สัญญาณ บลูทูธ ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ หรือไม่?!

Myth of Bluetooth Banner 1
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » สัญญาณ บลูทูธ ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราได้ หรือไม่?!

เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 นาที

เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 นาที

เคยสงสัยกันไหมครับว่า ในทุกๆ วัน ที่เราใช้งานอุปกรณ์เสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงบลูทูธ, หูฟังออกกำลังกาย หรือใช้งานหูฟังบลูทูธ, หูฟังไร้สาย ในทุกๆ วัน Bluetooth (บลูทูธ) ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเรา หรือไม่? เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันครับ!

Myth of Bluetooth 2

สัญญาณบลูทูธส่งผลกระทบต่อร่างกาย หรือไม่?

เทคโนโลยีไร้สาย อย่าง “บลูทูธ” ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวันปกติทั่วไป ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อยู่ในอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ มากมาย เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเรานั้นสะดวกขึ้นจริงๆ และอีกมุมหนึ่งก็มีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับบลูทูธในหลายแง่มุม เช่น ความกลัวที่ว่าหูฟังบลูทูธที่อยู่ใกล้ตัวเรา สอดเข้าไปในใบหูของเรา มันจะเป็นอันตราย หรือส่งผลเอฟเฟกต์บ้างอย่างต่อร่างกายได้หรือไม่?
Myth of Bluetooth 1

บลูทูธทำงานอย่างไร?

Bluetooth เป็นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่สามารถใช้ในการรับ/ส่งข้อมูลระยะใกล้ จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์อื่น โดยพื้นฐานแล้วเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สาย 1:1 ที่ใช้ความถี่คลื่นวิทยุย่าน 2.4 GHz และใช้งานกันอย่างแพร่หลายควบคู่ไปกับ WIFI อยู่ในอุปกรณ์มากมาย เช่น หากเราเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเข้ากับลำโพงบลูทูธ ทั้งสองอุปกรณ์จะสื่อสารกันผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง นี่คือ “การแผ่รังสีจากบลูทูธ” อุปกรณ์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันแบบไร้สาย ผ่านการเชื่อมต่อที่เสถียร ซึ่งโดยปกติจะใช้งานในระยื ะทางสั้นๆ เท่านั้น

สัญญาณบลูทูธ ไปไกลถึงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ Class อย่างเช่น Class 1 และ Class 2 มีระยะการเชื่อมต่อตั้งแต่ 5-30 เมตร มาตรฐานนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้ใช้งานในอุปกรณ์ เช่น หูฟังบลูทูธ, ลำโพงบลูทูธ, นาฬิกาบลูทูธ หรือแม้แต่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ ที่เป็นบลูทูธ Class 1 สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้ในระยะ 100 เมตร หรือมากกว่านั้นก็เป็นไปได้ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ การเชื่อมต่อในระยะทางนั้นก็ขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางต่างๆ ด้วย

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Bluetooth และ Wi-Fi แตกต่างกันอย่างไร? และ บลทูธ Bluetooth V.4.2 vs V.5.0 vs V.5.1 แตกต่างกันอย่างไร?

Myth of Bluetooth 4

รูปภาพประกอบจาก bose.com

รังสีจากบลูทูธ เป็นอันตรายหรือไม่?

จริงๆ แล้ว ในชีวิตประจำวันของเราเกือบตลอดเวลา ถูกล้อมรอบไปด้วยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งบลูทูธก็จัดอยู่ในส่วนนี้ แต่อย่างไรก็ตาม รังสีที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์บลูทูธทั่วไปๆ นั้น ถือว่าอยู่ในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งน้อยกว่าที่คลื่นที่ปล่อยออกมาจากสมาร์ทโฟน หรือเราเตอร์ Wi-Fi เป็นต้น

SAR – หน่วยของการวัดรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า

หน่วยของการวัดที่ใช้ในการประเมินความแรงของรังสีที่ปล่อยออกมา คือ อัตราการดูดซับจำเพาะ (SAR) เป็นการบ่งชี้ว่าร่างกายมนุษย์ดูดซับรังสีมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้มาจาก Federal Office for Radiation Protection และระบุว่าน้ำหนักตัวรวมสูงถึง 0.08 วัตต์/กิโลกรัม หรือสูงถึง 2 วัตต์/กิโลกรัมในแต่ละส่วนของร่างกาย ถือว่าไม่เป็นอันตราย

Myth of Bluetooth 5

รูปภาพประกอบจาก apple.com

สมาร์ทโฟน และหูฟังบลูทูธ มีการแผ่รังสีสูงแค่ไหน?

ค่า SAR สำหรับสมาร์ทโฟนบางรุ่นสามารถตรวจสอบได้ที่ Federal Office for Radiation Protection เช่น :

  • Huawei P30 : SAR ที่หู 0.33, SAR ที่ร่างกาย 0.85
  • Apple iPhone 11 : ค่า SAR ที่หู 0.95, ค่า SAR ที่ร่างกาย 0.99
  • Samsung Galaxy S10 : ค่า SAR ที่หู 0.48, ค่า SAR ที่ร่างกาย 1.59

อย่าง Apple Airpods ซึ่งเป็นหนึ่งในหูฟัง In-Ear แบบไร้สายที่กำลังเป็นที่นิยม มีกำลังส่ง Class 1 จึงอยู่ในระดับสูง และยังมีค่า SAR เทียบเท่ากับสมาร์ทโฟน คือ 0.466 วัตต์/กิโลกรัม ซึ่งยังต่ำกว่าขีดจำกัดที่ 2 วัตต์ได้เป็นอย่างดี หูฟังบลูทูธอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นของคลาส 2 หรือ 3 ดังนั้นจึงมีค่าที่ต่ำกว่ากำหนดมาก

พักบ้าง ให้ห่างไกลจากคลื่นรังสีต่างๆ

ใช้หูฟังบลูทูธ บ่อยๆ ระยะเวลานานๆ จริงๆ มันไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามหน่วยงาน German Federal Office for Radiation Protection แนะนำให้ลดการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ที่แผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวเราให้น้อยที่สุด ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากคลื่นรังสีต่างๆ ได้ 100% อยู่แล้ว แต่ก็มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ในการพัก หรือเลี่ยงจากคลื่นรังสีเหล่านี้ได้บ้าง เช่น

  • การติดตั้งเราเตอร์ Wi-Fi ควรติดตั้งในบริเวณพื้นที่ที่โล่งๆ ไม่มีคนอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
  • สัญญาณโทรศัพท์, Bluetooth, และ Wi-Fi เมื่อไม่ใช้งานก็ควรปิด
  • วางอุปกรณ์สื่อสารให้ห่างจากตัว ในเวลากลางคืน ไม่ควรวางสมาร์ทโฟนไว้ข้างศีรษะโดยตรง หรืออย่างดีที่สุด ก็คือไม่ควรวางสมาร์ทโฟนไว้ในห้องนอนเลย
  • โหมดเครื่องบิน หรือโหมดห้ามรบกวนช่วยได้ หากคุณใช้โทรศัพท์มือถือเป็นนาฬิกาปลุก ให้ตั้งโหมด Airplane Mode หรือโหมดเครื่องบิน เพื่อปิดการทำงานของระบบการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั้งหมด เช่น สัญญาณโทรศัพท์, Wi-Fi รวมไปถึง Bluetooth ไม่ให้รบกวนในเวลานอนตอนกลางคืนของเรา (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โหมดเครื่องบิน คลิก!)

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะทำให้เราพักผ่อน หรือหลีกเลี่ยงจากคลื่นรังสีต่างๆ เหล่านี้ได้บ้าง

Myth of Bluetooth Banner Bose Sleepbuds II

หูฟังไร้สาย สายสุขภาพ ตัวช่วยในการนอนหลับ

ความเหนื่อยล้า สิ่งรบกวนรอบด้าน ไปจนถึงความเครียด อาจทำให้เรานอนไม่หลับ หรือหลับยาก หลายท่านมีวิธีแก้อาการเหล่านี้ที่แตกต่างกันออกไป แต่แน่นอนสายเทคโนโลยีเสียง เราต้องแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับของเราด้วยเสียงสิ ขอยกตัวอย่างเทคโนโลยีหูฟังไร้สายแบรนด์คุณภาพยอดนิยมอย่าง BOSE ที่มีหูฟังรุ่นใหม่ออกมาในชื่อ SLEEPBUDS II

แชร์หน้านี้ :

BOSE SLEEPBUDS II

การนอนหลับ พักผ่อน หลีกเลี่ยงจากสิ่งรบกวนต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราพร้อมทำในกิจกรรมต่างๆ ของวันต่อไป BOSE SLEEPBUDS II เป็นหูฟังที่ช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กกะทัดรัดมากๆ วัสดุที่แข็งแรง จุกซิลิโคนที่นุ่มสบาย เป็นมิตรกับใบหู และการใช้งานในขณะที่นอนหลับ ตัวเคสหูฟังสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ สามารถใช้งานได้สูงสุดถึง 10 ชม. ใช้เวลาชาร์จเพียงแค่ 2 ชม. เชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth เวอร์ชั่น 5.0 ได้อย่างเสถียร คมชัด ได้ไกลถึง 9 เมตร เป็นหูฟังที่ใช้งานเพื่อการนอน ฟังเสียง Ambient Sound ต่างๆ มากมายในคลัง ให้ความรู้สึกผ่อนคลายไปกับเสียงของธรรมชาติต่างๆ เช่น เสียงน้ำตก เสียงคลื่นทะเล ผ่านแอปพลิเคชั่น Bose Sleep อีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นที่ช่วยจัดการการนอน/ตื่นนอนของคุณได้อีกด้วย ผ่านการทดสอบแล้วว่าจะช่วยให้เราหลับสบายยิ่งขึ้น

*เป็นหูฟังที่ไม่สามารถใช้งานฟังเพลงผ่าน Music Streaming ได้ ต้องใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชั่น BOSE SLEEP เท่านั้น

ความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับบลูทูธ

ความเชื่อที่ว่าหูฟังบลูทูธจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่ได้เป็นความเชื่อเดียวเท่านั้น แต่ยังมีความเชื่ออื่นๆ เกี่ยวกับบลูทูธอีก เช่น

  • สัญญาณ Bluetooth ไม่สามารถทะลุกำแพงได้ : ความเชื่อนี้อาจมาจากการเชื่อมต่อบลูทูธในพื้นที่ที่จำกัด จริงอยู่ที่กำแพงอาจจะหนาเลยเป็นอุปสรรคในการเชื่อมต่อได้ แต่หากเราหลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อผ่านกำแพง การเชื่อมต่อจะราบรื่นทันที สิ่งที่สำคัญกว่ามากสำหรับบลูทูธ คือ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ที่จับคู่กัน
  • ไม่สามารถเชื่อมต่อใช้งาน Bluetooth กับ Wi-Fi พร้อมกันได้ : จริงอยู่ที่เทคโนโลยีทั้งสอง ใช้ย่านความถี่วิทยุเดียวกันในการรับ/ส่งข้อมูล อย่างไรก็ตามมีหลายช่องสัญญาณในย่านความถี่ ที่ Bluetooth กับ WIFI สามารถใช้งานได้ เทคโนโลยีมีความชาญฉลาดมากขึ้น สามารถค้นหาความถี่ที่ว่าง สลับไปมาได้ตลอดเวลา เราจึงสามารถใช้งานเทคโนโลยีไร้สายทั้ง 2 พร้อมกันได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องสัญญาณรบกวนจากวิทยุ
  • ฟังเพลงผ่าน Bluetooth แบตเตอรี่จะหมดไว : ในยุคแรกๆ หูฟังไร้สาย หรือหูฟังบลูทูธ รวมถึงลำโพงไร้สายต่างๆ บลูทูธ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จากสมาร์ทโฟนเยอะมาก ทำให้แบตหมดเร็ว แต่ในยุคปัจจุบัน ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เวอร์ชั่นที่ใหม่ขึ้น (ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเวอร์ชั่น 5.0 แล้ว ถูกพัฒนาให้ใช้พลังงานแบตเตอรี่น้อยลง) ทำให้เราไม่ต้องกังวลว่าการเชื่อมต่อบลูทูธตลอดเวลาจะทำให้แบตเตอรี่หมดไว เช่น สมาร์ทโฟนจับคู่กับหูฟังอยู่ แบตเตอรี่จะลดลงก็ต่อเมื่อเราเชื่อมต่อใช้งานฟังเพลงต่างๆ หากปิดเพลง การเชื่อมต่อบลูทูธก็จะหยุดลงเช่นกัน

สรุป: สัญญาณจากหูฟังบลูทูธ ไม่เป็นอันตราย

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตอุปกรณ์บลูทูธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมา การแผ่รังสีของบลูทูธที่ปล่อยออกมาจากหูฟังนั้น ถือว่าต่ำมาก ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา แต่รู้หรือไม่? การคุยโทรศัพท์แบบแนบหู จะได้รับรังสีมากกว่าการฟังเพลงจากหูฟังไร้สาย หูฟังบลูทูธเสียอีก

โดยสรุปแล้ว หากอยากใช้งานหูฟังบลูทูธให้ปลอดภัย ควรระวังในการฟังเสียงที่ดังเกินไป และไม่ใช้หูฟังติดต่อกันเป็นเวลานานจะดีกว่า เพื่อไม่ให้กระทบต่อการได้ยินของเราในระยะยาว ขอให้มีความสุขกับเสียงเพลงครับ 🙂

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก