Estimated reading time: 1 minute
เวลาอ่านโดยประมาณ : 6 minute
สายสัญญาณประเภทต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร? มีลักษณะการใช้งานอย่างไร? บทความนี้ SoundDD.Shop มีคำตอบ
ภายในระบบเสียงของเรา นอกจากจะมีอุปกรณ์ด้านระบบเสียงประเภทต่างๆ ที่ต้องการใช้งานร่วมกันภายในระบบแล้ว สายสัญญาณประเภทต่างๆ เช่น สายนำสัญญาณ และสายลำโพงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากขาดอุปกรณ์ชนิดนี้ นั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถใช้งานชุดเครื่องเสียง และทำการแสดง หรือเริ่มงานได้เลย
นั่นเพราะสายนำสัญญาณ และสายลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำสัญญาณ ในการต่อพ่วงกันของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้นั่นเอง
-
สายสัญญาณแบบอนาล็อก
-
สายสัญญาณแบบดิจิตอล

ทำความรู้จัก “สายสัญญาณ” ให้มากขึ้น
สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเสียง PA นั้น มีทั้งสายไมโครโฟน, สายแจ็คเครื่องดนตรี (กีตาร์,คีย์บอร์ด), สาย Line สำหรับงานติดตั้ง, และสายลำโพงด้วย
งานของระบบ PA ที่ดี จึงต้องการคุณภาพเสียงที่ดี มีความชัดเจนของเสียง มีความสะอาดของเสียง และเสียงรบกวนน้อยที่สุด
สายสัญญาณแอบบอนาล็อก


ประเภทของสายสัญญาณในระบบเสียง
ในปัจจุบัน “สายสัญญาณ” ในระบบเสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือแบบบาล๊านซ์ (Balanced) และแบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced)
1. แบบบาล๊านซ์ (Balanced)
- มีการใช้สายสัญญาณในการนำทางสัญญาณถึงสามเส้นด้วยกัน ได้แก่ ขั้วบวก ขั้วลบ และขั้วดิน (Sleeve) ด้วยระดับความแรงสัญญาณอยู่ที่ +4dBu
- ทำให้ได้กระแสสัญญาณในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถใช้สายสัญญาณในระยะทางที่เพิ่มขึ้น โดยลดการสูญเสียสัญญาณที่มาจากความต้านทาน (Impedanced) ที่อยู่ในเครื่ิองมือ หรือสายสัญญาณลงไปได้มาก
จึงมีผลทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ชัดเจน เสียงรบกวนต่างๆ ตํ่าลง มีมิติชัดเจน แม่นยำขึ้น ย่านความถี่สมบูรณ์มากขึ้น
ด้วยคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้ ส่งผลให้การทำงานของระบบเสียง PA ที่มีการใช้สายสัญญาณที่ยาวหลายสิบเมตร และต้องมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องมือจำนวนมากนั้น สามารถลดปัญหาในเรื่องของความต้านทาน (Impedanced) ออกไปได้เป็นอย่างดี
เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ คุณภาพเสียงที่ดี มีความชัดเจนของเสียง มีความสะอาดของเสียง และเสียงรบกวนต่างๆ น้อยที่สุด.. ถึงแม้ระยะทางในการเชื่อมต่อจะไกลมากก็ตาม
หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณแบบบาล๊านซ์ (Balanced) ได้แก่ Phone Jack หรือ 1/4″ แบบ stereo เรียกว่า TRS (Tip-Ring-Sleeve) และ หัวขั้วแบบ XLR เป็นต้น
2. แบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced)
เป็นการเชื่อมต่อสัญญาณในยุคแรกๆ ที่นิยมอย่างมาก และนิยมในหมู่ผู้ใช้เครื่องเสียงบ้าน หรือระบบ Hi-Fi นั่นเอง โดยมีการใช้สายสัญญาณแบบสองเส้นเท่านั้น ได้แก่ ขั้วบวก (Tip) และขั้วดิน (Sleeve) ด้วยระดับความแรงของสัญญาณอยู่ที่ -10dBv
จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้งานเดินสายสัญญาณที่มีความยาวหลายสิบเมตร
ความยาวเพียงสามสี่เมตรก็ส่งผลต่อความสูญเสียที่เกิดจากความต้านทาน (Impedanced) จากความยาวของสายสัญญาณไปแล้ว จึงเหมาะสำหรับงานที่ต่อสายสั้นๆ ไม่ยาว อย่างเช่นเครื่องเสียงภายในบ้าน
หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณแบบอันบาล๊านซ์ (unbalanced) ได้แก่ Phone Jack หรือ 1/4″ แบบ mono เรียกว่า TS (Tip-sleeve) และ หัวขั้วแบบ RCA เป็นต้น

และนอกจากสายนำสัญญาณ ประเภทต่างๆ ที่มีผลต่อระบบเสียงโดยตรงแล้ว ปลั๊กแจ็ค (Connector) ชนิดต่างๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ปลั๊กแจ็ค (Connector) ที่นิยมใช้งานในระบบเสียงในปัจจุบัน

ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ จะเป็นปลั๊กแจ็คชนิดสามขา ทั้งตัวผู้ และตัวเมีย โดยจะมีลักษณะ มีขานำสัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว (ขาที่ 2 + และ ขาที่ 3 -) และอีก 1 ขา (นั่นคือขาที่ 1 ) จะเป็นขั้วดิน (Sleeve)
สัญญาณจึงอยู่ในรูปแบบของ Balanced นั่นเอง นิยมใช้งานกันในระดับมืออาชีพ และงานที่ต้องการคุณภาพสูง และต้องการเดินสายสัญญาณในระยะที่ยาว


ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ จะมีทั้งในแบบ Balanced นั่นคือ มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว นั่นคือ TIP + กับ ขั้ว RING – และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 2 ขีดนั่นเอง)
และในแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นั่นคือ มีขั้ว TIP + 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 1 ขีดนั่นเอง) ปลั๊กชนิดนี้จะนิยมใช้ในงานแทบทุกประเภท ทั้งเดินสายภายในระบบเสียง และสายประเภทอุปกรณ์เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่น กีต้าร์, เบส, คีย์บอร์ดเป็นต้น

ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ เป็นสัญญาณในรูปแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นำสัญญาณขั้วบวก (Tip) 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว เป็นปลั๊กแจ็คที่นิยมพบเห็นได้ทั่วไป และพบได้ง่ายที่สุด
โดยส่วนมากจะพบเห็นในรูปแบบสีขาว และสีแดง ซึ่งส่งสัญญาณข้างซ้าย และ ข้างขวา ในแบบสเตอริโอ (Stereo) พบเห็นได้กับการใช้งานกับเครื่องเล่น ซีดี ดีวีดี เครื่องเสียงบ้านทั่วไป เป็นต้น


ปลั๊กแจ็คชนิดนี้ บางท่านเรียก “แจ็คหูฟัง” แต่คำเรียกแบบเป็นทางการคือ สาย Aux In เป็นสายที่มีขนาด 3.5 mm. หัวแจ็คที่นิยมใช้ในระบบเสียง มีทั้งในแบบ Balanced และ Unbalanced ซึ่งหลักการทำงานจะเหมือนปลั๊กแจ๊คชนิด PHONE 6.3 MM TRS/TS Balanced
แต่มีขนาดที่เล็กลงมา มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 3 ขั้ว นั่นคือ TIP + กับ ขั้ว RING – และมีขั้ว (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 2 ขีดนั่นเอง)
และในแบบ Unbalanced มีขั้วนำสัญญาณทั้งหมด 2 ขั้ว นั่นคือ มีขั้ว TIP + 1 ขั้ว และมีขั้วดิน (Sleeve) 1 ขั้ว (ปลั๊กแจ็คที่มี 1 ขีดนั่นเอง) โดยส่วนมากจะใช้กับอุปกรณ์ Audio Source ที่ต้องการต่อเข้ากับมิกเซอร์ เช่น โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์ เป็นต้น
สาย Aux หรือแจ็ค 3.5mm. คืออะไร และมีหน้าที่ยังไง? บทความนี้มีคำตอบ
หากคุณคือผู้ที่หลงไหลในเสียงดนตรี คุณคงเคยเห็นช่องแจ็ค “3.5mm. Aux In” บนลำโพงตัวโปรดเป็นแน่ แต่มันคืออะไรและทำงานยังไง? บทความนี้มีคำตอบ
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Aux In คืออะไร? ทำงานยังไง? ดีกว่าบลูทูธจริงหรือ!?

อุปกรณ์ประเภทสายลำโพง มีหน้าที่นำสัญญาณระหว่าง เครื่องขยายเสียง ไปยังลำโพง จะมีขนาดตั้งแต่ เส้นขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยส่วนมากในสายลำโพง 1 เส้น จะมีลักษณะนำสัญญาณ 2 เส้น ได้แก่ ขั้วบวก และขั้วลบ
สายลำโพงถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้สายสัญญาณ ซึ่งสายลำโพงส่งผลต่อความสามารถในการขับเคลื่อนกำลัง และคุณภาพของเสียง ในการส่งสัญญาณจากเครื่องขยายเสียง ไปยังลำโพงโดยตรง
เช่น ในระบบเสียงที่ใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังขับสูงๆ แต่หากเราดันเลือกใช้สายลำโพงที่มีขนาดเล็ก และคุณภาพต่ำ จะทำให้ส่งผลต่อพละกำลังในการส่งกำลังจากเครื่องขยายเสียง ไปยังลำโพงขาดหาย และตกหล่น ไปอย่างแน่นอน
1. หัวแบบ Speakon

เป็นหัวที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป ตามระบบเสียงขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ ได้รับความนิยมในระดับมืออาชีพ เพราะ Speakon สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังสูงได้ และการหมุนเข้าขั้ว เพื่อใช้งานระหว่างเครื่องขยายเสียง และลำโพง ก็มีความแน่น ไม่หลุดง่าย และแข็งแรงกว่าชนิดอื่น
วิธีต่อใช้งาน โดยส่วนมากจะใช้ขั้ว 1+ เป็นขั้วบวก และขั้ว 1- เป็นขั้วลบ หรือตามสเปคที่เครื่องขยายเสียง และลำโพงระบุไว้
2. หัวแบบ BANANA PLUG


เป็นหัวในแบบที่นิยมใช้ในหมู่นักเล่นเครื่องเสียงบ้าน และมีกลางแจ้งบ้าง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก BANANA PLUG มีต้นกำเนิดมาจากทางยุโรป มีลักษณะเป็นแท่งเรียวยาว สามารถเสียบใช้งานได้โดยตรง เข้ากับแจ็คแบบ BindingPost หลังแอมป์ และหลังลำโพงได้เลย
วิธีต่อใช้งาน เราสามารถต่อสายลำโพง จั๊มต่อเข้าโดยตรงตาม ขั้วลำโพงขั้วบวก+ (สีแดง) ขั้วลบ – (สีดำ) เข้ากับ Banana Plug ได้เลย
3. หัวแบบเปลือย (Bare-Wire)

คือ การปลอกสายลำโพงออกมา ต่อใช้งานโดยตรง เข้ากับขั้วของลำโพง และเครื่องขยายเสียง โดยการเปลือยสาย ส่วนใหญ่เราจะเห็นการใช้งานเครื่องเสียงบ้านทั่วไป และระบบเครื่องเสียงงานประกาศ ในอุปกรณ์เสียงระดับมืออาชีพมักจะไม่ค่อยเห็นการใช้งานในแบบนี้สักเท่าไหร่
ซึ่งหัวแจ็คในแบบ PHONE 6.3 MM TS มักจะถูกนำไปทำหัว Connector ของสายลำโพง สามารถพบเจอในเพาเวอร์มิกเซอร์ ที่ต้องการประหยัดพื้นที่ในการออกแบบ และมีขนาดเล็ก กระทัดรัด มักจะใช้เชื่อมต่อระหว่างเพาเวอร์มิกเซอร์ไปยังลำโพงโดยตรง
วิธีต่อใช้งาน เราสามารถเชื่อมสายลำโพงขั้วบวก + ที่ขั้ว TIP และขั้วลบ – ที่ขั้วดิน (Sleeve)
สายสัญญาณแบบดิจิตอล

สาย MIDI
MIDI ย่อมาจาก Musical Instrument Digital interface เป็นสายเคเบิลดิจิตอลที่ใช้งานกับเครื่องดนตรี (MIDI) ร่วมกับคอมพิวเตอร์ เช่น Syntheser, Sound Module, Controller ต่างๆ เป็นรูปแบบดิจิตอล สาย MIDI ใช้ให้ส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องบันทึกเสียงดิจิตอล ส่วนหัวประกอบด้วยหมุดห้าเส้น หมุดถูกจัดเรียงในครึ่งวงกลม 180 องศา ความยาวของสายควรจะยาวไม่เกิน 6 เมตร เพื่อประสิทธิภาพของสัญญาณเสียง ควรสายเคเบิลคุณภาพสูง

สาย USB
สาย USB ที่ใช้ในการเล่นไฟล์เพลงจะเป็นชนิดแบบ Type A – Type B เป็นการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล จะเห็นช่องต่อแบบนี้ส่วนมากในเครื่องปริ้นท์, มิกเซอร์ดิจิตอล, ลำโพงคอมพิวเตอร์, ลำโพมอนิเตอร์ เพื่อรองรับความละเอียดไฟล์เสียงที่สูงขึ้น เหมาะกับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับลำโพง ความยาวที่เหมาะสมประมาณ 5 เมตร หากยาวมากกว่านั้นอาจจะได้คุณภาพเสียงที่ด้อยลง หลายๆ บริษัทผลิตเครื่องเสียงเริ่มหันมาผลิตลำโพง หรืออุปกรณ์เสียง ให้มีช่องการเชื่อมต่อสายสัญญาณแบบ USB มากขึ้นแล้ว

สาย Optical
เป็นอีกหนึ่งสายสัญญาณเสียง ที่พบกันได้อย่างแพร่หลายในวงการเครื่องเสียง และทีวี หัวต่อแบบ Optical เป็นหัวต่อที่ค่อนข้างดีในการส่งสัญญาณดิจิตอล วัสดุสายที่เป็น Fiber Optic ส่งสัญญาณได้ดีกว่าข้อต่อทั่วไป และลำโพงหลายแบรนด์ในปัจจุบันก็ยังรองรับการเชื่อมต่อแบบนี้อยู่ จุดเด่น คือ จะมีแผ่นพลาสติกปิดช่องอยู่ ตอนเสียบจะใช้หัว Optical ดันเข้าไปเสียบได้พอดี
เพราะฉะนั้นการเลือกสายสัญญาณมาใช้งานกับระบบเครื่องเสียงของคุณ ควรเลือกสาย และหัวข้อต่อ (Connector) ประเภทต่างๆ ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด กับความยาวที่เหมาะสม เพื่อการส่งต่อสัญญาณภายในระบบเสียงของคุณ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เขียนบทความ…SoundDD.Shop
โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด
บทความ สาระความรู้
รีวิว SOUNDCRAFT Ui ซีรี่ส์ ดิจิตอลมิกเซอร์ ครบทุกรุ่น
ครบจบทุกรุ่น รีวิว SOUNDCRAFT Ui ซีรีส์ ดิจิตอลมิกเซอร์ ทั้ง 3 รุ่น Ui12, Ui16 และ Ui24R คุณสมบัตที่ความแตกต่ากัน ราคาสุดพิเศษ
3 ไอเดีย สำหรับท่านที่คิดจะมีห้องสตูดิโอเป็นของตัวเอง (ห้องสตูดิโอ Studio)
ห้องบันทึกเสียง หรือห้องสตูดิโอที่ดีที่ควรจะเป็นอย่างไร? แล้วหากจะสร้างสตูดิโอขึ้นมา ต้องทำอย่างไร? หาไอเดียไปพร้อมกัน
5 เทคนิคสุดเจ๋ง ช่วยลดการเกิดเสียงไมค์หอน (Feedback) อย่างง่าย
ปัญหาที่เป็นอันดับต้นๆ ย่อมหนีไม่พ้น การเกิดเสียง ไมค์หวีดหอน (Feedback) อย่างแน่นอน
ลำโพง SONOS ดีไหม คุ้มค่าที่จะซื้อหรือไม่?
หากมีความลังเลว่าจะซื้อลำโพง SONOS ดีไหม ซื้อไปแล้วกลัวไม่คุ้ม หรือจะใช้งานยากหรือเปล่า บทความนี้ช่วยคุณได้ครับ
โปรโมชั่น
Pioneer DJ หูฟังและลำโพง ลดสูงสุด 32% พร้อม On Top 5%
22 ก.ย. – 31 ธ.ค. 2566
PAYDAY SALE 6 วันเท่านั้น ตู้ลำโพง และไมโครโฟน
25 - 30 ก.ย. 2566 และสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
โปรโมชั่น ลำโพง JBL เครื่องเสียงคาราโอเกะ ราคาพิเศษ และของแถมสุดคุ้ม
15 ก.ย. - 31 ต.ค. 2566 เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น
JBL PARTY BOX ลำโพงบลูทูธไร้สาย เสียงเบสสะใจ สำหรับสายปาร์ตี้ ด้วยระบบไฟ Light Show
ปาร์ตี้ที่บ้านได้ด้วย JBL PARTYBOX เป็นลำโพงบลูทูธ ที่มีฟังก์ชั่นออกแบบมาให้มีสีสัน ฟังมีความสนุก ให้เสียงที่ดังสะใจ เบสกระหึ่ม สะเทือน
ผลงานการติดตั้ง
ผลงานติดตั้ง ชุดเครื่องเสียง ร้าน Out Of Office
ชุดเครื่องเสียงที่ตอบโจทย์ชาวออฟฟิศ ผ่อนคลายได้อรรถรส คุณภาพระดับพรีเมียม
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ Bowers & Wilkins
ชุด Home Audio แบรนด์ระดับ Hi-End รองรับทั้งดูหนัง ฟังเพลง และร้องคาราโอเกะ
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงตามสาย ระบบประกาศโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
ระบบเสียงตามสาย ใช้สำหรับประกาศ กิจกรรมต่างๆสำหรับสถาบันการศึกษา
ผลงานออกแบบ ติดตั้งระบบภาพเสียง ห้องประชุม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสำโรง
ชุดไมโครโฟนห้องประชุม BOSCH คุณภาพแบรนด์ระดับโลก กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ PTZ Camera Tracking ความคมชัดสูง