ไมค์ไดนามิก และ ไมค์คอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร ?

ไมค์ไดนามิก และ ไมค์คอนเดนเซอร์ ต่างกันอย่างไร ?

ไมโครโฟน (Microphone) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ไมค์ (Mic) เป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนรู้จักและคุ้นเคยกันดี และพบเห็นได้บ่อยในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งไมโครโฟนทำงานโดยรับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า

ชนิดของไมโครโฟน

ไมโครโฟนแบ่งออกเป็น 6 ชนิด แต่เราจะพูดถึง 2 ชนิดหลักที่นิยมใช้งานได้แก่ 

  • แบบไดนามิก (Dynamic Microphone) 
  • แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone)

อ่านชนิดของไมค์ทั้งหมด >>คลิกเลย<<

ไมโครโฟนแบบไดนามิก (Dynamic Microphone) 

การทำงานของไมค์ไดนามิกคือ ภายในจะมีแกนแม่เหล็กอยู่ตรงกลาง ขดลวดหรือวอยซ์คอยล์ที่พันอยู่รอบแกนเหล็ก (แต่ไม่ติดกัน) และไดอะเฟรม (Diaphragm) ที่ติดอยู่กับวอยซ์คอยล์ เมื่อได้รับเสียงเข้ามา ขดลวดและไดอะเฟรมจะขยับทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกับแกนแม่เหล็กเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้าตามความแรงของการขยับ

ข้อดีของไมโครโฟนแบบไดนามิก

  1. ทนทาน เพราะสร้างจากวัสดุที่แข็งแรง พังยาก
  2. รับเสียงที่ดังมากๆได้ 
  3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง 

ข้อจำกัดของไมโครโฟนแบบไดนามิก

  1. ความไวต่ำ 
  2. ตอบสนองความถี่แคบ
  3. ตอบสถองความถี่สูงไม่ดีนัก
ไมโครโฟน ไดนามิก

ขอบคุณรูปจาก pleasantpodcasts.com

ไมโครโฟนแบบไดนามิกเหมาะกับ ?

จากข้อดีของไมค์ไดนามิกที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ามีความทนทาน ลดเสียงรบกวนได้ดีเนื่องจากความไวต่ำ รับเสียงที่ดังมากๆได้ เช่นเสียงจาก เครื่องตี หรือกีตาร์เบส รวมถึงงานนนอกสตูดิโอ งานกลางแจ้ง งานคอนเสิร์ต ทั้งนี้ไมค์ไดนามิกก็คุณภาพแตกต่างกันไป ตามแบรนด์ ตามรุ่น ตามราคา ระดับความดันเสียง, การตอบสนองความถี่, รูปแบบการรับเสียง, อิมพีแดนซ์ และโทนเสียง ที่แบรนด์ต่างๆปรับจูนเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของแบนด์นั้นๆ 

ไมค์ไดนามิก

ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone)

การทำงานของคอนเดนเซอร์ เมื่อเกิดคลื่นเสียงกระทบแผ่นไดอะแฟรม จึงจะทำให้เกิดการสั่นไหว ทำให้มีการขยับตัวของระยะห่างของแผ่นเพลทที่เป็นไดอะแฟรม กับ แผ่นเพลทแผ่นหลัง ทำให้ค่าประจุมีการเปลี่ยนแปลงตามแรงปะทะจากคลื่นเสียง ส่งผ่านสายนำสัญญาณในอัตราที่แรง

ข้อดีของไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์

  1. มีความไว 
  2. ตอบสนองความถี่ได้กว้าง
  3. ออกแบบให้มีขนาดเล็กได้

ข้อจำกัดของไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์

  1. ต้องใช้ไฟเลี้ยง +48V Phantom Power
  2. บอบบาง เกิดความเสียหายง่าย
  3. ไม่ทนความชื้น
ไมโครโฟน คอนเดนเซอร์

ขอบคุณรูปจาก pleasantpodcasts.com

ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์เหมาะกับ ?

ด้วยจุดเด่นของไมค์คอนเดนเซอร์ที่ความไวตอบสนองความถี่ได้กว้าง ทำให้เสียงที่ออกมามีรายละเอียดมาก รวมถึงเสียงลมหายใจ เคาะ หรือแม้การขยับเบา ๆ สามารถใช้เป็นไมค์เสียงร้อง ใช้งานในสตูดิโอ งานพอดแคสต์ งานสัมภาษณ์ หรือการบันทึกเสียงร้อง และอื่น ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดของเสียง

ข้อควรระวัง

เนื่องด้วยความไวต่อเสียงสูงมาก การรับเสียงที่ดังมากกว่าปกติสำหรับไมค์คอนเดนเซอร์ที่จะทำให้เกิดก้อนของเสียงกระแทกลงไปบนไมค์ ทำให้เกิดที่เสียงที่เรียกว่า “ป๊อป” ขึ้น จึงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการเกิดเสียง ป๊อป นั้นคือ Pop Filter อุปกรณ์นี้จะช่วยไม่ให้เกิดเสียงลมกระแทกเวลาพูดและสุดท้ายคือ ตัวไมค์ไม่ทนความชื้นที่อาจจะส่งผลต่อเสียงได้และตัวไมค์มีความบอบบาง หากเผลอทำตกหรือกระแทกแรงๆอาจทำให้ไมค์เสียหายได้

รูปแบบการรับเสียงรับเสียง

นอกจากการเลือกชนิดของไมค์แล้วการเลือกใช้รูปแบบการรับเสียงนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการใช้งานและคุณภาพเสียงที่ออกมาด้วยเช่นกัน รูปแบบการรับเสียงรับเสียง (Polar Pattern) คืออะไรสำคัญอย่างไรล่ะ ? รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟนนั้นคือ ความสามารถในการรับเสียงที่เข้า ว่าเน้นไปที่ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น รับเฉพาะด้านหน้า รับทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือรับรอบทิศทาง ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน (Polar Pattern) ที่ใช้งานมีดังนี้

  • คาร์ดิออยด์ (Cardioid): รับเสียงจากด้านหน้าเป็นส่วนใหญ่ และรับเสียงจากด้านหลังได้น้อยมาก หรืออาจไม่ได้เลย และมีความสามารถในการลดเสียงรบกวนได้ดี เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  • ซูเปอร์คาร์ดิออย (Super Cardioid): เน้นรับเสียงจากด้านหน้าเช่นเดียวกับ Cardioid แต่เพิ่มความสามารถในการรับเสียงด้านหลังเพิ่มเข้ามา บริเวณรับเสียงจะแคบกว่า ทำให้เสียงรบกวนน้อยลงกว่าเดิม 

  • ไฮเปอร์ คาร์ดิออยด์ (Hyper Cardioid): รูปแบบการรับเสียงที่นิยมใช้ในการแสดงสดเพื่อจับเสียงเครื่องดนตรี คล้ายรูปแบบ คาร์ดิออยด์ และซูเปอร์คาร์ดิออยด์ แต่มุมการรับสัญญาณก็จะแคบลงมาอีก 
  • ไบไดเรคชั่นแนล (Bi-directional): มีความสามารถในการรับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของไมโครโฟนที่เท่ากันและสามารถรับเสียงด้านข้างได้น้อยมาก
  • ออมนิไดเรคชั่นแนล (Omni Directional): รับเสียงได้ในแบบรอบทิศทาง ส่วนมากจะเป็นไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ที่มีความไวในการรับเสียง มีการตอบสนองย่านความถี่เสียงที่กว้างและชัดเจน
  • ช็อตกัน (Short Gun): มีความสามารถในการรับเสียงในลักษณะชี้ไปหาเฉพาะจุด ในทิศทางที่ต้องการรับเสียง

อ่านรูปแบบทั้งหมดเพิ่มเติม >>คลิกเลย<<

รูปแบบการรับเสียงรับเสียง

ขอบคุณรูปจาก intricon.com.sg

สรุป

ไมค์ไดนามิกนั้นเหมาะกับการใช้งานนอกสตูดิโอ งานกลางแจ้ง งานคอนเสิร์ต มีเสียงรบกวนน้อยเนื่องจากความไวต่ำ รับเสียงที่ดังมากๆได้ แข็งแรงทนทาน ส่วนไมค์คอนเดนเซอร์เหมาะกับการใช้งานในสตูดิโอ งานพอดแคสต์ งานสัมภาษณ์ เสียงร้องหรือการบันทึกเสียงร้อง เพราะไดอะแฟรมมีความไวมากเก็บรายละเอียดเสียงได้ดี ส่วนข้อกำจัดนั้นผู้เขียนคิดว่าไม่น่ามีปัญหากับการใช้งานไมค์ทั้ง 2 แบบนี้ครับ เพราะว่าหากมีความรู้ความเข้าใจไมค์ทั้ง 2 แบบนี้จะทำให้เรารับมือกับปัญหาได้สบายๆ รวมไปถึงการเลือกรูปแบบการรับเสียงให้เหมาะกับลักษณะงานและสภาพแวดล้อมรอบๆ เพียงเท่านี้เราก็ใช้งานไมค์ได้เต็มประสิทธิภาพและได้คุณภาพเสียงสูงสุดของไมค์ตัวนั้น ๆ แล้วครับผม

ขอบคุณสำหรับการติดตามและหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
Share :

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก