5 เทคนิคสุดเจ๋ง ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอน (Feedback) อย่างง่าย

5 เทคนิคสุดเจ๋ง ช่วย ลดการเกิดเสียง ไมค์หวีดหอน
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » 5 เทคนิคสุดเจ๋ง ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอน (Feedback) อย่างง่าย

Estimated reading time: 3 นาที

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรค ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงที่ผ่านมาโดยตลอด อันดับต้นๆ ย่อมหนีไม่พ้น การเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างแน่นอน… วันนี้ SoundDD.Shop จะนำสาระเล็กๆน้อย ” 5 เทคนิคสุดเจ๋ง… ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)” ที่รวมทั้งสาเหตุการเกิดไมค์หอน เทคนิควิธีแก้ ได้อย่างดี พร้อมแล้วรับชมกันเลยครับ

สารบัญ

เสียงไมค์หอนเกิดจากอะไร?

ไมค์หอน คือ สัญญาณเสียงของไมโครโฟนไปยังลำโพงได้ทำการวนกลับซ้ำเข้าสู่ตัวไมโครโฟนอีกครั้ง ทำให้เกิดความถี่สะสมพลังงานซ้ำกัน จึงส่งผลให้เกิดเสียงไมค์หอนที่ออกมายังตัวลำโพงที่เราได้ยินกันนั่นเอง ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์และเสียงที่สูงจนปวดหูได้

ไมค์หอนนั้นเกิดได้จากปัจจัย..หลายๆ กรณีด้วยกัน แต่หลักๆนั้นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดนั่น คือการป้อนสัญญาณเสียง หรือเสียงที่เราพูดผ่านไมโครโฟน จากแหล่งต้นเสียง (Source) จนกระทั่งสัญญาณเดินทางผ่านเครื่องมือและอุปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อออกสู่ลำโพง หากแม้สัญญาณที่ได้นั้นออกสู่ผู้ฟัง ตามกระบวนการที่น่าจะเป็น ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ หากแต่สัญญาณที่ได้เกิดอาการวนซ้ำ กลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง ผลลัพธ์ที่จะได้รับกลับมา นั่นคือ การเกิดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นเอง

แชร์หน้านี้ :

นี่ก็เป็นสาเหตุเบื้องต้น ที่มักจะพบได้บ่อยๆ ซึ่งหน้างาน สถานที่ใช้งานจริงๆนั้น อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็เป็นไปได้ แต่หากทำตามคำแนะนำเบื้องต้น ตามคลิปดังกล่าวแล้ว ก็สามารถสบายใจ หายห่วงไปได้เยอะมากๆแล้วครับ

5 เทคนิคสุดเจ๋ง… ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอน (Feedback)

เป็นเทคนิคที่ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอนได้เป็นอย่างดีที่นำไปปรับใช้ได้ ทั้งเรื่องการปรับสัญญาณให้เหมาะสม, การเลือกชนิดไมโครโฟนในการใช้งาน, การใช้งานไมโครโฟนให้ถูกต้อง, การออกแบบ การวางลำโพงให้ถูกหลัก และ การใช้อุปกรณ์เสริม ทั้ง 5 เทคนิคนี้จะช่วยได้เป็นอย่างมาก ไร้กังวลเสียงไมค์หอนได้เลย โดยมีเทคนิคดังนี้

1. การตั้งค่าเกน (Gain) อินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ให้ได้ระดับสัญญาณที่เหมาะสม ที่สุด...

การตั้งค่าเกน (Gain) อินพุท (Input) บนมิกเซอร์

การปรับเกน (Gain) บนมิกเซอร์ เป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกๆ ของผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง หรือผู้ที่สนใจด้านระบบเสียง ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจของ ระดับสัญญาณให้ถูกต้อง เพื่อนำไปใช้งานให้ได้ดีที่สุด ในบางครั้งการเพิ่มเกน (Gain) อินพุท (Input) ในระดับสัญญาณที่มาก ยิ่งได้รายละเอียดของเสียงที่ดียิ่งขึ้น แต่อาจได้มา ซึ่งสัญญาณรบกวนรอบข้างเข้ามาได้ง่าย และจำนวนมากอีกด้วย นั่นเป็นสาเหตุอันดับแรก…ที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอนได้ง่าย

เพราะฉะนั้นการปรับเกน (Gain) หรือขยายสัญญาณของอินพุท (Input) บนมิกเซอร์ ควรปรับให้อยู่ในระดับ ความแรงของสัญญาณที่เหมาะสมอย่างที่สุด…เป็นวิธีแรกที่ช่วยให้เราป้องกันเสียง ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังได้เกนอินพุท (Gain Input)  ขาเข้าของสัญญาณได้อย่างเหมาะสม และยังได้เนื้อเสียงทีดี และมีคุณภาพอีกต่างหาก…

2. การเลือกใช้ชนิดของไมโครโฟนให้ถูกต้องและเหมาะกับสมกับลักษณะของงาน

การเลือกใช้ชนิดของไมโครโฟนให้ถูกต้องและเหมาะกับสมกับลักษณะของงาน

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจและศึกษาเบื้องต้นกันเสียก่อนว่าไมโครโฟนที่เราจะนำมาใช้งานนั้น มีลักษณะรูปแบบการรับเสียงในแบบใด ซึ่งเราเรียกรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนนี้ว่า “แพทเทิล” (Pattern) โดยแต่ละรูปแบบ ก็จะมีพื้นฐานการรับเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเราต้องคำนึงถึงรูปแบบการรับเสียงเป็นสำคัญ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานให้ถูกวัตถุประสงค์และถูกต้อง ให้มากที่สุด

ยกตัวอย่าง เช่น การนำไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงในแบบ “ออมนิไดเร็คนั่นแนล” (Omnidirectional) มาใช้งานบนเวที ซึ่งรูปแบบการรับเสียงไมโครโฟนชนิดนี้ นั้นสามารถรับเสียงได้ ในแบบรอบทิศทาง ซึ่งแน่นอนว่าบนเวที มีทั้งเสียงลำโพง และเสียงเครื่องดนตรีอย่างมากมาย และปัญหาที่จะตามมา นั่นคือ เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงจากลำโพงเข้าสู่ ไมโครโฟนได้โดยง่าย ปัญหาที่ตามมานั้นก็คงจะหนีไม่พ้น ปัญหาการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) นั่นเอง

***หากเราเลือกใช้ไมโครโฟนให้ถูกต้องกับลักษณะงาน ก็จะช่วย ไม่ให้ไมค์หวีดหอน ได้ในระดับนึงแล้วครับ ทางเรามีแนะนำไมโครโฟนที่มีคุณภาพไม่เกิดไมค์หอน คลิกเลย

3. พฤติกรรมการใช้งานไมโครโฟนของ...ผู้ใช้งาน

ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียง ย่อมจะต้องทำความเข้าใจ แนวทางที่จะก่อให้เกิดปัญหาเสียงไมค์หวีดหอนอย่างถ่องแท้…เสียก่อน และทำความเข้าใจกับผู้ที่ใช้งานจริง บนเวทีด้วย เช่น พิธีกรในงาน ศิลปิน หรือ Mc ประชาสัมพันธ์ ตามงานและพิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง ในรูปแบบ และเทคนิคการใช้งานต่างๆ เช่น…

การพูดให้ใกล้ไมโครโฟนที่สุด เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะได้ความชัดเจนของเสียงยิ่งขึ้น เพราะการพูดห่างไมโครโฟนมากเกินไป อาจทำให้ผู้ที่ทำงานด้านระบบเสียงต้องเร่งเกน ของสัญญาณอินพุทของไมโครโฟนเพิ่มมากขึ้น  นั่นอาจทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback)ได้โดยง่าย

พฤติกรรมที่ชอบกำหัวไมค์ในขณะ พูด หรือร้องเพลงของผู้ใช้งาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน(Feedback) ได้ง่าย เพราะการกำหัวไมค์ขณะใช้งาน ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดการผิดเพี้ยนของวงจรการรับเสียงของตัวไมโครโฟนเอง ที่ผิดพลาด และผิดแปลกไป ทำให้เกิดการวนของสัญญาณภายในตัวของไมโครโฟน..นั่นเอง

4. การออกแบบระบบและจัดวางลำโพงที่ถูกต้อง

5 เทคนิคสุดเจ๋ง...ช่วย ลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างง่าย ปัญหาใหญ่ทีเป็นปัญหาและอุปสรรค อันดับต้นๆ ย่อมหนีไม่พ้น การเกิดเสียงไมค์หวีดหอน...

แน่นอนว่า..หากการออกแบบระบบเสียง หรือการจัดตั้งลำโพงผิดพลาด หรือการเลือกใช้งานลำโพงที่ผิดประเภท ตั้งแต่แรก ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ของห้อง หรือ พื้นที่ ในการใช้งาน เช่น การออกแบบและจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ให้อยู่ด้านหลังของจุดตั้งวางใช้งานไมโครโฟน ย่อมก่อให้เกิดการวนซ้ำของสัญญาณเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟนได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) ได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นการจัดวางลำโพงหลัก “Main PA” ผู้ออกแบบต้องจัดวางลำโพงให้เยื้องและจัดวางให้ล้ำ มาด้านหน้าเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่ออกมาจากด้านหน้าของตัวตู้ลำโพง วนซ้ำกลับเข้าสู่ไมโครโฟนอีกครั้ง

5. การใช้เครื่องมือและ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)

สำหรับวิธีสุดท้าย…ที่จะช่วย แก้ไมค์หวีดหอน นั่นคือ การใช้อุปกรณ์ชนิดต่างๆ เข้ามาใช้งานภายในระบบของเรา เช่น อุปกรณ์จำพวก อีควอไลเซอร์ (Equalizer) , คอมเพรสเซอร์ (Compressor) , แอนตี้ ฟี๊ดแบค (Anti Feedback) หรือ อุปกรณ์จำพวก Filter ต่างๆ (หรือกรองคลื่นความถี่) ซึ่งอุปกรณ์จำพวกนี้ในยุคปัจจุบัน มีออกมาให้เลือกใช้งานกัน อย่างแพร่หลาย…วิธีการใช้งานก็ขึ้นอยู่ กับความสามารถ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานของแต่ละท่าน  เช่น

– การใช้อีควอไลเซอร์ (Equalizer) เพื่อบูธ หรือ เพิ่มเพื่อหาย่านความถี่เสียงที่ทำให้เกิดเสียงหอน และลด หรือคัท เสียงในย่านความถี่นั้นลง เพื่อลดอาการเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) การใช้งานในลักษณะนี้ผู้ใช้งานต้องมีประสบการณ์ในการฟังเสียงและการปรับแต่ง…เป็นอย่างมาก

– ‎การใช้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อกดระดับสัญญาณของเสียง เพื่อให้ได้ระดับสัญญาณของเสียง ตามที่เราต้องการ เพื่อลดปัญหาการเกิดการพีค (Peak) ของสัญญาณเสียง อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback)

– ‎การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “แอนตี้ ฟี๊ดแบค” (Anti feedback) โดยการให้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ หาย่านความถี่ของเสียงที่ทำให้เสียงไมค์หวีดหอนโดยอัตโนมัติ และทำการคัท หรือลดเสียงย่านนั้นลงอัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้งานง่ายและนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

สรุป

ทั้งหมดคือ 5 เทคนิคสุดเจ๋ง…ช่วย ลดการเกิดเสียงไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างง่าย…ที่ไม่ว่าใครๆ ก็สามารถนำไปเป็นเทคนิค และ แนวทางในการทำงานได้อย่างถูกต้อง ก็หวังว่าจะ แก้ไมค์หวีดหอน กันได้บ้างนะครับ แล้วพบกับบทความดีๆ พร้อมสาระที่เป็นประโยชน์อีกครั้ง ในโอกาสต่อไป เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์แก่ท่านบ้าง ..ไม่มากก็น้อย

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

คู่มือการเลือก ซื้อหูฟังบลูทูธ เลือกยังไงให้คุ้ม เหมาะกับคุณมากที่สุด

ตีแผ่คู่มือการเลือกซื้อหูฟังบลูทูธ ไล่ตั้งแต่ ราคา ยี่ห้อ ไปจนถึงคุณสมบัติสำคัญที่คุณควรพิจารณา อยากรู้ คลิกดิ!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก