เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 minutes
เคยสงสัยหรือเปล่าว่า หูฟังมีกี่ประเภท มีแบบไหนบ้าง? แล้วหูฟังแบบไหน เหมาะกับการใช้งานประเภทใหนบ้าง มีชื่อเรียกว่าอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆกัน
สวัสดีทุกท่าน สำหรับวันนี้เรามีบทความ ดีดี มาฝากทุกท่านกันอีกเช่นเคยครับ
ซึ่งทุกวันนี้เราจะพบหูฟัง ในท้องตลาดหลากหลายแบบมาก ลักษณะรูปร่างก็แตกต่างกันออกไปบ้าง บางรุ่นที่เราเห็นเป็นชนิดแบบไร้สายก็มี แล้วหูฟังแบบไหน เหมาะกับการใช้งานประเภทใหนบ้าง มีชื่อเรียกว่าอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ ผมได้รวบรวมสรุป ในบทความนี้เรียบร้อยแล้ว เรามาทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลยครับ

หูฟังแบบที่ 1 หูฟังแบบคาดศรีษะ (Headphones)
หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า หูฟังฟูลไซส์ (Full-size Headphones) ซึ่งเป็นหูฟังที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ผมขอแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท เพื่อความชัดเจน ดังนี้

1. Around-Ears Headphones หูฟังครอบหู
เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดใหญ่ โดยตัวหูฟังจะสามารถครอบหูทั้งหมด กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีระดับหนึ่ง แต่หูฟังประเภทนี้ ก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้การพกพาในบางรุ่นบางยี่ห้ออาจไม่สะดวก แต่ก็มีบางรุ่นที่ทำออกมาให้มีน้ำหนักเบาและพับเก็บได้ ทำให้พกพาได้ง่ายขึ้น

2.On-Ears Headphones หูฟังออนเอียร์
เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะที่มีขนาดเล็กรองลงมา จากหูฟังแบบครอบหู โดยลักษณะจะมีขนาดเล็ก ลักษณะที่เห็นชัดคือ หูฟังแบบนี้จะแปะข้างหูแทนการครอบที่ใบหูของเรา หูฟังประเภทนี้เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปทั้งอยู่กับที่ และพกพาไปใช้งานในสถานที่ต่างๆ เพราะมีขนาดที่เล็กนั่นเองครับ

หูฟังแบบที่ 2 (Earbuds) หูฟังเอียร์บัด
หูฟังขนาดเล็กที่มีใช้งานมาอย่างยาวนาน ด้วยความเล็กและสะดวกในการพกพามาถึงยุคปัจจุบันนี้ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ผมขอหยิบยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ของหูฟังประเภทนี้ เช่น หูฟังของไอโฟน หรือ เอียร์พอด หรือหูฟังที่ให้มาพร้อมกับโทรศัพท์ มือถือเรา ก็นับว่าเป็น หูฟังแบบเอียร์บัด เช่นกันครับ ซึ่งหูฟังประเภทนี้เป็นหูฟังที่มีขนาดเล็ก การใช้งานง่าย น้ำหนักเบามาก

หูฟังแบบที่ 3 (In Ear) หูฟังแบบมีจุกยางเสียบเข้าหู
หูฟังแบบ In-ear จัดได้ว่าเป็นประเภทของหูฟังที่ค่อนข้างนิยมมากในปัจจุบัน เพราะให้ความสะดวกในการพกพาไปใช้งาน หูฟังแบบ In-Ear สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี ด้วยความที่จุกยางหรือจุกโฟมที่สามารถใส่เข้าไปในรูหูจนปิดสนิท จุดเด่นของหูฟังชนิดนี้ คือ ให้รายละเอียดคุณภาพเสียงที่ชัดเจน
เนื่องด้วยหูฟังอยู่ใกล้รูหูของเรานั่นเองครับ ข้อควรระมัดระวังของหูฟังประเภทนี้ก็คือเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากหูฟังประเภทนี้สามารถกันเสียงได้ดีมากๆ ทำให้เราไม่ค่อยได้ยินเสียงจากภายนอก บางครั้งอาจเกิดอันตรายได้ และสำหรับคนที่ชอบเปิดเสียงดังมากๆก็จะเป็นอันตรายต่อหูได้เช่นกัน

หูฟังแบบที่ 4 (Ear Clips) หูฟังแบบเกี่ยวหู
เป็นหูฟังที่มีขนาดพอๆ กับหูฟังออนเอียร์ แต่ไม่ได้เป็นหูฟังแบบคาดศรีษะ แบบออนเอียร์ การสวมใส่หูฟังประเภทนี้ จะเป็นการเกี่ยวกับใบหูของเราแทน การสวมใส่แบบเกี่ยวหู มีจุดเด่นคือทำให้แน่น กระชับ และหลุดยาก ปัจจุบันพบเห็นค่อนข้างยาก

หูฟังแบบที่ 5 อินเอียร์ (In-Ear Monitors) IEM
เราจะมาพูดถึงอินเอียร์มอนิเตอร์ที่ใช้บนเวทีโดยทั่วไป จะเป็นหูฟังขนาด เล็กหรือหูฟังชนิดอินเอียร์ ซึ่งก็มีทั้งแบบ Universal In Ear และ Custom In Ear พูดกันรวมๆ Universal In Ear และ Custom In Ear ข้อดีของหูฟังแบบนี้
ก็คือ ดีไซน์มาเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียง ambiance (แอมเบี๊ยน) เสียงบรรยากาศรายรอบ ต่างๆบนเวที หรือในห้องสตูดิโอ ที่มันมีเยอะเกินไป จนก่อเกิดการรบกวนเยอะไปหมด หูฟังแบบนี้เหมาะกับการใช้งานของใครบ้าง เช่น นักดนตรี ศิลปินนักร้อง ทั้งในสตูดิโอ หรืองานประเภท คอนเสิร์ตกลางแจ้ง
หูฟังแบบนี้ให้รายละเอียดเสียงที่ค่อนข้างเที่ยงตรง แม่นยำ คัลเลอร์หรือความผิดเพี้ยนต่ำมากครับ ข้อดีข้อถัดมา ก็คือเราจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากขึ้นเนื่องจาก การป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกทำได้ดีนั่นเองครับ ส่วนการเพิ่มหรือลดเสียงก็สามารถทำได้อิสระ ทำให้ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้อย่างชัดเจนครบถ้วน
ส่วนข้อจำกัด ใส่นานๆอาจปวดหูได้หากไซส์หรือขนาดที่ไม่พอดีกับสรีระหูของเรา หากจะถามว่า การนำไปฟังเพลงเพราะใหม ตอบได้เลยว่า อาจไม่ค่อยเพราะพริ้งโดนใจ เพราะแนวเสียงของหูฟังประเภทนี้ ค่อนข้างแฟลตราบเรียบ นั่นเองครับ

หูฟังแบบที่ 6 (Custom In-Ear Monitors) คัสตอม
หูฟังคัสตอม เป็นหูฟังอินเอียร์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆกันกับแบบ Universal In Ear แต่เป็นหูฟังที่สั่งทำโดยเฉพาะ เพื่อให้เข้ากับสรีระของหูผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานโดยเฉพาะ ทำให้การสวมใส่พอดี ลดปัญหาเจ็บหรือปวดหูได้ ส่วนการป้องกันเสียงจากภายนอก หูฟังประเภทนี้ ก็ทำได้ดีมากครับ
หูฟังประเภทนี้มีขั้นตอนการผลิต ที่ค่อนข้างละเอียด โดยเริ่มจากการฉีดซิลิโคนเพื่อหล่อพิมพ์จากใบหูของผู้ใช้งาน จากนั้นก็ส่งต้นแบบไปผลิตที่แล็บ ประเทศที่ทำการผลิต ทำให้ใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างใช้ระยะเวลาพอสมควรครับ

หูฟังแบบที่ 7 (Bone Conduction Headphones) หูฟังแบบสั่นกระดูก
ระบบการฟังเพลงผ่านกระดูกหรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “ BONE CONDUCTION “ หลายท่านอาจจะได้เคยเห็นกันมาบ้างแล้วว่าหูฟังประเภทนี้คืออะไร หลักการทำงานของหูฟังจะเป็นการใช้แรงสั่นสะเทือนส่งไปที่กระดูกแก้มทำให้เราได้ยินเสียงโดยที่ต้องไม่ต้องผ่านไปที่แก้วหู ซึ่งประโยนชน์ของ BONE CONDUCTION ทำให้เรา ได้ยินเสียงรายรอบ หรือบรรยากาศรอบข้างได้อีกด้วย ถึงแม้ว่าไดร์เวอร์อาจจะต่างชนิดกับหูฟัง IN-EAR ทั่วไป แต่ก็ให้รายละเอียดเสียงในแบบเฉพาะของ BONE CONDUCTION
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
IMAX With Laser คืออะไร? มีที่ไหนบ้าง? อัพเกรดอะไรจากเดิมมั้ง!?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
เลือกขนาดลำโพงอย่างไร? ให้เหมาะกับห้อง
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า