ไฟล์เสียง คืออะไร? มีกี่ประเภท!? ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับไฟล์เสียง

ไฟล์เสียง
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ไฟล์เสียง คืออะไร? มีกี่ประเภท!? ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับไฟล์เสียง

Estimated reading time: 8 นาที

ไม่ว่าคุณจะเป็น ผู้ที่ชื่นชอบในการฟังเพลง หรือซาวด์เอ็นจีเนียร์ เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพของเสียงที่ฟัง หรือทำ สิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม และควรที่จะเข้าใจเบื้องลึก “ไฟล์เสียง”ในบทความนี้ผมจะพาคุณมาเจาะลึกให้มากขึ้น ว่า ไฟล์เสียงคืออะไร? มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานแบบใด ไม่ว่าจะเป็นนามสกุล .Mp3, .Flac หรือ .Wav ผมขออาสาพาทุกคนลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ เป็นบทความรวมสิ่งที่คุณต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับ ไฟล์เสียง ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

ปล. เนื้อหายาว และใหญ่มาก แนะนำว่าให้เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจที่สารบัญ

สารบัญ

ทำความรู้จัก ไฟล์เสียง หรือ Audio File Formats

ทำความรู้จักไฟล์เสียง

ในช่วงก่อนการมาถึงของ ยุคดิจิตอล การบันทึกเสียงในโลกยุคอนาล็อกที่เราพอจะนึกออก จะมีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง นั่นคือ แผ่นเสียง และเทป Cassette แต่แล้วเมื่อการมาถึงของ คอมพิวเตอร์ โลกได้ดำเนินมาถึงจุดเปลี่ยน เข้าสู่ยุคดิจิตอลแบบเต็มตัว ทุกสิ่งอย่างในโลกล้วนแล้วแต่ต้องปรับตัวให้มีความเป็นดิจิตอลมากขึ้น และเสียงก็เป็นหนึ่งสิ่งที่หนีไม่พ้น ดิจิตอล เช่นกัน..

ไฟล์เสียงคืออะไร?

ไฟล์เสียงคืออะไร?


ไฟล์เสียง หรือ Audio File Formats คือ รูปแบบหนึ่งของการเก็บ ข้อมูลเสียง ในยุคดิจิตอล จากเดิมที่ยุคอนาล็อก จะบันทึกเสียงเป็น เทป หรือแผ่นเสียง เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ “ยุคดิจิตอล” เสียงได้ถูกเปลี่ยนมาจัดเก็บเป็น ข้อมูลดิจิตอล ที่อยู่ในรูปแบบของ “ไฟล์เสียง” แทน

โดยไฟล์เสียงที่ถูกจัดเก็บ หรือรับ-ส่งไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์ จะเป็นชุดข้อมูลดิจิตอล ที่กำกับด้วยประเภทของไฟล์ต่อท้ายชื่อ เช่น .Mp3, .Wav หรือ .Flac เป็นต้น หรือที่ในบ้านเรานิยมใช้คำว่า “นามสกุลไฟล์” หรือ “นามสกุลไฟล์เสียง” โดยที่คอมพิวเตอร์จะสามารถอ่านค่า ไฟล์เสียง และสามารถสร้าง(Reproduce) ไฟล์เสียงให้กลับมาอยู่ในรูปแบบ คลื่นเสียงแบบอนาล็อกที่มนุษย์สามารถได้ยินผ่านทาง ลำโพง นั่นเองครับ

— กลับไปที่สารบัญ —


ประเภท หรือนามสกุลของไฟล์เสียง

ประเภท หรือนามสกุลไฟล์เสียง

ไฟล์เสียงจะถูกแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Uncompressed(ไม่บีบอัด) และ Compressed(บีบอัด)โดยที่ไฟล์แบบ Compressed ก็จะสามารถแบ่งย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภท ตามคุณภาพของการบีบอัด ดังนี้ครับ

  1. ไฟล์เสียงที่ไม่ผ่านการบีบอัด(Uncompressed Audio File)
  2. ไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัด(Compressed Audio File)
    1. ไฟล์เสียง Lossy Compression
    2. ไฟล์เสียง Lossless Compression

ซึ่งข้อมูลมันจะค่อนข้างเยอะ ทีมงานจะค่อยๆ อธิบายเจาะลึกไปทีละจุด สำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็ว สามารถ กลับไปที่สารบัญ และเลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจได้โดย คลิกที่นี่

ไฟล์เสียงแบบไม่บีบอัด หรือ Uncompressed

ไฟล์เสียงที่ ไม่ผ่าน การบีบอัด หรือ Uncompressed Audio File


ไฟล์เสียงแบบ Uncompressed(อัน-คอม-เพลส) คือ ไฟล์เสียงที่แปลงสัญญาณเสียง อนาล็อก ให้อยู่ในรูปแบบ ข้อมูลดิจิตอล เพื่อจัดเก็บ โดยไม่ผ่านการบีบอัดข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพดีที่สุด ณ ปัจจุบัน แต่ก็ต้องแลกมาด้วย ขนาดไฟล์ที่ใหญ่ที่สุดเช่นกัน หากจะเทียบในมุมของ ภาพถ่าย ไฟล์เสียง Uncompressed จะสามารถเทียบได้กับ ไฟล์ Raw นั่นเองครับ

โดยที่การเก็บข้อมูลของไฟล์ Uncompressed ใช้วิธีที่เรียกว่า PCM(Pulse Code Modulation) ที่จะมีหลักการทำงานเป็นเหมือนการ คัดลอก(Copy) และวาง(Paste) หมายความว่าข้อมูล และคุณภาพเสียงของไฟล์ WAV และ AIFF จะเป็น ไฟล์เสียงที่มีความแม่นยำ และเที่ยงตรงต่อต้นฉบับมากที่สุด จึงมักถูกใช้ในงานระดับมืออาชีพ และงานสตูดิโอ

รูปแบบไฟล์เสียงแบบ Uncompressed

  • นามสกุล .Wav หรือ WAV (Waveform Audio File Format) with PCM (Pulse Code Modulation) encoding
  • นามสกุล .M4a หรือ AIFF (Audio Interchange File Format)

 

เกร็ดความรู้ที่ 1: ไฟล์เสียง .WAV และ .M4A(AIFF) เป็นไฟล์เสียงที่ มีขนาดไฟล์ใหญ่ที่สุด จะมีขนาดโดยประมาณใหญ่กว่าไฟล์แบบ Lossless 1 เท่า และจะมีขนาดใหญ่กว่าไฟล์แบบ Lossy 10 เท่า ย้ำว่าโดยประมาณนะครับ

เกร็ดความรู้ที่ 2: ไฟล์เสียง .WAV และ .M4A(AIFF) เป็นนามสกุลไฟล์ที่มีคุณภาพเสียงอยู่ในระดับเดียวกันกับ Lossless Audio อย่าง .Flac และ .Alac ในบางครั้งอาจถูกจัดอยู่ในประเภทไฟล์แบบ Lossless ซึ่งส่วนตัวมองว่า เป็นการจัดประเภทที่ผิด เพราะไฟล์เสียง .WAV และ .M4A เป็นไฟล์เสียงที่ ไม่ผ่านการบีบอัดข้อมูล ใดๆ ซึ่งแตกต่างจาก .Flac และ .Alac อย่างชัดเจนครับ

ไฟล์เสียงแบบบีบอัด หรือ Compressed

ไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัด หรือ Compressed


ไฟล์เสียง Compressed(คอม-เพลส) คือ ไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัดข้อมูล เพื่อลดขนาดของไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง ด้วยกระบวนการในการบีบอัดข้อมูล หรือการเข้ารหัส(Encode) ผ่านอัลกอริธึมเฉพาะ เพื่อจัดเก็บเสียง ให้อยู่ในรูปแบบของ ข้อมูลดิจิตอล เช่นเดียวกันกับ ไฟล์เสียงแบบ Uncompressed แตกต่างกันตรงที่ขนาดของไฟล์เสียงที่จะมีขนาดเล็กลงอย่างมาก เพื่อให้การ สตรีมเพลง ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการฟังเพลงไร้สายผ่านหูฟังบลูทูธ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไฟล์ Lossy Audio หรือ Lossy Compression
ไฟล์ Lossless Audio หรือ Lossless Compression

โดยที่ไฟล์เสียงแบบ Compressed จะสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้อีก 2 ประเภท คือ Lossy Audio(ลอซ-ซี่-ออ-ดิ-โอ) และ Lossless Audio(ลอซ-เลซ-ออ-ดิ-โอ) ซึ่งเป็นการแบ่งประเภทด้วยคุณภาพในการบีบอัดไฟล์ โดยที่ Lossy Audio หรือ Lossy Compression จะเน้นไปที่การ ลดขนาดไฟล์ให้เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และ Lossless Audio หรือ Lossless Compression จะเน้นไปที่การ รักษาคุณภาพของไฟล์เสียงให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ไฟล์เสียงประเภท Lossy Audio

ไฟล์เสียง Lossy Audio (ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน)

ไฟล์เสียง Lossy Audio คือ ไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัดข้อมูล โดยจะเน้นไปที่การ ลดขนาดของไฟล์ให้เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สาเหตุเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านฮาร์ดแวร์ ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอดีต ที่มีขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่จำกัด ทำให้การจัดเก็บไฟล์เพลงแบบ Uncompressed 1 อัลบั้ม อาจจะกินพื้นที่เกือบทั้งหมดของฮาร์ดดิสก์คุณ!

 

ซึ่งไฟล์แบบ Lossy Audio ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ก็หนีไม่พ้น .Mp3 ซึ่งยังคงได้รับความนิยมสูงที่สุดยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยข้อดีหลายอย่าง เช่น ขนาดไฟล์ที่เล็กลงมาก คุณภาพเสียงที่ลดลงแบบพอรับได้ ทำให้ถึงแม้จะสูญเสียคุณภาพเสียงไปบ้าง แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดไฟล์ที่เล็กลงเกือบ 10 เท่าเมื่อเทียบกับ ไฟล์เสียงแบบ Uncompressed อย่าง .Wav ก็ดูจะเป็นการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม(มั้ง!?)

 

รูปแบบไฟล์เสียง Lossy Audio

การบีบอัดไฟล์แบบ Lossy Audio จะมีด้วยกันหลากหลายแบบมากๆ ผมขออนุญาต ยกมาให้เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกันพอประมาณ 4 นามสกุล ดังนี้ครับ

  1. MP3 (MPEG Audio Layer III)
  2. AAC (Advanced Audio Coding)
  3. WMA (Window Media Audio)
  4. AC3(Dolby Digital Audio)
ไฟล์เสียงประเภท Lossless Audio

ไฟล์เสียง Lossless Audio(อนาคต)

ไฟล์เสียง Lossless Audio คือไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัดข้อมูล โดยจะเน้นไปที่การ รักษาคุณภาพของไฟล์เสียงให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และลดขนาดของไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงด้วยในเวลาเดียวกัน ถึงแม้จะไม่เล็กเท่า Lossy Audio แต่ก็ถือว่าเล็กลงมาก เมื่อเทียบกับไฟล์เสียง Uncompressed อย่าง .Wav หรือ .M4a

ขนาดของไฟล์ Lossless Audio โดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าไฟล์เสียงที่ไม่ผ่านการบีบอัด หรือ Uncompressed ประมาณ 1 เท่า เช่น หากไฟล์เสียง .Wav 1 เพลงมีขนาด 80 MB ไฟล์ Lossless .Flac จะมีขนาดเพียง 30-50 MB เป็นต้น ซึ่ง ถึงแม้ขนาดจะเล็กลงครึ่งนึง แต่คุณภาพเสียงกลับมีคุณภาพดีเทียบเท่าไฟล์ Uncompressed ทำให้ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาให้ความสนใจ ไฟล์เสียงแบบ Lossless Audio กันมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะขึ้นมาเป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในอนาคตไม่วันใดก็วันหนึ่ง..

รูปแบบไฟล์เสียง Lossless Audio

ไฟล์เสียงแบบ Lossless Audio ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด จะมีด้วยกัน 2 นามสกุล ดังนี้ครับ

  1. FLAC (Free Lossless Audio Codec)
  2. ALAC (Apple Lossless Audio Codec)

— กลับไปที่สารบัญ —


ประเภท หรือนามสกุลไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ประเภท หรือนามสกุลไฟล์เสียง

อย่างที่ได้บอกไปว่า นามสกุลไฟล์เสียงนั้นมีเยอะแยะ มากมาย เพื่อที่จะให้บทความนี้ไม่ยาวจนเกินไป ผมขออนุญาตแนะนำเพียง ไฟล์เสียง นามสกุลดังๆ ที่เพื่อนๆ น่าจะได้พบเห็น หรือใช้งานกันอยู่เป็นประจำ โดยที่ผมได้ทำการคัด ไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มาทั้งหมด 6 นามสกุล ได้แก่ .MP3, .FLAC, .WAV, .AAC, .ALAC และ .M4A

MP3 หรือ MPEG Audio Layer III

MP3 หรือ MPEG Audio Layer III(โคตรพ่อโคตรแม่ฮอตฮิต)


เริ่มกันที่ไฟล์เสียงที่สุดของที่สุดของที่สุด .MP3

MP3(เอ็ม-พี-สาม) คือนามสกุลไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด เป็นตระกูลใหญ่ที่สุดในวงการไฟล์เสียง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาหลาย ทศวรรษ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ อุตสาหกรรมดนตรี ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึง ดนตรีได้ง่ายขึ้น และมีต้นทุนที่ต่ำลง จากเดิมที่ ดนตรี จะเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นนำในสังคม..

เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossy Audio ผ่านการบีบอัด เพื่อลดขนาดไฟล์ให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยที่คุณภาพเสียงยังอยู่ในระดับที่ดีพอใช้ (แต่ถ้าท่านเทพหูทิพย์ฟังเขาจะบอกว่าเสียงกากนะครับ) ด้วยขนาดไฟล์ที่เล็ก และคุณภาพเสียงที่พอใช้จึงทำให้ .MP3 เป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่เหมาะสมที่สุด สำหรับผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงออนไลน์ ที่ต้องเน้นความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล


ข้อดีของไฟล์เสียงนามสกุล .MP3

  • ขนาดไฟล์เล็กมาก
  • คุณภาพเสียงโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี
  • แทบทุกอุปกรณ์ หรือทุกแพลตฟอร์มรองรับ .mp3

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .MP3

  • คุณภาพเสียงที่ตกลงจากการบีบอัดข้อมูล

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

Mp3 เป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการเพลงดิจิตอล การสตรีมเพลงออนไลน์ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็น .Mp3 ทั้งสิ้น

FLAC หรือ Free Lossless Audio Codec

FLAC หรือ Free Lossless Audio Codec(ผู้ท้าชิงบัลลังก์ .MP3)


ตระกูลใหม่(.FLAC) ผู้ขอท้าชนกับขั้วอำนาจเก่า(.MP3)

FLAC คือ รูปแบบไฟล์เสียง Lossless ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน โดดเด่นด้วยกระบวนการบีบอัดไฟล์คุณภาพสูง ที่ไม่ลดทอนคุณภาพเสียง แต่กลับลดขนาดไฟล์ได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับไฟล์เสียงที่ไม่ผ่านการบีบอัดอย่าง .Wav ทำให้ .FLAC เป็นทางเลือกสำหรับคอดนตรี ที่ต้องการฟังเพลงที่มีคุณภาพสูง เป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossless Audio ผ่านการบีบอัดข้อมูลขั้นสูง เพื่อที่จะคงคุณภาพเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับ แต่ต้องการลดขนาดของไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง โดยที่ขนาดของไฟล์ FLAC จะมีขนาดที่เล็กกว่าไฟล์เสียงแบบ Uncompressed ประมาณ 1 เท่า

ตามหลักการจริงๆ แล้ว .FLAC ควรที่จะมีคุณภาพเสียงที่ด้อยกว่า .WAV นิสนึง ซึ่งเอาตรงๆ หากคุณเป็นผู้ฟังที่ไม่ได้มีหูทิพย์ คุณแทบจะไม่สามารถแยกคุณภาพ ระหว่าง ไฟล์ .FLAC หรือไฟล์ที่ไม่ผ่านการบีบอัดอย่าง .WAV ออกจากกันได้เลย ซึ่งผมก็เป็น 1 คนที่แยกไม่ออกเช่นกัน(ฮ่าๆ)

ด้วยขนาดของไฟล์ที่ไม่ได้ใหญ่จนเกินไป และวัฒนธรรมการฟังเพลงของผู้คนที่ต้องการฟังเพลงที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น เป็นเหตุผลที่ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงออนไลน์ เช่น Spotify, Apple Music และ Tidal เป็นต้น เริ่มที่จะเพิ่ม .FLAC เข้ามาเป็น ทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการ


จุดเด่นของไฟล์เสียงนามสกุล .FLAC

  • ขนาดไฟล์ที่เล็กลงโดยที่ไม่ลดทอนคุณภาพเสียง
  • เป็นไฟล์เสียงคุณภาพสูงที่หาฟังง่าย(เมื่อเทียบกับ .WAV)

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .FLAC

  • ยังมีอุปกรณ์ หรือผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงออนไลน์ที่รองรับน้อย เมื่อเทียบกับ mp3
  • ขนาดไฟล์ที่ใหญ่เมื่อเทียบกับ Lossy Audio(Mp3,AAC)

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

ด้วยขนาดไฟล์ที่เล็กกว่าไฟล์แบบ Uncompressed เกือบครึ่ง แต่ยังคงคุณภาพเสียงไว้อย่างครบถ้วน ทำให้ Flac เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossless ที่ได้รับความนิยมจาก ผู้ที่หลงใหลในการฟังเพลงที่เน้นความเที่ยงตรงสูง(High-Fidelity) หรือที่เรียกว่า Hi-Fi นั่นเองครับ

WAV หรือ WAVeform Audio File Format

WAV หรือ WAVeform Audio File Format(คุณภาพเสียงดีที่สุด)


WAV คือ ไฟล์เสียงที่มีความ OG(Origanal) มากที่สุด มีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง และใกล้เคียงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด เป็นไฟล์เสียงสำหรับใช้งานภายในห้องอัด หรืองานที่มีความเป็นมืออาชีพมากๆ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ใช้ไฟล์เสียง WAV ทั้งนั้น

เป็นไฟล์เสียงแบบ Uncompressed ไม่ผ่านการบีบอัดข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ใช้การเก็บข้อมูลแบบ PCM(Pulse Code Modulation) เป็นการสุ่ม Sampling Rate และ Bit-Depth เพื่อสร้างชุดข้อมูลดิจิตอล สำหรับจัดเก็บข้อมูลเสียง เอาง่ายๆ ให้นึกภาพว่าเป็นการ คัดลอก(Copy) คลื่นเสียง และวาง(Paste) เป็นชุดข้อมูลดิจิตอล นั่นแหละครับ


ข้อดีของไฟล์เสียงนามสกุล .WAV

  • คุณภาพเสียงที่ดีโดยไม่ผ่านการบีบอัดใดๆ ให้เสียคุณภาพ

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .WAV

  • ขนาดไฟล์ที่ใหญ่บึ้ม(บึ้มจริง)

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

ด้วยความที่ Wav เป็นไฟล์เสียงที่มีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง จึงถูกใช้ในงานระดับมืออาชีพ การอัดเสียง, Mastering หรืองานที่ต้องการเน้นคุณภาพเสียง

AAC หรือ Advanced Audio Coding

AAC หรือ Advanced Audio Coding


AAC คือไฟล์เสียงที่พัฒนาต่อยอดจาก MP3 เพื่อกลบจุดด้อยในด้านคุณภาพเสียงของ MP3 ด้วยกระบวนการ บีบอัดไฟล์ขั้นสูง ส่งผลให้ขนาดของไฟล์เสียงแบบ AAC ยังคงมีขนาดที่เล็กเหมือนกันกับ .MP3 แต่ .AAC จะให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า(เล็กน้อย)

เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossy Audio ผ่านการบีบอัดขั้นสูง เพื่อลดขนาดไฟล์เสียงให้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยที่จะ ลดทอนคุณภาพเสียงบางส่วนลง เช่นเดียวกับ MP3 แต่คุณภาพเสียงโดยรวมจะดีกว่า เป็นรูปแบบไฟล์เสียงที่ได้รับการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพเสียงของไฟล์แบบ Lossy แต่กลับ ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ซักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้คนทั่วโลกเริ่มที่จะใช้งาน MP3 เป็นนามสกุลหลักไปแล้ว จึงยากที่จะเปลี่ยนมาเป็น AAC ถึงแม้คุณภาพเสียงโดยรวมจะดีกว่าก็ตาม

โดยที่ AAC จะเป็นไฟล์เสียงแบบ Lossy Audio ที่คุณภาพเสียงดีที่สุด


จุดเด่นของไฟล์เสียงนามสกุล .AAC

  • คุณภาพเสียงที่ดีกว่า(เมื่อเทียบกับ MP3)
  • ขนาดไฟล์เล็ก

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .AAC

  • มีอุปกรณ์ และแพลทฟอร์มที่รองรับน้อยกว่า MP3 เล็กน้อย

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

ด้วยความที่เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossy แน่นอนว่าจุดเด่นที่สุดคือ ขนาดของไฟล์ที่เล็ก โดยที่ AAC จะเป็น Lossy ที่มีคุณภาพเสียงดีที่สุด เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคอเพลง ที่ต้องการฟังเพลงที่มีคุณภาพ โดยที่ไม่เปลืองความจุเครื่อง

ALAC หรือ Apple Lossless Audio Codec

ALAC หรือ Apple Lossless Audio Codec


ALAC คือไฟล์เสียงคุณภาพสูงเช่นเดียวกับ FLAC เรียกว่าแทบจะเหมือนกันทุกอย่าง แตกต่างกันเพียง ALAC จะเป็นไฟล์เสียงที่พัฒนาโดย บริษัท Apple เพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ที่อยู่บนระบบนิเวศน์ของ Apple เช่น macOS, iOS เป็นต้น เดิมที ALAC นั้นเป็นนามสกุลที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของ Apple แต่ต่อมาก็ได้ เปิดเป็น Open-Source ในช่วงปี 2011

เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossless Audio ผ่านการบีบอัดข้อมูลขั้นสูง เพื่อที่จะคงคุณภาพเสียงให้เหมือนกับต้นฉบับ แต่ต้องการลดขนาดของไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง โดยที่ขนาดของไฟล์ ALAC จะมีขนาดที่เล็กกว่าไฟล์เสียงแบบ Uncompressed ประมาณครึ่งนึงเหมือนกับ FLAC


จุดเด่นของไฟล์เสียงนามสกุล .ALAC

  • ขนาดไฟล์ที่เล็กลงโดยที่ไม่ลดทอนคุณภาพเสียง

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .ALAC

  • เป็นไฟล์เสียงที่รองรับเฉพาะอุปกรณ์ของ Apple
  • ขนาดไฟล์ที่ใหญ่เมื่อเทียบกับ Lossy Audio(Mp3,AAC)

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

ด้วยขนาดไฟล์ที่เล็กกว่าไฟล์แบบ Uncompressed เกือบครึ่ง แต่ยังคงคุณภาพเสียงไว้อย่างครบถ้วน ทำให้ Alac เป็นไฟล์เสียงแบบ Lossless ที่ได้รับความนิยมจาก ผู้ที่หลงใหลในการฟังเพลงที่เน้นความเที่ยงตรงสูง(High-Fidelity) หรือที่เรียกว่า Hi-Fi บนอุปกรณ์ของ Apple นั่นเองครับ

AIFF(.M4A) หรือ Audio Interchange File Format

AIFF(.M4A) หรือ Audio Interchange File Format(คุณภาพเสียงดีที่สุด)


AIFF คือไฟล์เสียงที่มีความเป็น Original มากที่สุด มีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง และใกล้เคียงกับความเป็นต้นฉบับมากที่สุดเหมือนกันกับ WAV แทบทุกอย่าง ต่างกันตรงที่ AIFF จะเป็นไฟล์เสียงที่อยู่บนระบบนิเวศน์ของ Apple

โดยที่ AIFF จะเป็นไฟล์เสียงสุดอินดี้ ที่ไม่ได้ใช้นามสกุลไฟล์ เป็นชื่อ .AIFF ตรงๆ แต่กลับใช้นามสกุลไฟล์เป็น .M4A พาให้ผมอธิบายยากไปอีก

เป็นไฟล์เสียงแบบ Uncompressed ไม่ผ่านการบีบอัดข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ใช้การเก็บข้อมูลที่เรียกว่า IFF หรือ Interchange File Format ซึ่งจะมีหลักการทำงาน คัดลอก(Copy) คลื่นเสียง และวาง(Paste) เป็นชุดข้อมูลดิจิตอลที่คล้ายๆ กับ PCM ของไฟล์ WAV แต่เรียกคนละอย่างนั่นแหละครับ


จุดเด่นของไฟล์เสียงนามสกุล .M4A

  • เสียงมีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง(เช่นเดียวกับ WAV)

ข้อจำกัดของไฟล์เสียงนามสกุล .M4A

  • ขนาดไฟล์ใหญ่บึ้ม(บึ้มจริง)

เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน

อย่างที่บอกว่า AIFF นั้นเหมือนกับ WAV แทบทุกอย่าง เป็นไฟล์ที่มีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง จึงถูกใช้ในงานระดับมืออาชีพ การอัดเสียง, Mastering หรืองานที่ต้องการเน้นคุณภาพเสียง

ตารางเปรียบเทียบ ไฟล์เสียงแต่ละประเภท

ประเภทไฟล์เสียง คุณภาพเสียง ขนาด*
ไฟล์เสียง Uncompressed
(WAV/AIFF)
ดีที่สุด 30-50 MB (ต่อนาที)
ไฟล์เสียง Lossless
(FLAC/ALAC)

ดี

4-15 MB (ต่อนาที)
ไฟล์เสียง Lossy
(MP3/AAC)
ปานกลาง 1-5 MB (ต่อนาที)

*เป็นขนาดโดยประมาณ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นคุณภาพเสียง ระยะเวลา และอัลกอริธึมที่ใช้ในการบีบอัด

— กลับไปที่สารบัญ —


หลักการทำงานเบื้องหลัง ไฟล์เสียง

ก่อนที่จะไปอธิบายหลักการทำงานที่อยู่เบื้องหลัง ไฟล์เสียง คงต้องอธิบายกันก่อนว่า เพราะอะไรถึงต้องแบ่งประเภทไฟล์เสียงให้ยุ่งยากด้วย? สำหรับเพื่อนๆ ที่อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอเข้าใจกันแล้วว่าทำไมถึงต้องแบ่งประเภทของไฟล์เสียงให้มันยุ่งยาก ผมอยากจะกล่าวคำว่า

ขอบคุณครับ

แต่ถ้าคุณคือคนที่กดข้ามลงมาอ่านจากสารบัญ ผมจะอธิบายให้ดังนี้ครับ

ทำไมต้องแบ่งประเภทไฟล์เสียง?

ทำไมต้องแบ่งประเภทไฟล์เสียง?

สาเหตุที่ต้องแบ่งประเภทของไฟล์เสียง เพราะจุดประสงค์ในการใช้งานไฟล์เสียงแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน เช่น หากคุณอยากฟังเพลงจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่งออนไลน์ ไฟล์เสียงที่คุณควรเลือกใช้ควรจะเป็นไฟล์ประเภท Compressed อย่าง Lossy หรือ Lossless เพราะมันมีขนาดที่เล็ก ซึ่งจะทำให้โหลดข้อมูลได้ไวกว่า แต่ถ้าหากคุณต้องการทำงานในสตูดิโอ แน่นอนว่าคุณต้องการความแม่นยำ เที่ยงตรง ไฟล์เสียงแบบ Uncompressed ก็ดูจะเป็นอะไรที่ตอบโจทย์งานของคุณได้ดีกว่านั่นเองครับ

หลักการทำงานก่อน และหลังที่จะมาเป็น "ไฟล์เสียง"

หลักการทำงานก่อน และหลังที่จะมาเป็น “ไฟล์เสียง”

หลักการทำงาน ก่อน และหลังจะมาเป็น “ไฟล์เสียง” จะสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน อาจจะแตกต่างจากเว็ป หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ เล็กน้อย เพราะผมจะอธิบายจากความเข้าใจส่วนตัว เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของเพื่อนๆ ดังนี้ครับ

  • ขั้นตอนที่ 1 อินพุต | Input

ขั้นตอนแรกจะเป็นขั้นตอนในการรับเสียงอนาล็อก เช่น เสียงพูด, เสียงกีต้าร์ ด้วยอุปกรณ์อย่างเช่น ไมโครโฟน, กีต้าร์

  • ขั้นตอนที่ 2 เข้ารหัส | Encode

เป็นขั้นตอนในการ เข้ารหัส ชุดข้อมูลเสียง ให้กลายเป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อที่จะสร้าง และจัดเก็บ ชุดข้อมูลดิจิตอลเหล่านั้นเป็น ไฟล์เสียง ด้วยอัลกอริธึมต่างๆ โดยที่อัลกอริธึมเหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนด ว่าไฟล์เสียงที่ได้ จะมี นามสกุล อะไร

  • ขั้นตอนที่ 3 Audio File

เสียงที่ได้จากขั้นตอน อินพุต ของเรา จะถูกเปลี่ยนให้เป็น ชุดข้อมูลดิจิตอล ผ่านขั้นตอนการ เข้ารหัส ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะได้ ไฟล์เสียง ที่มีนามสกุล ตามอัลกอริธึมในขั้นตอนการเข้ารหัส

  • ขั้นตอนที่ 4 ถอดรหัส | Decode

หลังจากที่เราจัดเก็บข้อมูลของเราเป็น ไฟล์เสียง เรียบร้อย หากเราต้องการ เล่น(Playback) ไฟล์เสียงเหล่านั้น คอมพิวเตอร์ จะทำการอ่านค่า ชุดข้อมูลดิจิตอล ด้วยอัลกอริธึมเฉพาะ ตามนามสกุลของไฟล์นั้นๆ เพื่อแปลง ชุดข้อมูลดิจิตอล ให้กลับมาเป็น ชุดข้อมูลเสียง

  • ขั้นตอนที่ 5 เอาท์พุต | Output

ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อคอมพิวเตอร์ ถอดรหัส ไฟล์เสียงกลับมาเป็น ชุดข้อมูลเสียงเรียบร้อย ก็จะส่งชุดข้อมูลนั้น ไปยัง ลำโพง หรือหูฟัง เพื่อ เล่น(Playback) เสียงเหล่านั้นกลับออกมาเป็น เสียงอนาล็อก นั่นเองครับ

สำหรับใครที่อ่านแล้วงง ให้ลองอ่านใหม่อีกซักรอบนึง เพราะผมคิดคำอธิบายที่ง่ายกว่านี้ไม่ออกแล้วจริงๆ(ฮ่าๆ)

เกร็ดความรู้: ขั้นตอนในการเข้ารหัส จะเป็นตัวที่บอกว่า ไฟล์เสียง ที่ได้ จะมีนามสกุลอะไร และนามสกุลของไฟล์เสียง จะเป็นตัวบอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องใช้ อัลกอริธึม แบบไหนในการ เล่น(Playback) ไฟล์เสียงเหล่านั้นให้กลับมาเป็น เสียงอนาล็อก

— กลับไปที่สารบัญ —


สรุป

ไฟล์เสียงแต่ละแบบ แต่ละประเภทก็มีข้อดี และข้อจำกัดเป็นของตัวเอง มีรูปแบบการใช้งานที่เหมาะกับงานแตกต่างกันไป เช่น หากใช้บริการสตรีมเพลงออนไลน์ก็ควรใช้ไฟล์เสียงที่ผ่านการบีบอัด Lossy(.MP3) หรือ Lossless(.FLAC) หากใช้ในงานที่ต้องการความเที่ยงตรงอย่างงานสตูดิโอ .WAV หรือ M4A ที่เป็นไฟล์เสียงแบบไม่ผ่านการบีบอัดก็ดูจะตอบโจทย์งานได้ดีกว่า

เพื่อที่จะใช้งานไฟล์เสียงให้ถูกงาน ถูกประเภท การเข้าใจเกี่ยวกับ ไฟล์เสียง เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะทำให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า ไฟล์เสียงคืออะไร? มีกี่ประเภท!? วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพื่อนรัก ChatGPT

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลด่านสำโรง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลด่านสำโรง โดยเครื่องเสียงและไมค์ประชุมจากแบรนด์ SOUNDVISION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องเรียน/สอน บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก