โปรเจคเตอร์ คืออะไร? มีกี่ประเภท!? บทความนี้มีคำตอบ

โปรเจคเตอร์ คือ

Estimated reading time: 5 minute

Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » โปรเจคเตอร์ คืออะไร? มีกี่ประเภท!? บทความนี้มีคำตอบ

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับโปรเจคเตอร์กันแบบละเอียดว่า โปรเจคเตอร์(Projector) คืออะไร? มีกี่ประเภท!? LCD โปรเจคเตอร์, DLP โปรเจคเตอร์, LCOS โปรเจคเตอร์ และ LASER โปรเจคเตอร์ มีจุดเด่น และจุดด้อยอะไรบ้าง สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาโปรเจคเตอร์ดีดีสักตัวไว้ใช้งาน บทความนี้ช่วยคุณได้อย่างแน่นอน ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

โปรเจคเตอร์ คืออะไร? มีกี่ประเภท!?

โปรเจคเตอร์ คืออะไร

โปรเจคเตอร์ (Projector) คืออะไร?


โปรเจคเตอร์ (Projector) คือ อุปกรณ์ในส่วนของ Output ที่ทำหน้าที่ในการ รับข้อมูลจากเครื่องเล่น Blu-Ray หรือ คอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผล และสร้างภาพขึ้นมา (Generated) เพื่อฉาย (Projection) ไปยัง จอ, กำแพง หรือพื้นผิวอื่นๆ ที่ต้องการ โดยพื้นผิวที่จะฉายภาพไปส่วนมากจะเน้นพื้นผิวที่มีผิวเรียบ และมีสีที่อ่อน เพื่อให้ภาพที่ฉายมีความสวย และสดใสโดยไม่โดนสีของพื้นผิวทำให้ภาพผิดเพี้ยน

โดยโปรเจคเตอร์ที่วางขายในตลาด จะมีทั้งโปรเจคเตอร์ที่ใช้นำเสนองาน ภาพนิ่ง (สไลด์) และโปรเจคเตอร์ที่ฉายภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) Projector ส่วนมากที่มักพบได้ทั่วไป มักจะมีขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และมีน้ำหนักประมาณ 1-3 กก.

ปัจจุบันโปรเจคเตอร์นิยมใช้ในงานแบบไหน?

  • ใช้ในการนำเสนองาน Powerpoint ในการเรียนการสอน หรือการประชุมในธุรกิจต่างๆ
  • ใช้ในการฉายภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขึ้นจอ สำหรับการเรียนการสอน
  • ใช้ในการฉายภาพ TV หรือคอมพิวเตอร์ ในการรับชมภาพยนต์ เพื่อขยายขนาดให้เต็มตามากยิ่งขึ้น
  • ใช้ในการเปิดตัวสินค้า ตามงานสัมมนา หรืองานประชุมที่รองรับผู้คนจำนวนมาก

สรุปโดยง่ายคือ เน้นใช้ในงานที่ต้องการให้ผู้คนจำนวนมากๆ ได้เห็นภาพที่ต้องการจะนำเสนอ หรือเน้นใช้ในงาน ที่ขนาดของภาพจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการใช้งาน เช่น การรับชมภาพยนต์ภายในบ้าน

อินพุตที่เรามักจะพบเห็นได้ในเครื่องฉายโปรเจคเตอร์โดยทั่วไป ก็หนีไม่พ้น สาย HDMI สุดยอดอินพุตที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง ด้วยความที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ไว และอินพุตอีกแบบที่ยังสามารถพบเห็นได้อยู่คือสาย VGA สำหรับต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ครับ

ประเภทของโปรเจคเตอร์

ประเภทของโปรเจ็คเตอร์


โปรเจคเตอร์ (Projector) จะถูกแยกประเภทออกตาม รูปแบบการทำงาน ของโปรเจคเตอร์ที่ใช้ในการฉายภาพ ซึ่งจะแยกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ โดยแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นและจุดด้อย ตามนี้ครับ

โปรเจคเตอร์ LCD
โปรเจคเตอร์ DLP
โปรเจคเตอร์ LCOS
โปรเจคเตอร์ Laser
LCD PROJECTOR

โปรเจคเตอร์ LCD (LCD Projector)


LCD โปรเจคเตอร์ (Liquid Crystal Display) คือ โปรเจคเตอร์ที่มีหลักการทำงานเป็นการยิงแสงผ่าน Panel ที่จะดักแสง แยกออกเป็น 3 สี (RGB) ด้วย Dichroic Mirror (กระจกที่ดักแสงสีที่ต้องการ) และส่องไปยัง LCD Panel ที่ทำหน้าที่ในการฉายภาพให้แสงทั้ง 3 สี วิ่งผ่าน เพื่อเกิดเป็นภาพตามสีนั้นๆ และรวมแสงทั้ง 3 ส่งต่อไปเพื่อขยายผ่านเลนส์ฉายไปยังจอรับภาพ

LCD โปรเจคเตอร์

(ภาพตัวอย่างแสง 3 สี RGB วิ่งผ่าน LCD Panel เกิดเป็นภาพ 3 สี และนำมารวมกันก่อนฉายไปยังจอรับภาพ)

เป็นโปรเจคเตอร์ที่ได้รับความนิยมในระดับนึงด้วย “ราคา” ที่จับต้องได้ง่าย เหมาะกับการใช้ในงาน Presentation การเรียนการสอน ที่ต้องการจะขยายสเกลงานให้คนเห็นเป็นจำนวนมาก แต่มีคอมเม้นต์นิดนึงว่าไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในงานที่มีภาพเคลื่อนไหวครับ

  • มีค่าความสว่างที่มาก ช่วยให้สามารถใช้งานในห้องที่มีความสว่างมากได้
  • ให้ภาพที่มีสีสัน และคอนทราสก์ที่ดี
  • มีเสียงที่เงียบขณะใช้งาน
  • ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในงานที่มีภาพเคลื่อนไหว
  • ให้ความคมชัด และรายละเอียดของภาพที่ด้อยกว่าโปรเจคเตอร์แบบอื่น
  • มีขนาดตัวที่ใหญ่ และน้ำหนักที่หนักพอสมควร
  • แผ่น LCD สีน้ำเงินมักจะพบปัญหาเสื่อมสภาพไว ส่งผลให้สีเพี้ยนและค่าคอนทราสก์ตกลง
  • อาจจะพบปัญหา ช่องว่างระหว่าง Pixel (Screen Door) เนื่องจากเม็ด Pixel มีความห่างกันเกินไป
DLP Projector

โปรเจคเตอร์ DLP (DLP Projector)


DLP โปรเจคเตอร์ (Digital Light Processing) คือ โปรเจคเตอร์ที่มีหลักการทำงานเป็นการยิงแสงผ่านวงล้อสี (Color Wheel) RGB และส่งผ่านไปยัง DMD Chips ที่บรรจุแผ่นกระจกขนาดเล็กมากๆ ที่จะเลือกเปิดการรับแสงเพื่อส่งไปยัง เลนส์เพื่อฉายไปยังจอรับภาพ หรือส่งไปยังชิพสำหรับดูดซับแสงส่วนเกินที่ไม่ต้องการ

การทำงานของ DMD Chips

(การอ่านค่าของ DMD Chips)

หลักการทำงานของโปรเจคเตอร์ DLP

(ส่งภาพไปยังที่ซับแสงส่วนเกิน หรือฉายที่จอภาพ)

โดยโปรเจค DLP จัดเป็นประเภทของโปรเจคเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยมีอัตราส่วนคิดเป็น 85% ของโปรเจคเตอร์ทั้งโลก (คิดง่ายๆ คือ โปรเจคเตอร์ที่เพื่อนๆ เจอ 100 ตัว จะเป็น โปรเจคเตอร์แบบ DLP ถึง 85 ตัว!) เรียกว่าเป็นโปรเจคเตอร์ที่ฮอตฮิตที่สุด ณ เวลานี้ ด้วยราคาที่ค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้

โปรเจคเตอร์ DLP นับเป็นทางเลือกที่ไม่เลวหากจะเลือกซื้อมาใช้เป็นโปรเจคเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ภายในบ้าน ด้วยความสดของสี และความละเอียดที่ได้ และที่สำคัญที่สุดเลยคือ ใช้งบประมาณที่ไม่สูงเกินไป และยังให้คุณภาพที่น่าพึงพอใจครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก Projector Screen

  • มีขนาดตัวที่เล็ก กะทัดรัด พกพาสะดวก
  • ให้ค่าคอนทราสก์ที่ดีกว่า โปรเจคเตอร์ LCD
  • ให้ภาพเคลื่อนไหวที่ดูเป็นธรรมชาติ
  • ได้ภาพที่มีความละเอียดมาก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับ Rainbow Effect ที่จะเกิดเป็นแสงรุ้งขึ้นมาที่บริเวณจอภาพ
  • ในบางรุ่นจะมีความร้อนสูง จึงทำให้มีเสียงการทำงานของพัดลมดัง
  • มีค่าความสว่างที่ด้อยกว่า LCD ถ้าเทียบในกำลังวัตต์ของหลอดไฟที่เท่ากัน
  • ยังทำสีดำ ได้ไม่ดำเท่าที่ควร
Rainbow Effect
LCOS PROJECTOR

โปรเจคเตอร์ LCOS (LCOS Projector)


LCOS โปรเจคเตอร์ (Liquid Crystal Over Silicon) คือ โปรเจคเตอร์ที่รวมเอาข้อดีจากโปรเจคเตอร์ทั้ง 2 ประเภทก่อนหน้า LCD และ DLP มาไว้ในตัว หลักการทำงานจะค่อนข้างคล้าย กับ LCD โปรเจคเตอร์ ใช้การแยกแสงออกเป็น 3 สี (RGB) ด้วย Dichroic Mirror (กระจกที่ดักแสงสีที่ต้องการ) และส่งต่อไปยัง LCOS Panel และส่งไปรวมกันที่ Prism(ปริซึม) เพื่อฉายไปยังจอรับภาพ

LCOS PANEL

โดยที่ LCOS Panel จะแตกต่างจาก LCD Panel ที่การเลือกใช้วัสดุของชิพ เป็น Silicon Chips ที่มีขนาดที่เล็กกว่า ช่วยให้ได้ความละเอียดของภาพและความลื่นไหลของภาพเคลื่อนไหวที่ดี แบบ DLP นอกจากนี้ด้วยรูปแบบการฉายแสงที่เป็นการแยกแสงออกเป็น 3 สี จึงให้คอนทราสก์และความดำสนิทของภาพได้ดีแบบ LCD

เรียกว่ารวมเอาข้อดีของทั้ง 2 แบบก่อนหน้ามารวมไว้ในตัวเอง แต่ด้วยความที่ใช้ LCOS Panel ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า LCD Panel ขึ้นไปอีก จึงต้องแลกมาด้วยราคาค่าตัวที่แพงขึ้น แต่ถ้าหากเพื่อนๆ กำลังมองหาโปรเจคเตอร์ สำหรับชมภาพยนต์ภายในบ้าน ทีมงานมองว่า  โปรเจคเตอร์ LCOS เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ ณ เวลานี้ครับ

  • มีเม็ด Pixel ที่ชิดกันมาก จนไม่สามารถมองเห็น ช่องว่างระหว่าง Pixel (Screen Door) ได้
  • ให้ภาพ ที่มีสีสัน ค่าคอนทราสก์ที่ดี และสีดำที่ดำกว่าโปรเจคเตอร์ 2 แบบก่อนหน้าแบบชัดเจน
  • มีการทำงานของเครื่องที่เงียบมาก
  • ให้รายละเอียดของภาพที่มีความคมชัด และให้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ
  • ราคาค่อนข้างเจ็บถ้าเทียบกับ 2 แบบก่อนหน้า
  • ให้ความสว่างที่น้อย ไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีแสงสว่างมาก
LASER PROJECTOR

โปรเจคเตอร์ LASER (LASER Projector)


เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ (LASER) คือ โปรเจคเตอร์ที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างจาก โปรเจคเตอร์ทุกประเภทก่อนหน้า โดยทุกประเภทก่อนหน้าจะใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ Lamps ที่ให้ความสว่างของแสงที่มีข้อจำกัด จึงทำให้สีสัน ,คอนทราสก์ และความสว่างยังทำออกมาได้ไม่ดีมากพอ

ทุกวันนี้มีการนำเลเซอร์เข้ามาใช้ร่วมกับโปรเจคเตอร์แต่ละประเภทที่เรากล่าวไป ทั้ง LCD, DLP และ LCOS โดยภาพตัวอย่างที่เรานำมาให้เพื่อนๆ ดู จะเป็นการนำ เลเซอร์ เข้ามาใช้ร่วมกับ LCD Panel ช่วยให้ได้สีสัน, คอนทราสก์ และความสว่าง ที่ดีกว่า โปรเจคเตอร์ LCD อย่างชัดเจน

เรียกว่า โปรเจคเตอร์ LASER น่าจะเป็นรูปแบบของโปรเจคเตอร์ ที่จะเข้ามาแทนที่โปรเจคเตอร์อื่นๆ ถ้าหากว่าผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ ยักษ์ใหญ่ในตลาด สามารถทำราคาลงมา ให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ สามารถเอื้อมถึงได้ เพราะราคา โปรเจคเตอร์ Laser ตอนนี้ ราคาค่อนข้างบ้าคลั่งใช้ได้เลยครับ

ขอบคุณภาพสวยๆจาก EPSON

3 LCD PANEL
LASER LIGHT SOURCE
Phosphor Wheel
  • ให้อายุการใช้งานที่นานกว่าโปรเจคเตอร์แบบหลอดไฟ ทั้ง 3 แบบก่อนหน้า
  • ให้สีสันที่สดใสที่สุด ณ ตอนนี้
  • ค่าคอนทราสก์ดีที่สุด ณ ตอนนี้
  • ให้สีดำที่ดำที่สุด ณ ตอนนี้
  • การทำงานของเครื่องเงียบ และประหยัดพลังงาน
  • ราคาเจ็บที่สุด ณ ตอนนี้เช่นกันครับ
ตารางเปรียบเทียบโปรเจคเตอร์ 4 ประเภท

สรุป


สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังมองหาโปรเจคเตอร์สักตัวไว้ใช้งาน ผมอยากแนะนำให้ดูงานที่เพื่อนๆ จะนำโปรเจคเตอร์ไปใช้ก่อนเป็นอันดับแรก หากจะนำไปใช้ในงานพรีเซนต์ การเรียน การสอน LCD Projector ก็ดูจะตอบโจทย์การใช้งานของเพื่อนๆ ได้เพียงพอแล้ว

หากอยากจะใช้ในงานพรีเซนต์สินค้า เปิดตัวสินค้าใหม่ ที่ต้องการพรีเซนต์งานที่มีภาพเคลื่อนไหว โปรเจคเตอร์ DLP ก็อาจจะตอบโจทย์การใช้งานได้เพียงพอ

ส่วน โปรเจคเตอร์ LCOS หากเพื่อนๆ กำลังมองหาโปรเจคเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ภายในบ้าน แล้วมีงบประมาณที่มากพอ ทีมงานแนะนำว่าเลือก LCOS หรือ LASER เลยจะได้รับประสบการณ์การชมภาพยนต์ที่ดีที่สุดครับ

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ Projector

เลือกช้อปสินค้า โปรเจคเตอร์

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และอาจจะช่วยประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ ให้เพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย และในเร็ววันนี้จะมีบทความดีดีเกี่ยวกับ จอโปรเจคเตอร์ มาอีก วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

โปรเจคเตอร์ คืออะไร?

ตอบ : โปรเจคเตอร์ คือ อุปกรณ์ในส่วนของ Output ที่ทำหน้าที่ในการ รับข้อมูลจากเครื่องเล่น Blu-Ray หรือ คอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผล และสร้างภาพขึ้นมา (Generated) เพื่อฉาย (Projection) ไปยัง จอ, กำแพง หรือพื้นผิวอื่นๆ ที่ต้องการ โดยพื้นผิวที่จะฉายภาพไปส่วนมากจะเน้นพื้นผิวที่มีผิวเรียบ และมีสีที่อ่อน เพื่อให้ภาพที่ฉายมีความสวย และสดใสโดยไม่โดนสีของพื้นผิวทำให้ภาพผิดเพี้ยน

โปรเจคเตอร์ ในปัจจุบัน นิยมใช้อินพุตอะไร?

ตอบ : อินพุตที่เรามักจะพบเห็นได้ในเครื่องฉายโปรเจคเตอร์โดยทั่วไป ก็หนีไม่พ้น สาย HDMI สุดยอดอินพุตที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง ด้วยความที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ไว และอินพุตอีกแบบที่ยังสามารถพบเห็นได้อยู่คือสาย VGA สำหรับต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ครับ

โปรเจคเตอร์มีกี่ประเภท!? อะไรบ้าง?

ตอบ : โปรเจคเตอร์ จะถูกแยกประเภทออกตามรูปแบบการทำงานของโปรเจคเตอร์ที่ใช้ในการฉายภาพ ซึ่งจะแยกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ LCD Projector, DLP Projector, LCOS Projector และ LASER Projector

Share :

บทความ สาระความรู้

Reverb คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน

ในบทความนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ดำดิ่งสู้โลกแห่ง Reverb ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกดิ!

Halo 100 ลำโพงปาร์ตี้แบบพกพา พร้อมเอฟเฟกต์ไฟสวยงาม จาก Tronsmart

ลำโพงปาร์ตี้ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ เวลานี้ ด้วยพลังเสียงที่เกินตัว นอกจากนี้คุณภาพเสียงก็ทำออกได้ดีไม่แพ้กัน ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมีในเฉพาะในลำโพง Tronsmart เท่านั้น

ทำไมวงไอดอล YAMI YAMI ถึงเลือกใช้ SU-990D/HT

ประกาศการให้ความร่วมมือระหว่างแบรนด์ SOUNDVISION กับค่ายเพลงไอดอล Catsolute ที่มีคอนเซปต์การสร้างความฝันบทใหม่ผ่านรูปแบบศิลปินไอดอล (Idol Girl Group) สนับสนุนไมโครโฟนให้กับน้องๆ Sora Sora และ Yami Yami จะลงตัวแค่ไหน

ใหม่! JBL Tour Pro 2 หูฟังไร้สาย จะมีหน้าจอทัชสกรีนเพื่อ..?

หูฟังไร้สายรุ่นเรือธงของ JBL จัดเต็มในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ งานประกอบ คุณภาพเสียง และฟีเจอร์การใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

โปรโมชั่น

YAMAHA Stagepas Series ยกระดับความเป็นโปรกับงานแสดงเสียงบนทุกเวที

YAMAHA Stagepas Series ยกระดับความเป็นโปรกับงานแสดงเสียงบนทุกเวที กับชุดเครื่องเสียง PA ที่หลากหลายขนาดจากแบรนด์ Yamaha ในซีรี่ย์นี้!

JBL BEYOND KARAOKE SET ระดับพรีเมียม สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ

ชุดคาราโอเกะระดับพรีเมียม JBL KARAOKE SET สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ จากแบรนด์คุณภาพที่คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด (สำนักงานใหญ่)

พาชมผลงานติดตั้งระบบภาพและเสียงห้องประชุมระดับมืออาชีพ ที่บริษัท วงศ์สยาม โดยทีมงานซาวด์ดีดี

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ

ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ จากทีมงาน ซาวด์ ดีดี

ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า

พาชมผลงานติดตั้งระบบเสียงคาราโอเกะ หน้าตาห้องสำหรับร้องคาราโอเกะจะเป็นยังไง!? จะตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแค่ไหน?? อยากรู้ คลิกเลย!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี

กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง ห้องประชุม โดยก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก