Latency คืออะไร และมีผลกระทบอย่างไร?

Latency คืออะไร
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » Latency คืออะไร และมีผลกระทบอย่างไร?

Estimated reading time: 5 นาที

บ่อยครั้งที่เราเลือกซื้อเลือกชมสินค้าไม่ว่าจะเป็น การ์ดจอ, หูฟังไร้สาย, ไมโครโฟน, ออดิโออินเตอร์เฟส และอื่นๆ อีกมากมายแล้วจะเจอกับคำว่า “Low Latency” ในคำอธิบายสินค้าหรือต่อท้ายชื่อรุ่นของสินค้านั้นๆ แล้ว Low Latency หรือ Latency คืออะไร? ในบทความนี้ ซาวด์ดีดี จะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยของคำๆ นี้กัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ

Latency คืออะไร และมีผลกระทบอย่างไร?

Latency คืออะไร?

Latency คืออะไร?


Latency (เลเทนซี) หรือ เวลาแฝง คือ ระยะเวลาในการเดินทางของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง มีหน่วยวัดเป็น มิลลิวินาที (millisecond) ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การสตรีมวิดีโอ เล่นเกมออนไลน์ หรือ การเข้าถึงบริการคลาวด์ เวลาแฝงนั้นมีหลักๆ ด้วยกันสองประเภท: เวลาแฝงของเครือข่าย (Network Latency) และ เวลาแฝงของแอปพลิเคชัน (Application Latency) โดย เวลาแฝงของเครือข่าย คือเวลาที่ข้อมูลใช้ในการเดินทางจากอุปกรณ์ของเราไปยังเซิร์ฟเวอร์และกลับมา ในทางกลับกัน เวลาแฝงของแอปพลิเคชัน หมายถึงเวลาที่แอปพลิเคชันใช้ในการตอบสนองต่อคำสั่งของผู้ใช้ เวลาแฝงทั้งสองประเภทนี้ส่งผลต่อความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพในกิจกรรมในหลายๆ ด้านมากมายในชีวิตประจำวันของเรา

Network Latency


Network Latency หรือที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันในชื่อของ Ping คือ ความเร็วในการตอบสนองของการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ของเรากับอีกอุปกรณ์หนึ่งบนเครือข่าย เป็นการส่งสัญญาณไปยังปลายทาง แล้วรอสัญญาณตอบกลับ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการส่งไปและกลับ คือ Network Latency โดยมีหน่วยวัดเป็น มิลลิวินาที (ms) ยิ่งตัวเลขต่ำ ก็แสดงว่าเครือข่ายมีความรวดเร็วในการตอบสนองสูง

Network Latency มีความสำคัญต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตประเภท เรียลไทม์ เช่น วิดีโอคอล, เกมส์ออนไลน์ หรือ Voip (Voice over IP) เนื่องจาก ค่า Latency ที่ต่ำ จะช่วยให้การใช้งาน ลื่นไหล ไม่เกิดอาการกระตุก, หน่วง หรือที่เราเรียกกันว่า แลค (lag) นั่นเอง

ตัวอย่าง ค่า Network Latency ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานต่างๆ ดังนี้

  • น้อยกว่า 30 ms – เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป
  • น้อยกว่า 40 ms – เหมาะสำหรับการเล่นเกมส์ออนไลน์
  • น้อยกว่า 20 ms – เหมาะสำหรับการใช้งานแบบเรียลไทม์ที่ต้องการความแม่นยำสูง

Application Latency


Application Latency คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการที่แอปพลิเคชัน ประมวลผล และ ตอบสนอง ต่อการกระทำหรือคำสั่งของผู้ใช้ ต่างจาก Network Latency ที่วัดระยะเวลาที่ใช้ในการส่งไปและกลับ โดย Application Latency มุ่งเน้นไปที่ ความเร็วภายในของแอปพลิเคชันเอง ปัจจัยที่ส่งผลนั้นได้แก่ ความซับซ้อนของแอปพลิเคชัน, ปริมาณของข้อมูลที่ต้องประมวลผล, รวมถึงการออกแบบโปรแกรมเองก็มีผลด้วยเช่นกัน

Latency ส่งผลกระทบด้านใดบ้าง

Latency ส่งผลกระทบด้านใดบ้าง?


  1. เวลาในการโหลดเว็บไซต์: เมื่อเราคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ เว็บเบราว์เซอร์ของเราจะส่งคำขอไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์เว็บไซต์(Host) เวลาที่ใช้ในการส่งคำขอนี้ไปยังเซิร์ฟเวอร์และรับการตอบกลับคือเวลาแฝง ผลกระทบในการที่โหลดเว็บไซต์นานนั้นอาจทำให้ผู้ใช้หงุดหงิดและเลิกใช้งานเว็บไซต์ไปในที่สุด
  2. การตอบสนองของเกม: ในเกมออนไลน์ Latency เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตอบสนองที่รวดเร็วและราบรื่น ในเกมที่ตัดสินแพ้ชนะภายในเสี้ยววินาทีหรือไม่กี่วินาทีนับว่าส่งผลมาก ผู้เล่นที่ประสบกับ Latency หรือค่า Ping สูง อาจพบอาการแลค หรือภาพกระตุกที่ทำให้เสียเปรียบคู่ต่อสู้ในเกมเป็นอย่างมาก
  3. การสตรีมวิดีโอ: เมื่อคุณสตรีมวิดีโอ Latency อาจทำให้เกิดการบัฟเฟอร์ ซึ่งหมายความว่าวิดีโอจะหยุดเล่นชั่วคราวเพื่อรอให้ข้อมูลโหลดเพิ่มเติม Latency ที่สูง อาจทำให้เหตุการณ์วิดีโอเล่นๆ หยุดๆ ไม่ต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เราหงุดหงิดอย่างแน่นอน
  4. การประชุมทางวิดีโอ: ในการประชุมทางวิดีโอ Latency อาจทำให้เกิดเสียงสะท้อนและวิดีโอที่ไม่ซิงค์กัน เช่นภาพมาก่อนเสียง หรือเสียงมาก่อนภาพ สิ่งนี้อาจทำให้การสื่อสารยากลำบากและทำให้ประสิทธิภาพของการประชุมลดลง
Latency กับ Bandwidth ต่างกันอย่างไร?

Latency กับ Bandwidth ต่างกันอย่างไร?


Latency นั้นหมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางบนเครือข่ายและกลับมา ส่วน Bandwidth จะหมายถึง ความจุของช่องสัญญาณ หรือ ปริมาณข้อมูลสูงสุดที่สามารถส่งผ่านเครือข่ายได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเสมือนความกว้างของถนน ถึงแม้ทั้งสองอย่างมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็แต่มีความหมายและบทบาทต่างกัน

  • Bandwidth จะบอกเราว่า สามารถส่งข้อมูลได้มากแค่ไหนในช่วงเวลาหนึ่ง มักวัดเป็นเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ในการถ่ายโอนข้อมูล แบนด์วิดธ์ที่สูงจะสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้มากขึ้นในเวลาที่สั้นลง ทำให้การดาวน์โหลดและอัปโหลดเร็วขึ้น
  • ในทางกลับกัน Latency จะบอกเราว่า ใช้เวลานานแค่ไหนในการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้ในการเดินทางของข้อมูลจากแหล่งที่มาไปยังปลายทาง แม้ว่าจะมีแบนด์วิดธ์สูง แต่ถ้ามีค่า Latency สูง ประสิทธิภาพโดยรวมก็ยังคงช้าอยู่

ทั้ง Latency และ Bandwidth เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนด คุณภาพของการเชื่อมต่อของเครือข่าย (Network) ขณะที่ Bandwidth ที่สูงเป็นสิ่งดีสำหรับการถ่ายโอนไฟล์ขนาดใหญ่หรือสตรีมวิดีโอคุณภาพสูง ส่วน Latency ที่ต่ำ (Low Latency) มีความสำคัญสำหรับแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว

วิธีลดค่า Latency


การลดค่า Latency นั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการใช้งานของผู้ใช้ ยิ่งค่า Latency ต่ำ แสดงว่าการส่งข้อมูลรวดเร็ว ในทางกลับกัน ยิ่งค่า Latency สูง แสดงว่าการส่งข้อมูลช้า

ด้านการเชื่อมต่อ


  • ใช้สายเคเบิลแทน Wi-Fi : การเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลมีค่า Latency ต่ำกว่าการเชื่อมต่อด้วย Wi-Fi
  • ใช้ Wi-Fi 6 : หากไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล เทคโนโลยี Wi-Fi 6 มีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลและมีค่า Latency ต่ำกว่า Wi-Fi 5
  • ใช้ Gigabit Ethernet : เทคโนโลยี Gigabit Ethernet ช่วยให้ส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ส่งผลต่อค่า Latency ที่ต่ำลง
  • เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้ : การเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ใกล้จะส่งผลให้ค่า Latency ต่ำ

ด้านฮาร์ดแวร์


  • อัปเกรดเราเตอร์ : การใช้เราเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะช่วยลดค่า Latency ลงได้
  • อัปเกรดการ์ดเครือข่าย : การใช้การ์ดเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะช่วยลดค่า Latency ลง
  • ใช้ CPU และ RAM ที่มีความเร็วสูง : การใช้ CPU และ RAM ที่มีความเร็วสูงจะช่วยประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว ส่งผลต่อค่า Latency ที่ต่ำลง

ด้านซอฟต์แวร์


  • ปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็น : โปรแกรมที่ไม่จำเป็นอาจใช้แบนด์วิดท์และ CPU ซึ่งส่งผลต่อค่า Latency นั่นเอง
  • อัปเดตไดรเวอร์ : การอัปเดตไดรเวอร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ จะช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อค่า Latency ที่ต่ำลง
  • ใช้ VPN ที่มีค่า Latency ต่ำ : การใช้ VPN บางตัวอาจลดค่า Latency ให้ต่ำลง

วิธีการอื่นๆ


  • ใช้ CDN (Content Delivery Network) : CDN ช่วยกระจายเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้เร็วขึ้น ส่งผลต่อค่า Latency ที่ต่ำลง
  • ใช้โปรแกรมลด Ping : โปรแกรมลด Ping ช่วยปรับแต่งการตั้งค่าเครือข่ายเพื่อลดค่า Latency
Low latency Mode คืออะไร ?

Low latency Mode คืออะไร ?


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า latency ที่ต่ำนั้นหมายถึงการส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ส่วน Low latency mode คือ ฟีเจอร์ที่ช่วยลดเวลาแฝง ในการส่งข้อมูล โดยมุ่งเน้นไปที่การลดระยะเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลภายในอุปกรณ์ โดยหลักการทำงานของ low latency mode จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ เช่น ในการเล่นเกมจะจำกัดจำนวนเฟรม ที่ CPU สามารถเตรียมไว้ก่อนที่จะส่งไปประมวลผลผลลัพธ์ที่ GPU กระบวนการนี้อาจส่งผลให้ frame rate ลดลงเล็กน้อย แต่จะช่วยลดอาการ lag ให้ลดน้อยลง ซึ่งการเปิด Low latency Mode อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบได้

สรุป


Latency นั้นก็เปรียบเสมือนอุปสรรคที่ขัดขวางการใช้งาน เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การใช้งานต่างๆ ช้าลง ไม่ลื่นไหล ส่งผลต่อทั้งความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพ การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Latency จะช่วยให้เราสามารถรับมือหรือเลือกวิธีการลดค่า Latency ได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง

– กลับไปที่สารบัญ –

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก