Full-Duplex คืออะไร? สำคัญกับ Video Conference ยังไง?

Full-Duplex คือ
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » Full-Duplex คืออะไร? สำคัญกับ Video Conference ยังไง?

Estimated reading time: 4 นาที

เมื่อพูดถึงการประชุมออนไลน์ Video Conference คุณคงเคยได้ยินคำว่า “Full Duplex” ผ่านหูกันมาบ้าง แล้วอาจจะเกิดคำถามขึ้นว่า “Full Duplex นี่มันคืออะไร?” ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จัก รูปแบบการสื่อสาร หรือ Data Communication ทั้ง 3 แบบ  Simplex, Half Duplex และ Full Duplex ว่าแต่ละแบบคืออะไร? มีการรับ-ส่งข้อมูลกันอย่างไร? และแบบไหนดีกว่ากัน!? ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

สารบัญ

การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล (Data Communication) คืออะไร?

Data Communication คือ

ในโลกปัจจุบันที่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมต่อกันบนระบบเครือข่าย(Network) การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล หรือ Data Communication เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยขับเคลื่อนโลกดิจิตอลอยู่เบื้องหลัง เรียกว่าเป็นผู้ปิดทองหลังพระ ที่ทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างลื่นไหล เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยที่การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล หรือ Data Communication คือ การรับ-ส่งข้อมูลในทุกประเภท ไม่ใช่แค่ข้อความ ตัวเลข แต่นับรวมครอบคลุมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง หรือวิดีโอก็ตาม


รูปแบบการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลทั้ง 3 แบบ

การรับ-ส่งข้อมูล จะถูกแบ่งแยกย่อยตามความสามารถออกเป็นทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ

    1. Simplex
    2. Half-Duplex
    3. Full-Duplex
Simplex คือ

Simplex คือ


รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลที่มีทิศทางการไหลของข้อมูล(Data Flow) แบบ 1-Way ยกตัวอย่าง เป็นจุด A และ B ตามภาพ หากจุด A เป็นเครื่องส่ง และจุด B เป็นเครื่องรับ จุด A จะทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งเท่านั้น และจุด B ก็จะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับเท่านั้นเช่นกัน

ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Simplex

เครื่องส่งสัญญาณไมค์ลอย(Transmitter) เปรียบเป็นจุด A ตามภาพ เครื่องรับสัญญาณไมค์ลอย(Receiver) เปรียบเป็นจุด B ตามภาพ

เครื่องส่งสัญญาณไมค์ลอยจะทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับสัญญาณได้ และเครื่องรับสัญญาณก็จะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับเพียงอย่างเดียว นั่นเองครับ

เกร็ดความรู้ Simplex

โดยส่วนมากการรับ-ส่งสัญญาณแบบ Simplex จะพบได้มากในอุปกรณ์ที่รับ-ส่งข้อมูล บนรูปแบบของคลื่นวิทยุ

Half-Duplex คือ

Half-Duplex คือ


รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลที่มีทิศทางการไหลของข้อมูล(Data Flow) แบบ 2-Way คือทั้งจุด A และจุด B สามารถที่จะเป็นได้ทั้งเครื่องส่ง และเครื่องรับ แต่ไม่สามารถที่จะเป็นทั้งเครื่องส่ง และเครื่องรับในจังหวะเวลาเดียวกันได้ กล่าวโดยง่ายคือ การรับ-ส่งข้อมูลแบบ Half-Duplex ข้อมูล ไม่สามารถ ที่จะเดินทางสวนกันในจังหวะเวลาเดียวกันได้นั่นเอง

ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Half-Duplex

วิทยุสื่อสารแบบ 2 ทาง Walkie-Talkies เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด โดยที่ทั้งจุด A และจุด B สามารถที่จะเปลี่ยนสถานะตัวเองจากเครื่องส่ง เป็นเครื่องรับได้ แต่ไม่สามารถที่จะพูดพร้อมกันทั้ง 2 จุดได้ เพราะสัญญาณจากฝั่งหนึ่งฝั่งใดจะขาดหายไป

Full-Duplex คือ

Full-Duplex คือ


รูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้รับการใช้งานแพร่หลายมากที่สุด เรียกว่าอยู่ในหลายสิ่งหลายอย่างจนคุณอาจจะคาดไม่ถึง มีทิศทางการไหลของข้อมูล(Data Flow) แบบ Absolute 2-Way Communication หรือ การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบสมบูรณ์

ทั้งจุด A และจุด B สามารถที่จะเป็นได้ทั้งเครื่องส่ง และเครื่องรับ ในจังหวะเวลาเดียวกัน ด้วยการสื่อสารแบบ Full-Duplex ข้อมูล สามารถ ที่จะเดินทางสวนกันไปมาได้ในจังหวะ และเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Full-Duplex
    • การติดต่อสื่อสารกันผ่านระบบโทรศัพท์ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถที่จะพูดโต้ตอบกันแบบเรียลไทม์ได้
    • การรับ-ส่งข้อมูลไปมาผ่าน Internet
    • ระบบการประชุมออนไลน์ Video Conference
เกร็ดความรู้ Full-Duplex

ในทางเทคนิคระบบประชุมออนไลน์ หรือ Video Conference เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Full-Duplex อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการรับ-ส่งข้อมูลผ่าน Internet แต่ในการใช้งานจริง จำเป็นต้องมีฟีเจอร์สำคัญๆ เข้ามาช่วย โดยที่สามารถข้ามลงไปอ่านเกี่ยวกับ ประชุมออนไลน์แบบ Full-Duplex

− กลับไปที่สารบัญ −


Full-Duplex ในงานประชุมออนไลน์ (Video Conference)

Full-Duplex ในงานประชุมออนไลน์ Video Conference

อย่างที่ผมได้บอกไปว่าสำหรับงานประชุมออนไลน์ การประชุมทางไกล หรือ Video Conference ตามเทคนิคแล้ว หากเป็นการประชุมทางไกลในระบบเล็ก ที่สเกลไม่ได้ใหญ่โตมี แล็บทอป ต่อไมค์ เสียบหูฟัง ทุกอย่างเรียบง่าย มันเป็นการสื่อสารแบบ Full-Duplex โดยธรรมชาติ

แต่..

ด้วยความที่ระบบประชุมออนไลน์ ต้องการที่จะนำเสนอโซลูชั่น การประชุมทางไกล ที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เข้าร่วมประชุม อยู่ในสถานที่เดียวกัน เมื่อคุณต้องการห้องประชุมทางไกล ที่เป็นระบบใหญ่ๆ เช่น ต่อเสียงออกลำโพง 4 ตัว ให้ดังไกลไป 7 บ้าน ไมค์ประชุม 8 ตัวรับได้แม้แต่เสียงลมหายใจ ถึงแม้ทางเทคนิคแล้ว การประชุมทางไกล จะเป็น Full-Duplex แต่เมื่อใช้งานจริง การประชุมทางไกลของคุณจะไม่ใช่ การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลแบบ Full-Duplex อย่างที่เขาบอก(เขานี่ใคร..?)

ปัญหาการประชุมทางไกลที่ไม่เป็น Full-Duplex เกิดจาก?

ถ้าคุณได้อ่านมาตั้งแต่เริ่มบทความ คุณน่าจะพอเข้าใจแล้วว่า หากคุณอยากได้ห้องประชุมทางไกลแบบ Full-Duplex สิ่งที่ระบบประชุมทางไกลนี้ จะให้คุณได้ อย่างน้อยที่สุด คือ คุณต้องสามารถที่จะพูดโต้ตอบไป-มา ในจังหวะเวลาเดียวกันได้แบบเรียลไทม์ คือเป็นการสื่อสารแบบ 2-ทางโดยสมบูรณ์

โดยที่ผมจะขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของเรื่องเสียงเพราะในเรื่องภาพ แค่คุณมีกล้อง และเสียบสายถูก ภาพมันไปไม่มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว

Echo และ Reverb ตัวร้าย

เมื่อคุณต่อลำโพงเพื่อรับเสียงสำหรับประชุมทางไกล แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาเหมือนเงาตามตูด นั่นคือ Echo และ Reverb ซึ่งเป็นเหมือนวายร้ายที่มักจะสร้างปัญหาที่น่าปวดหัวให้กับระบบเสียงห้องประชุมอยู่ทุกครั้งไป หากคุณจัดการกับ Echo และ Reverb ไม่ได้ เสียงสะท้อนเหล่านี้ทั้งหมดมันจะทำการวนลูป เข้าไมค์ ออกลำโพง เข้าไมค์ ออกลำโพง(วนกันสนุกเลย) ซึ่งจะทำให้คุณต้องเจอกับ วายร้ายตัวจริงของ การประชุมทางไกลแบบ Full-Duplex นั่นคือ.. “Feedback”


แล้วเราพอจะมีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ยังไง?

เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาหลักๆ ที่ทำให้การประชุมแบบ Full-Duplex ของเรามีปัญหา ทางแก้ง่ายๆ ที่หลายๆ คนเลือกใช้ ก็มีหลากหลายวิธี ดังนี้ครับ

1. เปลี่ยนกลับไปใช้การสื่อสารแบบ Half-Duplex(ถามจริง)

ในเมื่อใช้งานการสื่อสารแบบ Full-Duplex แล้วปัญหามันเยอะ งั้นกลับไปใช้การสื่อสารแบบ Half-Duplex ละกัน ผู้ผลิตบางเจ้าก็ออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วมีซอฟต์แวร์บางอย่างมาครอบไว้ เพื่อลดปัญหา เรื่อง Echo และ Reverb ต่างๆ ที่ต้องเจอ ทั้งที่การสื่อสารกันผ่านระบบ Internet มันจะเป็น Full-Duplex ก็ตาม แต่ปัญหามันเยอะดีนัก งั้นก็สลับกันพูดละกัน ง่ายๆ งั้นเลย

2. หา DSP สักตัวมาจัดการกับ Echo และ Reverb

เป็นทางเลือกที่ดูจะชาญฉลาด กว่าทางเลือกแรกเยอะ(ทางเลือกแรกมันดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย) แค่หา DSP สักตัวมาจัดการกับปัญหาซะก็สิ้นเรื่อง นี่มันยุคไหนแล้ว แต่ก็นั้นแหละครับ “หา DSP สักตัว” มันก็คือต้องเพิ่มงบ เพิ่มอุปกรณ์ แล้ว DSP ที่จะมาจัดการกับปัญหาเหล่านี้มันก็ไม่ใช่ว่าราคาถูกหลักพันซะที่ไหน เท่าที่ทีมงานเห็นว่า ราคาเป็นมิตร แล้วใช้งานได้ดี คุ้มค่า ก็อย่าง Soundvision AEC-2000

3. เลือกใช้อุปกรณ์แบบ All-In-One ที่มี DSP ในตัว

เป็นทางเลือกที่น่าจะยอดเยี่ยมที่สุดแล้ว(ในมุมมองของทีมงาน) ในเมื่อจะใช้งาน ประชุมทางไกล Video Conference ทั้งที ทำไมไม่เลือกใช้ Speakerphone ที่ Built-In DSP ที่ออกแบบมาเพื่อการประชุมออนไลน์แบบ Full-Duplex ตั้งแต่แรก

โดยที่ Speakerphone All-In-One ที่ Built-In DSP มาในตัวแต่แรกที่ทีมงานอยากแนะนำก็จะเป็น Soundvision SVC-3000 Speakerphone ตัวใหม่จาก Soundvision ที่มีทั้งลำโพง ไมค์ และ DSP สำหรับจัดการกับระบบเสียงของห้องประชุมแทบทุกอย่างที่จำเป็น เรียกว่าซื้อตัวเดียว เสียบไฟ พร้อมประชุมออนไลน์ทันที ใช้งานก็ง่าย ประสิทธิภาพที่ได้ก็ยอดเยี่ยม

− กลับไปที่สารบัญ −


สรุป

สำหรับการประชุมทางไกล หรือประชุมออนไลน์ เป็นระบบประชุมที่รับ-ส่งข้อมูลผ่าน Internet ตามเทคนิคแล้วเป็นการสื่อสารแบบ Full-Duplex โดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ก็มีปัญหาที่ตามมานั่นคือ Echo และ Reverb ที่จะทำให้เกิด Feedback ตัวร้าย ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทำให้การประชุมทางไกลแบบ Full-Duplex เกิดขึ้นได้ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด คือ หา DSP สักตัวเพื่อจัดการกับ Echo และ Reverb ให้หมดไปจากห้องประชุมนั่นเองครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย หากเพื่อนๆ สนใจที่จะติดตั้งระบบเสียงห้องประชุม ทีมงานซาวด์ดีดีเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์เรื่องระบบห้องประชุมมากกว่า 20 ปี พร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษา เพื่อวางระบบสามารถติดต่อเราได้ ที่นี่ วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลสินค้าจาก Soundvision

บทความที่คุณอาจสนใจ..

Full-Duplex คืออะไร

ตอบ : การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลสองทางแบบสมบูรณ์ (Absolute 2-Way Communication) ทั้ง 2 ฝ่าย สามารถรับ-ส่งข้อมูล สวนทางกันไปมาได้ในจังหวะ และเวลาเดียวกันได้

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก