เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 minutes
เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างมากจึงทำให้สายแจ็ค 3.5 TS นั้นไม่ค่อยจำเป็นต่อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา จึงทำให้เทคโนโลยี Bluetooth นั้นเกิดการแพร่หลายไปอย่างมาก และมีตัวแปลงสัญญาน (โคเดก:Codec) ที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ต่างกัน มีความเสถียรที่ต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการเลือกใช้งาน. หากเพื่อนๆ ท่านไหนกำลังมองหาหูฟังไร้สายที่รองรับ โคเดก ที่มีบิตเรทสูง เช่น aptx หรือ ACC (สำหรับ iPhone) ที่อยากให้รับสัญญานได้แบบรวดเร็ว และเสถียร ทาง SoundDD ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับ Bluetooth Codec ไว้ให้เพื่อนๆ ทราบในบทความนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.
ทำความรู้จักกับรูปแบบไฟล์เสียงใน โคเดค ต่างๆ
- Uncompressed: จะเป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพมากที่สุดที่ไม่มีการบีบอัด หรืออาจจะเรียกว่าไฟล์ต้นฉบับเลยก็ว่าได้ แต่จะแลกมาด้วยไฟล์เสียงที่มีขนาดใหญ่ (WAV, LCPM, BWF)
- Compressed Lossless: เป็นไฟเสียงที่ถูกบีบอัดแต่ยังคงรายละเอียดเสียงไว้ในคุณภาพที่ดีอยู่ และช่วยลดเวลาการประมวลผลในการเปิดไฟล์ประเภทนั้นๆ (FLAC, ALAC)
- Compressed Lossy: ไฟล์ประเภทนี้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็กมาก สามารถพบเจอไฟล์เสียงประเภทนี้ได้มากบนแพลตฟอร์มต่าง แต่จะสูญเสียรายละเอียดเสียงจากต้นฉบับไปอย่างมาก (MP3, AAC, WMA, ATRAC)

Bluetooth Codec คืออะไร?
เป็นตัวแปลงสัญญานคุณภาพของบลูทูธ ที่ส่งจากอุปกรณ์ต้นทางไปยัง หูฟังตัวโปรดของเพื่อนๆ โดยจะมีการเข้ารหัส และถอดรหัสข้อมูลเสียงดิจิทัลในรูปแบบเฉพาะ.
สัญญานบลูทูธ ที่มี bit rate อัตราที่ต่ำ จะส่งผลให้พื้นที่ข้อมูล Bandwidth มีจำนวนที่น้อยในการจัดเก็บ และส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ซึ่งก็หมายความว่า ยิ่งอัตรา bit rate ต่ำ การบีบอัดก็มีขนาดที่เล็ก แต่คุณภาพเสียงก็แย่ลง. แต่ถ้า อัตรา bit rate สูง ก็จะมีคุณภาพเสียงที่ดี และการบีบอัดก็จะมีขนาดใหญ่ตาม. ซึ่ง โคเดก แต่ละตัวก็จะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันดังต่อไปนี้.

โคเดก Low-complexity sub-band codec (SBC)
เป็นตัวแปลงสัญญาณบังคับมาตราฐานหลักในการฟังเพลงแบบ Bluetooth ไร้สาย และค่าเริ่มต้นสำหรับหูฟังบลูทูธทุกรุ่น อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่ที่ (192-320kbps) และการบีบอัดข้อมูลก็จะใช้หลักการคล้ายๆ กับไฟล์ MP3 หรือเทียบเท่าคุณภาพ CD นั่นก็คือตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นบางอย่างออกไป เช่น ความถี่เสียงที่คนเราไม่ค่อยได้ยินทิ้งไปเลย และเป็นการจัดส่งข้อมูลโดยสูญเสียข้อมูลจำนวนมาก.
โคเดกในรูปแบบนี้จะมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossy

โคเดก Qualcomm aptX / aptX HD
ซึ่ง โคเดก รูปแบบนี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของ Qualcomm ที่มีบิตเรทอยู่แค่ 352kbps ซึ่งมากกว่า SBC อยู่เพียงแค่นินเดียว และมีการหยิบใช้โคเดคประเภทนี้ไปใช้งานกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหาพบกันได้บน Android Smartphone และไม่สนับสนุนบนอุปกรณ์ Apple (iOS).
แต่ทำไมในปัจจุบันถึงเลือกเทคโนโลยี aptX ไปใช้มากกว่า SBC หล่ะ? เพราะว่ามีอัตราการส่งข้อมูลที่มากขึ้น ช่วยรักษาข้อมูลได้มากขึ้น. ตัวโคเดกแบบ aptX มีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 48kHz/16-bit LPCM audio data (352kbps) และโคเดกแบบ aptX HD จะมีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 48kHz/24-bit LPCM audio data (576kbps).
โคเดกในรูปแบบนี้จะมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless มีอัตราบิตที่ดีพอที่จะทำให้ทุกอย่างทำงานได้อย่างราบรื่น และให้เสียงที่ยอดเยี่ยมกว่า SBC และเป็นที่นิยมสำหรับหูฟังบลูทูธ หรือบนอุปกรณ์บลูทูธทั่วไป.

โคเดก Advanced audio coding (AAC)
เป็น Codec รูปแบบมาตรฐานสากลที่บริษัทบางแห่งหยิบนำไปใช้ เช่น Dolby Laboratories Inc., Sony Corp., Nokia Corp. และยังสามารถหาได้จากผลิตภัณฑ์ของ Apple โดยเฉพาะ. ซึ่งเพื่อนๆ คนไหนที่ใช้อุปกรณ์ Android จะไม่ได้สิทธิการใช้ฟอร์แมตนี้แบบมีประสิทธิภาพสูงสุดได้เลย.
AAC จะมีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 250kbps มีขนาด, ความเสถียร, คุณภาพเสียงที่มากกว่ารุ่นก่อนในอัตราบิตเดียวกัน และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless.

โคเดก LDAC (SONY)
เป็น Codec เหมือนของทาง Qualcomm แต่โคเดกตัวนี้ถูกพัฒนาโดย Sony และประกาศเป็น License Free สามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่าเทคโนโลยี่ไร้สายอื่นๆ ถึง 3 เท่า และให้เสียงระดับ Hi-res ผ่าน Bluetooth ด้วยความเร็วสูงแบบ Hi-Res 24-bit/96 kHz โดยมี bit-rate สูงสุดถึง 990 kBit/s และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless.
สามารถหาได้จากอุปกรณ์ Android ตั้งแต่ Android 8.0 “Oreo” หรือในหูฟังรุ่นท็อปสุดของ Sony อย่างตัว WH-1000XM4 และ WF-1000XM4 ได้. นอกจากนั้นหูฟังบางแบรนด์ก็ยังหยิบตัวโคเดกนี้ไปใช้แล้วด้วยอย่างแบรนด์ Edifier.
สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Apple ยังไม่มีรุ่นใดเลยที่สนับสนุน LDAC เนื่องจากทางแบรนด์เน้นความเสถียรในการเชื่อมต่อมากกว่าเรื่องของคุณภาพเสียง จึงเป็นที่ค้นพบได้ง่ายบนอุปกรณ์ Android.

โคเดก HWA (Hi-Res Wireless Audio) LHDC and LLAC codecs
ซึ่ง LHDC นั้นน่อมาจาก low-latency และ high-definition audio codec และ LLAC ย่อมาจาก Low Latency Audio Code แต่ปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น HWA (Hi-Res Wireless Audio) ภายใต้การพัฒนาของบริษัท Huawei ตั้งแต่ Smartphone รุ่น P20 pro เป็นต้นมา และประกาศเป็น License Free.
การส่งข้อมูลสัญญานเสียงที่สามารถทำได้ในระดับเดียวกับ LDAC แต่จะพ่วงความสามารถของ aptX Low Latency เข้าไปด้วย โดย HWA นั้นมี Audio format 24-bit/96 kHz รองรับ Bit-rate ที่ 400/560/900 kBit/s และมีคุณภาพการบีบอัดแบบ Compressed Lossless.

สรุป
ไม่ว่าอัตราการส่งข้อมูลจะดี หรือ kbps จะดีแค่ไหน ก็ต้องดูอุปกรณ์ทั้งตัวรับ และตัวส่งด้วยว่าตัวชิปบนอุปกรณ์นั้นๆ สามารถถอดรหัสไฟล์เสียง หรือ Codec นั้นได้รึเปล่า. แต่ในทางที่แนะนำโคเดกแบบ aptX เป็นทางออกที่ดีที่สุดเพราะว่าหาใช้ได้ง่าย แล้วเข้ากับอุปกรณ์ได้แทบทุกรุ่น มีคุณภาพ ความเสถียรในระดับที่ดี และเป็นที่แพร่หลายเป็นอย่างมาก.
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากได้เสียงที่มีคุณภาพที่มากขึ้นนั้นก็ต้องดูความเหมาะสมให้เข้ากันกับอุปกรณ์นั้นๆด้วย. ส่วนวันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก SOUNDGUYS,
⚡️ โปรโมชั่น ดูทั้งหมด >
Sounds of Summer 2023 Lifestyle Audio หูฟัง JBL ลำโพง HARMAN KARDON
15 มี.ค. - 30 เม.ย. 2566
Pioneer DJ Summer Sound 2023 เครื่องเล่นดีเจ ราคาพิเศษ
15 มี.ค. - 30 เม.ย. 2566
Pro Sound of Summer 2023 ลำโพงเครื่องเสียง ชุดคาราโอเกะ ไมค์ลอย ลด On Top สูงสุด 10%
15 มี.ค. - 30 เม.ย. 2566
Sounds of Summer เครื่องเสียง Home Audio ลดราคา และของแถมสุดพิเศษ
15 มี.ค. - 30 เม.ย. 2566
📖 บทความ สาระความรู้ ดูทั้งหมด >
แนะนำไมค์มือถือ สาย Vlogger ไม่ควรพลาด ประจำปี 2023
กำลังมองหาไมค์ติดมือถือดีๆ อยู่ใช่หรือไม่!? บทความนี้แนะนำไมค์มือถือดีๆ ราคาถูก ไว้ให้เพื่อนๆ ตัดสินใจเลือกซื้อกันไว้แล้ว มีอะไรบ้างมาชมกัน
SENNHEISER IE 200 หูฟัง audiophile แบบอินเอียร์ ระดับไฮเอน ในราคาที่คุ้มค่า
ออดิโอไฟล์ จะไม่ใช่เรื่องที่เข้าถึงยากที่ต่อไปด้วย SENNHEISER IE200 หูฟัง audiophile แบบอินเอียร์ ระดับไฮเอน ในราคาที่คุ้มค่า ต้องบอกเลยว่าห้ามพลาด
Nothing Ear (1) สวย เท่ มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร
Ear (1) หูฟังจากแบรนด์ Nothing บรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์น้องใหม่ไฟแรงจากลอนดอน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความสวยงามไม่ซ้ำใคร
เชื่อมต่อบลูทูธไม่ได้ แก้ง่ายๆ ไม่กี่สเต็ปเพียงทำตามวิธีนี้!
กำลังประสบปัญหา เชื่อมต่อบลูทูธไม่ได้ อยู่ใช่ไหมบทความนี้มีเคล็ดลับ และวิธีแก้ไขปัญหาง่ายๆ ไม่กี่สเต็ปที่รับรองว่าอ่านแล้วแก้ได้แน่นอน.
🛠 ผลงานการติดตั้ง ดูทั้งหมด >
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ จากทีมงาน ซาวด์ ดีดี
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
พาชมผลงานติดตั้งระบบเสียงคาราโอเกะ หน้าตาห้องสำหรับร้องคาราโอเกะจะเป็นยังไง!? จะตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแค่ไหน?? อยากรู้ คลิกเลย!
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง ห้องประชุม โดยก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
กราบสวัสดี เพื่อนๆ ที่ติดตามชมผลงานติดตั้งของ ทีมงานซาวน์ดีดีทุกท่านครับ ในวันนี้เราจะพาทุกท่าน ไปชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียง คาราโอเกะ ก่อนอื่นคงต้องขอขอบพระคุณ ทาง กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม