ทำความรู้จัก “ประเภทจอ Interactive” จอประเภทใดเหมาะกับงานของคุณ?

ประเภทจอ Interactive
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ทำความรู้จัก “ประเภทจอ Interactive” จอประเภทใดเหมาะกับงานของคุณ?

Estimated reading time: 4 นาที

เคยสงสัยกันมั้ย? ว่าเทคโนโลยีในการจับสัมผัสของ จอ Interactive นั้นมีการทำงานอย่างไร ประเภทจอ Interactive แบบใดที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ ในบทความนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับ ประเภทจอ Interactive กันให้มากขึ้น อธิบายความแตกต่างระหว่างจอแต่ละประเภท พร้อมวิธีเลือกซื้อจอ Interactive ให้เหมาะสมกับการใช้งาน จะมีประเภทใดบ้าง น่าสนใจแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

สารบัญ

3 ประเภท “การสัมผัส” จอ Interactive

1. จอ Interactive แบบ Infrared หรือ IR

จอ Interactive แบบ Infrared หรือ IR

จอ Interactive ที่ใช้เทคโนโลยีใน “การสัมผัส” แบบ Infrared หรือ IR เป็นการตรวจจับการสัมผัสด้วยการตรวจจับความร้อนของแสง Infrared ที่ตามนุษย์มองไม่เห็น โดยจะมีเซนเซอร์ในการตรวจจับ IR อยู่ที่บริเวณรอบๆ ขอบจอ เมื่อเกิดการสัมผัสหน้าจอ เซนเซอร์จะทำการตรวจจับตำแหน่งที่แสงอินฟราเรดถูกบดบัง ช่วยระบุตำแหน่งของการสัมผัสได้อย่างแม่นยำ

จุดเด่นสำคัญของจอ Infrared คือราคาที่เป็นมิตร ให้คุณภาพการแสดงผล และการตอบสนองต่อการสัมผัสที่ดี สมเหตุสมผลกับราคา

จอ Interactive แบบ Infrared เหมาะกับใคร?

เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังต้องการยกระดับคุณภาพ การนำเสนองานในห้องประชุม, การเรียนการสอนในห้องเรียน ที่มีงบประมาณจำกัด

ข้อดี


  • รองรับการสัมผัสที่หลากหลาย: ด้วยความเป็น Infrared ทำให้การสัมผัส สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น นิ้ว ปากกา หรือ ดินสอ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน
  • ราคาที่สมเหตุสมผล: Infrared เป็นจอที่ราคาเป็นมิตรที่สุดเมื่อเทียบกับจอแบบ Capacitve
  • รองรับ Multi-Touch: สามารถสัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน ช่วยให้การ Brainstorm หรืองานกลุ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อจำกัด


  • การสัมผัสไม่ค่อยแม่นยำ: การตอบสนองต่อการสัมผัสจะมีความแม่นยำที่ด้อยกว่าจอแบบ Capacitve เล็กน้อย
  • ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมบางแบบ: ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า หรือห้องที่มีความสว่างมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เซนเซอร์ตรวจจับการสัมผัสทำงานผิดพลาด
  • ความหนาของจอ: เนื่องจากจำเป็นต้องติดตั้งเซนเซอร์ไว้ที่บริเวณขอบจอ ส่งผลให้หน้าจอมีความหนากว่าจอประเภทอื่น

แนะนำ จอ Interactive แบบ Infrared ที่คุ้มค่าที่สุด

2. จอ Interactive แบบ Capacitive

หน้าปกบทความ รีวิว Soundvision CT Pro

จอ Interactive ที่ใช้เทคโนโลยีใน “การสัมผัส” แบบ Capacitive เป็นระบบการตรวจจับการสัมผัสแบบเดียวกันกับ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เป็นการระบุตำแหน่งการสัมผัสผ่าน “กระแสไฟฟ้า” ที่นิ้วมือของเรา ด้วยกระจกหน้าจอที่เคลือบด้วยสารนำไฟฟ้า

Capacitive เป็นจอที่มีความสามารถในการตรวจจับการสัมผัสได้แม่นยำ และตอบสนองได้ไวใกล้เคียงกับจอแบบ In-Glass แต่มีราคาที่สมเหตุสมผลมากกว่า คุณภาพในการแสดงผลที่คมชัด สีสันสวยสด และมีความทนทานต่อการเกิดรอยขีดข่วนที่ดี เป็นประเภทจอ Interactive ที่ทีมงานมองว่าคุ้มค่าที่สุด ณ ปัจจุบัน

 

จอ Interactive แบบ Capacitive เหมาะกับใคร?


เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง รายละเอียดของภาพที่คมชัด เช่น การนำเสนองานในห้องประชุม การใช้งานในห้างสรรพสินค้า ร้านค้า หรือพื้นที่ที่ต้องการการโต้ตอบจากผู้ใช้โดยตรงผ่านจอ Interactive ในงบประมาณที่สมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับฟีเจอร์ และฟังก์ชั่นที่ได้

ข้อดี


  • ความแม่นยำสูง: ตอบสนองต่อการสัมผัสได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ไม่มีการล่าช้า เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียด เช่น การวาดภาพหรือการเขียน
  • ทนทานต่อรอยขีดข่วน: วัสดุของกระจกมีความแข็งแรง และทนต่อการใช้งานหนัก อายุการใช้งานของจอที่ยาวนาน
  • ภาพคมชัดและสีสันสดใส: หน้าจอแสดงผลที่คมชัด และสีสันที่สวยสด เหมาะกับงานนำเสนอหรือแสดงข้อมูลที่ต้องการความละเอียดสูง
  • ราคาที่สมเหตุสมผล: เมื่อเทียบกับฟีเจอร์การใช้งานที่ได้ ถึงแม้ราคาจะแพงกว่า Infrared ก็ตาม

ข้อจำกัด


  • ไม่สามารถใช้ถุงมือหรือวัตถุอื่นในการสัมผัสได้: เนื่องจากจอแบบ Capacitive ตรวจจับการสัมผัสจาก กระแสไฟฟ้าที่นิ้วมือ ทำให้ถุงมือ หรือวัตถุอื่นๆ จะไม่สามารถใช้ในการสัมผัสหน้าจอได้
  • ระบบสัมผัสอาจจะหลอนเมื่อหน้าจอเปียกน้ำ: หากมีน้ำหรือของเหลวบนหน้าจอ อาจทำให้การสัมผัสเกิดอาการหลอน ขาดความแม่นยำไปบ้าง

แนะนำ จอ Interactive แบบ Infrared ที่คุ้มค่าที่สุด

3. จอ Interactive แบบ Resistive

จอ Interactive แบบ Resistive

ขอบคุณภาพประกอบจาก CreateXplay

เทคโนโลยีในการตรวจจับ “การสัมผัส” แบบ Resistive เป็นเทคโนโลยีการสัมผัสที่เก่าแก่ เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 และยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการตรวจจับการสัมผัสผ่าน ‘แรงกด’ ที่จะส่งผลต่อ แผ่นนำไฟฟ้า เพื่อระบุตำแหน่งของการสัมผัส

จอ Interactive แบบ Resistive เป็นจอที่ตอบสนองต่อการสัมผัสได้แย่ที่สุดในบรรดาจอ Interactive ทั้ง 3 ประเภท เหมาะสำหรับการใช้งานที่เน้นความทนทาน และไม่ได้ต้องการความแม่นยำในการสัมผัสที่สูงมาก เท่าที่เข้าใจในปัจจุบัน น่าจะหาหน้าจอ Interactive แบบ Resistive(มือหนึ่ง) ไม่ได้แล้ว

ข้อดี


  • ราคาถูกที่สุด: เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการสัมผัสแบบเก่า
  • แข็งแรง ทนทาน: รองรับการใช้งานหนัก ทนต่อการสัมผัสแรงๆ

ข้อจำกัด


  • ตอบสนองต่อการสัมผัสได้ไม่ดี: ความแม่นยำ และความไวในการตอบสนองไม่ดี
  • มีปัญหาเรื่อง Multi-Touch: เป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีการสัมผัสแบบ Resistive เนื่องจากเป็นการตรวจจับด้วยแรงกด
  • ระบบสัมผัสมักจะมีปัญหา: เนื่องจากการสัมผัสต้องออกแรงกด จึงมักจะทำให้ระบบสัมผัสของจอมีปัญหา

แนะนำการเลือกจอ Interactive ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

จอ Interactive ทั้ง 3 ประเภท

ขอบคุณภาพประกอบจาก ViewSonic

สำหรับการเลือก จอ Interactive ให้เหมาะสมควรเริ่มต้นพิจารณาจากลักษณะการใช้งานของคุณ เช่น หากคุณต้องการความแม่นยำ และภาพที่คมชัด สำหรับงาน Graphic Design จอ Interactive แบบ Capacitive ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ถ้าคุณเน้นการใช้งานที่เรียบง่าย สำหรับการเรียนการสอน จอ Infrared ก็อาจจะเพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น

  • สำหรับการเรียนการสอนในห้องเรียน
    ควรเลือกจอที่รองรับการสัมผัสแบบหลายจุด(Multi-Touch) ที่มีความเสถียร เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียน หรือทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จอ Interactive ประเภท Infrared หรือ Capacitive น่าจะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี
  • สำหรับนำเสนองานในห้องประชุม
    ควรเลือกจอที่มีความละเอียดสูง สีสันที่สวยสด และการตอบสนองที่รวดเร็ว แม่นยำ เพื่อให้เข้าร่วมประชุม สามารถมองเห็น หรือเข้าใจการนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น จอ Interactive ประเภท Capacitive ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโจทย์นี้
  • สำหรับการแสดงผลในที่สาธารณะ
    ควรเลือกจอที่มีความละเอียดสูง ตอบสนองต่อการสัมผัสได้อย่างแม่นยำ ทนทานต่อการใช้งานหนัก จอ Interactive ประเภท Capacitive ก็เป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี

สรุป

จอ Interactive มีทั้งหมด 3 ประเภท แบ่งประเภทด้วยเทคโนโลยีในการตรวจจับ “การสัมผัส” หน้าจอ ได้แก่

  • จอ Interactive แบบ Infrared หรือ IR
  • จอ Interactive แบบ Capacitive (แนะนำ)
  • จอ Interactive แบบ Resistive

โดยที่แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป จอ Interactive แบบไหนเหมาะกับงานแบบใด? ขึ้นอยู่กับแต่ละงานว่าโจทย์ หรือโซลูชั่นที่ต้องการคืออะไร หากมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จอ Interactive สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ ติดต่อเรา ยินดีให้คำปรึกษาฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ที่กำลังสนใจ จอ Interactive ได้บ้างไม่มากก็น้อย วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน ไว้พบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลจาก ChatGPT

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

แอมป์หลอด (Tube Amplifier) คืออะไร เสียงดีกว่าแอมป์ทั่วไปจริงไหม ?

แอมป์หลอด ให้เสียงออกมาเป็นอย่างไร? ไม่ถึงเป็นที่ถูกใจของนักดนตรีและออดิโอไฟล์ แล้วเสียงดีกว่าแอมป์ทั่วไปจริงไหม เรามาหาคำตอบกันครับ

Audio Interface Vs มิกเซอร์ เลือกยังไง แบบไหนที่เหมาะกับงานของคุณ?

ทำความรู้จัก ความแตกต่างระหว่าง Audio Interface Vs มิกเซอร์ พร้อมแนะนำการใช้ให้เหมาะกับงาน!? จะน่าสนใจแค่ไหน? อยากรู้ คลิกเลย!

Bluetooth 5.4 มีอะไรใหม่ เหมาะกับคุณหรือไม่?

Bluetooth 5.4 ที่มีฟีเจอร์เด่นเพิ่มเข้ามาอย่าง PAwR และ Encrypted Advertising Data มีประโยชน์ในด้านใดบ้าง เราหาคำตอบมาให้แล้ว

เสียงดีขึ้นหรือไม่? เจาะลึกความลับ Bluetooth DAC/AMP กับคุณภาพเสียง

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้า การเชื่อมต่อไร้สายพัฒนาไปไกลจนสามารถให้คุณภาพเสียงใกล้เคียงกับแบบมีสายได้ ด้วย codec คุณภาพสูง มาหาคำตอบว่ามันดีแค่ไหนในบทความนี้กันครับ!

ผลงานการติดตั้ง

ลูกค้าของเรา ตลาดต้นไม้ชายคา ระบบประกาศ/แบคกราวด์มิวสิค

ตลาดเป็นสถานที่ที่เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก เรามาดูกันว่าระบบเสียงจากแบรนด์ TOA นั้นจะเอาอยู่หรือไม่?

ลูกค้าของเรา บริษัท พี.ที.แกรนด์โฮเทล จำกัด ระบบเสียงห้องสัมมนา

พาชมระบบเสียงที่ครบครันในห้องสัมมนา ห้องประชุม และห้องจัดเลี้ยงของลูกค้าเรา P.T. Grand Hotel จะจัดเต็มขนาดไหน ไปชมกันเลย!

ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL Pasion บ้านลูกค้า

วันนี้เราขอนำเสนอผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL Pasion ที่บ้านลูกค้า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเสียงคมชัดและทรงพลัง

ลูกค้าของเรา บริษัท อคาเซีย อินเตอร์เทค จำกัด ระบบเสียงห้องประชุม

ระบบเสียงคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการประชุมที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ พร้อมตอบโจทย์ทุกสถานการณ์!

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก