Soundcheck คืออะไร? ทำไมต้องซาวด์เช็ค!?

Soundcheck คือ

สวัสดีเพื่อนๆ อีกครั้ง วันนี้ทีมงานมีเทคนิค เล็กๆ น้อยๆ สำหรับการ ซาวด์เช็ค ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจว่า “Souncheck คืออะไร? ทำไมจึงต้องซาวด์เช็ค!?” โดยในบทความนี้ผมจะมีทั้ง ขั้นตอนในการซาวด์เช็ค และทริคในการ Soundcheck ให้ดี ถ้าเพื่อนๆ พร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

Souncheck คืออะไร? ทำไมต้องซาวด์เช็ค!?

สารบัญ

Soundcheck คืออะไร?


Soundcheck คือ การเช็คระบบเสียงทั้งหมด แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

  1. ระบบเสียง PA ของสถานที่ เช่น หน้าที่ของ Stage Supplier หรือฝ่ายที่ดูแลเรื่องอุปกรณ์เสียงต่างๆ ของงาน, การติดตั้งระบบเสียง PA เข้ากับสถานที่
  2. ระบบเสียงของวงดนตรี การเช็คว่านักดนตรีมีกี่คน? ใช้เครื่องดนตรีกี่ชิ้น? แต่ละชิ้นเป็นโมโน หรือสเตอริโอ? ต้องใช้ไมค์จ่อเครื่องดนตรีหรือไม่? เปิด Backing Track จาก Harddisk ไหม?

ก็จะเป็นการเช็ค ตรวจสอบ Line ทั้งหมด เพื่อนำสัญญาณเสียงเข้าสู่ตัวมิกเซอร์ พอได้สัญญาณเสียงก็นำไปปรับแต่งให้บาล็านซ์ สอดคล้องกับขนาดของสถานที่ เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นนำระดับเสียงเข้ามาเท่าไหร่? จะส่งสัญญาณออกอย่างไร? PAN ยังไง EQ ไหม ในส่วนของนักดนตรี ก็จะฟังผ่านลำโพง Monitor หรือจะฟังจากหูฟัง In-Ear แต่ละคนต้องการฟังเสียงอะไรบ้าง? เช่น มือกลองอาจจะต้องการเสียงเมโทรนอมมากกว่าเสียงกลองของตัวเอง เพราะมันดังพอที่จะได้ยินแล้ว ทั้งนี้แยกได้ขนาดไหนขึ้นอยู่กับระบบเสียงโดยรวมทั้งหมด

4 ขั้นตอนในการซาวด์เช็ค ให้ได้อย่างโปร

4 ขั้นตอน ในการซาวด์เช็ค ให้ได้อย่างโปร


อาจจะมีหลายๆ ท่านสงสัยว่า แล้วระหว่างที่ ซาวด์เช็ค นั้น นักดนตรีต้องทำยังไง? ตรวจสอบอะไรบ้าง!? ถึงจะพร้อมสำหรับโชว์ที่กำลังจะเริ่ม โดยผมได้รวบรวม 4 ขั้นตอนพื้นฐาน ที่เป็นเหมือนไกด์ไลน์เบื้องต้น สำหรับผู้ที่กำลัง งงงวย? ไม่รู้จะเริ่มซาวด์เช็คจากจุดไหน เพื่อให้การซาวด์เช็คมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาน้อยลง ราวกับคุณเป็นมืออาชีพ!

โดยการซาวด์เช็คทั้งหมดมีจุดประสงค์เพียง อย่างเดียว คือตรวจสอบระบบเสียงทั้งหมด ว่ามีอะไรที่ขาดตกบกพร่องหรือไม่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการ เช็คความพร้อมก่อนที่จะโชว์ของคุณกำลังจะเริ่ม!

ตรวจเช็คสายสัญญาณ

ขั้นตอนที่ 1

เช็คสายสัญญาณให้รอบคอบ เช็คอุปกรณ์เสียงต่างๆ เครื่องดนตรีต่างๆ เช็คสัญญาณเสียงทั้งหมดบนเวทีส่งสัญญาณเสียงไปยังมิกเซอร์ เช็คเจาะไปที่อุปกรณ์เสียง ไมโครโฟน และเครื่องดนตรีของนักดนตรีแต่ละคน

ปรับระดับสัญญาณเสียง

ขั้นตอนที่ 2

ปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีทั้งหมด โดยการปรับระดับสัญญาณเสียงสามารถเลือกทำได้ 2 แบบ คือแบบที่ปรับแต่งแยกแบบรายชิ้น และแบบที่ให้ทั้งหมดเล่นพร้อมกัน โดยในแบบปรับแยกรายชิ้น มักจะเป็นงานที่มีเวลาในการ ซาวด์เช็ค มากพอสมควร แต่อีกแบบจะเป็นงานด่วนที่มีเวลาค่อนข้างจำกัด แต่จะให้ดีแนะนำว่า การปรับแยกรายชิ้น จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากสามารถตรวจพบความผิดพลาดต่างๆ ได้ง่ายกว่า

โดยเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ จะเป็นเหมือนการปรับแต่งเสียงคร่าวๆ ให้คุณ อย่าพึ่งซีเรียสกับเสียงที่คุณได้ผ่านมอนิเตอร์ เพราะมันยังไม่ใช่ขั้นตอนในการปรับแต่งรายละเอียดเสียงต่างๆ อย่างละเอียด

ปรับระดับความดังสำหรับ Monitor

ขั้นตอนที่ 3

เป็นการปรับระดับความดัง สำหรับการมอนิเตอร์เสียงที่ได้ โดยสิ่งที่ห้ามลืมคือ คุณต้องปรับเสียง Monitor หลังจากปรับระดับสัญญาณเสียงในขั้นตอนที่ 2 แล้วเท่านั้น เนื่องจากการปรับระดับสัญญาณเสียงจะทำให้เสียงใน Monitor เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

Sound Engineer รีเช็ค

ขั้นตอนที่ 4

ในขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนที่ คุณจะต้องเล่นสัก 1-2 เพลง เพื่อให้ Sound Engineer ได้ฟังและปรับแต่งเสียงด้วย EQ และเอฟเฟกต์อื่นๆ โดยในขั้นตอนนี้คุณอาจจะเห็น ซาวด์เอ็นจิเนียของคุณ เดินวนไป วนมา รอบบริเวณ ไม่ต้องแปลกใจครับ ซาวด์เอ็น ของคุณแค่กำลังตรวจสอบเสียงที่ได้ จากบริเวณที่แตกต่างกันของพื้นที่แสดง หากมาถึงจุดนี้ แล้วมีปัญหาอะไร ให้รีบแจ้ง Sound Engineer ของคุณให้ไว

แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ Sound Engineer ทุกคนจะมีวิธีการ ซาวด์เช็ค ที่เหมือนกัน ขั้นตอนทั้งหมดสามารถที่จะยืดหยุ่น และพลิกแพลงไปตามแต่ละงานได้โดยมีไม่อะไรที่ตายตัวเสมอไป

เพื่อช่วยให้การซาวด์เช็คของเพื่อนๆ มีความลื่นไหล และลดปัญหาต่างๆ ทีมงานจะขอนำเสนอ 7 เทคนิคซาวด์เช็ค อย่างไร!? ให้มีคุณภาพ ที่จะช่วยให้ทุกการซาวด์เช็คของเพื่อนๆ ออกมาดียิ่งขึ้น และลดระยะเวลาในการทำงานได้มากขึ้นไปอีก ถ้าพร้อมแล้ว ไปต่อกันเลยครับ ~

7 เทคนิค Soundcheck อย่างไร? ให้มีคุณภาพ

7 เทคนิค Soundcheck อย่างไร? ให้มีคุณภาพ


Soundcheck (ซาวด์เช็ค) สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จัก กล่าวง่ายๆ คือ กระบวนการที่วงดนตรีหรือนักแสดงทุกคนต้องผ่านก่อนเริ่มโชว์ทุกครั้ง มีจุดมุ่งหมาย เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด และตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจว่าเสียงที่ออกมา จะเป็นเสียงที่ดีที่สุด ตามที่ศิลปินและ Sound Engineer ต้องการ

อย่างที่เพื่อนๆ รู้กันว่าการขึ้นโชว์แต่ละครั้ง เราอาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ไม่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นมิกเซอร์, แอมป์ และอื่นๆ อีกมากมาย บวกกับขนาด และลักษณะเฉพาะของสถานที่ ที่จะทำการแสดง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการ ซาวด์เช็ค ทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มโชว์ โดยการซาวด์เช็ค จะเป็นการทำงานร่วมกันของ 2 ตัวละคร คือ Sound Engineer และ ศิลปิน โดยผมจะมี 7 เทคนิคที่จะช่วยให้การ ซาวด์เช็ค ของทุกคน มีความลื่นไหล และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างไปชมกันเลยครับ ~

ทิ้งปัญหาต่างๆ ไว้ข้างหลัง

1. ทิ้งปัญหาต่างๆ ไว้ข้างหลัง

เริ่มต้นด้วยการละทิ้งปัญหา ละทิ้งความเครียดต่างๆ และมุ่งมาที่หน้างาน บริเวณงานมีคนเบื้องหลังที่พร้อมทำงานไปกับคุณ เพื่อร่วมกันเตรียมการก่อนขึ้นแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต ปัญหาที่มักจะพบได้บ่อยที่สุดของการ ซาวด์เช็ค คือการที่อุปกรณ์บางตัวชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่สายไฟ, สายสัญญาณ, แอมป์กีต้าร์, ตู้ลำโพง, ไมโครโฟน และอื่นๆ ควรหมั่นทำการตรวจสอบอุปกรณ์ ทดสอบการใช้งานก่อนนำมาใช้งานบนพื้นที่เวที ว่าเสียหาย หรือไม่? เข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ไหม? จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาหาต้นตอของปัญหา และแก้ไขปัญหากันที่ละจุดระหว่างการ Soundcheck ที่อาจทำให้เสียเวลามากโดยเกิดความจำเป็น

ใช้เวลาให้น้อย ซาวด์เช็คให้พร้อม

2. ใช้เวลาให้ “น้อย” ซาวด์เช็คให้พร้อมก่อน “เริ่มโชว์

เป็นเรื่องพื้นฐานของการทำงานที่จะเข้าใกล้ความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางมาในสถานที่จัดงานคอนเสิร์ต ไปจนถึงการใช้เวลาในการ Soundcheck โดยปกติแล้ว งานแสดงคอนเสิร์ตที่มีวงดนตรีหลายๆ วง แต่ละวงจะได้ Soundcheck ในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัด ไม่มีทางที่จะคาดเดาได้ว่าแต่ละวงจะใช้เวลานานแค่ไหนจึงจะลงตัว เนื่องจากแต่ละวงมีศักยภาพในการจัดการบนเวทีที่แตกต่างกัน หากเราเสียเวลาไปกับปัญหาของอุปกรณ์ต่างๆ ก็ทำให้เข้าสู่สถานการณ์ที่ต้องเร่งรีบ ใกล้เริ่มการแสดงแล้ว สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คือ ต้องเสี่ยงวัดดวงเล่นโชว์ที่มีการมิกซ์เสียงที่ยังไม่ลงตัวบ้าง เนื่องจากการ Soundcheck ที่เร่งรีบ ด้วยเหตุนี้ วงดนตรีแต่ละวงต้องพัฒนาในการจัดการปัญหาต่างๆ และตรงต่อเวลาให้ทันท่วงที

ซาวด์เช็คเครื่องดนตรีทีละชิ้น

3. รักษาระเบียบ และควรใช้เสียงเงียบๆ

โปรดรู้ว่าเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เสียงทั้งหมด เช่น การใช้งานมิกเซอร์ในหน้างาน ไม่สามารถปรับแต่ง ตรวจสอบ หรือกำหนดค่า EQ ให้เสร็จได้ในครั้งเดียว ระหว่างที่ซาวด์เอนจิเนียร์กำลังใช้สมาธิในการฟังเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น นักดนตรีคนอื่นๆ ก็ควรระวัง และใช้ความเงียบ อย่าพึ่งกังวลกับซาวด์ดนตรีของคุณ เรื่องการไม่พอใจ หรือบ่นตำหนิ ระหว่างการซาวด์เช็ค มันจะทำให้การซาวด์เช็คเสียเวลามากยิ่งขึ้นไปอีก ซาวด์เอ็นจิเนียร์รู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ยิ่งซาวด์เอ็นจิเนียร์ของคุณเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อความสำเร็จของวงดนตรีของคุณอยู่แล้ว

4. “ซาวด์จริง” ที่เหมาะสม สำหรับซาวด์เอนจิเนียร์

การเตรียมพร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทั้งสำหรับการ Soundcheck เครื่องดนตรีรายชิ้น รายบุคคล และสำหรับ Soundcheck มิกซ์เสียงของวงดนตรีทั้งหมด ขึ้นอยู่กับ “ซาวด์ดนตรีจริง” ที่จะเล่นระหว่างการซาวด์เช็ค ควรเล่นดนตรีให้เต็มที่ ให้เป็นลักษณะเดียวกับที่จะขึ้นแสดงจริง เช่น นักร้องควรร้องเพลงอย่างเต็มเสียง, มือกลองควรตีกลองด้วยน้ำหนักมือจริงให้เหมือนกับการแสดงจริง จะช่วยให้ Sound Engineer ของคุณทำงานได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับงานนั้นๆ ได้มากที่สุด

ปรับโวลุ่มให้ดี เช็คให้ชัวร์อย่าให้มี Feedback

5. ปรับโวลุ่มให้ดี เช็คให้ชัวร์อย่าให้มี Feedback

ปรับโวลุ่มระดับเสียงเครื่องดนตรีของคุณอย่างมี สติ! ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระดับเสียงไม่ดังจนเกินไป จนทำให้เกิด Feedback (ฟีดแบค) โดยขั้นตอนในการซาวด์เช็ค เป็นขั้นตอนที่สามารถทดสอบได้ว่า จะมีฟีดแบคเกิดขึ้นระหว่างการแสดงของคุณรึป่าว? เชื่อผมเถอะว่าไม่มีนักดนตรี และ Sound Engineer คนไหนอยากให้เกิดฟีดแบคขึ้นระหว่างการแสดง เพราะมันจะทำให้โชว์ของคุณพังในทันที!

Soundcheck คือ SoundCheck

6. Soundcheck ไม่ใช่ การซ้อมก่อนเริ่มโชว์

จุดประสงค์หลักของการ ซาวด์เช็ค คือ การตรวจสอบเสียงต่างๆ จากเครื่องดนตรีทุกชิ้น ที่มามิกซ์รวมกัน บนมิกเซอร์ เพื่อปรับแต่งให้ได้เสียงที่ลงตัวที่สุดตามแต่ละสถานที่ การซ้อมดนตรีในระหว่างซาวด์เช็ค จัดเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอย่างที่สุด เนื่องจากมันจะทำให้การซาวด์เช็คต้องใช้เวลาที่มากขึ้น และอาจจะทำให้ Sound Engineer ของคุณ ต้องหงุดหงิด แต่ถ้าหากต้องการที่จะลองซ้อมก่อนเริ่มโชว์จริงๆ แนะนำว่าให้ลองซ้อมในช่วงเวลาที่เหลือหลังจาก ซาวด์เช็ค จะเหมาะสมที่สุดครับ

7. การสื่อสาร และส่งสัญญาณด้วยความเป็นมิตร

ในสถานที่แสดงโชว์ หรือสถานที่จัดงานคอนเสิร์ต มีคนทำงานอยู่เบื้องหลังอยู่มากมายที่คอยสนับสนุนงานแสดงดนตรีของเรา การสื่อสารที่ดีระหว่างฝ่ายอื่นๆ ก็เป็นเทคนิคที่น่าเอามาปรับใช้กับการทำงานดนตรีเช่นกัน
  • จะทำให้งานออกมาดี สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น คือ ความเห็นอกเห็นใจกัน ในมุมของนักดนตรี การแสดงดนตรีต่อหน้าแฟนเพลงหลายร้อยคน แต่ก็อย่าลืมว่าเราก็มีผู้ที่ทำงานร่วมกับเราอีกหลายๆ ฝ่าย คอยสนับสนุนงานแสดงของเรา ไม่ว่าจะเป็นทีมเทคนิค, ซาวด์เอนจิเนียร์ พูดคุย หรือสื่อสารกันอย่างสุภาพเป็นที่สำคัญที่สุด ความเป็นมิตรจะช่วยให้งานแสดงออกมาดีอยู่เสมอ
  • ควรให้คำแนะนำที่กระชับ และคำตอบที่ชัดเจน เราสามารถบอกความต้องการต่างๆ ให้กับซาวด์เอนจิเนียร์ได้ ผู้ที่ทำงานเบื้องหลังจะชอบมาก ถ้าสิ่งที่เราต้องการสื่อสารนั้น สั้น กระชับ และชัดเจนจริงๆ ทำให้เข้าใจกันได้ และไม่เสียเวลาด้วย หากเราสื่อสารกันอย่างละเอียดเกินไปโดยไม่จำเป็น ก็อาจจะถูกมองข้ามไป เขาไม่สามารถอ่านความคิดเราได้ในระยะเวลาอันสั้นๆ สำหรับเราที่กำลังจะเริ่มการแสดงคอนเสิร์ตก็ควรสื่อสารในรูปแบบที่เป็นประเด็นสั้นๆ และกระชับ เมื่อซาวด์เอนจิเนียร์เข้าใจแล้ว เขาจะได้ดำเนินการจัดการตามสิ่งที่เราต้องการให้ ดังนั้นจงสื่อสารด้วยกระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น
  • ระหว่างการแสดง หากเรายังคงอยู่ในสายตาของซาวด์เอ็นจิเนียร์ เราสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ตอนนี้แหละ คือ กุญแจสำคัญ และเป็นการสื่อสารที่ไม่ใช่คำพูด ในขณะที่เราแสดงดนตรี ซาวด์เอนจิเนียร์ หรือ FOH ที่มีประสบการณ์ จะใช้การสังเกต และตอบสนองผ่านสัญญาณมือ เช่นเดียวกับนักดนตรีที่มีประสบการณ์

เมื่อ Soundcheck ระบบเสียงทั้งหมด ปรับแต่งเสียงอย่างเหมาะสมเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างถูกกำหนดให้เป็นที่โอเคแล้ว แต่หากทุกฝ่ายยังคงยุ่งกับการติดตั้ง ปรับแต่ง ควบคุมอุปกรณ์อยู่ ก็ควรหยุด! การที่ยังคงทำแบบนี้อยู่มากเกินไป อาจทำลายผลลัพธ์ของงานที่โอเคโดยรวมได้ หากคุณจำเป็นต้องการปรับแต่งเสียงจริงๆ ให้พูดคุยปรึกษากับวิศวกร และดูสิ่งที่สามารถทำได้ก่อน และเมื่อพร้อมแล้ว ส่งสัญญาณด้วยการยกมือ! พร้อมเริ่มการแสดงคอนเสิร์ตบนเวที

สรุป


การ Soundcheck ที่ดี และมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญที่จะส่งผลต่อภาพงานแสดงโชว์โดยรวมของเรา นอกจากนี้ อย่าลืมว่าระหว่างการซาวด์เช็คเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความเป็นมืออาชีพของคุณระหว่างผู้ทำงานเบื้องหลังฝ่ายอื่นๆ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Thoman

คำถามที่พบบ่อย

Soundcheck คืออะไร?

คำตอบ : การเช็คความพร้อมของระบบเสียงทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มโชว์

ทำไมต้อง ซาวด์เช็ค?

คำตอบ : เพื่อตรวจสอบระบบเสียงทั้งหมด ว่ามีอะไรที่ขาดตกบกพร่องหรือไม่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการ เช็คความพร้อมก่อนที่จะโชว์ของคุณกำลังจะเริ่ม!

บทความที่คุณอาจจะสนใจ

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

พรีวิว Dynacord V-Series เพาเวอร์แอมป์/โวลต์ไลน์ ตัวเดียวครบ ตอบโจทย์งานได้หลากหลายแบบ

Dynacord เปิดตัว V600:2 เพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ใน V-Series โดยที่จะมีฟีเจอร์ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น powerTANK, dualCOOL และ ecoRAIL จะน่าสนใจแค่ไหน อยากรู้ คลิกเลย!

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

น้ำเข้าลำโพงโทรศัพท์ เสียงแตก แก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

คุณลำลังประสบปัญหา ลำโพงเสียงแตก เบา ไม่ชัด จากน้ำที่เข้าลำโพงโดยไม่ตั้งใจหรือไม เรามีวิธีแก้มาฝากกันครับ

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลด่านสำโรง

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม โรงเรียนอนุบาลเทศบาลด่านสำโรง โดยเครื่องเสียงและไมค์ประชุมจากแบรนด์ SOUNDVISION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องเรียน/สอน บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์มิวสิค บริษัท อัปเปอร์ดัช ครีเอทีฟ จำกัด จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION บริษัท เอ็มมารินแอสเซ็ท จำกัด

ผลงานติดตั้ง ชุดคาราโอเกะ SOUNDVISION ระดับพรีเมียม จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก