เวลาอ่านโดยประมาณ : 4 minutes
มารู้จักกับ แผ่นซับเสียง กันว่ามันคืออะไร? หากห้องของเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเป็น ห้องบันทึกเสียงหรือห้องสตูดิโอตั้งแต่แรก วันดีคืนดีเราอยากจะบันทึกเสียง, เล่นดนตรี, ร้องเพลง, ทำรีวิว, อัดวีดีโอทำคอนเท้นท์, เรียนออนไลน์, Work From Home หรือเป็นห้องประชุมขึ้นมา
แต่ติดตรงที่อคูสติค ห้องเราเสียงก้อง พูดแล้วเกิดการสะท้อนกลับ หากจะบันทึกเสียง หรือจะใช้งานในห้องอคูสติคแบบนี้ไม่เวิร์คแน่
แล้วจะทำยังไงดี? ย้ายห้องดีไหมนะ? ใจเย็นๆแล้วมาอ่านบทความนี้กันก่อนนะครับ
เลือกอ่านตามหัวข้อ คลิกเลย
- แผ่นซับเสียง หรือ Sound Absorbtion คืออะไร?
- เปรียบเทียบ ก่อน และหลังการติดตั้งแผ่นซับเสียง
- วัสดุซับเสียงมีแบบไหนบ้าง?
- ห้องที่เงียบที่สุดในโลก เงียบจนได้ยินเสียงจังหวะหัวใจตัวเอง!!
- ทำไม? ราคาของแผ่นซับเสียงแต่ละยี่ห้อ จึงมีความแตกต่างกันมาก
- วิธีทำแผ่นวัสดุซับเสียงด้วยตนเองง่ายๆ (แบบฉบับ DIY)
- แผ่นซับเสียงใช้ไม่ได้ผลกับกรณีไหนบ้าง?
- จะทราบได้อย่างไร ? ว่าในห้องต้องติดตั้งแผ่นซับเสียงขนาดเท่าไร จำนวนกี่แผ่น
- แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียง ไม่ให้ออกไปภายนอกห้องได้หรือไม่ ?
- แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงภายนอก ไม่ให้เข้ามาห้องได้หรือไม่ ?
- แผ่นซับเสียง VS ฉนวนกันเสียง ต่างกันอย่างไร ?
แผ่นซับเสียง หรือ Sound Absorbtion คืออะไร?

แผ่นซับเสียง คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการ ช่วยลดเสียงก้อง และ ช่วยลดเสียงสะท้อนกลับ ซึ่งเกิดจากอคูสติกห้อง ส่วนมากจะเจอในห้องทั่วไปที่ออกแบบในแนวขนานระหว่าง ผนังหรือเพดาน หรือห้องที่มีกระจกเป็นต้น
วิธีแก้ไขก็คงหนีไม่พ้น ต้องหาวัสดุหรืออุปกรณ์ มาวาง มาแปะ เพื่อให้อาการก้อง หรืออาการแอคโค่ (Echo) ลดลง
เปรียบเทียบ ก่อน และหลังติดตั้งแผ่นซับเสียง
วัสดุซับเสียงมีแบบไหนบ้าง?
วัสดุซับเสียงที่เป็นประเภทเยื่อแผ่น (อาทิ ผนังที่มีหลายชั้นกระจกสองชั้น หรือการติดผ้าม่านให้กับผนัง/ช่องเปิด) สำหรับเสียงที่มีความถี่ต่ำ

จากภาพ ด้านหลังผ้าม่าน จะเป็นหน้าต่างซึ่งเป็นกระจก ซึ่งถ้าปิดม่านไว้ก็จะช่วยลดเสียงสะท้อนได้ในระดับนึง ด้านบนหน้าต่างเหลือพื้นที่ว่าง ก็ทำการติดตั้งแผ่นซับเสียงเข้าไป

จากภาพ ฝั่งซ้าย และขวาของประตูเดิมจะเป็นกระจกบานใหญ่เทียบเท่าประตูเลยทีเดียว ก็ต้องตัดสินใจแล้วละครับว่าจะติดแผ่นซับเสียงเข้าไป หรือใช้วิธีปิดผ้าม่านแทน ส่วนด้านบนเหลือพื้นที่ว่าง ก็จัดการติดตั้งแผ่นซับเสียงให้เรียบร้อย
วัสดุซับเสียงที่โปร่งเบาเป็นฝอยเป็นรูพรุน (อาทิ ฉนวนใยแก้ว ฉนวนใยหิน ฉนวนเซลลูโลส โฟมประเภทต่างๆ) คุณสมบัติก็แตกต่างกันไป ตามความแข็งแรง ความหนาแน่น และการใช้งาน เหมาะสำหรับสียงที่มีความถี่สูง

จากภาพด้านบน จะเห็นว่าที่ผนังกำแพง จะมีช่องเว้นว่างอยู่ ให้เรานำแผ่น วัสดุซับเสียงเข้าไปติดตั้ง ก็จะช่วยลดเสียงสะท้อนได้ในระดับนึงเลย

ไม่เพียงแต่ที่ผนังเท่านั้น เพราะเสียงไม่ได้เดินทางแค่แนวราบ ที่เพดานเราก็ต้องติดตั้งแผ่นวัสดุซับเสียงด้วยเช่นกัน
ในภาพเป็นห้องขนาดใหญ่ ก่อนติดตั้งวัสดุซับเสียง เวลาใช้งานไม่ว่าจะพูดคุย ประชุม เปิดเพลง เสียงก้อง สะท้อน Echo มาเต็มสุดๆ
ภายหลังจากการ ติดตั้งแผ่นวัสดุซับเสียงเข้าไปแล้ว เสียงก้อง สะท้อน เสียง Echo ก็หายไปทันที
แต่ในบางครั้งการติดแผ่นวัสดุซับเสียงที่มากเกินไปก็ใช่ว่าจะให้ผลดีเสมอไป
เพราะอย่าลืมสังเกตุว่าในบางห้องเมื่อเราติดวัสดุซับเสียงที่มากจนเกินไป เวลาเราพูด ทำไมเรารู้สึกเหมือนต้องตะโกนเมื่อเราคุยกัน พูดแป๊บเดียวทำไมรู้สึกเหนื่อยๆ ต้องออกแรงเยอะ
ก็เพราะว่า อคูสติคที่แห้งหรือเดท จนเกินไป (อธิบาย คือลักษณะห้องที่ไม่มีเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนของเสียงเลย)
ห้องที่เงียบที่สุดในโลก เงียบจนได้ยินเสียงจังหวะหัวใจตัวเอง!!
ห้องที่เงียบที่สุดนี้มีชื่อว่า Eckel Anechoic Chamber ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยห้องเก็บเสียงนี้ สร้างขึ้นมาด้วยวัสดุดูดซับเสียงชนิดพิเศษติดตั้งไว้ทั่วบริเวณห้อง ทั้งที่กำแพง ที่เพดานห้อง และที่ประตู
นอกจากวัสดุดูดซับเสียงที่ติดตั้งไปแล้ว ยังมีการติดตั้งระบบกันสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงสั่นจากข้างนอกเล็ดลอดเข้ามา ตัดขาดจากเสียงภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งจากการวิเคราะห์ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ระดับเสียงที่เงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้คือ -23 เดซิเบล ….(อ่านต่อคลิก)
ทำไม? ราคาของแผ่นซับเสียงแต่ละยี่ห้อจึงมีความแตกต่างกันมาก

เหตุที่แผ่นซับเสียงแต่ละยี่ห้อหรือรูปแบบมีราคาจำหน่ายต่างกัน มีเหตุผลหลักคือวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน หรือแก้ปัญหาด้านเสียงที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น
แผ่นซับเสียงที่ใช้แก้ปัญหาเสียงเอ็คโค่ (Echo) ในห้องซ้อมดนตรีห้องอัดเสียง สามารถใช้วัสดุที่เป็นเส้นใยโปลีเอสเตอร์ ใยแก้ว หรือเยื่อไม้ได้
ในขณะที่แผ่นซับเสียงที่ใช้แก้ปัญหาเสียงดังในห้องคลีนรูม อาจใช้ได้แค่แผ่นซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุโพลียูรีเทนฉีดขึ้นรูปเท่านั้น เพราะต้องระวังอย่างยิ่งมิให้มีฝุ่นหรือการปนเปื้อนรวมไปถึงเชื้อราเกิดขึ้นในไลน์ผลิต ยังไม่นับรวมถึงคุณสมบัติอื่นๆที่แผ่นซับเสียงบางรุ่นต้องมี เช่น ทนรังสียูวีหรือไอเคมี กันน้ำและน้ำมัน และกันการลามไฟ เป็นต้น
วิธีทำแผ่นวัสดุซับเสียงด้วยตนเองง่ายๆ (แบบฉบับ DIY)
แผ่นซับเสียงใช้ไม่ได้ผลกับกรณีไหนบ้าง?
ปัญหาด้านเสียงที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้แค่แผ่นซับเสียง คือ เสียงที่มีความสั่นสะเทือนร่วมด้วย เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์ยึดติดกับผนังบ้านโดยไม่มียางรองกันสั่น แล้วทำให้เกิดเสียงก่อให้เกิดความรำคาญใจ
ซึ่งในเคสนี้หากนำแผ่นวัสดุซับเสียงมาติดภายในห้องเพื่อจะลดเสียง การสั่นสะเทือนของคอมเพรสเซอร์แอร์ จะไม่ได้ผล เพราะลักษณะเสียงเดินทางผ่านโครงสร้างของตัวบ้านหรืออาคาร
สำหรับวิธีแก้ไขในกรณีนี้ อาจจะต้องติดตั้งระบบกันสั่นสะเทือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงสั่นจากข้างนอกเข้ามา
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆแผ่นซับเสียงที่ติดแล้วจะทำให้ได้ผลดีคือ ใช้กับลักษณะของเสียงที่เดินทาง ทางอากาศ เช่น เสียงของคลื่นเสียงจาก เสียงเพลง เสียงดนตรี หรือเสียงพูด เสียงจากลำโพง เป็นต้น
จะทราบได้อย่างไร ? ว่าในห้องต้องติดตั้งแผ่นซับเสียงขนาดเท่าไร จำนวนกี่แผ่น
เบื้องต้นให้คำนวนจาก ขนาดของพื้นที่จริงที่สามารถติดตั้งได้ก่อน เช่น ผนังกว้าง 6×4 เมตร ก็นำมาคำนวนกับขนาดของแผ่นซับเสียง ขนาด 120×60 ซม. จะได้จำนวนแผ่นที่จะใช้ติด วิธีคำนวนคือ
24 ตารางเมตร (มาจาก 6×4 เมตร) ÷ 0.72(ขนาดแผ่นซับเสียง)
= ผนังกว้าง 6×4 เมตร ควรติดตั้งแผ่นซับเสียงขนาด ขนาด 120×60 ซม. ประมาณ 33 แผ่น
แต่เวลาติดตั้งจริง จะใช้น้อยกว่านี้ เพราะจะไม่ได้ติดตั้งแผ่นซับเสียงแบบเรียงติดๆกัน แต่จะติดแบบเว้นให้พื้นที่ว่างเหลือไว้บ้าง และอาจจะต้อง เว้นช่องหน้าต่าง หรือเว้นช่องที่ไม่สามารถติดตั้งได้อีกด้วย
หรือใช้เครื่องมือ RT60 (Reverberation time RT60) ในการตรวจสอบเสียงในตำแหน่งต่างๆ ก็จะทำให้คำนวนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น Reverberation time RT60 คืออะไร คลิก
แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงออกไปภายนอกห้องได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ ถ้าจะป้องกันเสียงออก ต้องทำการติดตั้งฉนวนกันเสียงกั้นระหว่างกำแพงห้อง และที่เพดาน
แผ่นซับเสียง ป้องกันเสียงภายนอก ไม่ให้เข้ามาห้องได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ ถ้าจะป้องกันเสียงเข้ามา ต้องทำการติดตั้งฉนวนกันเสียงกั้นระหว่างกำแพงห้อง และที่เพดาน จะให้ดีต้องทำการติดตั้งจากทั้ง 2 ห้อง ทั้งห้องต้นเสียง และปลายเสียง
แผ่นซับเสียง VS ฉนวนกันเสียง ต่างกันอย่างไร ?


แผ่นซับเสียง คืออะไร?
- แผ่นซับเสียง คือ แผ่นที่ทำจากเส้นใยต่างๆ เช่น ใยแก้ว ใยหิน ฟองน้ำ หรือโฟม อาจหุ้มผ้าหรือปิดผิวด้วยวิธีการอื่นๆ ใช้สำหรับดูดซับเสียง (Sound Absorption) คือ ดูดซับเสียง เมื่อเสี ยงมาตกกระทบจะดูดซับเสียงนั้น ไม่ให้สะท้อนกลับ
- ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังหรือฝ้าเพดาน เพื่อซับเสียงภายในห้อง ป้องกันเสีนงก้อง สะท้อน Echo
แผ่นซับเสียง ไม่เหมาะสำหรับได้ใช้ในการกันเสียง!! ต่อให้นำมาติดตั้งทั่วบริเวณผนัง ก็ไม่ได้ช่วยให้กันเสียงดีขึ้นเท่าที่ควร


ฉนวนกันเสียง คืออะไร?
- ฉนวนกันเสียง คือ แผ่นฉนวนทำจากเส้นใยต่างๆ วัสดุหลักเหมือนกันกับแผ่นซับเสียง แต่ส่วนผสม ความหนาแน่น วัสดุหุ้ม และรูปแบบแผ่น จะแตกต่างกับแผ่นซับเสียง
- ใช้สำหรับ ติดตั้งที่ผนังกำแพง เพื่อให้ผนังนั้นๆกันเสียงได้ดีขึ้น สามารถนำมาติดตั้งที่เพดานได้เช่นกัน
แผ่นซับเสียงใช้ลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้อง ส่วนฉนวนกันเสียงใช้ติดตั้งใส่ในผนังเพื่อให้ผนังกันเสียงเข้า – ออกห้อง (ขอบคุณข้อมูลจาก ZEN ACOUSTIC)
สรุป
ติดตั้งไปแล้ว จะใช้งานได้ดีมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับรูปแบบห้อง วัสดุที่นำมาใช้ทำแผ่นซับเสียง และการติดตั้งที่ได้วางแผนวิเคราะห์คำนวณออกมาแล้ว การติดตั้ง และให้ใช้งานได้ทั้ง กันเสียงก้อง เสียงสะท้อน และกันเสียงเข้า – ออก ก็เช่นเดียวกัน ฉนวนกันเสียงบางรุ่นสามารถทนทานต่อไฟไหม้ได้ด้วย
สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อเข้ามารับคำปรึกษาจากผู้เชียวชาญได้ ฟรี! ได้ที่ช่องทางด้านล่างนี้เลยครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)
Facebook : SoundDD.Shop
Website: www.sounddd.shop
Tel: 02 435 8998 | 085 396 8888
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
IMAX With Laser คืออะไร? มีที่ไหนบ้าง? อัพเกรดอะไรจากเดิมมั้ง!?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
เลือกขนาดลำโพงอย่างไร? ให้เหมาะกับห้อง
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า