstage

ซาวด์ สเตต เวทีเสียงนั้น ถูกใช้เพื่อบ่งบอกถึงความกว้าง, ความลึก และความสูงของเนื้อเสียงรวมที่ได้ยินได้ฟัง ให้ความรุ้สึกถึงการวางชิ้นดนตรีในบริเวณต่างกันบนเวทีเล่นจริง, เสียงร้อง/เสียงดนตรีที่แยกตำแหน่งได้อิสระ เมื่อรวม “จินตภาพ” จากระบบเสียงสเตอริโอเข้ากับ “เวทีเสียง” จะทำให้เกิดการฟังเพลงที่เปี่ยมอรรถรส

9. Spectrum Analyzer

สเปคตรัม อนาไลเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการวัดสัญญาณในย่านความถี่สูงมากๆ เช่นความถี่จากเสาอากาศ หรือ VCO และมีความสามารถพิเศษในการปรับรูป IQ ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ซึ่งเครื่องมืออื่นๆ ไม่สามารถจัดการได้ และสเปคตรัมอนาไลเซอร์ยังสามารถวิเคราะห์อาการเสียได้อย่างแม่นยำด้วย

10. Stereo Master Fader

สเตอริโอ มาสเตอร์ เฟดเดอร์ มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (Slide Volume) และแบบหมุน ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายและขวาก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ

11. Subsonic Filter

ซับโซนิค ฟิลเตอร์ เป็นการกรองความถี่ที่อยู่ต่ำกว่าย่านเบสต่ำทิ้งไป ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เพาเวอร์แอมป์ทั่วไปไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว อันมีผลทำให้ภาคจ่ายไฟของเพาเวอร์แอมป์และอุปกรณ์เอาต์พุตรวมถึงลำโพงมีประสิทธิผลสูงขึ้น

12. Subwoofer Output

ซับวูฟเฟอร์เอาต์พุต คำนี้จะพบมากในเครื่องเสียงโฮมยูสและเครื่องเสียงทั่วไป ความหมายของซับวูฟเฟอร์เอาต์พุตคือช่องต่อสัญญาณขาออกสำหรับต่อซับวูฟเฟอร์ภายนอกสำหรับเพิ่มความหนักแน่นของระบบเสียง คอนเนคเตอร์ส่วนมากจะเป็นแจ็คเเบบ RCA ด้านท้ายเครื่อง. (บางเครื่อง มีครอสโซเวอร์ให้ปรับเพื่อกรองความถี่ต่ำให้ใช้งานอีกด้วย)

13. Supercardioid

ซูเปอร์ คาร์ดิออย มีรัศมีการรับเสียงด้านหน้าที่แคบกว่า Cardioid แต่จะมีลักษณะที่คล้ายกับ Hypercardioid มาก ต่างกันตรงที่ รัศมีการรับเสียงที่ด้านหลังจะแคบกว่ามาก

1. Three-Way Crossover

ทรี เว ครอสโอเวอร์แบบ 3 ทิศทาง จะทำให้เพาเวอร์แอมป์สเตอริโอ 1 เครื่อง(2 ชาแนล) สามารถขับชุดลำโพงซ้าย/ขวาพร้อมกับซับวูฟเฟอร์ 1 ตัวได้ โดยมีสายลำโพงต่อเข้าครอสโอเวอร์เพียง 2 ชุด(ซ้าย/ขวา) แต่มีจุดต่อออกสายลำโพงเป็น 3 ชุด(ซ้าย/ซับ/ขวา) ดังนั้นลำโพงซ้าย/ขวาจะรับกำลังวัตต์ในแต่ละชาแนล ในขณะที่ซับวูฟเฟอร์จะรับกำลังวัตต์ในลักษณะการบริดจ์กำลัง

วิธีต่อใช้งานครอสโอเวอร์ (Crossover) ง่ายนิดเดียว!!

หนึ่งในอุปกรณ์ที่แบ่งแยกความถี่ของลำโพง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเสียง ซึ่งอุปกรณ์นี้เรียกว่า Crossover

อ่านเลย คลิก

2. Three-way speaker

ทวี เว สปีกเกอร์ ลำโพง 3 ทางหรือไตรแอ็คเชียล เป็นลำโพงที่แยกส่วนของวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์ในลักษณะเดียวกับลำโพง 2 ทาง แต่มีการเพิ่มมิดเรนจ์สำหรับขับแยกเฉพาะเสียงกลาง หรือบางยี่ห้อก็เลือกเพิ่มซุปเปอร์ทวีตเตอร์แทนมิดเรนจ์ เพื่อขยายแนวส่วนของเสียงแหลมให้กว้างออกไป ส่วนลำโพง 4 ทาง ก็จะประกอบด้วยวูฟเฟอร์, มิดเรนจ์, ทวีตเตอร์ และซุปเปอร์ทวีตเตอร์เพื่อให้รายละเอียดของเสียงได้มากกว่า

ระบบเสียง 1 ทาง, 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง, 5 ทาง มีจุดเด่นอะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร?

มีจุดเด่นอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร? เรามาติดตามดูพร้อมๆกันเลย

อ่านเลย คลิก

3. Tweeter

ทวีตเตอร์ เป็นลำโพงขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อการให้เสียงความถี่สูง(เสียงแหลม) กรวยทวีตเตอร์มักมีประสิทธิผลสูงและต้นทุนต่ำ ตัวทวีตเตอร์มักเป็นทรงโดมและทรงกลมแบบเดียวกับที่พบเห็นกันในลำโพงบ้าน ให้มุมกระจายเสียงเป็นบริเวณกว้าง โดยมีความราบรื่นในการให้เสียงอย่างถูกต้อง ทวีตเตอร์แบบสมมาตรจะใช้รูปทรงโดมและทรงกลมร่วมกัน จึงให้เสียงแหลมที่สะอาดชัดเป็นเลิศและแผ่เสียงเป็นบริเวณกว้างมากๆ  ทวีตเตอร์อาจทำขึ้นจากวัสดุหลากหลายเช่น โลหะ, กระดาษ, อลูมิเนี่ยม, ไตตาเนี่ยม หรือแผ่นฟิล์มสังเคราะห์จากโพลีเธอริไมด์ (PEI) หรือคาราเด็ค (polyethylene naphthalate) ซึ่งให้ผลในการรับฟังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ฟัง

4. Two-Way Crossover

ทูเวย์ครอสโซเวอร์ เป็นครอสโซเวอร์แบบ สองทาง แยกเสียงทุ้มหรือเสียงต่ำออกจากลำโพงกลางแหลม เลือกดูสินค้าครอสโอเวอร์คลิก

5. Two-way speaker

ทู เว สปีกเกอร์ ลำโพง 2 ทางหรือดอกลำโพงแบบโคแอ็คเชียล เป็นการนำเสนอเสียงผ่านทางลำโพง 2 แบบที่แยกส่วนกัน โดยมีทวีตเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายในวูฟเฟอร์ให้โทนเสียงแหลม และวูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้ม

1. Volume

วอลลุ่ม คือตำแหน่งลดหรือเพิ่มความดังเสียงในระบบเสียง มีทั้งแบบโรตาลี่แบบมือหมุนพบในเครื่องเสียงทั่วไป และแบบเฟดเดอร์สไลด์สามารถลดหรือเพิ่มความดังพบในมิกเซอร์ทั่วไป

2. Voice coil

วอยซ์คอยล์ คือคอยล์ที่พันเอาไว้ด้วยขดลวดภายในลำโพงเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก เพื่อช่วยเหลือส่วนประกอบอื่นๆของลำโพง โดยวอยซ์คอยล์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเชิงกลที่ใช้ในการผลิตเสียง ลำโพงทั่วไปในปัจจุบันจะมีวอยซ์คอยล์ที่ทนทานความร้อนได้สูง จึงให้การใช้งานได้ยาวนานกว่า

1. Woofer

วูฟเฟอร์ หรือลำโพงเสียงเบสที่ตอบสนองความถี่ย่านต่ำ ซึ่งเป็นลำโพงที่มีกรวยขนาดใหญ่ โดยประสิทธิผลของการทำงานจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ผลิตกรวย ที่จะต้องมีน้ำหนักเบาและแข็งแกร่ง กรวยมักทำขึ้นจากอลูมิเนียม, ฟิล์มสังเคราะห์คล้ายๆกับโพลี่โพรไพลีน), ผสมระหว่างโพลี่กับวัสดุอื่น (เช่น ไมก้า) หรือกระดาษอัดแน่น เพื่อให้ได้เสียงที่ดีเยี่ยม และทนทานต่อความร้อน, ความเย็น และความชื้น ตามสภาพแวดล้อมภายในรถได้ดีด้วย

สรุป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับคำศัพท์เทคนิคระบบเสียงทั้งหมด โดยที่เราได้เรียงตามตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อความง่ายต่อการค้นหา อธิบายคำศัพท์เทคนิคแต่ละอย่างให้ได้อย่างเข้าใจง่ายๆกันเลยครับ อาจทำประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกท่าน สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อนนะครับไปเจอกันในสาระความรู้ต่อไปครับ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก