เวลาอ่านโดยประมาณ : 4 minute
เครื่องเสียงกลางแจ้ง คืออะไร ? สำหรับมือใหม่ในวงการเครื่องเสียงก็อาจจะมีข้อสงสัยอยู่ไม่น้อย สำหรับงานกลางแจ้งหรืองาน PA ซึ่งย่อมาจาก Public Address (พับบริคแอ๊ดเดรส)
คือ ระบบกระจายเสียงสาธารณะ ที่มีจุดประสงค์คือการกระจายเสียงให้ครอบคลุมผู้คนผู้ฟังตามสถานที่สาธารณะ เช่น ระบบประกาศ ในห้างสรรพสินค้า ที่ลานจอดรถ หรือเครื่องเสียงลานแอโรบิค เครื่องเสียงในสนามกีฬา ลานดนตรี คอนเสิร์ต และงานอื่นๆ สามารถเรียกระบบเสียงนี้เป็นระบบเสียงแบบ PA เช่นกันครับ
ในบทความนี้นอกจากเราจะรู้ขอบเขตรู้จักความหมายของระบบเสียงกลางแจ้งหรือ PA คืออะไรแล้ว สำหรับบทความนี้ก็จะบอกรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และเทคนิคที่จำเป็นในงานระบบเสียงกลางแจ้งหรือ PA มาฝากกันด้วย เรียกกันว่าอ่านจบบทความนี้ ทุกท่านก็สามารถนำไปต่อยอดและนำไปใช้กับระบบเสียงของเราได้ทันที
ส่วนประกอบของเครื่องเสียงกลางแจ้ง
เทคนิคไม่ลับสำหรับชาวเครื่องเสียงกลางแจ้ง
ส่วนประกอบของเครื่องเสียงกลางแจ้ง
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบเสียงกลางแจ้งกันครับว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเสียงชุดใดก็แล้วแต่ ที่เราได้ยินได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นชุดเครื่องเสียงขนาดเล็กๆ ตามชุมชน งานวัด หนังกลางแปลง ลิเก คาราโอเกะ งานดนตรี งานประชาสัมพันธ์ หรืองานดนตรีระดับคอนเสิร์ต ก็จะมี 3 ส่วนประกอบหลักๆดังต่อไปนี้
-
- ภาคอินพุท
- ภาคประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์
- ภาคเอ้าท์พุท
พอผมแยกออกมาให้เห็นภาพรวมหลักๆ 3 ข้อหลายท่านก็พอมองภาพออกบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่อาจจะงงอยู่บ้าง แต่ในบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจกันมากขึ้น มองภาพของระบบเสียงกลางแจ้งได้ง่ายขึ้น และสนุกกับบทความนี้อย่างแน่นอนครับ เรามาดูส่วนประกอบหลักๆ 3 ข้อนี้ไปพร้อมๆกัน

ภาคประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์
ภาคประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์ เครื่องเสียงขนาดใหญ่หรือเล็กก็ต้องมีภาคประมวลผลทั้งนั้น อะไรคือภาคประมวลผล เรามาดูและติดตามกันเลยครับ ภาคที่ 2 ภาคประมวลผลนี้ประกอบไปด้วย ปรีปรับเสียง มิกเซอร์ อีคิว คอมเพรสเซอ ลิมิเตอร์ เกท เครื่องจำลองเสียงเอฟเฟค (เอฟเฟค) นอกจากนี้ยังมีพวก คอนโทรลเลอร์และ แอคทีฟครอสโอเวอร์ โปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ปรับเสียงอื่นๆ ก็จัดอยู่ในโหมดประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์ เช่นกัน



นี่ก็คือส่วนประกอบหลักๆ ของระบบเสียงซึ่งมีอยู่ 3 ภาคส่วนที่กล่าวมาข้างต้น
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ เครื่องเสียงเบื้องต้น
เคล็ดไม่ลับสำหรับชาวเครื่องเสียงกลางแจ้ง
อย่างที่บอกไปตอนเริ่มว่านอกจากจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับ เครื่องเสียงกลางแจ้ง แล้วเราจะมาให้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการปรับแต่งสัญญาณเสียง ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ จัดการกับสัญญาณเสียงได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ทริคในการจัดการกับสัญญาณอินพุท
เราชาวเครื่องเสียงกลางแจ้งต้องรู้เบื้องต้น กับแหล่งกำเหนิดเสียงแต่ละอย่างมีความแรงของสัญญาณระดับใด เพื่ออะไรครับ ก็เพื่อที่จะปรับเกนอินพุทของมิกเซอร์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้สัญญาณแมชชิ่ง และบาลานซ์ ไม่ให้เกิดเสียงแตกพร่ามัว หรือ เสียงไม่อิ่มและไม่ชัดเจน หรืออาการไมค์หอนเกิดขึ้น ในระบบของเรา เรามาดูว่า ไมโครโฟน,ซีดี,เครื่องดนตรีควรปรับเกนอินพุทระดับเท่าใดกันบ้าง
สัญญาณอินพุท มีความสำคัญอย่างไรกับระบบเสียงกลางแจ้ง
“ปรับเป็นก็เกิด ไม่เข้าใจระดับสัญญาณที่เข้ามาหรือปรับไม่เป็นก็ดับได้”

รู้ไว้ใส่ใจก็ไปได้สวย
1. เริ่มจากอุปกรณ์ที่แทบจะไม่ต้องเปิดเกนเพราะสัญญาณค่อนข้างแรงอยู่แล้ว หรือถ้าจะเร่งเกนอินพุทที่มิกเซอร์ ไม่เกิน + 20 dB ซึ่งได้แก่ เครื่องเล่น ซีดี ดีวีดี สมาร์ทโฟน (เร่งมากไปเสียงอาจจะแตกพร่ามัวได้)

2. ซอร์ทเสียงที่ควรปรับระดับสัญญาณขึ้นมากกว่า +20 dB มีจำพวก อินสตรูเม้นท์ หรือเครื่องดนตรี เช่น เปียโน คีบอร์ด กีต้าร์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ

3. ซอร์ทเสียงที่ควรปรับเกนอินพุทของมิกเซอร์ให้มากกว่า 2 ข้อแรกก็คือ ไมโครโฟน ซึ่งไมโครโฟนมีอัตราขยายสัญญาณเสียงที่ต่ำแค่มิลลิโวลท์ ฉะนั้น เราจึงควรเพิ่มเกนอินพุทที่เหมาะสม เช่น +30 dB (ช่วงเที่ยงๆขึ้นไป ในกรณีพูดใกล้ไมค์ ในกรณีพูดไกลหรือห่างจากไมโครโฟน ก็ควรปรับเกนอินพุทเพิ่ม เช่น +40,50 dB (ช่วงบ่ายๆ)เป็นต้น

สรุปง่ายๆในข้อนี้คือ เราต้องปรับเกนอินพุทสัญญาณขาเข้าให้ได้ก่อนนั่นเอง อันใหนดังมากเราต้องลดลง หรืออันใหนสัญญาณเบาเราควรเร่งขึ้นโดยยึด ที่ 0 dB เป็นหลักมาตรฐาน
เมื่อเราปรับสัญญาณอินพุทขาเข้าได้แล้ว ต่อไปเราก็ปรับหรือแต่งโทนเสียง (ทุ้ม กลางและแหลม)
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ ประเภทสัญญาณเสียง

ทริคในการปรับแต่งโทนเสียง และจัดการกับเสียงเอ้าท์พุต

การปรับระดับเสียงขาออก เช่น ในงานดนตรี งานคอนเสิร์ต ต้องมีดนตรีที่หนักเบาไม่เท่ากัน เพื่อมิติของเสียง หรือ การแสดงที่ไม่กระจุกเป็นก้อนของซาวด์ ฉะนั้น วอลลุ่มเฟดเดอร์ของมิกเซอร์แต่ละชาแนลจึงต้องมีหนักเบาไม่เท่ากัน ในบางช่วง ท่อนโซโลกีต้าร์ เราอาจจะต้องเลื่อนวอลลุ่มสไลด์เฟดเดอร์ขึ้นเพื่อให้ซาวด์โดดเด่นขึ้นมา เป็นต้น ถ้าดันสไลด์เฟดเดอร์เท่ากันหมดจนจบการแสดง สีสันและมิติย่อม ขาดหายไปแน่นอน

บางท่านอาจสงสัยว่าถ้าเราเร่งสไลด์เฟดเดอร์ไว้ที่ 0 เท่ากันแล้ว เราไปลดหรือเพิ่มเกนอินพุทที่อยู่บนมิกเอา จะดีใหมจะได้ใหม เมื่อต้องการความโดดเด่นของเสียงแต่ละชาแนล ผมขอแนะนำไม่ควรปฏิบัติครับ เพราะยิ่งอินพุทยิ่งเยอะมันจะทำให้เราลืมได้ว่า เมื่อกี้เราตั้งอินพุทไว้ ที่เท่าใหร่บ้าง เช่น ไมค์ 1,2,3,4 เกนอินพุทที่เท่าใหร่ กีต้าร์ 1- 2 เกนอินพุทเท่าใหร่ เครื่องดนตรีอื่นอีกมากมาย
ซึ่งจุดนี้ขอแนะนำให้เลื่อนสไลด์เฟดเดอร์แต่ละชาแนลขึ้นลงแทน โดยตั้งหรือเลื่อนสไลด์ไว้ที่ 0 dB ตามมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้เราคืนค่าปกติของเสียงแต่ละชาแนลเมื่อไม่ต้องการความหนักเบาของซาวด์ เราก็แค่ดันสไลด์เฟดเดอร์ไปที่ 0 dB ง่ายกว่ากันเยอะ

สรุป
เมื่อเราทราบว่าซอร์ทเสียงต่างๆ ที่จะมาอินพุทเข้ามิกเซอร์ผ่านสายสัญญาณผ่านหัวแจ็คแบบต่างๆ แล้ว และเราทราบแล้วว่าซอร์ทเสียงแต่ละประเภทมีสัญญาณระดับใหน ก็จะทำให้เราปรับหรือบาลานซ์กับซอร์ทเสียงเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง การปรับเอ้าท์พุทที่ถูกต้องก็จะทำให้ระบบเสียงเราเพิ่มคุณภาพมากขึ้นได้อีก
ด้วยองค์ประกอบของระบบที่แมชชิ่งกันอย่างลงตัว จะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่น่าพึงพอใจ เราอาจจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงที่แพงที่สุด แต่หากเราสามารถบาลานซ์เสียงได้ดีก็ทำให้ซาวด์นั้นน่าฟังได้เช่นกัน
ตรงกันข้ามหากใช้อุปกรณ์ราคาแพงแต่บาลานซ์เสียงไม่เป็นก็ทำให้ฟังกระโดกกระเดกฟังไม่ลื่นหูได้เช่นกัน
แต่ถ้าหากใช้อุปกรณ์คุณภาพระดับไฮเอ็นแล้วบาลานซ์เสียงเป็นด้วยก็ทำให้ซาวด์สมบูรณ์แบบมากขึ้น น่าฟังมากขึ้น ไพเราะเสนาะหูมากขึ้น ก็ยิ่งดีไปใหญ่
สำหรับบทความ เครื่องเสียงกลางแจ้ง นี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับชาวเครื่องเสียงกลางแจ้ง ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านบทความนี้จนจบ วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~
เขียนบทความ…SoundDD.Shop
โดย…บริษัท เอสพีเค ซาวด์ซิสเต็มส์ จำกัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอดไลน์ที่: @sounddd.shop (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)
Facebook : SoundDD.Shop
Website: www.sounddd.shop
Tel: 02 435 8998 | 085 396 8888
บทความ สาระความรู้
Reverb คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน
ในบทความนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ดำดิ่งสู้โลกแห่ง Reverb ว่ามันคืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมเคล็ดลับในการใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกดิ!
Halo 100 ลำโพงปาร์ตี้แบบพกพา พร้อมเอฟเฟกต์ไฟสวยงาม จาก Tronsmart
ลำโพงปาร์ตี้ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ ณ เวลานี้ ด้วยพลังเสียงที่เกินตัว นอกจากนี้คุณภาพเสียงก็ทำออกได้ดีไม่แพ้กัน ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมีในเฉพาะในลำโพง Tronsmart เท่านั้น
ทำไมวงไอดอล YAMI YAMI ถึงเลือกใช้ SU-990D/HT
ประกาศการให้ความร่วมมือระหว่างแบรนด์ SOUNDVISION กับค่ายเพลงไอดอล Catsolute ที่มีคอนเซปต์การสร้างความฝันบทใหม่ผ่านรูปแบบศิลปินไอดอล (Idol Girl Group) สนับสนุนไมโครโฟนให้กับน้องๆ Sora Sora และ Yami Yami จะลงตัวแค่ไหน
ใหม่! JBL Tour Pro 2 หูฟังไร้สาย จะมีหน้าจอทัชสกรีนเพื่อ..?
หูฟังไร้สายรุ่นเรือธงของ JBL จัดเต็มในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ งานประกอบ คุณภาพเสียง และฟีเจอร์การใช้งาน จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!
โปรโมชั่น
JBL BEYOND KARAOKE SET ระดับพรีเมียม สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ
ชุดคาราโอเกะระดับพรีเมียม JBL KARAOKE SET สุดคุ้มในราคาสุดพิเศษ จากแบรนด์คุณภาพที่คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดี
JBL PARTY BOX ลำโพงบลูทูธไร้สาย เสียงเบสสะใจ สำหรับสายปาร์ตี้ ด้วยระบบไฟ Light Show
ลำโพง JBL PartyBox บลูทูธไร้สาย สำหรับสายปาร์ตี้ มาพร้อมโปรโมชั่น ของแถมมากมาย คุ้มสุด!!
รายชื่อผู้โชคดี ลุ้นโชคใหญ่ปลายปี ของรางวัลรวมมูลค่า 200,000 บาท
สั่งซื้อสินค้าวันที่ 1 - 30 ธ.ค. 2565 และลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 10 ม.ค. 2566 เท่านั้น
รับประกันเพิ่มเป็น 5 ปี ลำโพง JBL EON ONE MK2 ,EON700 ซีรี่ส์ ,PRX ONE ,EON ONE Compact
ซื้อสินค้าภายใน 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. 2566 ลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 15 ก.ค. 2566 เท่านั้น
ผลงานการติดตั้ง
ผลงานติดตั้ง บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด (สำนักงานใหญ่)
พาชมผลงานติดตั้งระบบภาพและเสียงห้องประชุมระดับมืออาชีพ ที่บริษัท วงศ์สยาม โดยทีมงานซาวด์ดีดี
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ จากทีมงาน ซาวด์ ดีดี
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
พาชมผลงานติดตั้งระบบเสียงคาราโอเกะ หน้าตาห้องสำหรับร้องคาราโอเกะจะเป็นยังไง!? จะตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแค่ไหน?? อยากรู้ คลิกเลย!
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง ห้องประชุม โดยก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี