Estimated reading time: 4 minutes
สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับบทความเกร็ดความรู้และสาระดีดี วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักว่า HDR (High Dynamic Range) คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี ยิ่งถ้ารับชมภาพยนต์ยิ่งต้องมี มันดีกว่า SDR (Standard Dynamic Range) แบบเก่ายังไง? ถ้าพร้อมแล้วไปชมกันเลยครับ ~
“HDR มาตรฐานใหม่แห่งการรับชมภาพยนต์ในยุคคอนาคต”
สารบัญ

Dynamic Range คืออะไร
Dynamic Range คือ ความกว้างของสีที่เป็นขอบเขตของสีที่สว่างที่สุด และสีที่มืดที่สุด ยิ่ง Dynamic Range กว้างเท่าไหร่ ยิ่งให้สีสัน ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มากเท่านั้น Dynamic Range จะเป็นค่าที่สอดคล้องกับ Contrast Ratio โดยในปัจจุบันก็จะแยก Dynamic Range ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

SDR หรือ Standard Dynamic Range คืออะไร
SDR ย่อมาจาก Standard Dynamic Range คือ ขอบเขตความกว้างของสีที่เป็นมาตรฐานที่เราใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยที่สีของภาพและ Contrast Ratio จะต่ำกว่าปกติที่ตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้
โดยในปัจจุบัน อุปกรณ์ที่รองรับ SDR จะค่อยๆ ลดน้อยและหายไปในที่สุด ด้วยการมาถึงของมาตรฐานใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าการรับชมภาพยนต์ และสื่อแทบทุกอย่าง
HDR (High Dynamic Range)

HDR หรือ High Dynamic Range คืออะไร
HDR ย่อมาจาก High Dynamic Range คือ เทคนิคที่ทำให้ขอบเขตความกว้างของสี และ Contrast Ratio ของภาพ หรือวิดีโอมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มากที่สุด สีของภาพจะมีความสด และให้คอนทราสก์ที่ยอดเยี่ยม
โดยอุปกรณ์ในส่วน Output ด้านภาพส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้มาตรฐาน HDR ซะเป็นส่วนมาก เนื่องจากคุณภาพของสีที่สดและให้ Contrast Ratio ที่ดีกว่า แบบ SDR แบบเห็นได้ชัด ช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนต์ หรือดูคอนเท็นต์ต่างๆ ให้ได้รับประสบการณ์ในการรับชมที่ดียิ่งกว่า
โดย HDR ก็จะมีมาตรฐานแยกย่อยออกมาอีก 4 แบบ ดังนี้ครับ
ประเภทของ HDR

HDR10
HDR10 เป็นมาตรฐานที่ถูกผลักดันโดยองค์กร UHD Alliance เพื่อเป็นมาตรฐานหลักที่ผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงผล (จอมอนิเตอร์ และโปรเจคเตอร์) ทุกแบรนด์ ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดย HDR10 จะมีความลึกของสี หรือ Color Depth ที่มากถึง 10-Bit โดยจะสามารถแสดงเฉดสีได้มากถึง 1.07 พันล้านเฉดสีเลยทีเดียว
HDR10 เปรียบเสมือน Default(ค่าเริ่มต้น) ของ HDR หากเพื่อนๆ พบเห็นอุปกรณ์ที่บอกว่ารองรับ HDR แต่ไม่ได้ลงรายละเอียด ให้เพื่อนๆ สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่าเป็น HDR10 โดย HDR10 จะใช้การประมวลผลภาพแบบ Static Metadata หรือก็คือการประมวลผลภาพและตั้งค่าแสง โดยประมวลผลรวมทุกภาพ แล้วตั้งค่าแสงเพียงครั้งเดียวเพื่อใช้กับทุกเฟรม ผลที่ได้จะดีกว่า SDR แต่คุณภาพโดยรวมไม่สามารถเทียบกับ HDR10+ และ Dolby Vision ได้เลย
โดย HDR10 จะเป็นประเภทของ HDR ที่เราสามารถพบเห็น และได้สัมผัสกับมันมากที่สุด เนื่องจากเป็น Open Source ที่เปิดให้ผู้พัฒนาสามารถนำไปต่อยอดใช้งานกันได้แบบฟรีๆ โดยในปัจจุบันอุปกรณ์แสดงผลแทบทุกตัว ล้วนรองรับ HDR10 เป็นมาตรฐานขั้นต่ำนั่นเองครับ


HDR10+
HDR10+ เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาโดย Samsung ซึ่งเป็น Open Source เช่นเดียวกับ HDR10 แต่จะเป็นการอัพเกรดสิ่งต่างๆ ให้มีมาตรฐานที่สูงกว่า HDR10 อยู่พอสมควร โดย HDR10+ จะให้ความลึกของสี (Color Depth) ที่10-Bit เช่นเดียวกับ HDR10 แต่จะเพิ่มในส่วนของการประมวลผลรายละเอียดต่างๆ
โดย HDR10+ จะมีการประมวลผลและตั้งค่าแสง แยกอย่างละเอียดได้ทีละเฟรม(ศัพท์เทคนิคที่ใช้สำหรับเรียกการประมวลผลแยกทีละเฟรมคือ Dynamic Metadata) แตกต่างจาก HDR10 ธรรมดาที่จะประมวลผลและตั้งค่าแสงแบบรวมทุกเฟรมทีเดียว ช่วยให้ HDR10+ จะมีรายละเอียดของสี และ Contrast Ratio ที่ดีกว่านั่นเองครับ


Dolby Vision
Dolby Vision เป็นรูปแบบ HDR ของ Dolby ที่ขึ้นชื่อเกี่ยวกับเรื่องภาพยนต์อยู่แล้ว เป็นเทคโนลียีที่ไม่ได้เปิดให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ นั่นหมายความว่าทีวีที่จะผลิตมาให้รองรับกับ Dolby Vision จำเป็นต้องขออนุญาติในการนำเทคโนโลยีมาใช้งานในผลิตภัณฑ์ของตน
โดย Dolby Vision จะมีคุณภาพของสี และ Contrast Ratio ที่ดีกว่า HDR10 ในแทบทุกด้าน ในส่วนของการประมวลผลภาพ จะใช้เป็นการประมวลผลแบบละเอียดทีละเฟรม(Dynamic Metadata) เหมือนกับ HDR10+ แต่จะมีข้อดีอีกอย่างนึงที่ Dolby Vision ทำได้เหนือกว่า HDR10 คือ ตัวเทคโนโลยี Dolby Vision นั้น รองรับความสว่างของจอภาพสูงสุดถึง 10,000 Nits หรือก็คือรองรับความสว่างมากกว่ามาตรฐาน HDR10 ถึง 10 เท่า! (HDR10 = 1,000 Nits และ HDR10+ = 10,000 Nits)

HLG
HLG ย่อมาจาก Hybrid Log-Gamma เป็นมาตรฐานที่เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง BBC สื่อชั้นนำแดนผู้ดี และ NHK สื่อชั้นนำแดนปลาดิบ ไว้สำหรับใช้ในการออกอากาศ โดยมาตรฐานแบบ HLG จะสามารถใช้งานร่วมกับจอแสดงผล หรือโปรเจคเตอร์ทั้งในระบบ SDR และ HDR เนื่องจากไม่ได้ใช้งานการประมวลผลภาพ (Metadata) เข้ามาเป็นส่วนช่วยในการยกระดับ Dynamic Range นั่นเองครับ
สรุป
มาตรฐานที่เราจะสามารถพบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน (ปี2022) จะเป็นมาตรฐาน HDR10 ซึ่งอุปกรณ์ Output สำหรับแสดงผลภาพแทบทุกตัวที่ผลิตหลังจากปี 2020 จะรองรับ HDR10 แทบทั้งหมด สิ่งที่เพื่อนๆ จำเป็นต้องระวังคือ ควรเลือกจอภาพที่ให้ความสว่างได้อย่างต่ำคือ 1,000 Nits เพื่อให้ใช้งาน HDR10 ได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยมาตรฐานที่ตามมาติดๆ จะเป็น Dolby Vision ที่ให้ภาพที่สวยแต่ติดปัญหาตรงที่ลิขสิทธิ์ในการใช้งาน จึงทำให้เราสามารถพบเห็น Dolby Vision ได้น้อยกว่า HDR10 แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีภาพยนต์ และเนื้อหาที่รองรับมากกว่า HDR10+ อยู่พอสมควร ทำให้ Dolby Vision เป็นทางเลือกที่ไม่เลวหากจะซื้อมาเพื่อรับชมภาพยนต์ ณ เวลานี้
ส่วนมาตรฐานที่น่าจับตามองในปี 2023 ก็จะเป็น HDR10+ ที่ทีมงานคาดว่าหลังจากนี้เราจะได้เห็นอุปกรณ์ Output ในส่วนของภาพอย่าง จอมอนิเตอร์และโปรเจคเตอร์ มาพร้อมฟีเจอร์ที่รองรับ HDR10+ กันมากขึ้น ส่วน HLG ที่เป็นมาตรฐานสำหรับสื่อที่ออกอากาศอย่าง BBC และ NHK เพื่อนๆ สามารถปล่อยซึมได้เลยครับ
หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจเกี่ยวกับ HDR ได้มากขึ้นไม่มากก็น้อย อย่างน้อยที่สุดทีมงานหวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจได้ว่า HDR คืออะไร วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~
ขอบคุณภาพประกอบจาก Aten, RelianceDigital
เกร็ดความรู้ | Tips&Tricks
1-Bit |
2 |
2 |
2-Bit |
2×2 |
4 |
4-Bit |
2x2x2x2 |
16 |
6-Bit |
2x2x2x2x2x2 |
64 |
8-Bit |
2x2x2x2x2x2x2x2 |
256 |
10-Bit |
2x2x2x2x2x2x2x2x2x2 |
1,024 |
ตัวเลขข้างหน้า -Bit คือ จำนวนยกกำลังของเลข 2 ยกตัวอย่างเช่น 1-Bit เท่ากับ 2 ยกกำลัง 1 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2, 10-Bit เท่ากับ 2 ยกกำลัง 10 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1,024 นั่นเองครับ
Color Depth จะเป็นการนำความเป็นไปได้ของสีแต่ละชาแนล (RGB) มาคูณกัน ก็จะได้ออกมาเป็นผลลัพธ์เฉดสีที่หน้าจอ หรือโปรเจคเตอร์นั้นๆ สามารถแสดงได้

จากภาพจะเห็นได้ว่ายิ่ง Color Depth มีค่ามาก จอมอนิเตอร์ หรือโปรเจคเตอร์เหล่านั้น ก็จะยิ่งสามารถแสดงเฉดสีได้มากเท่านั้น
ตอบ : Dynamic Range คือ ความกว้างของสีที่เป็นขอบเขตของสีที่สว่างที่สุด และสีที่มืดที่สุด ยิ่ง Dynamic Range กว้างเท่าไหร่ ยิ่งให้สีสัน ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มากเท่านั้น Dynamic Range จะเป็นค่าที่สอดคล้องกับ Contrast Ratio โดยในปัจจุบันก็จะแยก Dynamic Range ออกเป็น 2 แบบ
ได้แก่ 1.SDR 2.HDR
ตอบ : HDR ย่อมาจาก High Dynamic Range คือ เทคนิคที่ทำให้ขอบเขตความกว้างของสี และ Contrast Ratio ของภาพ หรือวิดีโอมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มากที่สุด สีของภาพจะมีความสด และให้คอนทราสก์ที่ยอดเยี่ยม
ตอบ : SDR ย่อมาจาก Standard Dynamic Range คือ ขอบเขตความกว้างของสีที่เป็นมาตรฐานที่เราใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยที่สีของภาพและ Contrast Ratio จะต่ำกว่าปกติที่ตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้
ตอบ : HDR ก็จะมีมาตรฐานแยกย่อยออกมาอีก 4 แบบ ดังนี้ครับ
HDR10
HDR10+
Dolby Vision
HLG
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า