มารู้จักช่วงความถี่เสียงของอีควอไลเซอร์ (Frequency Equalizer) ก่อนใช้งาน

EQ Frequency Range Banner

SoundDD.Shop ได้สรุปและรวบรวมข้อมูลของ ช่วงความถี่เสียงอีควอไลเซอร์, ย่านความถี่อีควอไลเซอร์ (Frequency Equalizer) แต่ละย่านแตกต่างกันอย่างไร? ช่วงความถี่ของเครื่องดนตรีอยู่ที่เท่าไหร่? บทความนี้เรามีคำตอบ!!

ก่อนทำการปรับแต่งอีคิว (EQ) สิ่งที่เราต้องรู้…

ย่าน “ความถี่เสียง” ที่มนุษย์สามารถรับรู้ และได้ยิน นั่นคือช่วงความถี่ 20 Hz – 20,000 Hz ซึ่งถือว่าเป็นช่วงความถี่ที่กว้าง โดยส่วนมากเราจะนิยมเรียกย่านความถี่ของเสียงโดยรวมว่า ย่านเสียงทุ้ม, ย่านเสียงกลาง, ย่านเสียงแหลม

ย่าน “ความถี่ของเสียง” สามารถแบ่งออกได้ดังนี้…

Frequency Response

ย่าน ซับ ( Sub Bass )

อยู่ในช่วง 20 Hz – 60 Hz ควบคุมเสียงกระหึ่ม เสียงของการสั่นสะเทือน ซึ่งลำโพงที่ให้เสียงย่านนี้ ถือว่าต้องมีคุณภาพพอสมควร โดยส่วนใหญ่เสียงที่ย่านนี้ถูกผลิตออกมา จะมาจากลำโพงซับวูฟเฟอร์

ย่านเบส ( Bass )

อยู่ในช่วง 60 Hz – 250 Hz เป็นย่านความถี่ต่ำสุดของงานมิกซ์เสียง เป็นความถี่ระดับพื้นฐาน (Fundamental) ของกีตาร์เบส และเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ อย่างเช่น Kick-Drum ของกลองชุด ย่านความถี่นี้ควบคุมความเต็มความแน่นของเสียงนั้นๆ ซึ่งเสียงในย่านนี้จะเป็นตัวกำหนดของเขตระหว่างเสียงเบส และเสียงกลาง

ย่านมิดโลว ( Low midrange )

อยู่ในช่วง 250 Hz – 500 Hz เป็นย่านความถี่เสียง Harmonics แรกของเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นช่วงเสียงเบส การเพิ่มสัญญาณประมาณ 300 Hz จะเพิ่มความชัดเจนให้กับเสียงเบสและเครื่องสายที่มีเสียงต่ำ

ย่านกลาง ( Midrange )

อยู่ในช่วง 500 Hz – 2,000 Hz ย่านความถี่นี้สำคัญสำหรับเสียงพูด หรือ เสียงร้อง และจะเป็นตัวกำหนดความเด่น ความชัดเจนของเครื่องดนตรีประเภท Mid-range การปรับเพิ่มระดับเสียงในย่านนี้มากเกินไป เมื่อฟังไปนานๆ อาจจะทำให้ล้าหูได้

ย่านกลาง-แหลม ( Upper midrange )

อยู่ในช่วง 2,000 Hz – 4,000 Hz เป็นย่านทีตอบสนองกับการได้ยินของมนุษย์มากที่สุด ควบคุมความระยะใกล้-ไกล และ ความชัดเจน ของเครื่องดนตรี และเสียงร้อง การปรับเพิ่มระดับเสียงในย่านนี้มากเกินไปจะทำให้ได้เสียงหยาบกระด้าง และการเพิ่มเสียงในย่านนี้จะได้ความพุ่งของเสียง

ย่านแหลม ( Presence )

อยู่ในช่วง 4,000 Hz – 6,000 Hz ย่านนี้จะสัมพันธ์สอดคล้องกับความใส ความชัดเจน, เสียงฉ่า (Sizzle) ถ้าบูสย่านความถี่นี้มากเกินไป จะทำให้เกิดเสียงแหลมที่บาดหู ระคายหูได้ ในทางกลับกันถ้ามีเสียงในย่านความถี่นี้น้อยเกินไปจะทำให้เสียงนั้นฟังดูว่าอยู่ไกลไม่ชัดเจน

ย่านแอร์ ( Brilliance )

อยู่ในช่วง 6,000 Hz – 20,000 Hz ย่านที่สร้างความ Hi-Fi ของเสียง สร้างความโปร่งใสให้กับเสียงร้องและเครื่องดนตรี การบูสเสียงย่านแอร์มากเกินไปอาจจะทำให้เสียง Hiss หรือเสียง น้อยซ์ ขึ้นมาได้

หากเราแบ่งตามชนิดของเสียงเครื่องดนตรี ความถี่จะถูกแบ่งออกดังนี้

instrument-frequencies
คลื่นความถี่ของเครื่องดนตรี

เสียงเครื่องดนตรีประเภทดีด

  • Bass Guitar – ความถี่หลัก 40 Hz – 1 kHz / ความถี่รอง 1kHz – 4 kHz
  • Electric Guitar – ความถี่หลัก 80 Hz – 1.5 kHz / ความถี่รอง 1.5 kHz – 50 kHz
  • Acoustic Guitar – ความถี่หลัก 80 Hz – 1.5 kHz / ความถี่รอง 1.5 kHz – 50 kHz
คลื่นความถี่ของคนร้อง

เสียงคนร้อง

  • Male Vocal – ความถี่หลัก 100 Hz – 800 Hz / ความถี่รอง 800 Hz – 8 kHz
  • Femal Vocal – ความถี่หลัก 250 Hz – 1 kHz / ความถี่รอง 1 kHz – 8 kHz
instrument-Tuba
instrument-Sax

เสียงเครื่องดนตรีประเภทเป่า

  • Tuba – ความถี่หลัก 30 Hz – 380 Hz / ความถี่รอง 380 Hz – 2 kHz
  • French Horn – ความถี่หลัก 60 Hz – 800 Hz / ความถี่รอง 800 Hz – 5 kHz
  • Trombone – ความถี่หลัก 60 Hz – 500 Hz / ความถี่รอง 500 Hz – 5 kHz
  • Trumpet – ความถี่หลัก 180 Hz – 1.2 kHz / ความถี่รอง 1.2 kHz – 9 kHz
  • Bassoon – ความถี่หลัก 60 Hz – 620 Hz / ความถี่รอง 620 Hz – 9 kHz
  • Tenor Sax – ความถี่หลัก 120 Hz – 650 Hz / ความถี่รอง 650 Hz – 8 kHz
  • Alto Sax – ความถี่หลัก 150 Hz – 800 Hz / ความถี่รอง 800 Hz – 8 kHz
  • Accordion – ความถี่หลัก 180 Hz – 1 kHz / ความถี่รอง 1 kHz – 7 kHz
  • Clarinet – ความถี่หลัก 150 Hz – 2 kHz / ความถี่รอง 2 kHz – 12.5 kHz
  • Oboe – ความถี่หลัก 225 Hz – 1.5 kHz / ความถี่รอง 1.5 kHz – 12.5 kHz
  • Flute – ความถี่หลัก 250 Hz – 2.5 kHz / ความถี่รอง 2.5 kHz – 12 kHz
  • Piccolo – ความถี่หลัก 600 Hz – 4 kHz / ความถี่รอง 4 kHz – 12.5 kHz
instrument-keyboard

เสียงเครื่องดนตรีชนิดเคาะ

  • Keyboad – ความถี่หลัก 20 Hz – 4 kHz / ความถี่รอง 4 kHz – 8 kHz
  • Pipe Organ – ความถี่หลัก 20 Hz – 7 kHz
  • Piano – ความถี่หลัก 25 Hz – 1.5 kHz
  • Harpsichord – ความถี่หลัก 40 Hz – 1.5 kHz
  • Harp – ความถี่หลัก 30 Hz – 7 kHz
instrument-Cello

เสียงเครื่องดนตรีชนิดเคาะ

  • Double Bass – ความถี่หลัก 30 Hz – 300 Hz / ความถี่รอง 300 Hz – 5 kHz
  • Cello – ความถี่หลัก 60 Hz – 500 Hz / ความถี่รอง 500 Hz – 7 kHz
  • Viola – ความถี่หลัก 125 Hz – 1 kHz / ความถี่รอง 1 kHz – 7 kHz
  • Violin – ความถี่หลัก 200 Hz – 1.25 kHz / ความถี่รอง 1.25 kHz – 16 kHz

ย่านความถี่ในงาน Live Sound หรืองานแสดงดนตรีสด

  • 20 Hz : ให้เสียงเบสทุ้มลึก บางครั้งออกอาการเบลอ ควรปรับอย่างระมัดระวัง
  • 25 Hz : ให้เสียงเบสที่ทุ้มลึก ถ้าบูทมากเบสจะคราง รักษาระดับให้ดี
  • 31.5 Hz : เสียงเบสเดินเรียบ ลูกเบสริทึ่ม เบสดรัมจะหนา และอาจเบลอได้ คัทตรงนี้ได้ลูกกระเดื่องหลายสไตล์ ทุ้มแบบบลู หรือสดแบบร็อค
  • 40 Hz : ให้เสียงเบสที่ชัดเจน เสียงทุ้มตํ่าของเบสดรัม
  • 63 Hz : ให้เสียงเบสที่ชัดเจน เบสดรัมที่มีนํ้าหนัก และกระแทกกระทั้น เสียงทุ้มของกลองทอม
  • 80 Hz : จุดที่สำคัญที่สุดของเสียงเบส และกระเดื่อง นํ้าหนักเสียงทั้งหมดของสองเครื่องดนตรี จะอยู่ที่ตรงนี้
  • 100 Hz : ให้เสียงโซโล่เบสที่ชัดเจน เสียงกระเดื่องกระแทก ถ้าต้องการกระเดื่องแข็งๆแบบเพลงร็อค เพลงลูกทุ่ง ควรคัทลง
  • 125 -200 Hz : ให้เสียงแข็งๆของเบสและกระเดื่อง เสียงบวมๆของกลองทอม เป็นชวงที่ควรคัทลง ไม่ว่าสภาพห้องยังไง เพราะเสียงจะไม่นุ่มเลยถ้าบูทขึ้น
  • 250 Hz : ให้ลูกชัดเจนของกระเดื่อง และเบสเสียงทุ้มของสแนร์ และกลองทอม เสียงร้องจะทุ้มลึกๆ
  • 315 Hz : ให้เสียงร้องที่นุ่มๆอิ่มๆ กระเดื่องกระแทกหนัง เสียงตบเบส ช่วงที่หนาพอสมควรในเสียงกลาง
  • 400 Hz : เสียงร้องจะอิ่ม  นุ่มทุ้ม  มีนํ้าหนักได้อารมณ์ โดยเฉพาะเพลงลูกกรุง ช่วงหนีความถี่ของกระเดื่องกับเบส สแนร์เสียงเต็ม ดังตั๊บๆเสียงกลองทอมชัด
  • 500 Hz : ให้เสียงกลางที่ชัดเจน ทั้งเสียงร้องและดนตรีหนา แน่น
  • 630 Hz : ให้เสียงกลาง ช่วยเพิ่มให้ 500 Hz ฟังชัดขึ้น กลองทอมเสียงเต็ม กังวาน
  • 800 Hz : เสียงชัดถ้อย ชัดคำ แต่อย่าไปบูทมากนะครับ มันจะเหมือนพูดในโอ่ง ทอมกังวาล
  • 1 KHz : เสียงพูดใส ชัดเจน เสียงตบเบส และ หัวกระเดื่อง
  • 1.6 KHz – 2 KHz : ช่วงเสียงกลางที่คม ๆ เสียงพูดจะหนามาก แต่เวลาร้องควรลด เพราะไม่นุ่ม ปลายกระเดื่องเสียงหนังคม ๆ เสียงติ๊ก ๆ ของเบส
  • 2.5 KHz – 3.15 KHz : เอฟเฟคเสียงรีเวิร์บชัดเจน น่าฟัง ปลายเสียงร้องสดใส เสียงไฮแฮท คมชัด หัวกลองทอม
  • 4 KHz – 6.3 KHz : ทุกอุปกรณ์ เสียงคม บาดหู ควรลด เสียงร้องแหลมคมแทงหู เหมือนเสียงไตรภพ ในรายการ เกมเศรษฐี
  • 8 KHz – 10 KHz : ปลายเสียงใสๆ ของทุกอุปกรณ์ เอฟเฟคฟุ้งกระจาย เสียงกว้างขึ้น
  • 16 KHz – 20 KHz : เป็นช่วงของปลายเสียงแหลม

สรุป

ช่วงความถี่เสียงของเครื่องดนตรีทั้งหมดที่เรากล่าวมานั้น ความถี่เสียงที่แตกต่างกันออกไป หากจะปรับแต่ง EQ อีควอไลเซอร์ (Equalizer) จะได้มีแนวทางในการปรับแต่งให้เหมาะสม เพราะ EQ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจหลักในงานด้านระบบเสียง…มีหน้าที่ในการปรับแต่งเสียงทุ้ม เสียงกลาง เสียงแหลม ให้มีระดับความสมดุลย์ของความดังให้เหมาะสมที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก: Teach Me Audio, Soundonsound

Share :

บทความ สาระความรู้

Reverb คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน

ในบทความนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ดำดิ่งสู้โลกแห่ง Reverb ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกดิ!

Halo 100 ลำโพงปาร์ตี้แบบพกพา พร้อมเอฟเฟกต์ไฟสวยงาม จาก Tronsmart

ลำโพงปาร์ตี้ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ เวลานี้ ด้วยพลังเสียงที่เกินตัว นอกจากนี้คุณภาพเสียงก็ทำออกได้ดีไม่แพ้กัน ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมีในเฉพาะในลำโพง Tronsmart เท่านั้น

ทำไมวงไอดอล YAMI YAMI ถึงเลือกใช้ SU-990D/HT

ประกาศการให้ความร่วมมือระหว่างแบรนด์ SOUNDVISION กับค่ายเพลงไอดอล Catsolute ที่มีคอนเซปต์การสร้างความฝันบทใหม่ผ่านรูปแบบศิลปินไอดอล (Idol Girl Group) สนับสนุนไมโครโฟนให้กับน้องๆ Sora Sora และ Yami Yami จะลงตัวแค่ไหน

ใหม่! JBL Tour Pro 2 หูฟังไร้สาย จะมีหน้าจอทัชสกรีนเพื่อ..?

หูฟังไร้สายรุ่นเรือธงของ JBL จัดเต็มในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ งานประกอบ คุณภาพเสียง และฟีเจอร์การใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด (สำนักงานใหญ่)

พาชมผลงานติดตั้งระบบภาพและเสียงห้องประชุมระดับมืออาชีพ ที่บริษัท วงศ์สยาม โดยทีมงานซาวด์ดีดี

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ

ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ จากทีมงาน ซาวด์ ดีดี

ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า

พาชมผลงานติดตั้งระบบเสียงคาราโอเกะ หน้าตาห้องสำหรับร้องคาราโอเกะจะเป็นยังไง!? จะตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแค่ไหน?? อยากรู้ คลิกเลย!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี

กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง ห้องประชุม โดยก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก