Estimated reading time: 3 นาที
Mixing และ Mastering เป็น 2 ขั้นตอนที่ผู้คนมักที่จะเข้าใจผิด หรือบางครั้งอาจจะจำว่าเป็นสิ่งเดียวกันไปเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด! ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาเจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ
ไม่ว่าคุณจะเป็นโปรดิวเซอร์เพลงรุ่นใหม่ หรือเพียงแค่อยากรู้เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ที่อยู่เบื้องหลังเพลงโปรด บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักศาสตร์ และศิลป์ของการ Mixing และ Mastering จะน่าสนใจแค่ไหน? ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลย ~
สารบัญ
MIXING(มิก-ซิ่ง) แปลว่า การผสม
MASTERING(มาส-เตอ-ริ่ง) แปลว่า ทำให้สมบูรณ์
**เป็นการแปลเพื่อให้ตรงบริบทกับการใช้ในงานด้านเสียง
Mixing คือ อะไร?

Mixing(มิก-ซิ่ง) คือ 1 ในขั้นตอนการประมวลผลเสียง(Process) เป็นการนำเสียงทุกแทร็ก เช่น เสียงร้อง กีต้าร์ กลอง หรือเอฟเฟกต์ต่างๆ มาผสม เพื่อรวมกันให้ออกมาเป็น แทร็กเดียว ด้วยการ เพิ่ม หรือลดความแรงสัญญาณเสียงของทุกแทร็กให้มีความสมดุล(Balanced) ปรับแต่งเสียงแต่ละแทร็กให้มีความชัดเจน จัดตำแหน่งเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น เพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละเสียงที่นำมาผสมกันจะมีความกลมกล่อม พร้อมทั้งเพิ่ม Reverb หรือเอฟเฟกต์เท่ๆ เพื่อให้เสียงร้อง และเครื่องดนตรีมีเสน่ห์อย่างที่ศิลปินต้องการ
5 ขั้นตอนหลักๆ ในการ Mixing
- ปรับระดับความแรงสัญญาณให้สมดุล(Balanced) : ปรับแต่ง Gain แต่ละแทร็ก เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกแทร็กมีระดับความแรงสัญญาณที่ใกล้เคียงกัน และมีความสมดุลมากที่สุด
- จัดตำแหน่งของเสียงด้วย Panning : กระจายเสียงแต่ละแทร็กไปตามตำแหน่งที่ต้องการด้วยการ Panning ช่วยให้มิติของเสียงโดยรวมมีความเป็นธรรมชาติ ลงตัว ไม่ตีกันมั่ว
- ตัดแต่งโทนเสียงด้วย EQ : ตัดแต่งย่านความถี่แต่ละแทร็ก เพื่อให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมีความโดดเด่น และ ไม่ถูกเบียดบังด้วยเครื่องดนตรีชิ้นอื่น
- Compression และ Limiting : เป็นการปรับระดับของเสียงที่ดังที่สุด และเบาที่สุด เพื่อให้เสียงมีไดนามิกที่ดี เนื้อเสียงเต็มช่วง และระดับความดังที่ไม่พีคจนเกินไป
- Reverb และ Delay : ช่วยเพิ่มมิติของเสียงในแต่ละแทร็กให้มีความเป็นธรรมชาติ ทำให้ผู้ฟังสามารถรู้สึกได้ถึงบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมของเสียง
Mixing หรือการมิกซ์เสียง เป็นส่วนผสมระหว่างศาสตร์ และศิลป์ ซาวด์เอ็นจีเนียร์ที่มีทักษะ สามารถทำให้เพลงมีความชัดเจน กลมกล่อม และทรงพลัง สามารถสื่อสารข้อความ หรืออารมณ์ที่ศิลปินต้องการจะสื่อไปยังผู้ฟังได้อย่างครบถ้วน
Mastering คือ อะไร?

Mastering(มาส-เตอ-ริ่ง) คือ ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการผลิตเพลง(Music Production) เป็นการตรวจสอบคุณภาพเสียงที่ผ่านการ Mixing เรียบร้อย ปรับแต่งโทนเสียง ระดับความดัง และมิติของเสียงอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณภาพเสียงที่ได้จะดีที่สุด ไม่ว่าจะเล่นด้วยอุปกรณ์อะไร หรือบริการสตรีมมิ่งเจ้าใด เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการรีเช็คคุณภาพก่อนที่จะทำการเผยแพร่ หรือจัดจำหน่ายเพลงไปยังผู้ฟัง
5 ขั้นตอนหลักๆ ในการ Mastering
- ปรับแต่ง EQ เพิ่มเติม : เป็นการปรับแต่งโทนเสียงในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า เพลง ที่ผ่านกระบวนการ Mixing มาแล้ว จะสามารถเล่น(Playback) ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำในทุกอุปกรณ์
- Compression and Limiting : เพิ่มระดับความดังโดยรวม(Overall) เพื่อให้เสียงมีไดนามิกที่ดีโดยที่ไม่ส่งผลให้คุณภาพเสียงดร็อปลง
- ตรวจเช็ค ประสิทธิภาพของเสียงในระบบ Stereo : เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเล่นเสียงในระบบสเตอริโอ เสียงที่ได้จะมีความสมดุล เวทีเสียงมีความกว้างอย่างที่ควรจะเป็น
- เช็คคุณภาพเสียงบนทุกแพลตฟอร์ม : เป็นการรีเช็คไฟล์เสียงรอบสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า คุณภาพเสียงจะดีที่สุด ไม่ว่าจะเล่นบนแพลตฟอร์มใด
- เพิ่มข้อมูล Metadata : เป็นการฝังข้อมูลต่างๆ เข้าไปยังไฟล์เพลง เช่น ชื่อแทร็ก ชื่อศิลปิน หรือรหัส ISRC (International Standard Recording Code) เป็นต้น
Mastering หรือการทำให้สมบูรณ์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่เพลงจะออกมาเป็น ไฟนอลแทร็ก เพื่อเผยแพร่ หรือจัดจำหน่าย เป็นการตรวจเช็คคุณภาพเสียงโดยละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่า เพลงของคุณจะฟังดูเป็นมืออาชีพ ให้คุณภาพที่เทียบเท่า หรือใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเปิดฟังผ่านหูฟัง ลำโพงมอนิเตอร์ หรือลำโพงในรถยนต์
Mixing และ Mastering แตกต่างกันยังไง?

ถึงแม้ว่า Mixing และ Mastering จะเป็นขั้นตอนที่มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการบันทึกเสียงเหมือนกัน แต่จุดประสงค์ในการใช้นั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยที่ขั้นตอนการ Mixing จะมุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งองค์ประกอบโดยรวมในทุกแทร็กให้ส่งเสริมซึ่งกัน และกัน เพื่อยกระดับคุณภาพเสียงเป็นหลัก แต่ Mastering จะมุ่งเน้นไปที่การรีเช็คคุณภาพเสียง และปรับแต่งให้ไฟล์เสียงที่ผ่านการ Mixing มาแล้ว สามารถ Playback ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ บนทุกอุปกรณ์ และทุกแพลตฟอร์ม
Mixing
- จัดการกับเสียงใน ทุกแทร็ก
- เกี่ยวข้องกับการปรับสมดุลระดับเสียง, การแพน, EQ, การบีบอัด และเอฟเฟกต์
- ผสมผสานทุกแทร็ก ทำให้ทุกองค์ประกอบสามารถเข้ากันได้อย่างลงตัว
Mastering
- จัดการกับไฟล์เสียงที่ผ่านการ Mixing เรียบร้อยแล้ว
- เกี่ยวข้องกับการปรับ EQ, การบีบอัด, Limiter และการเพิ่มประสิทธิภาพระบบเสียงสเตอริโอ
- รีเช็ค และปรับแต่งโทนเสียงโดยรวม ให้มีคุณภาพเสียงเทียบเท่า หรือใกล้เคียงกันบนทุกแพลตฟอร์ม
ถึงแม้เราจะบอกว่า Mixing และ Mastering นั้นเป็นขั้นตอนที่แตกต่าง และไม่ใช่ขั้นตอนเดียวกัน แต่ทั้ง 2 ขั้นตอนนั้นเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยยะ กล่าวคือ หากคุณมิกซิ่งเสียงออกมาได้ดี ก็จะช่วยให้เสียงที่ผ่านการมาสเตอริ่งของคุณดีขึ้นไปโดยปริยาย
สรุป
Mixing และ Mastering เป็น 2 ขั้นตอนสำคัญในงาน Music Production ซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็น 2 ขั้นตอนที่จะช่วยให้เพลงของคุณมีความเป็นมืออาชีพ การันตีว่าคุณภาพเสียงจะดีที่สุดไม่ว่าจะเล่นบนอุปกรณ์ หรือแพลตฟอร์มใด หากคุณเข้าใจหลักการทำงานของการ Mixing และ Mastering ทีมงานเชื่อว่ามันจะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพเพลงของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก iZotope
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยที่สุดน่าจะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? และแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~
บทความที่คุณอาจสนใจ..
ตอบ : MIXING(มิก-ซิ่ง) แปลว่า การผสม
ตอบ : MASTERING(มาส-เตอ-ริ่ง) แปลว่า ทำให้สมบูรณ์
ตอบ : Mixing จะมุ่งเน้นไปที่การปรับแต่งองค์ประกอบโดยรวมในทุกแทร็กให้ส่งเสริมซึ่งกัน และกัน เพื่อยกระดับคุณภาพเสียงเป็นหลัก แต่ Mastering จะมุ่งเน้นไปที่การรีเช็คคุณภาพเสียง และปรับแต่งให้ไฟล์เสียงที่ผ่านการ Mixing มาแล้ว สามารถ Playback ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ บนทุกอุปกรณ์ และทุกแพลตฟอร์ม
บทความ สาระความรู้
แนะนำ 7 ลำโพง PA Active รุ่นยอดนิยม 2025
ไม่ว่าจะงานไหนๆตู้ลำโพง PA Active มักจะเป็นตัวเอกสำหรับให้เสียงกลางแหลม แต่จะเลือกรุ่นไหนดี ?
dBTechnologies KL Series ลำโพงแอคทีฟ ที่มาพร้อม DSP ขั้นสูงและ FIR filters
dBTechnologies KL Series ลำโพง Active แบบ 2 ทาง ที่มาพร้อม ที่มาพร้อม DSP ขั้นสูงและ FIR filters ที่เป็นเทคโนโลยีจากทางแบรนด์
dBTechnologies LVX Series คำตอบของงานดนตรีสด น้ำหนักเบา มีสไตล์ ใช้งานง่าย ทรงพลัง
LVX Series อีกหนึ่งชุดลำโพง Active จาก dBTechnologies ที่ตอบโจทย์งานดนตรีสด น้ำหนักเบา มีสไตล์ ใช้งานง่าย ทรงพลัง
ใหม่! SOUNDVISION Raptor Series ลำโพง Active พลังดุดันในแบบนักล่า เสียงชัดใสดุจคริสตัล
ใหม่!! SOUNDVISION Raptor Series ลำโพงแอคทีฟ (Active) ในรุ่น RT-12 และ RT-15 สัมผัสพลังเสียงที่ดุดัน และชัดใส่ดังคริสตัล ได้แล้ววันนี้!!
โปรโมชั่น
โชว์รูมใหม่ บูธเครื่องเสียง SE AUDIOTECHNIK แบรนด์จากเยอรมัน
แชร์หน้านี้ :
โปรโมชั่น Summer Sound of Klipsch ลำโพง ซาวด์บาร์ ลดฉ่ำกว่า 45%
1 เม.ย. - 30 เม.ย. 2568
JBL Karaoke Contest ชุดโปรโมชันเครื่องเสียงคาราโอเกะ
1 เม.ย - 31 พ.ค. 2568 เท่านั้น !!
โชว์รูมใหม่ บูธเครื่องเสียง Martin Audio แบรนด์ดังจากอังกฤษ
แชร์หน้านี้ :
ผลงานการติดตั้ง
ลูกค้าของเรา บริษัท เอพิลส์ วิสดอม จำกัด ระบบเสียงห้องประชุม
เรามาดูระบบเสียงห้องประชุมทีใช้ลำโพงคอลัมน์กันครับ จุดเด่นการสะท้อนและกระจายเสียงได้ไกล งานนี้ติดตั้งแล้วจะออกมาเป็)นอย่างไร ไปชมกันเลย
ระบบเสียงร้าน อีหล่า อีสานกายะ สาขาบางนา
SoundDD ขอนำเสนอผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ, ระบบเสียง BGM, ระบบเสียงดนตรีสด จากลูกค้าของเรา ร้าน อีหล่า อีสานกายะ สาขาบางนา
ลูกค้าของเรา ตลาดต้นไม้ชายคา ระบบประกาศ/แบคกราวด์มิวสิค
ตลาดเป็นสถานที่ที่เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก เรามาดูกันว่าระบบเสียงจากแบรนด์ TOA นั้นจะเอาอยู่หรือไม่?
ลูกค้าของเรา บริษัท พี.ที.แกรนด์โฮเทล จำกัด ระบบเสียงห้องสัมมนา
พาชมระบบเสียงที่ครบครันในห้องสัมมนา ห้องประชุม และห้องจัดเลี้ยงของลูกค้าเรา P.T. Grand Hotel จะจัดเต็มขนาดไหน ไปชมกันเลย!