ประเภทของไฟล์เสียง | Lossy Audio กับ Lossless Audio ต่างกันยังไง? แบบไหนดีกว่า!?

ประเภทของไฟล์เสียง
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ประเภทของไฟล์เสียง | Lossy Audio กับ Lossless Audio ต่างกันยังไง? แบบไหนดีกว่า!?

เวลาอ่านโดยประมาณ : 1 นาที

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาแนะนำเกี่ยวกับ ประเภทของไฟล์เสียง ว่าแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง? โดยผมจะแยกประเภทออกมาเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Uncompressed, Lossy Audio และ Lossless Audio ซึ่งไฟล์เพลงแต่ละประเภท ก็จะมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมัน .WAV คืออะไร? ถ้าเพื่อนๆ พร้อมแล้วไปชมกันได้เลยครับ ~ 

ประเภทของไฟล์เสียง | Lossy กับ Lossless ต่างกันยังไง!?

ทางทีมงานจะทำการแยกประเภทแต่ละไฟล์ตาม การบีบอัดข้อมูล ซึ่งจะเป็นหัวข้อสำคัญในการที่เพื่อนๆ จะเข้าใจเรื่อง ไฟล์เสียง โดยการบับอัดข้อมูลจะเป็นกระบวนการในการลดขนาดของไฟล์เสียง เนื่องจากไฟล์เสียงที่ผ่านการบันทึกเสียงในสตูดิโอจะมีขนาดที่ใหญ่มากนั่นเองครับ

UNCOMPRESSED ไฟล์ .WAV

UNCOMPRESSED


คือ ไฟล์เพลงที่ไม่ผ่านการบีบอัดข้อมูลมาเลย จัดว่าเป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่ด้วยความที่เป็นไฟล์ที่ไม่ผ่านการบีบอัดมาเลย แน่นอนว่าขนาดของไฟล์จะมีขนาดที่ใหญ่มาก ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล โดยนามสกุลที่เราจะพบเห็นได้บ่อยๆ ของไฟล์เสียงประเภทนี้คือ .WAV (Waveform Audio File Format) และ .AIFF(Audio Interchange File Format)

โดยค่าความละเอียดของไฟล์เสียง Sampling Rate และ Bit Depth ที่มักจะพบได้บ่อยในไฟล์ประเภทนี้จะอยู่ที่ 44.1 kHz/16-Bit ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่เราจะพบได้ใน CD Audio ทั่วไปนั่นเองครับ

คือ นามสกุลไฟล์เสียง ที่ถูกพัฒนาโดย Microsoft และ IBM ในปี 1991 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับไฟล์เสียงที่จะเล่นบนระบบปฏิบัติการ Windows ด้วยการบันทึกไฟล์เสียงโดยไม่ผ่านการบีบอัดใดๆ ทำให้ได้ไฟล์เสียงที่คุณภาพสูง ใกล้เคียงกับเสียงจริงที่สุด แต่ต้องแลกมาด้วยขนาดไฟล์ที่ใหญ่มาก

คือ นามสกุลไฟล์เสียง ที่ถูกพัฒนาโดย Apple ในปี 1988 เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับไฟล์เสียงที่จะเล่นบนระบบปฏิบัติการ Mac ด้วยการบันทึกไฟล์เสียงโดยไม่ผ่านการบีบอัดใดๆ ทำให้ได้ไฟล์เสียงที่คุณภาพสูง ใกล้เคียงกับเสียงจริงที่สุด แต่ต้องแลกมาด้วยขนาดไฟล์ที่ใหญ่มากเช่นกันครับ

LOSSY AUDIO

    LOSSY AUDIO


    คือ ประเภทไฟล์เพลงที่ถูกบีบอัดมาอย่างหนัก เพื่อลดขนาดของไฟล์ให้มีขนาดเล็กที่สุด โดยไฟล์เพลงที่ได้จะมีคุณภาพเสียงที่ด้อยลง แต่ทำให้ไฟล์มีขนาดที่เล็กลงมาก ถึง 10 เท่า จาก 50 Mb เหลือเพียง 5 Mb จากที่จะเก็บเพลงได้ 10 เพลง กลายเป็น 100 เพลง นับว่าเป็นอะไรที่มันตอบโจทย์การใช้งานในยุคนั้นในขนาดที่ว่า คนทั้งโลกหันมาฟังเพลง .MP3 กันถ้วนหน้า

    พื้นที่จัดเก็บข้อมูลในทุกวันนี้พัฒนาไปไกลกว่า ช่วงที่ไฟล์ประเภท Lossy Audio ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยไฟล์ประเภทนี้ถูกพัฒนาออกมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในยุคนั้น ที่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลมีจำกัด คิดภาพตาม ณ ช่วงเวลานั้นเครื่องเล่น MP3 มีความจุเพียง 512 Mb หรือ 1-2 GB เท่านั้น การที่จะเก็บไฟล์เพลงแบบ .WAV ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อนๆ จะสามารถเก็บเพลงเหล่านั้นได้เพียง 10-20 เพลง ก็เต็มความจำเครื่องแล้ว

    แต่ก็แน่นอนว่ามีข้อดีมันก็ต้องมีข้อเสีย โดยข้อเสียหลักที่คนฟังเพลงมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยคือ คุณภาพของไฟล์เพลงมันไม่ดี ซึ่งการบีบอัดไฟล์ขนาดนั้นแน่นอนว่ามันก็ต้องมีข้อมูลที่ตกหล่นเป็นธรรมดา โดยการบีบไฟล์แบบนี้จะทำการตัดเสียงสูงและเสียงต่ำบางส่วนออก เพื่อที่จะลดขนาดของไฟล์ให้ได้มากๆ นั่นเองครับ ~

    คือ นามสกุลไฟล์เสียงที่เป็นที่นิยมมากที่สุดแบบนึงก็ว่าได้ จัดเป็นรูปแบบไฟล์เพลงแบบ Lossy ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด ด้วยความสามารถในการบีบอัดไฟล์ที่ลดขนาดไฟล์เพลงขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงได้กว่า 10 เท่า จึงเป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั่นเองครับ ~

    คือ นามสกุลไฟล์ที่ออกมาเพื่อแข่งกับ .MP3 โดยตรง โดยมีข้อดีตรงที่ไฟล์เพลงจะมีขนาดที่เล็กกว่า .MP3 แต่ได้คุณภาพของเสียงที่สูสีกันพอสมควร แต่ด้วยความที่ออกมาภายหลัง จึงมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานน้อยกว่า MP3 ครับ ~

    Lossless audio

      LOSSLESS AUDIO คืออะไร?


      คือ ไฟล์เพลงที่ผ่านการบีบอัดโดยไม่ทำให้สูญเสียคุณภาพของเสียง แต่ขนาดของไฟล์ก็จะยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าแบบ Lossy อยู่มาก แต่ก็เล็กกว่า Uncompressed นั่นเองครับ

      เป็นพัฒนาการของการบีบอัดข้อมูลไฟล์เพลง ที่จะลดขนาดไฟล์ลง โดยไม่ทำให้คุณภาพของไฟล์นั้นๆ ลดลง โดยไฟล์เพลงที่ทำการบีบอัดไฟล์แบบ Lossless Audio จะผ่านการ Encode (เข้ารหัส) และส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปทำการ Decode (ถอดรหัส) กลับมาเป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพเหมือนเดิมทุกประการ

      คือ นามสกุลไฟล์ ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดารูปแบบไฟล์ Lossless ทั้งหมด ด้วยความที่เป็น Open-Source เปิดให้ใครก็สามารถเข้ามาพัฒนาต่อยอดได้ จึงเป็นรูปแบบไฟล์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก

      คือ รูปแบบไฟล์ที่ได้รับการพัฒนามาจาก Apple เพื่อใช้ในระบบนิเวศน์ของ Apple โดยเฉพาะ โดยจุดดี-จุดด้อยก็ไม่ต่างไปจาก .FLAC ต่างกันตรงที่ความยืดหยุ่นในการใช้งาน โดยที่ .FLAC รองรับการใช้งานที่หลากหลายมากกว่า .M4A นั่นเองครับ ~

      วิวัฒนาการของไฟล์เพลง


      โดยเราจะไม่ย้อนกลับไปกันไกลมากนัก เราจะเริ่มกันที่จุดแรกคือ ไฟล์เพลงแบบ Uncompressed ที่มาในรูปแบบของ CD Audio ที่เป็นที่นิยมด้วยคุณภาพเสียง แต่มีข้อจำกัดในการใช้งานที่เพื่อนๆ จะต้องฟังเพลงเหล่านั้นที่ บ้าน เท่านั้น

      จนกระทั่งการมาถึงของ iPod เครื่องเล่น MP3 ที่เข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมดนตรีไปอย่างสิ้นเชิง จากที่งานดนตรีต้องเน้นคุณภาพของเสียง ไฟล์เพลง แบบ Lossy ทำให้คุณภาพของเสียงไม่เป็นจุดสำคัญอีกต่อไป ด้วยความที่ความจุของ เครื่องเล่น MP3 ที่มีจำกัด ผู้คนส่วนมากให้ความสำคัญกับปริมาณเพลงที่เครื่องเล่นจะเก็บได้ มากกว่าคุณภาพของเสียงที่ได้ฟัง

      และก็มาถึงในปัจจุบัน ที่การพัฒนาของการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถส่งข้อมูลได้ไวมาก และการมาถึงของไฟล์เพลงแบบ Lossless ที่ทางทีมงานมองว่านับเป็นจังหวะที่ค่อนข้างลงตัว โดยเราจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการสตรีมเพลงหลายๆ เจ้า หันมาให้บริการสตรีมเพลงแบบ Lossless ที่ตัวเลขความนิยมมีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ครับ

      เทียบประเภทไฟล์เพลง

      สรุป


      เรื่องคุณภาพของไฟล์เพลงก็นับเป็นจุดสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์ในการฟังของเพื่อนๆ แต่อย่าลืมไปว่าเครื่องเสียงที่เล่นไฟล์เหล่านั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน หากเพื่อนๆ กำลังมองหาลำโพง หรือระบบเครื่องเสียงสำหรับเล่นไฟล์เพลงคุณภาพสูง Hi-Res ทางเว็บของเรามีสินค้าหลากหลายที่จะตอบโจทย์การใช้งานให้เพื่อนๆ ได้อย่างแน่นอน หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SoundDD.Shop ยินดีให้คำแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องเสียง วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

      ขอบคุณข้อมูลจาก Audio University Online, Make Use Of

      แชร์หน้านี้ :

      บทความ สาระความรู้

      ภาพบรรยากาศงาน Thank You Party ฉลองครบรอบ 10 ปีของ SOUNDVISION

      วันนี้เรามีภาพบรรยากาศสุดพิเศษจากงาน Thank You Party ฉลองครบรอบ 10 ปีของ SOUNDVISION ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 มาฝากกันครับ

      ไมค์คาราโอเกะ คุ้มค่าราคาดี ที่ต้องมีติดบ้าน!

      วันนี้เรามีลิสต์ “ไมค์คาราโอเกะ คุ้มค่าราคาดี ที่ต้องมีติดบ้าน!” มาแนะนำกัน รับรองว่าแต่ละรุ่นที่เราคัดมานั้น ใช้งานดี เสียงเพราะ แน่นอน!

      Mixing และ Mastering คือ อะไร? แตกต่างกันหรือไม่? อย่างไร!?

      เจาะลึกรายละเอียดว่า Mixing และ Mastering คือ อะไร? พร้อมชี้ให้เห็นความต่างกันชัดๆ จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

      เคล็ดลับเลือกเพลงคู่ ร้องคาราโอเกะ สำหรับทุกโอกาส

      ร้องคาราโอเกะนั้นเป็นกิจกรรมความบันเทิงที่สนุกสนาน และจะสนุกสนานขึ้นเมื่อเราร้องคู่กับ คนในครอบครัว เพื่อน แฟน บทความนี้เรามีเพลงสำหรับร้องคู่มาแนะนำครับ

      ผลงานการติดตั้ง

      ผลงานการติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง)

      ขอขอบคุณ สำนักงานเขตคลองสาน (ฝ่ายปกครอง) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้ง ระบบภาพและเสียงห้องประชุม จากทีมงาน SoundDD

      ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีแสดง ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) พระราม 2

      ขอขอบคุณ ร้าน Maotiverse (เมาติเวิร์ส) ที่ได้ให้ความไว้วางใจเลือกซื้อและใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบเครื่องเสียงเวที โดย บริษัท ซาวด์ดีดี กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ

      ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้วยบง)

      ระบบไมค์ประชุมดิจิตอลแบบไร้สาย ที่มีข้อดีหลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งที่ง่าย, การเคลื่อนย้ายสะดวก และการจัดการง่าย บทความนี้เป็นผลงานติดตั้งจาก สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง (ห้อยบง)

      ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงปฎิบัติธรรม ลีลาสถาพรกูรธรรมสถาน

      SoundDD.Shop พาชมระบบเสียงปฎิบัติธรรม ที่ได้เลือกติดตั้งลำโพงเครื่องเสียงจากแบรนด์ BOSE และ ALLEN&HEATH จะเป็นอย่างไรไปชมกัน

      ใส่ความเห็น

      เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

      ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

      คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

      ยอมรับทั้งหมด
      จัดการความเป็นส่วนตัว
      • คุกกี้ที่จำเป็น
        เปิดใช้งานตลอด

        ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
        รายละเอียดคุกกี้

      • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

        คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
        รายละเอียดคุกกี้

      บันทึก