ว่าด้วยเรื่อง “Basic Microphone” ที่คุณควรรู้… EP.1 เรียนรู้…ชนิดของไมโครโฟน

Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ว่าด้วยเรื่อง “Basic Microphone” ที่คุณควรรู้… EP.1 เรียนรู้…ชนิดของไมโครโฟน

Estimated reading time: 4 นาที

วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาชม สาระความรู้เกี่ยวกับไมโครโฟน EP1 ชนิดของไมโครโฟน แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร? แต่ละชนิดมีจุดเด่นยังไ?? แล้วในปัจจุบันเหลือไมโครโฟนชนิดใดบ้างที่ยังได้รับความนิยมอยู่!? ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

ไมโครโฟน คืออะไร?

การเลือกใช้ชนิดของไมโครโฟนให้ถูกต้องและเหมาะกับสมกับลักษณะของงาน

อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียง (Sound wave) จากแหล่งต้นกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด, เสียงร้อง, เสียงเครื่องดนตรี ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และ ส่งผ่านสายนำสัญญาณไปยัง เครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณ และกระจายสัญญาณนั้นๆ ออกมาทางลำโพง เพื่อให้กำเนิดสัญญาณในรูปแบบของ “เสียง” ที่เราได้ยิน นั่นเอง

1. ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone)

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone)

ไมโครโฟนชนิดไดนามิก จัดเป็นไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ด้วยคุณภาพเสียงที่มีความใกล้เคียงความเป็นธรรมชาติ และความคงทนสูง มีเงื่อนไขในการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน สะดวก เป็นไมโครโฟนที่เหมาะกับงานแทบทุกประเภท เช่น งานทัวร์คอนเสิร์ต, งานอีเว้นท์, งานประชุม, งานสัมมนา เรียกว่ารองรับทุกการใช้งานก็ว่าได้ครับ

หลักการทำงาน  เมื่อมีคลื่นเสียงเข้ามา ตัวไดอะแฟรม จะเกิดการขยับไปมาตามคลื่นเสียง จนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า ตามหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้า และทำการส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้น ผ่านสายนำสัญญาณ ออกไปยังมิกเซอร์ หรือเครื่องขยายเสียง

ข้อดี

  • ทนทานและสามารถรับมือกับระดับความดันเสียงสูงได้ 
  • ให้คุณภาพเสียงที่ดีในทุกด้านประสิทธิภาพสูง
  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง phantom power
  • ลดเสียงรบกวนได้ดีเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง

ข้อจำกัด

  • แผ่นไดอาเฟรมมีขนาดใหญ่และและขดลวด Coil ที่มีพื้นที่ที่ทำให้ช่วงในการสั่นสะเทือนทำงานที่สั้น ทำให้มีระดับความไวที่ต่ำ
  • ไม่เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีที่มีความถี่สูง เช่น ไวโอลิน

2. ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condensor Microphone)

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ เป็นไมโครโฟนที่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยงวงจร ในการใช้งาน จึงทำให้ตัวไมโครโฟนแบบนี้จะมีความไวในการรับเสียงมากเป็นพิเศษ ตอบสนองย่านความถี่ได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน โดยเฉพาะย่านความถี่กลางไปถึงสูง ให้เสียงที่ใส กังวาน แต่ข้อเสียคือด้วยความที่รับเสียงได้ไวมาก จึงทำให้เกิดเสียงรบกวน (Noise) ได้ง่าย ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องบันทึกเสียง โดยในปัจจุบัน ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์จัดเป็นไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความที่ตัวไดอะแฟรมสามารถลดขนาดให้มีขนาดที่เล็กมากๆ จึงเกิดการประยุกต์ใช้จนเกิดเป็น ไมค์ประชุม ไมค์หนีบปกเสื้อ ที่ประยุกต์ใช้กับงานได้อีกหลากหลายมากๆ

หลักการทำงานคอนเดนเซอร์

หลักการทำงาน ไมค์คอนเดนเซอร์ใช้หลักการค่าความจุของคาปาซิเตอร์เปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดคลื่นเสียงกระทบแผ่นไดอะแฟรมของไมโครโฟน จึงจะทำให้เกิดการสั่นไหว ทำให้มีการขยับตัวของระยะห่างของแผ่นเพลทที่เป็นไดอะแฟรม กับ แผ่นเพลทแผ่นหลัง  ทำให้ค่าความจุมีการเปลี่ยนแปลงตามแรงปะทะจากคลื่นเสียง ส่งผ่านสายนำสัญญาณในอัตราที่แรง ไปยังเครื่องขยายเสียง และ ลำโพง

ข้อดี

  • แผ่นไดอะแฟรมมีน้ำหนักเบาทำให้มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวที่มากและสามารถจับช่วงความถี่สูงได้
  • รายละเอียดเสียงสูง เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การร้องเพลง การบันทึกเสียงเครื่องดนตรี
  • ช่วงความถี่ตอบสนองกว้าง เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงทุกประเภท
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

ข้อจำกัด

  • มีการจำกัดระดับสัญญาณสูงสุดที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถรองรับได้
  • รับเสียงรบกวนได้ง่าย ต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ฟิลเตอร์ป้องกันเสียงรบกวน
  • ต้องการไฟเลี้ยง Phantom power ซึ่งอาจไม่สะดวกในการใช้งานบางกรณี
  • ต้องเก็บรักษา หรือดูแลเป็นพิเศษ ให้ไกลต่อสภาพอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นที่หากสูงเกินไป

3. ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone)

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone)

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน เป็นไมโครโฟนยุคแรกๆแห่งวงการไมโครโฟน ได้รับการพัฒนาในยุค 1870 โดย David Edward Hughes ชาวอังกฤษ เป็นรูปแบบไมโครโฟนชนิดแรกที่มีการยอมรับกันในวงกว้าง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ ที่ให้ประสิทธิภาพในระดับที่สูงขึ้น ถูกสร้างขึ้นภายในหลอด หรือบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วยแผ่นโลหะสองแผ่น ที่มีชั้นของคาร์บอนขนาดเล็กอยู่ระหว่าง แผ่นโลหะแต่ละแผ่นเชื่อมต่อกับสายไฟที่เชื่อมต่อกับตัวรับสัญญาณเสียง ด้านบนของไมโครโฟนมักจะถูกคลุมด้วยแผ่นโลหะ หรือพลาสติกที่มีรูอยู่ภายในซึ่งจะให้เสียง ในขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้องค์ประกอบของไมโครโฟนได้รับความเสียหายอีกด้วย

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone)

หลักการทำงาน เมื่อมีคลื่นความถี่เสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) จะทำให้เกิดการสั่นสะทือนทำให้เกิดแรงกดดันที่แตกต่างกันไปยังคาร์บอน การสั่นมากหรือน้อยของคาร์บอนนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของไดอะแฟรม การสั่นนี้เองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานทางไฟฟ้า สูงและต่ำตามการเคลื่อนไหวของไดอะแฟรม

ส่วนความต้านทานของคาร์บอน หากคาร์บอนมีความหนาแน่นมากหรือถูกบีบอัดจะมีความต้านทานน้อย ทำให้กระแสไหลผ่านได้มาก และถ้าคาร์บอนมีความหนาแน่นน้อย จะเกิดความต้านทานมาก ทำให้กระแสไหลผ่านได้น้อย

เรื่องคุณภาพเสียง ไมโครโฟนชนิดนี้จะตอบสนองความถี่ อยู่ในช่วงความถี่ที่แคบและจำกัด (ตอบสนองอยู่ในช่วงความถี่ต่ำ) ทำให้คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งมีระดับการรบกวนที่สูง ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยไมโครโฟนไดนามิค และคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

ข้อดี

  • ดีไซน์ความเรียบง่าย และทนทาน
  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง Phantom power
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

ข้อจำกัด

  • ไม่เหมาะกับการบันทึกเสียงที่ต้องการความแม่นยำ และต้องการเสียงคุณภาพสูง
  • ไมโครโฟนคาร์บอนสร้างเสียงรบกวน “เสียงฟู่” ในตัวเองในปริมาณที่มาก รบกวนสมาธิ และลดคุณภาพเสียงโดยรวม
  • มีความไวในการรับเสียงค่อนข้างต่ำ
  • เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยไปแล้ว

4. ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Microphone)

ไมโครโฟนชนิดริบบอน

ไมโครโฟนชนิดริบบอน เป็นไมโครโฟนไดนามิคชนิดหนึ่ง ที่ไม่ต้องการไฟมาเลี้ยงแต่อย่างใด (ไม่ต้องใช้ Power phantom)

แนวเสียง ให้คุณภาพเสียงที่มีรายละเอียดสูง มีความใสและมีความกังวานของหางเสียง และค่อนข้างให้ความเป็นธรรมชาติมากๆ แต่ไมค์ประเภทนี้ก็มีความ”เปราะบาง” มากที่สุดในบรรดาไมค์ทุกชนิด การรับเสียงที่ดังมากเกินในบางครั้ง หรือทำหล่นเพียงครั้งเดียว ก็อาจจะทำให้แผ่นริบบอนขาดและเสียหายได้ แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนาให้มีความทนทานมากยิ่งขึ้น

ริบบอนไมค์ การรับเสียง

ไมค์ประเภทนี้เหมาะกับ การใช้เพื่อบันทึกเสียงร้อง และเครื่องดนตรี ไมค์ประเภทนี้รับเสียง 2 ทิศทางหน้าและหลัง

ไมโครโฟนชนิดริบบอน

หลักการทำงาน ริบบอนไมค์ เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งมีแผ่นโลหะบางๆ ที่ถูกแขวนไว้ในสนามแม่เหล็กถาวร เมื่อการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศเคลื่อนย้าย ริบบอนมีการเคลื่อนที่ภายในสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดกระแสที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดภายในตัวริบบอน และกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กนี้จะถูกส่งไปที่สายไมโครโฟน

ข้อดี

  • เสียงอบอุ่นและนุ่มนวล เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีประเภทอะคูสติก เช่น กีตาร์ ไวโอลิน แซ็กโซโฟน
  • ช่วงความถี่ตอบสนองกว้าง เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงทุกประเภท
  • น้ำหนักเบา พกพาสะดวก

ข้อจำกัด

  • บอบบาง ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งาน
  • รับเสียงรบกวนได้ง่าย ต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ฟิลเตอร์ป้องกันเสียงรบกวน
  • ต้องการไฟเลี้ยง Phantom power ซึ่งอาจไม่สะดวกในการใช้งานบางกรณี

5. ไมโครโฟนชนิดคริสตอล (Crystal Microphone)

ไมโครโฟนชนิดคริสตอล (Crystal Microphone)

ไมโครโฟนชนิดคริสตอล ไมโครโฟนประเภทนี้มีแร่คริสตอลเป็นตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้า โดยจะรับแรงสั่นสะเทือนจากคลื่นของเสียงทางไดอะแฟรม ได้แรงดันไฟฟาสูงกว่า ไมโครโฟนชนิดอื่นๆ จึงมีค่าอิมพิแดนซ์ที่สูง

ข้อดี

  • ตอบสนองความถี่ย่านเสียงกลางได้ดี

ข้อจำกัด

  • เสียหายได้ง่ายจากความชื้นหรือความร้อน
  • ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน

6. ไมโครโฟนชนิดเซอร์รามิค (Ceramic Microphone)

ไมโครโฟนชนิดเซอร์รามิค (Ceramic Microphone)

ไมโครโฟนชนิดเซรามิค ลักษณะการออกแบบหรือหลักการทำงานคล้ายๆกับไมโครโฟนชนิดคริสตัล ต่างกันที่วัสดุเซรามิคมีคุณภาพดีกว่าคริสตัล และอีกอย่างไมค์ชนิดเซรามิค มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้น และอุณหภูมิมากกว่าปัจจุบันไม่พบเห็นใช้งานแล้ว มีลักษณะเหมือนกับคาร์บอนแต่วัสดุที่ใช้ต่างกัน คือ โครงสร้างประกอบด้วย ดังนี้

1. Diaphragm รับเสียง
2. Ceramic กำเนิดไฟฟ้า
3. แผ่น Back plate รองรับประกบด้านหลัง
4. สายต่อนำกระแสไฟฟ้าสัญญาณเสียง

ข้อดี

  • ตอบสนองความถี่ย่านเสียงกลางได้ดี

ข้อจำกัด

  • เสียหายได้ง่ายจากความชื้นหรือความร้อน
  • ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน

สรุป

โดยไมโครโฟนชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน หลักๆ จะเหลือแค่ 2 ชนิด คือแบบ ไดนามิก (Dynamic) เป็นชนิดของไมโครโฟนที่จะให้คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงเสียงจริงที่สุด และ คอนเดนเซอร์ (Condenser) เป็นชนิดที่มีความไวในการรับเสียงมาก เสียงที่ได้จะมีความใส และใกล้เคียงเสียงจริงเช่นกัน แต่จะมีจุดด้อยที่ชนิดของไมโครโฟนแบบ คอนเดนเซอร์ จะต้องการไฟฟ้าในการใช้งานนั่นเองครับ

ไมโครโฟนถือเป็นอุปกรณ์ด้านระบบเสียงที่สำคัญระดับต้นๆ…ชนิดหนึ่ง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป ในงานแทบทุกประเภท ไมโครโฟนจึงเป็นอุปกรณ์ที่เราจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจหลักการทำงาน เป็นอันดับแรก แล้วพบกับบทความ ว่าด้วยเรื่อง Basic Microphone” ที่คุณควรรู้ในตอนต่อไป…Ep.2 รู้จัก..รูปแบบการรับเสียงของไมโครโฟน (Polar Pattern) ก่อนเลือกใช้งาน ในบทความต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเนื้อหานี้ จะให้ประโยชน์แก่ท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย…

ขอบคุณข้อมูลจาก How Stuff Work

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก