เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 minutes
สวัสดีแฟนเพจทุกท่านครับ หากพูดถึงสิ่งที่เราไม่อยากให้มันเกิดขึ้นกับระบบเสียงของเรา และ 1 ในปัญหานั้นก็คือ…ไม่อยากให้ดอกลำโพงพัง หรือขาดในขณะใช้งาน ก่อนที่ดอกลำโพงของเราจะขาด หรือได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ทางทีมงานได้รวบรวม สาเหตุที่ทำให้ดอกลำโพงเสียหาย หรือขาด ไว้ในบทความนี้แล้ว

ทำไมดอกลำโพงถึงขาด
จากสถิติ ระบบเครื่องเสียงเล็กๆ เช่น เครื่องเสียงที่ใช้ในบ้าน หรือกลุ่ม Home Use จะพบปัญหานี้ค่อนข้างน้อย อาจจะเป็นเพราะว่าชุดลำโพงประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในสถานที่ที่จำกัด และส่วนใหญ่ลำโพงประเภทนี้จะมาเป็นชุด นั่นจึงทำให้ ทั้งภาคขยาย และลำโพงนั้นแมตช์กันอยู่แล้ว หากจะว่าด้วยเรื่องของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับลำโพงของเราได้ 1 ในปัญหาที่จะพูดถึงนี้ก็คือ เรื่องของดอกลำโพงขาด นั่นเองครับ
ปัญหาหลักๆ เกิดจากความร้อนสะสม สังเกตุได้จากลำโพงหลายๆ ยี่ห้อ พยายามออกแบบให้มีที่ระบายความร้อน โดยเฉพาะลำโพงในกลุ่มเครื่องเสียง PA เพราะการใช้งานลำโพงประเภทนี้ค่อนข้างที่จะใช้งานได้กว้างกว่าแบบทั่วไป ตั้งแต่งานกระจายเสียงขนาดเล็กไปจนถึงงานระดับคอนเสิร์ตเฟสติวัล ที่ต้องใช้แอมป์ขยายเสียงกำลังสูง เพื่อขับลำโพงออกมาได้ จะพบความเสียหายของดอกลำโพงบ่อยมากๆ เช่น Spider หรือได้กลิ่นใหม้ของ Voice Coil บ้าง

การทำงานของดอกลำโพง
ขอบคุณรูปภาพจาก บทความ Parts of a Speaker
สาเหตุที่ทำให้ดอกลำโพงขาด

ความร้อนสะสม
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น แอมป์ขยายเสียงที่ขับเกินวัตต์ RMS ของดอกลำโพง ตัวอย่าง ดอกลำโพงมีวัตต์ RMS อยู่ที่ 500 วัตต์ แต่แอมป์ขยายเสียงขับเกินวัตต์ RMS ของดอกลำโพงที่ 1000 วัตต์ RMS เป็นต้น – ในกรณีนี้ลำโพงจะไม่ได้รับความเสียหาย หรือดอกลำโพงขาดเลยโดยตรง แต่มันจะสะสมความร้อนไปเรื่อยๆ เมื่อเราใช้งานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ดอกลำโพงก็จะได้รับความเสียหายต่อมา เช่น Voice Coil ขาด หรือไหม้ นั้นเอง

Over Excursion
แอมป์ขยายกำลังวัตต์สูงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานที่ต้องการเสียงให้มีประสิทธิภาพสูง แต่….แอมป์ขยายเสียง ที่ขยายเกินกำลังวัตต์ Peak ของดอกลำโพง เช่น ดอกลำโพงมีวัตต์ Peak อยู่ที่ 1000 วัตต์ แต่แอมป์ขับเต็มกำลังวัตต์ที่ 1800 วัตต์ – ก็จะเห็นได้ว่ากำลังขับของเครื่องขยายเสียงนั้น ขับเกินกำลังของดอกลำโพงไปมาก ทำให้ดอกลำโพงได้รับความเสียหายได้อีกทางหนึ่ง เช่น Spider ฉีกขาด หรือหลุดออกมาจาก Voice Coil ของลำโพง เป็นต้น

การปรับแต่ง EQ มากเป็นพิเศษ
การปรับแต่ง Equalizer ที่มากเป็นพิเศษ เกินความจำเป็น และปรับแต่งอย่างไม่พอดี หรือไม่ถูกต้อง โดยการปรับแต่งเสียงบางย่านความถี่ ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของดอกลำโพง ในการปรับบูสความถี่ต่ำๆ กับลำโพงที่ตอบสนองย่านความถี่ต่ำได้น้อย เช่น ดอกลำโพงเสียงกลาง หรือเสียงแหลม หรือบูสความถี่เสียงสูงมากๆ กับดอกลำโพงประเภท Mid-Low หรือ Subwoofer ก็มีส่วนอาจจะทำให้ดอกลำโพงของเราได้รับความเสียหายได้
การเป็น Sound Engineer ที่ดี หรือนักเล่นเครื่องเสียงที่ดี นอกจากการฟัง และแยกแยะเสียงเป็นแล้ว การเลือกอุปกรณ์ และใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็ควรมีเทคนิคในการป้องกันอุปกรณ์เครื่องเสียงด้วย เพื่อช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์เครื่องเสียงของเรา โดยเฉพาะดอกลำโพง นั่นเองครับ
และแน่นอนว่า อุปกรณ์ที่จะมาแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกัน การเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก็คือ อุปกรณ์จำพวก DSP Processor แบรนด์ต่างๆ
DSP Processor ประเภทนี้จะมีฟังก์ชั่นที่จำเป็นๆ มาช่วยลดโอกาสในการเกิดความเสียหายได้ เช่น ฟังก์ชั่น RMS Limiter หรือ Peak limiter ทั้ง 2 ฟังก์ชั่นนี้ก็จะทำหน้าที่ลิมิตสัญญาณไม่ให้เกินตามที่เราตั้งต่าไว้ จึงช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดกับดอกลำโพงที่รักของเราได้ครับ
เป็นอย่างไรกันบ้าง? สำหรับเกร็ดความรู้ที่นำมาฝากกันในวันนี้หวังว่าจะเกิดประโยชน์กับทุกท่านนะครับ สำหรับวันนี้ขอบคุณ และสวัสดีครับ

ผู้เขียน
Poovanun V.
คลั่งไคล้เครื่องเสียง และเสียงเพลง
คำถามที่พบบ่อย
คำตอบ : ควรเริ่มต้นจากการศึกษาคู่มือ รายละเอียดสเปคของลำโพง และแอมป์ เป็นอันดับแรก เพื่อให้เข้าใจการทำงานของลำโพง และแอมป์ก่อนการใช้งานจริง
คำตอบ : ในกรณีที่เป็นสินค้าแบรนด์ ของแท้ ให้สอบถาม และส่งไปยังศูนย์ตัวแทนจำหน่ายของสินค้าแบรนด์สินค้านั้นๆ ไม่แนะนำให้หาร้านซ่อมลำโพงทั่วไป เพราะลำโพงแต่ละแบรนด์ต้องให้ผ่านการดูแล ซ่อม บำรุงจากช่างเชี่ยวชาญจากแบรนด์นั้นๆ จะดีกว่าครับ
คำตอบ : วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น ลำโพงไม่มีเสียง ได้กลิ่นไหม้ แนะนำไม่ควรใช้งานต่อ เพราะอาจจะมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่รอบตัวของดอกลำโพง โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่แต่ละกรณี
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า