ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?

ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ปัญหา Wi-Fi ช้า เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี?

Estimated reading time: 4 นาที

อินเทอร์เน็ตช้าถือเป็นปัญหาของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็ตาม ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่ทำให้เน็ตช้าก่อนว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้งวิธีแก้ไข ซึ่งหากคุณเป็นผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้แล้วลองทำตามวิธีต่างๆ ตามอินเทอร์เน็ตแล้วยังไม่หาย ลองทำตามวิธีของเราดูครับ พร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย

อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันอย่างไร?

อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่ออย่างไร?

ก่อนที่จะไปถึงวิธีแก้ปัญหาเราก็จะมาพูดถึงว่าอินเอตร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร เพื่อที่จะรู้ว่าปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้เน็ตช้านั้นอยู่ส่วนไหนกันบ้าง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ปลายทาง, ระหว่างทาง และต้นทาง

ปลายทาง: ส่วนที่หนึ่งปลายทางหรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ เช่น Youtube, facebook, google และอื่น ๆ ซึ่งในส่วนของผู้ให้บริการนั้นมักจะไม่มีปัญหา เนื่องจากผู้ให้บริการเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ SLA ที่ย่อมาจาก Service Level Agreement คือข้อตกลงระดับการให้บริการ เป็นสัญญาจ้างผู้ให้บริการภายนอกและเทคโนโลยีที่ระบุระดับการบริการที่ Suppliers (ซัพพลายเออร์) สัญญาว่าจะส่งมอบให้กับลูกค้า เช่น เวลาทำงาน เวลาจัดส่ง เวลาตอบสนอง และเวลาแก้ปัญหา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นที่ปลายทาง ก็จะมีเวลากำหนดว่าจะแก้ปัญหาและกลับมาใช้งานตามปกติในเวลาเท่าไหร่ สรุปง่ายๆ ในส่วนของปลายทางนี้มักจะไม่มีปัญหาเพราะมี SLA แต่ถ้ามีปัญหาเราก็จะทำอะไรในส่วนนี้ไม่ได้

ระหว่างทาง: ส่วนที่สองหรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นก็มี SLA เป็นของตัวเองเช่นกัน แต่จะมีระดับของการให้บริการอยู่ หากเราใช้ Corporate Internet ซึ่งเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในองค์กร ซึ่งมักจะมี SLA ระบุมาอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของผู้ให้บริการเน็ตบ้านที่เราใช้ทั่วไปแล้ว มักจะไม่มี SLA ระบุมาอย่างชัดเจน และการแก้ไขส่วนใหญ่จะเป็นการที่เราโทรหรือติดต่อไปที่ผู้ให้บริการเน็ตตอนที่อินเทอร์เน็ตเรามีปัญหานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดมาจากความเสียหายของสัญญาณ อย่างที่เราทราบกันว่าสายไฟเบอร์นั้นถูกโยงมาจากเสาไฟฟ้า ในบางครั้งการเกิดอุบัติเหตุ (รถชนและอื่นๆ) กับเสาไฟเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นควบคุมไม่ได้และไม่อยากให้เกิดขึ้นและนี่คือปัญหาของส่วนที่สองที่ทำให้เกิดปัญหาอินเทอร์เน็ตช้าครับ

ต้นทาง: ส่วนสุดท้ายหรืออินเทอร์เน็ตที่อยู่ในบ้านของเรานั่งเอง ซึ่งเป็นการลากสายไฟเบอร์เข้ามาที่บ้านของเราและติดตั้ง ONU (Optical Network Unit) ซึ่งเป็นเราเตอร์ ที่มีเสาอากาศและปล่อย Wi-Fi ให้สมาชิกในบ้านนั้นได้ใช้งานกัน ซึ่งบางครั้ง Wi-Fi ที่เราใช้งานจากเราเตอร์นั้นก็ช้า ทั้งๆ ที่อินเทอร์เน็ตของเราก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แน่นอนว่ามันเกิดจาก Wi-Fi ซึ่งเราจะไปดูก่อนว่า Wi-Fi ทำงานอย่างไร และ Wi-Fi ช้าเป็นเพราะอะไร

Wi-Fi ทำงานอย่างไร

การสร้างสัญญาณ Wi-Fi คือการใช้อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายเช่นเราเตอร์ (router) ทำหน้าที่สร้างสัญญาณ Wi-Fi โดยใช้คลื่นวิทยุ ซึ่งมีความถี่ในช่วง 2.4 และ 5 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ณ ปัจจุบัน และทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi อุปกรณ์จะสแกนหาสัญญาณ Wi-Fi และขอรหัสผ่าน (หากมีการตั้งรหัสผ่านไว้) เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่ถูกสร้างขึ้นโดยอุปกรณ์เราเตอร์ โดยตัวเราเตอร์นั้นจะปล่อยสัญญาญจากเสาเราเตอร์ ในรูปแบบ Omnidirectional หรือรอบทิศทาง

โดยปกติเราเตอร์ WiFi จะเชื่อมต่อกับเต้ารับอีเทอร์เน็ตหรือโมเด็ม DSL/เคเบิล/ดาวเทียม ผ่านสายเคเบิลเครือข่ายสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะบรอดคาสต์ชื่อ WiFi (SSID) ไปยังอุปกรณ์โดยรอบ เมื่ออุปกรณ์ต้องการเข้าร่วมเครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์จะส่งสัญญาณเพื่อแจ้งให้เราเตอร์ทราบ เมื่อเราเตอร์ได้รับและยอมรับคำขอ การเชื่อมต่อจะถูกสร้างขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ Wi-Fi ช้า

เกิดจากอุปกรณ์


เนื่องจากการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wi-Fi นั้นเป็นเรื่องการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างเราเตอร์และอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่เราใช้งานไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, โน๊ตบุ๊ค อุปกรณ์เหล่านี้ต่างก็มีเสาอากาศเช่นกันแต่เป็นเสาอากาศที่มีขนาดเล็กและมีกำลังส่งน้อยเพราะว่าทำงานอยู่บนแบตเตอรี่ ซึ่งทางผู้ผลิตโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตเองก็ต้องปรับแต่งอุปกรณ์ให้สมดุลเพื่อไม่ให้ใช้พลังจากแบตเตอรี่มากเกินไป เพราะจะทำให้แบตเตอรี่หมดไว นอกจากนี้ขณะที่เราใช้โทรศัพท์ มือของเราที่จับโทรศัพท์ก็ถือเป็นการไปบังเสาอากาศอีก (ยังไม่รวมเคสโทรศัพท์) ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวมานี้ ทำให้การส่งข้อมูลของอุปกรณ์ของเราและเราเตอร์นั้นไม่ราบรื่นทำให้เป็นที่หนึ่งจุดที่ทำให้ช้านั่นเองครับ

อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ


จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ Access Point มีจำนวนที่เยอะทำให้ Wi-Fi ช้า ที่เป็นแบบเพราะเพราะสื่อกลางที่เราใช้ในการส่งข้อมูลนั้นคือ คลื่นวิทยุ ซึ่งเวลาที่คลื่นวิทยุส่งข้อมูลนั้นจะเป็นการส่งข้อมูลแบบ Half Duplex คือการส่งข้อมูลสองทิศทางแบบสลับกัน หมายความว่าถ้าเราจะส่งข้อมูลในขณะนั้น หากมีอุปกรณ์อื่นที่กำลังส่งข้อมูลอยู่ อุปกรณ์ของเราจะอยู่ในสถานะรอคิว เพราะว่าเราส่งข้อมูลแบบ Half Duplex เป็นการผลัดกันส่งผลัดกันรับซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่อยู่บนแชนเนลเดียวกัน ยิ่งมีผู้ใช้งานบน Access Point มากเท่าไหร่ก็จะมีคนต่อคิวส่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราใช้งานเครือข่าย Wi-Fi ร่วมกันกับอุปกรณ์อื่นๆ ก็มีโอกาสที่จะมีอุปกรณ์ที่ทำการส่งข้อมูลเป็นเวลานานๆ ทำให้ทำอุปกรณ์อื่นๆ ส่งข้อมูลช้าไปด้วย

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นคือ หลายบริษัทหรือหลายบ้านมักใช้กล้องวงจรปิดแบบ Wi-Fi ซึ่งกล้องวงจรปิดจะเขียนข้อมูลบน NVR (ระบบคอมพิวเตอร์ที่บันทึกและจัดเก็บฟุตเทจวิดีโอบนฮาร์ดดิสก์) ผ่าน Wi-Fi อยู่ตลอดเวลา นั่นหมายความว่าคิวในการส่งข้อมูลนั้นแทบจะไม่มีเหลือให้ผู้ใช้อื่นในย่านนั้นเลยเลย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุครับว่าทำไมในบ้านคุณ Wi-Fi ถึงช้า

อุปสรรคภายในบ้าน


เคยสังเกตุไหมว่าในบางครั้งหรือบางสถานที่เราอยู่ใกล้ตัวเราเตอร์ Wi-Fi มีการใช้งานปกติความความเร็วปกติ แต่ถ้าเราเดินย้ายไปใช้งานที่ห้องอื่น Wi-Fi มีความเร็วที่แย่ลงเรื่อยๆ นั่นเกิดมาจากอุปสรรคภายในบ้านเช่น ปูน, โลหะ, กระเบื้อง, กระจก, หรืออื่นๆ ที่ทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง

การใช้แชนเนล


เนื่องจากเวลา Access Point ปล่อยคลื่นออกมานั้นจะมีการระบุว่าอุปกรณ์ตัวนี้จะปล่อยออกมาในความถี่ที่เท่าไหร่และปล่อยออกมาที่ความกว้าง (Channel Width) เท่าไหร่ หรือกี่เมกะเฮิรตซ์ ทั้งสองอย่างนี้จะสอดคล้องกันในเรื่องของการใช้งาน โดยแชนเนลจะมีตั้งแต่ 36 ไปจนถึง 165 ซึ่งแชนเนลเหล่านี้จะมีใน Presets ของเราเตอร์ทุกตัวอยู่แล้ว

เมื่อปรับ Channel Width ให้กว้างขึ้นข้อมูลก็จะถูกส่งได้มากขึ้น ซึ่ง Channel Width ก็จะมี 20MHz, 40MHz, 80MHz, 160MHz โดย Channel Width ที่มีความกว้างน้อยก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันมากขึ้น ในทางกลับกัน Channel Width ที่มีความกว้างมากก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันน้อยลง Channel Width ที่น้อยการส่งข้อมูลก็น้อยลงไปด้วย ทำให้ผู้บริการส่วนใหญ่จะตั้งค่า Channel Width มาที่ 80MHz หรือตั้งค่าให้สูงที่สุด นั่นหมายถึงจำนวนเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันจะน้อยลง

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อเราติดตั้งอินเทอร์เน็ต เราที่เป็นผู้เสียเงินใช้บริการอินเทอร์เน็ตก็อยากให้เน็ตเรานั้นแรงๆ ตัวเราหรือทีมงานที่ติดตั้งก็จะไปปรับ Channel Width ให้กว้างขึ้น Channel Width นั้นก็ปรับเสมือนถนน เมื่อถนนกว้างขึ้นรถก็จะวิ่งได้มากขึ้น แต่อย่าลืมไปว่า Channel Width ที่มีความกว้างมากก็จะมีเราเตอร์ที่แชนเนลไม่ชนกันน้อยลง เมื่อเปิด Access Point ที่เราตั้งค่าให้มีกำลังส่งสูงๆ จะทำให้สัญญาณเราไปชนกับเราเตอร์อื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น ทำให้เกิดการหักล้างเป็นสาเหตุที่ทำให้ Wi-Fi ช้านั้นเอง

วิธีแก้ปัญหา

วิธีแก้ปัญหา

การเดิน LAN หรือใช้ Mesh Wi-Fi


การเดิน LAN ไปที่ห้องต่างๆ ในกรณีที่บ้านของคุณหรือในบริเวณที่ใช้งานมีพื้นที่กว้างและมีหลายห้อง การเดิน LAN ไปยังห้องนั้นๆ เพื่อตั้ง Access point ที่ปลายทาง หรือการใช้ Mesh Wi-Fi หรือ Mesh router ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกับระบบ WiFi ที่ใช้ภายในบ้านหรืออาคาร มีไว้เพื่อกำจัดพื้นที่จุดอับสัญญาณเพื่อให้อินเทอร์เน็ตสามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งบ้าน ทำให้สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดอาการอืดอาดของสัญญาณ Wi-Fi

อัปเกรดเทคโนโลยี Wi-Fi


Wi-Fi 6 ที่ใช่งานกันปัจจุบันจะมีความสามารถที่เรียกว่า OFDMA (Orthogonal frequency-division multiple access) คือการแบ่งคลื่นออกเป็น subcarriers คือการแบ่งช่องสัญญาณออก เป็นการจัดสรรความถี่ขนาดเล็ก ทำให้สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์หลายเครื่องพร้อมกันได้ หรือสรุปง่ายๆ คือหนึ่งรอบของการส่งข้อมูลจะเคลียร์ User ได้เร็วขี้น แต่การใช้เทคโนโลยี Wi-Fi ที่ใหม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ใหม่พอๆกันด้วย เช่น เราใช้เราเตอร์ Wi-Fi 6 มือถือที่ใช้ก็ควรเป็น Wi-Fi 6 ด้วยเช่นกัน หากมือถือของเราเป็น Wi-Fi 5 ก็จะสื่อสารกันที่ Wi-Fi 5 ไม่ใช่ Wi-Fi 6 นั่นเอง 

แชร์หน้านี้ :

วิดีโดตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพการทำงานของ OFDMA

การลดกำลังส่งลง


เมื่อติดตั้งเราเตอร์ส่วนใหญ่ เรามักจะปรับค่ากำลังส่งของเราเตอร์ไว้ที่ระดับสูง เพื่อต้องการให้กำลังส่งนั้นทั่วถึงทั้งบ้าน จุดนี้ทำให้กำลังส่งของเราเตอร์เราไปชนกับเราเตอร์บ้านอื่นๆ การลดกำลังส่งลงจะทำให้สัญญาณเราไม่ชนกับบ้านอื่นๆ คำถามที่ตามมาก็คือ ถ้าเราลดกำลังส่งลงสัญญาณมันก็ไม่ทั่วถึงทั้งบ้านสิ ทางแก้ก็คือข้อแรกครับใช้ LAN หรือ Mesh Wi-Fi นั่นเอง

สรุป


ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ หนึ่งอุปสรรค์ภายในบ้านที่สามารถแก้ด้วยการเดิน LAN ไปที่ปลายทางหรือการใช้ Mesh Wi-Fi สองเกิดจากจำนวนผู้ใช้แก้ด้วยการอัปเกรดเทคโนโลยี Wi-Fi แต่ต้องใหม่เหมือนกันทั้งหมด สามคือแชนเนล ซึ่งการปรับแต่งแชนเนลในบ้านนั้นแต่บ้านหรือแต่ละจุดนั้นมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน วิธีการดูนั้นเราอาจจะต้องโหลดซอฟแวร์มาสแกนดูเพื่อการตั้งค่าแชนเนลที่เหมาะสม 

จบกันไปแล้วนะครับสำหรับ ปัญหา Wi-Fi ช้า หวังว่าทุกคนจะได้รับสาระความรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ โดยสามารถติชมผ่านทางคอมเม้นต์ด้านล่างได้ เพื่อให้ผู้เขียนนำข้อผิดพลาดไปปรับปรุงแก้ให้ดีขึ้นในบทความต่อๆ ไป สำหรับบทความนี้ผู้เขียนขอตัวลาไปก่อนและพบกันใหม่บทความหน้า ขอบคุณที่ติดตามกันจนจบ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก [แบไต๋] WiFi ที่บ้านช้า ต้องทำอย่างไรดี?

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

การเปลี่ยนมาใช้เราเตอร์ที่มีเสาสัญญาณเยอะๆ นั้นไม่ได้ช่วยให้ Wi-Fi เร็วขึ้น 100 เปอร์เซ็น เนื่องจากการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย Wi-Fi นั้นเป็นเรื่องการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างเราเตอร์และอุปกรณ์ ต่อให้เราเตอร์เรามีกำลังสูงแรงแค่ไหน แต่อุปกรณ์ของเรานั้นไม่ได้มีกำลังสูงเหมือนเราเตอร์ เพราะทำงานแบตเตอรี่ และมีเสาอากาศที่เล็ก ทำให้อาจก็ปัญหาการรับส่งข้อมูลช้าได้

Mesh Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายประเภทหนึ่งที่ใช้ระบบของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันเพื่อขยายและปรับปรุงความครอบคลุมของ Wi-Fi ในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งเราเตอร์ Wi-Fi แบบดั้งเดิมมีข้อจำกัดในการให้สัญญาณที่แรงและเชื่อถือได้ทั่วทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่หรือในพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ผนังและพื้น โดยระบบ Mesh Wi-Fi แก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกัน เพื่อมอบประสบการณ์ Wi-Fi ที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

Wi-Fi 6 หรือที่รู้จักในชื่อ 802.11ax คือเทคโนโลยี Wi-Fi รุ่นใหม่ ซึ่งต่อมาจาก Wi-Fi 5 (802.11ac) โดยได้รับการปรับปรุงหลายประการจากรุ่นก่อน ซึ่งออกแบบมาเพื่อมอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น ในการจัดการกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายไร้สายสมัยใหม่ (เพื่อใช้ประโยชน์จาก Wi-Fi 6 ทั้งเราเตอร์หรือ Access Point และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อจะต้องรองรับมาตรฐานใหม่ด้วยเช่นกัน

การวางตำแหน่งของเราเตอร์ (router) มีผลมากต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายไร้สาย การวางเราเตอร์ให้สูงหรือในที่โล่งจะช่วยให้สัญญาณ Wi-Fi กระจายไปทั่วพื้นที่ได้ดีกว่า ที่สำคัญคืออย่าวางติดกับผนัง โดยให้วางห่างจากผนังหรือสิ่งของอื่นๆ ประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้เราเตอร์ได้ระบายความร้อน และกระจายสัญญาณได้ทั่วถึงโดยไม่มีอะไรมากั้น นอกจากนี้ยังไม่ควรวางติดกับระบบกันไฟฟ้า, และโครงสร้างที่มีโลหะ

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

เทคโนโลยี Zero Bonding ใน จอ Interactive ดียังไง?

ทำความรู้จักกับ Zero Bonding เทคโนโลยี ใน จอ Interactive ที่จะทำให้เวลาคุณวาดสิ่งต่างๆ บนหน้าจอนั้นลื่นไหล เหมือนเขียนบนกระดาษ!!

เปรียบเทียบไมค์ DW-2GO VS Partybox Wireless Mic ตัวไหนใช่สำหรับคุณ!

เทียบชัดๆ 2 ไมค์ลอยยอดฮิตประจำปี 2024 ระหว่าง Soundvision DW-2GO และ JBL Partybox Wireless Mic ตัวไหนคุ้มค่า!

โซน (Zone) ในระบบเสียงคืออะไร? มือใหม่ก็เข้าใจได้ใน 5 นาที!

พาไปทำความรู้กับ โซน (Zone) ในระบบเสียง ฟังก์ชันสุดเจ๋ง ที่ไม่ได้ซับซ้อนหรือเข้าใจยาก อย่างที่คิด คลิกเลย

PoE คืออะไร ? รับ-ส่งข้อมูล และจ่ายไฟด้วยสาย LAN เพียงเส้นเดียว!?

พาไปทำความรู้จักกับ เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของคุณ ในอนาคตอันใกล้! จะน่าสนใจแค่ไหน ถ้าอยากรู้ คลิกเลย!

ผลงานการติดตั้ง

ลูกค้าของเรา ตลาดต้นไม้ชายคา ระบบประกาศ/แบคกราวด์มิวสิค

ตลาดเป็นสถานที่ที่เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก เรามาดูกันว่าระบบเสียงจากแบรนด์ TOA นั้นจะเอาอยู่หรือไม่?

ลูกค้าของเรา บริษัท พี.ที.แกรนด์โฮเทล จำกัด ระบบเสียงห้องสัมมนา

พาชมระบบเสียงที่ครบครันในห้องสัมมนา ห้องประชุม และห้องจัดเลี้ยงของลูกค้าเรา P.T. Grand Hotel จะจัดเต็มขนาดไหน ไปชมกันเลย!

ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL Pasion บ้านลูกค้า

วันนี้เราขอนำเสนอผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL Pasion ที่บ้านลูกค้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเสียงคมชัดและทรงพลัง

ลูกค้าของเรา บริษัท อคาเซีย อินเตอร์เทค จำกัด ระบบเสียงห้องประชุม

ระบบเสียงคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการประชุมที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ พร้อมตอบโจทย์ทุกสถานการณ์!

ใส่ความเห็น

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก