Video Conference คืออะไร มีอะไรบ้าง? ยังจำเป็นอยู่มั้ยในปี 2023

Video Conference คือ
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » Video Conference คืออะไร มีอะไรบ้าง? ยังจำเป็นอยู่มั้ยในปี 2023

Estimated reading time: 5 นาที

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 ทั่วทั้งโลกต้องพบเจอกับวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไปกว่า 7 ล้านคน ส่งผลให้ผู้คน และองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำงานสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” 1 ในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในช่วงนั้น คงหนีไม่พ้น Video Conference หรือการประชุมออนไลน์ ที่ช่วยให้เราสามารถพบปะ พูดคุย หรือประชุมออนไลน์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมานั่งรวมกันบนโต๊ะ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อไวรัส และยังคงสามารถทำให้การทำงานต่างๆ ภายในองค์กรดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาพูดคุยเจาะลึกกันว่า Video Conference คือ อะไร? ในปัจจุบันที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ระบบ Video Conference ยังคงจำเป็นอยู่มั้ยในปี 2023 พร้อมแนะนำ 3 โปรแกรมประชุมออนไลน์ยอดนิยม ที่จะช่วยยกระดับการทำงานภายในองค์กรของเพื่อนๆ ให้ดีขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

สารบัญ

หากเราย้อนเวลากลับไปสัก 20 ปี แล้วบอกคนในช่วงเวลานั้นว่า ในอีก 20 ปีถัดมา ผู้คนจะสามารถพูดคุย หรือประชุมทางไกล แบบเห็นหน้ากับผู้คนจากอีกฟากโลกได้ เราคงจะโดนมองว่าบ้า และไร้สาระแน่นอน แต่ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นไปได้ เราสามารถที่จะ ประชุมทางไกลออนไลน์กับผู้คนจากอีกฟากโลกได้อย่างง่ายดาย..

Video Conference คืออะไร?

Video Conference คืออะไร?

Video Conference (วิ-ดี-โอ คอน-เฟอ-เรนซ์) หรือที่เราเรียกกันว่า การประชุมออนไลน์ คือ การสื่อสารโต้ตอบกันเรียลไทม์ แบบวิดีโอคอล(ภาพ และเสียง) ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ด้วยเทคโนโลยีในการจับภาพ และเสียง ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้คนที่อยู่ต่างสถานที่ให้มีประสิทธิภาพราวกับกำลังทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน

โดยที่การประชุมออนไลน์จะเป็นการสื่อสารแบบ Full-Duplex หรือ การสื่อสาร 2 ทางแบบสมบูรณ์ แลกเปลี่ยนกันทั้งภาพ และเสียงแบบเรียลไทม์ เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ ในการทำงานร่วมกันของคนภายในองค์กรไปสู่อีกระดับ ที่การโทร หรือแชทไม่สามารถที่จะทำได้

เชื่อมต่อผู้คนจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน ด้วยการประชุมออนไลน์ Video Conference

ระบบ Video Conference ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบ Video Conference ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบการประชุมออนไลน์ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ โดยที่ผมจะขอแบ่งองค์ประกอบของระบบ Video Conference ออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ครับ

1. อุปกรณ์ในส่วนอินพุต (Input)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการ นำเข้า ข้อมูลต่างๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยในการประชุมออนไลน์ จะมีข้อมูลที่รับ-ส่งไปมาทั้งหมด 2 แบบ คือ ภาพ และเสียง เพราะฉะนั้น อุปกรณ์ในส่วนอินพุต (ขาเข้า) ก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจับภาพ และรับสัญญาณเสียง


2. อุปกรณ์ประมวลผลเสียง (DSP : Digital Signal Processor)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการ ประมวลผล และจัดการกับเสียง ส่วนเกิน ที่เราไม่ต้องการในการประชุมออนไลน์ เช่น เสียงรบกวน(Noise) ที่เกิดจากการรับ-ส่งข้อมูลไป-มา, เสียงสะท้อน(Echo) ที่จะทำให้เกิด Feedback อันเป็นปัญหาสำคัญของระบบการประชุมทางไกลแบบ Full-Duplex(สื่อสารกันแบบเรียลไทม์) เป็นต้น


3. ช่องทางการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล และซอฟต์แวร์ (Network&Software)

ช่องทางการสื่อสาร และซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็น สื่อกลางในการส่งข้อมูล ขาเข้า(ภาพ และเสียงจากฝั่งเรา) ไปยังผู้รับ และรับข้อมูล(ภาพ และเสียงจากอีกฝั่ง) เพื่อแสดงผลที่อุปกรณ์เอาท์พุตของเรา โดยที่ช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน คือ อินเทอร์เน็ต และซอฟต์แวร์โปรแกรมประชุมออนไลน์ อย่างเช่น Zoom, Microsoft Teams และ Google Meet


4. อุปกรณ์ในส่วนเอาท์พุต(Output)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการ แสดงผล ข้อมูลต่างๆ ที่รับมาจากผู้เข้าร่วมประชุมอีกฝั่ง ผ่านทาง ช่องทางการรับ-ส่งข้อมูล โดยการประชุมออนไลน์ จะมีข้อมูลที่ต้องแสดงผลหลักอยู่ 2 แบบเช่นเดียวกับอินพุต นั่นก็คือภาพ และเสียง เพราะฉะนั้นอุปกรณ์ในส่วนของเอาต์พุต จึงมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการ แสดงภาพ และตอบสนองต่อเสียง

  • ลำโพง ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อสัญญาณเสียงที่รับมาจากอีกฝั่ง
  • จอแสดงผล ทำหน้าที่ในการแสดงภาพ ของผู้เข้าร่วมประชุมอีกฝั่ง

− กลับไปที่สารบัญ −

ประโยชน์ของระบบ Video Conference

ประโยชน์ของระบบ Video Conference

การประชุมทางไกลแบบไร้พรมแดน

ด้วยความที่ระบบ Video Conference เป็นการเชื่อมต่อรับ-ส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คุณจึงสามารถที่จะประชุมร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุมได้จากทั่วทุกมุมโลก ช่วย “เชื่อมต่อโลกทั้งใบให้เข้าถึงกัน” ปลดปล่อยขีดจำกัดในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร


การสื่อสารทั้งภาพ และเสียงแบบ Full-Duplex

สิ่งสำคัญของการประชุม ไม่ใช่การสื่อสารกันด้วยเสียง แต่เป็นภาษากาย สีหน้า และท่าทาง ระบบ Video Conference จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่าย สามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก และถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ได้ดีกว่าการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ หรือข้อความ


เพิ่มความยืดหยุ่น และความสะดวกสบายในการประชุม

ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการประชุม และการทำงานร่วมกันภายในองค์กร คุณสามารถเข้าร่วมประชุมได้จากที่บ้าน สำนักงาน หรือแม้กระทั่งร้านกาแฟ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารจัดการกับตารางงาน และเวลาชีวิตของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น


เพิ่มประสิทธิภาพในการการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร

ด้วยความสามารถในการจัดการประชุมได้จากทุกที่ ระบบ Video Conference จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กรของคุณ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จัดประชุมได้บ่อยขึ้น โดยไม่กระทบกับตารางการทำงาน


ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

อย่างที่เรารู้กันว่าการประชุมตามปกติ นั้นสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่ายมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือเวลาที่ใช้ในการเดินทาง การประชุมออนไลน์จะช่วยลดต้นทุนต่างๆ ให้บุคลากรในองค์กรเอาเวลาเหล่านี้ไปไปสร้างสรรค์งานอื่นๆ ที่เกิดประโยชน์กับองค์กรได้มากขึ้น

− กลับไปที่สารบัญ −

แนะนำ 3 โปรแกรมประชุมออนไลน์ ในปี 2023

แอพ Video Conference มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่เพื่อนๆ ทราบกันแล้วว่า VDO Conference คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร แต่ยังคงลังเลเลือกไม่ถูกว่าจะใช้ โปรแกรม แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มอะไร สำหรับการประชุมออนไลน์ ในบทความนี้ทีมงานจึงทำการรวบรวม โปรแกรมประชุมออนไลน์ ยอดนิยมฟรีที่มีคนใช้งานมากที่สุดในไทยปี 2022 มาให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกัน 3 โปรแกรม ตามนี้ครับ

    1. Zoom
    2. Google Meet
    3. Microsoft Teams

ขอบคุณข้อมูลจาก EmailToolTester

1. Zoom

Zoom

แพลตฟอร์มสำหรับ Video Conference ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกในปี 2022

Zoom เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสาร หรือการประชุมออนไลน์โดยเฉพาะ คุณสามารถที่จะสื่อสารทางไกลด้วยวิดีโอ เสียง การโทรออนไลน์ และแชทกับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก โดยที่ Zoom ถูกออกแบบมาเพื่อความง่ายในการใช้งาน ไม่ว่าคุณจะ Low Tech แค่ไหนคุณก็สามารถใช้งาน Zoom ได้ เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ต และทำการดาวน์โหลดโปรแกรม นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้งาน Zoom ผ่านเว็ปแอปได้อีกด้วย

เป็นโปรแกรมประชุมออนไลน์ที่มีหลากหลายฟีเจอร์ที่จะช่วยให้การทำงานร่วมกัน หรือการประชุมของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์การทำงานในยุค New Normal ได้อย่างลงตัว

จุดเด่น

  • การประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคุณภาพสูง
  • การแชร์ไฟล์ และหน้าจอ
  • รองรับการสัมมนาออนไลน์
  • มีระบบแชท และจัดกลุ่มผู้ใช้งาน
  • มีระบบบันทึก สำหรับบันทึกการประชุมเอาไว้ดูย้อนหลัง
  • ความปลอดภัยของข้อมูลการประชุม

เหมาะกับใคร?

เหมาะสำหรับองค์กร นักศึกษา และผู้ที่ต้องการใช้งานการประชุมออนไลน์ โดดเด่นด้วยความง่าย และ UI ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน มีการอัพเดตฟีเจอร์การใช้งานอยู่ตลอด เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การประชุมออนไลน์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด

2. Google Meet

Google Meet

Google Meet รั้งอันดับโปรแกรมประชุมออนไลน์ยอดนิยมอันดับ 2 ในปี 2022 (อันดับ 1 ในไทย) เป็น 1 ในแอพที่รวมอยู่ใน Google Workspace ที่มีหลากหลายโปรแกรมสำหรับจัดการงานภายในองค์กรเช่นเดียวกับ Microsoft Teams ที่อยู่ใน Microsoft Office แตกต่างตรงที่การใช้งานของ Google Workspace โดยส่วนมากจะเป็นการใช้งานฟรีผ่าน Webapp ซึ่งเป็น 1 ในเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ใช้งานของ Google Meet มีจำนวนที่มากกว่า Microsoft Teams

โดยที่ Google Meet จะมีจุดเด่นตรงที่ความง่ายในการใช้งาน และการเข้าถึง ซึ่งทีมงานมองว่า Google Meet คือส่วนผสมของ Microsoft Teams และ Zoom ดึงเอาข้อดีเรื่องความง่ายในการใช้งานของ Zoom มาผสมเข้ากับโปรแกรมจัดการข้อมูลภายในองค์กรเหมือน Microsoft Teams เป็นแอพประชุมทางไกลที่ค่อนข้างน่าจับตามองในปี 2023 ว่าจะขึ้นไปเบียดกับ No.1 อย่าง Zoom ได้หรือไม่

จุดเด่น

  • การประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคุณภาพสูง
  • การแชร์ไฟล์ และหน้าจอ
  • มีระบบการจัดตารางการประชุมผ่าน Google Calendar
  • รองรับการสัมมนาออนไลน์
  • มีระบบแชท, โพล และ Q&A
  • ความปลอดภัยของข้อมูลการประชุม

เหมาะกับใคร?

เหมาะสำหรับองค์กรที่ใช้งาน Google Workspace เป็นหลัก, นักศึกษา และผู้ที่ต้องการที่จะทดลองใช้งานระบบการประชุมออนไลน์ โดดเด่นด้วยคุณภาพ, ความง่ายในการใช้งาน, ฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลาย และความปลอดภัยในข้อมูลการประชุม

3. Microsoft Teams

Microsoft Teams

Microsoft Teams เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการประชุมออนไลน์อเนกประสงค์ มีทุกฟีเจอร์การใช้งานที่จำเป็นสำหรับการประชุมทางไกล ทั้งการประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคุณภาพสูง, การแชร์หน้าจอ เป็นต้น อีกหนึ่งจุดที่ทำให้ Teams โดดเด่นกว่าแอพอื่นๆ คือการเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Office ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูลต่างๆ ในแทบทุกองค์กร 

หากองค์กรของคุณใช้งาน Microsoft Office เป็นหลัก Microsoft Teams ก็ดูจะเป็นแพลตฟอร์ม หรือโปรแกรมประชุมออนไลน์ ที่น่าจะลงตัวกับองค์กรของคุณได้ไม่ยาก

จุดเด่น

  • การประชุมออนไลน์แบบวิดีโอคุณภาพสูง
  • มีระบบสำหรับจัดกลุ่มการติดต่อ หรือประชุมอย่างเป็นระบบ
  • มีระบบแชท ช่วยเพิ่มความชัดเจนในการสื่อสาร
  • ความปลอดภัยของข้อมูลการประชุม
  • การแชร์ไฟล์ และหน้าจอ
  • การแจ้งเตือนกำหนดการประชุม

เหมาะกับใคร?

Microsoft Teams จะเหมาะกับองค์กรทุกขนาดที่ใช้ Microsoft Office เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการกับงานภายในองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบ Video Conference ยังจำเป็นอยู่มั้ย ในปี 2023

ถึงแม้ในปี 2023 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายแล้ว แต่รูปแบบการทำงานของคนทั้งโลกจะ ไม่กลับไปเป็นเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป แทนที่จะกลับไปทำงานในรูปแบบออฟไลน์ หลายบริษัทเริ่มปรับรูปแบบการทำงานมาเป็น การทำงานแบบไฮบริดจ์(Hybrid) คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่าง ออนไลน์ และออฟไลน์ มีการเข้าออฟฟิศบ้าง และทำงานจากที่บ้านบ้าง(Work Form Home)

ซึ่งช่วยให้การทำงานของผู้คนในยุคปัจจุบันมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์ทั้งองค์กร และคนทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ระบบ Video Conference ยังคงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้การทำงานแบบไฮบริดจ์เกิดขึ้นได้จริง ถ้าถามว่าในปี 2023 ระบบประชุมออนไลน์ยังจำเป็นอยู่มั้ย ทีมงานจะตอบกลับไปอย่างมั่นใจว่า “ยังคงจำเป็นอย่างแน่นอน”

ตอบโจทย์การทำงานแบบ Hybrid

อย่างที่ได้บอกไปว่าในปัจจุบันหลายๆ องค์กรต่างเลือกปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นแบบ Hybrid เพื่อให้การทำงานต่างๆ สามารถดำเนินไปได้แบบไม่มีสะดุด เป็นการทำงานควบคู่กันไประหว่างภายใน และภายนอกองค์กร เช่น ทีมนึงทำงานแสตนบายด์ที่องค์กร ในขณะที่อีกทีมไปทำงานที่หน้างาน และทั้งสองทีมก็ทำงานควบคู่กันไปจากคนละที่ผ่าน Video Conference


การทำงานแบบไร้พรมแดน

ปัญหาของบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และมีสำนักงานอยู่ในหลายประเทศ คือการติดต่อสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลระหว่างแต่ละสำนักงาน นั้นทำได้ยาก อาจทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดระบบ Video Conference จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างตรงจุด ระบบประชุมออนไลน์จะช่วยให้คุณสามารถที่จะเชื่อมต่อทุกสำนักงานเข้าด้วยกัน ทำงานเป็น 1-Unit ช่วยยกระดับการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา

ระบบ Video Conference จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดความเลื่อมล้ำด้านการศึกษา ในอนาคตคุณอาจจะสามารถเข้าถึงความรู้ได้จากทุกมุมโลกจากที่บ้านของคุณ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการระบาดอย่างหนัก ทำให้เห็นการเรียนออนไลน์เกิดขึ้นจากแทบทุกสถาบัน มีแนวโน้มว่าในอนาคตอันใกล้ โฉมหน้าของการศึกษาของโลกอาจจะเปลี่ยนไปสู่การเรียนออนไลน์แบบเต็มระบบ


โอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มากขึ้นของคนไข้

หลายๆ ประเทศเริ่มหันมาใช้การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ เพื่อให้คนไข้ได้พบกับคุณหมอ ปรึกษา และสอบถามอาการทางไกลผ่านระบบ Video Conference ช่วยเพิ่มโอกาส และความเป็นไปได้ในการรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้คนให้มากขึ้น

− กลับไปที่สารบัญ −


สรุป

ระบบ Video Conference ยังจำเป็นอยู่มั้ย ในปี 2023

การประชุมออนไลน์ Video Conference คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของการติดต่อสื่อสารไปอย่างสิ้นเชิง เพิ่มความยืดหยุ่น และประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น เป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำงานในปัจจุบันเข้าสู่การทำงานแบบไฮบริดจ์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มากขึ้น จะเห็นได้ว่าการประชุมออนไลน์ Video Conference มีบทบาทสำคัญกับการทำงานในปัจจุบันค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มว่าจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต

ก็จบกันไปแล้วสำหรับบทความนี้ หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจกันมากขึ้นว่า Video Conference คืออะไร มีอะไรบ้าง? วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก EmailToolTester

บทความที่คุณอาจสนใจ..

ถาม/ตอบ

ตอบ : การสื่อสารโต้ตอบกันเรียลไทม์ แบบวิดีโอคอล(ภาพ และเสียง) ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้คนที่อยู่ต่างสถานที่ให้มีประสิทธิภาพราวกับกำลังทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล และยกระดับการทำงานร่วมกันของคนภายในองค์กรไปสู่อีกระดับ ที่การโทร หรือแชทไม่สามารถที่จะทำได้

ตอบ :
1. อุปกรณ์ในส่วนอินพุต (Input)
2. อุปกรณ์ประมวลผลเสียง (DSP : Digital Signal Processor)
3. ช่องทางการสื่อสารรับ-ส่งข้อมูล และซอฟต์แวร์ (Network&Software)
4. อุปกรณ์ในส่วนเอาท์พุต(Output)

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก