เทคนิคฟังเสียงเพื่อต่อยอดไปเป็น Sound Engineer

เทคนิคฟังเสียงเพื่อต่อยอดเป็น Sound Engineer
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » เทคนิคฟังเสียงเพื่อต่อยอดไปเป็น Sound Engineer

Estimated reading time: 2 นาที

สวัสดีครับ วันนี้ก็พบกับบทความดีดี ที่ไม่มีขายอยู่ทั่วไป ผมได้สรุปมาฝากแฟนเพจอีกเช่นเคยครับ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับอวัยวะในตัวเราที่ช่วยให้เราสามารถรับรู้ และได้ยินเสียง ก็คือ หูของเราก่อนนะครับ

หน้าที่ของ “หู”

“หู” ทำหน้าที่ดักเสียงจากแวดล้อมที่มากระทบ แล้วป้อนเสียงเข้าไปในช่องรูหู (Ear Canal) แล้วก็เดินทางเข้าไปที่แก้วหู (Ear Drum) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนไดอะแฟรมของไมโครโฟน  เมื่อแก้วหูเกิดการสั่นสะเทือนจะทำให้กระดูกหู (Three-bone level) สั่นสะเทือนไปด้วย จากนั้นแรงสั่นสะเทือนจะถูกส่งต่อไปยังคล๊อคเคลีย (Cochlea) ซึ่งจะส่งต่อแรงสั่นสะเทือนนี้ผ่านเส้นประสาทเสียง (Auditory nerve) และไปยังสมอง ซึ่งสมองจะแปลความหมายของเสียงที่มากระทบว่าคืออะไร ?

นี่คือระบบการทำงานของ การรับฟังของหูมนุษย์เราครับ

ความสามารถในการรับรู้

“หู” ของมนุษย์เราสามารถรับรู้ และได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 เฮิร์ตซ์ถึง 20 กิโลเฮิร์ตซ์ ซึ่งมันกว้างมาก และการรับรู้ของหูคนเราก็เป็นแบบสองทิศทาง หรือเรียกว่าสเตอริโอครับ  เพราะหูมนุษย์เรามีสองข้าง จึงช่วยให้สามารถบอกตำแหน่งของเสียงได้ว่า เสียงมาจากทางซ้ายหรือทางขวา สูงหรือต่ำ ไกล หรือใกล้  หากเสียงวิ่งเข้ามาสู่หูเราพร้อมๆ กัน เสียงที่ได้ยินจะเสมือนอยู่ตรงกลางเป็นกลุ่มก้อน

แต่ในกรณีที่เสียงวิ่งเข้าสู่หูไม่พร้อมกันเสียงที่เราได้ยิน จะรู้สึกถึงมิติของเสียงที่มากขึ้น การที่เรารู้สึกถึงความกว้างของแหล่งกำเนิดเสียงได้นั้น ก็เป็นเพราะว่าเรื่องของเฟสที่ถูกต้องนั่นเองครับ

ลักษณะการวางตำแหน่งของลำโพง

ผมขอยกตัวอย่างลักษณะการวางของลำโพง ที่ให้ผลต่อการรับฟังของหูเรา การวางลำโพงแยกจากกันสองข้าง หากวางลำโพงในระยะห่างที่เท่าๆกัน และเรานั่งฟัง อยู่ระยะกึ่งกลาง ระหว่างลำโพง เท่ากับระยะความห่างของลำโพง (สามเหลี่ยมด้านเท่า) ถือว่าการนั่งฟัง ณ จุดนี้ ย่อมให้เสียงที่ดี และได้ยินเสียงที่ถูกต้อง ทั้งในด้านมิติเสียง ตำแหน่งที่มาของเสียง และความแม่นยำในการแยกแยะอื่นๆ ในการฟัง รวมถึงน้ำหนักเสียงที่อยู่ตรงกลางระหว่างลำโพงอีกด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการเดินทางของเสียงสู่หูเรานั้น อยู่ในระยะที่เหมาะสม และพอดีนั่นเองครับ

ในทางกลับกัน หากเราวางลำโพงไม่สมดุลกันทั้งสองข้างโดยมีข้างใดข้างหนึ่งอยู่ใกล้คนฟังมากกว่าอีกข้างหนึ่ง การได้ยิน และความสมดุลของเสียงก็จะผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้ก็เป็นเพราะการเดินทางของเสียงที่ได้ยินนั้น วิ่งมาไม่พร้อมกันนั่นเองครับ

ความสำคัญของย่านความถี่

ย่านความถี่เป็นศูนย์รวมของคลื่นเสียง ตั้งแต่ย่านความถี่เสียงที่ต่ำมากๆ ไปจนถึงย่านความถี่เสียงที่สูงมากๆ ทั้งในระดับที่หูของคนเราได้ยิน และไม่ได้ยิน เพราะบางย่านความถี่ สัตว์เท่านั้นที่สามารถได้ยินได้ แต่คนเรากลับไม่ได้ยิน ย่านความถี่ต่างๆ ล้วนเป็นโครงสร้างของเสียงต่างๆ หากย่านความถี่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีมากกว่าย่านความถี่ของอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นหมายความว่า โทนเสียงก็จะเกิดขึ้นมา เช่น เสียงผู้หญิงกรีดร้องซึ่งเสียงลักษณะนี้ จะให้โทนเสียงที่สูงมาก หมายความว่าโทนเสียงต่ำมีน้อย หรือแทบไม่มีเลย

การฝึกทักษะในการฟัง

การแยกแยะลักษณะต่างๆ ของเสียงได้นั้นก็เพราะ มีประสบการณ์ในการฟังอย่างพินิจพิจารณา การฟังอย่างละเอียด บวกกับประสบการณ์ในการฟังที่มีมานาน จึงช่วยให้การวิเคราะห์แยกแยะเสียง ทำได้อย่างแม่นยำขึ้น เราจะเห็นได้จาก ซาวด์เอนจิเนียร์ (Sound Engineer) ที่ทำงานด้านเสียง ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาหลายๆ ปี จะสามารถแยกแยะ และบอกความแตกต่างของลักษณะเสียงต่างๆได้ เช่น เสียงแตกพร่า หรือเสียงเฟสผิดปกติ หรือเสียงรบกวนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ การสร้างความสามารถในการฟังที่ดีได้นั้น สามารถเริ่มต้นฝึกฝนด้วยการฟังอย่างมีระบบด้วยการแยกแยะ คุณภาพของเสียงที่ได้ยินว่าเป็นอย่างไรเสียงแตกพร่ามีลักษณะอย่างไร อะไร คือ เสียงรบกวน ความถี่แบบไหนที่เรียกว่าเสียงสูงกลาง และต่ำ และความถี่ต่างๆ มีความแตกต่างเป็นอย่างไร ย่านความถี่ต่างๆเหล่านี้ เราจำเป็นต้องฝึกฟังเพื่อฝึกประสาท การรับรู้ของตัวเราเองได้ครับ

การฟังที่ถูกต้อง

ให้พยายามหลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่มีความดังอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา และควรฝึกฟังที่ระดับความดังที่สามารถฟังได้นานๆ ฟังสบายๆ ซึ่งควรอยู่ที่ระดับความดังเท่ากับการฟังเพลงเพื่อการพักผ่อนโดยทั่วไป การฟังในระดับนี้ก็เพียงพอต่อการแยกแยะเสียง ส่วนการฟังระดับเสียงที่มีความดังนั้นเราสามารถทำได้สลับกันไปเพื่อฟัง และทดสอบหาน้ำหนักของเสียง โดยเฉพาะย่านความถี่ต่ำ และเครื่องดนตรีบางชนิดเช่นกลอง เบส เป็นต้น ดังนั้นหากต้องการเป็นซาวด์เอนจิเนียร์ด้านเสียงที่ดี หรือผู้บันทึกเสียงที่มีคุณภาพ และอยากให้มีหูที่เที่ยงตรงยาวนาน ก็ควรหลีกเลี่ยงการฟังเสียงดังอยู่ตลอดเวลาติดต่อกันหลายๆชั่วโมงนะครับ

*การฟังเสียงที่มีความดังเป็นเวลานานๆ ส่งผลเสียมากกว่าการฟังระดับปกติ

ผลเสียของการฟังดังเป็นเวลานานๆ จะทำให้ความสามารถในการแยกแยะความละเอียดของเสียงลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเสียงย่านความถี่สูง และย่านความถี่ต่ำ อีกทั้งยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียเร็วกว่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย โดยที่ผู้ฟังอาจไม่รู้ตัวเลย

ควรฝึกฟังเพลงแนวไหนบ้าง?

การฟังเพลงสำหรับการเป็นซาวด์เอนจิเนียร์ที่ดี ควรรู้จัก และศึกษาแนวเพลงที่มีอยู่มากมายหลายๆ แนวเสียก่อน ว่ามีพื้นฐานเป็นอย่างไร การรู้จักแนวดนตรีหลายๆ แนว จะเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อสมาธิในการฟัง การตัดสินใจในขณะทำงานเพื่อการแยกแยะในรายละเอียดของแนวเพลง และโครงสร้างต่างๆของเสียงที่จะตามมา  การฟังเพลงจะทำให้เราเข้าใจในเบื้องต้นว่า แนวดนตรีอย่างไรที่เรียกว่าดนตรีแบบ Jazz, Rock, Blues, Metal, Dance เป็นต้น

จดจำธรรมชาติของเสียงเครื่องดนตรี

ทักษะในการจดจำลักษณะธรรมชาติเสียงของเครื่องดนตรีให้ได้มากที่สุด เป็นผลดีต่อตัวผู้ฝึกเองโดยตรง ผลของทักษะที่ดีในการเข้าใจลักษณะธรรมชาติเสียงที่ถูกต้องของเครื่องดนตรี มีผลโดยตรงต่อการใช้อีควอไลเซอร์ (Equalizer) เพื่อจัดปรับแต่งสำเนียงเสียง หรือแก้ไขเสียงของเครื่องดนตรีให้ถูกต้องใกล้เคียงกับธรรมชาติความเป็นจริง ของดนตรีชิ้นนั้นๆ และควรศึกษาลักษณะโทนเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดว่าออกมาจากส่วนใดให้ลักษณะของโทนเสียงเป็นแบบหน เช่น โทนแหลม (Treble), กลาง (Mid), ต่ำ (Low) การจดจำที่ดีมีผลต่อการบันทึกเสียง และการใช้ไมโครโฟนรวมทั้งการใช้อิควอไลเซอร์อีกด้วย

*นอกจากนี้เรายังต้องศึกษาว่าเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เปล่งเสียงออกมาจากส่วนใด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดวางไมโครโฟนเพื่อจ่ออีกด้วย

ท้ายที่สุดนี้ เราก็ยังจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องเกี่ยวกับ การฟังเพลงผ่านลำโพงแต่ละชนิด ในหลายๆ แบบ หลายๆ ยี่ห้อจะช่วยทำให้เราเข้าใจย่านเสียงได้มากขึ้น เพราะทางกายภาพของลำโพงแต่ละชนิด ก็จะมีรูปแบบการกระจายเสียงที่แตกต่างกันออกไป เช่น โทนเสียง มิติเสียง ความไวเสียง เป็นต้น

หวังว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์กับแฟนเพจทุกท่าน สำหรับวันนี้ ขอบคุณ และสวัสดีครับ 🙂

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

Facebook : SoundDD.Shop

Website: www.sounddd.shop

Tel:  02 435 8998 | 085 396 8888

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก