เวลาอ่านโดยประมาณ: 8 นาที
Bluetooth (บลูทูธ) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่แทบขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เพราะช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นในหลายด้าน หลายคนอาจทราบดีว่า Bluetooth คืออะไร และตอนนี้ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชัน 5.4 แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าในเวอร์ชันล่าสุดนี้ มีอะไรใหม่บ้าง? หรือมันดีขึ้นอย่างไร?
“ในบทความนี้ เราสรุปจุดเด่นและฟีเจอร์สำคัญของ Bluetooth 5.4 มาให้ในแบบที่เข้าใจง่าย หากพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ”
Bluetooth 5.4 มีอะไรใหม่ เหมาะกับคุณหรือไม่?

Bluetooth 5.4 มีอะไรใหม่
สิ่งที่ Bluetooth ต้องการนำเสนอในเวอร์ชัน 5.4 คือการอัปเดตเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (LE) ให้การรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้มากขึ้น, ประหยัดพลังงานกว่าเดิม และเพิ่มความปลอดภัย โดยในเวอร์ชันนี้มีฟีเจอร์เด่น 2 อย่าง ได้แก่ Periodic Advertising with Responses (PAwR) และ Encrypted Advertising Data ซึ่งออกแบบมาเพิ่มให้ตอบโจทย์การใช้งานในยุค IoT (Internet of Things)
“IoT (Internet of Things) คือการเชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้”
Periodic Advertising with Responses (PAwR)
เราจะใช้คำศัพท์ที่เรียกว่า “Broadcaster” และ “Observer” เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของ PAwR ในแบบที่เข้าใจง่ายๆ นะครับ
- Broadcaster (ผู้ส่งข้อมูล): อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลออกไป
- Observer (ผู้รับข้อมูล): อุปกรณ์ที่รับข้อมูลและสามารถตอบกลับได้
PAwR เป็นฟีเจอร์สำคัญใน Bluetooth v5.4 ที่ปลดล็อกความสามารถใหม่ในการ สื่อสารแบบสองทาง ในโหมดไม่ต้องเชื่อมต่อ (connectionless mode) ซึ่งช่วยให้ข้อมูลถูกส่งออกไปยังปลายทางโดยไม่จำเป็นต้องสร้างการเชื่อมต่อที่เสถียรและต่อเนื่อง เป็นฟีเจอร์ที่ไม่มีใน Bluetooth LE รุ่นก่อนหน้านี้
ในระบบเดิม การส่งข้อมูลแบบทางเดียว (Unidirectional Communication) มีข้อจำกัดหลายอย่างและเหมาะสำหรับงานที่เรียบง่าย เช่น การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งโดยไม่มีการตอบกลับหรือโต้ตอบจากผู้รับ (Observer)
ฟีเจอร์ PAwR แก้ไขข้อจำกัดนี้ด้วยการเพิ่มความสามารถในการโต้ตอบ ทำให้ Observer สามารถส่งคำตอบกลับไปยัง Broadcaster ได้ในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งช่วย ประหยัดพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และรองรับอุปกรณ์จำนวนมากในระบบเดียวกัน

หลักการทำงานของ PAwR
PAwR ทำงานโดยแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น PAwR Event แต่ละ Event จะถูกแบ่งย่อยเป็น subevents ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการที่ Broadcaster (ผู้ส่งข้อมูล) ส่งข้อมูลหรือคำขอการเชื่อมต่อไปยัง Observer (ผู้รับข้อมูล)
หลังจาก Broadcaster ส่งข้อมูลแล้ว จะมีช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า Response Slot Delay เพื่อให้ Observer เตรียมพร้อม จากนั้น Observer แต่ละตัวที่อยู่ในระบบจะมี Response Slots หรือเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนสำหรับการตอบกลับ ขณะที่ Response Slot แต่ละช่องจะแยกกันชัดเจนเพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล
อีกหนึ่งคุณสมบัติของ PAwR คือความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อแบบ ACL เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลที่วยให้อุปกรณ์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องทำการสแกนหรือโฆษณาใหม่ เนื่องจากอุปกรณ์ได้มีการซิงโครไนซ์กันแล้ว
ข้อดีของฟีเจอร์นี้
-
ประหยัดพลังงานมากขึ้น
การที่ Observer รับข้อมูลเฉพาะในช่วงเวลาที่ subevents ซิงโครไนซ์ไว้ ช่วยลดการใช้พลังงานเมื่อเทียบกับการสแกนแบบต่อเนื่อง ฟีเจอร์นี้เหมาะมากสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้แบตเตอรี่ เช่น เซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ IoT -
รองรับการส่งข้อมูลแบบสองทาง
ฟีเจอร์นี้ช่วยให้อุปกรณ์สามารถตอบสนองต่อข้อมูลได้โดยตรง เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองแบบเรียลไทม์ ซึ่งก่อนหน้านี้ Bluetooth LE รุ่นเก่าเป็นการส่งข้อมูลแบบทางเดียว (Unidirectional) โดยที่ Observer ไม่สามารถส่งคำตอบหรือคำสั่งกลับไปยัง Broadcaster ได้ และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลที่ส่งออกไปถึงผู้รับหรือไม่
Encrypted Advertising Data
อีกฟีเจอร์สำคัญที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน Bluetooth v5.4 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth Low Energy (LE) โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ IoT ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา
Encrypted Advertising Data คือกระบวนการเข้ารหัส Advertising Data ที่ส่งออกมาจากอุปกรณ์ Broadcaster เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ส่งออกไปนั้นปลอดภัย ไม่สามารถถูกดักฟังหรือแก้ไขโดยบุคคลที่สามได้ โดยปกติแล้ว Advertising Data จะถูกส่งออกมาในรูปแบบแพ็กเก็ตที่เปิดเผย ซึ่งอุปกรณ์ใดๆ ที่อยู่ในระยะสามารถสแกนและอ่านข้อมูลนี้ได้
ฟีเจอร์นี้เพิ่มความสามารถให้ข้อมูลที่ส่งผ่านโหมด connectionless ถูกเข้ารหัสแบบ end-to-end ซึ่งเป็นระบบการเข้ารหัสข้อมูลที่มีปลอดภัยสูง ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านระหว่างทางนั้นจะถูกเข้ารหัสเป็นรหัสที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถอ่านหรือถอดรหัสข้อมูลนี้ได้

หลักการทำงานของ Encrypted Advertising Data
ในขั้นตอนแรกนั้นจะเป็นการแบ่งข้อมูลใน Advertising Packet ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่
-
ข้อมูลที่เข้ารหัส (Encrypted Data): ข้อมูลสำคัญหรือข้อมูลที่ต้องการป้องกัน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้ารหัส (เช่น AD 1-3) แซึ่งจะถูกเข้ารหัสและถูกรวมไว้ใน AD 0 Payload
-
ข้อมูลที่ไม่เข้ารหัส (Unencrypted Data): ข้อมูลทั่วไป เช่น สถานะของอุปกรณ์, ชื่ออุปกรณ์ ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกเข้ารหัส เพื่อเปิดเผยให้ Observer ทุกตัวสามารถอ่านได้ (เช่น AD 4-5)
หลังการแบ่งข้อมูลแล้ว ข้อมูลที่ต้องการปกป้อง (AD 0 Payload) จะถูกเข้ารหัสในรูปแบบ AD Field แบบพิเศษที่เรียกว่า Encrypted Advertising Data (Type 0x31) ซึ่งจะเก็บข้อมูลทุกส่วนที่ต้องการเข้ารหัส เช่น AD 1-3 เพื่อป้องกันการดักฟังและการดัดแปลงข้อมูล
เมื่อข้อมูลที่ต้องการเข้ารหัสถูกจัดเก็บแล้ว ขั้นต่อไปคือการแชร์ข้อมูลที่เข้ารหัสระหว่างอุปกรณ์ ทั้งสองอุปกรณ์ (Broadcaster และ Observer) ที่ต้องการสื่อสารข้อมูลเข้ารหัสจำเป็นต้องมี คีย์ลับร่วมกัน (Shared Secret) ซึ่งใช้สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่งออหและการถอดรหัสข้อมูลเมื่อได้รับ
การแชร์คีย์ลับจะดำเนินการผ่านการเชื่อมต่อที่มีการเข้ารหัสและยืนยันตัวตน โดยใช้ GATT (Generic Attribute Profile) ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ Bluetooth ที่ปลอดภัยและเป็นมาตรฐาน
หลังจากคีย์ลับถูกแชร์และพร้อมใช้งานในทั้งสองอุปกรณ์แล้ว Broadcaster จะส่ง Advertising Packet ที่ประกอบด้วยข้อมูลที่เข้ารหัส (Encrypted Data) และข้อมูลที่ไม่เข้ารหัส (Unencrypted Data) ไปยัง Observer ซึ่ง Observer ที่มีคีย์ลับเดียวกันจะสามารถถอดรหัสข้อมูลที่เข้ารหัสได้ และนำข้อมูลไปใช้งานตามความต้องการได้
ข้อดีของฟีเจอร์นี้
เพิ่มความปลอดภัยในระบบ IoT ที่มีข้อมูลสำคัญและอุปกรณ์จำนวนมาก โดยช่วยป้องกันการดักฟังข้อมูลหรือการปลอมแปลงข้อมูลจากแฮกเกอร์ นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการนำ Advertising Data ไปวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะข้อมูลที่ส่งออกมาจะสามารถถอดรหัสและเข้าใจได้เฉพาะอุปกรณ์ที่จับคู่หรือได้รับอนุญาตเท่านั้น ฟีเจอร์นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Bluetooth 5.4
- ฟีเจอร์ใหม่อย่าง Encrypted Advertising Data และ Periodic Advertising with Responses (PAwR) ใน Bluetooth v5.4 จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับ Bluetooth v5.4 ทั้ง Broadcaster และ Observer
- การอัปเกรดอุปกรณ์เป็น Bluetooth v5.4 ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ เนื่องจาก Bluetooth เป็นทั้งฮาร์ดแวร์ (ชิป) และซอฟต์แวร์ (เฟิร์มแวร์)
- แม้ว่าฮาร์ดแวร์จะรองรับ Bluetooth v5.4 แต่ระบบปฏิบัติการที่คุณใช้อาจยังไม่รองรับ เช่น Android, iOS, Windows,macOS
- หากใช้อุปกรณ์ทั่วไป เช่น หูฟังไร้สายหรือสมาร์ทโฟน อาจจะยังไม่จำเป็นต้องอัปเกรดมาใช้เฟีเจอร์ใหม่ก็ได้ เพราะว่า v5.4 เพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมากในระบบ IoT มากกว่า
- หากอุปกรณ์ไม่สามารถอัปเกรดได้ สามารถใช้ USB Bluetooth Dongle หรือโมดูล Bluetooth ภายนอกที่รองรับ Bluetooth v5.4 ได้
วิวัฒนาการของ Bluetooth จากอดีตสู่ปัจจุบัน
- Bluetooth 1.0 – 1.2: เปิดตัวเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์พื้นฐาน เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และโทรศัพท์มือถือ แต่ยังมีปัญหาด้านความเสถียรและการใช้งาน
- Bluetooth 2.0 – 2.1 + EDR (Enhanced Data Rate): เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูล (สูงสุด 3 Mbps) และพัฒนาการจับคู่ที่ง่ายขึ้นด้วย Secure Simple Pairing (SSP)
- Bluetooth 3.0: รองรับการส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น (สูงสุด 24 Mbps) ด้วยการใช้ Wi-Fi ในการช่วยส่งข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น ไฟล์วิดีโอ
- Bluetooth 4.0: เปิดตัวฟีเจอร์ Bluetooth Low Energy (BLE) เพื่อรองรับอุปกรณ์ IoT เช่น สมาร์ทวอทช์ และเซ็นเซอร์ต่าง ๆ
- Bluetooth 4.1 – 4.2: เพิ่มความปลอดภัยและรองรับการส่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง
- Bluetooth 5.0: เพิ่มระยะทางในการเชื่อมต่อ (สูงสุด 240 เมตร) และเพิ่มความเร็ว (สูงสุด 2 Mbps) พร้อมทั้งปรับปรุงการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แออัด
- Bluetooth 5.1: เพิ่มความแม่นยำในการระบุตำแหน่งด้วย Direction Finding
- Bluetooth 5.2: เปิดตัว LE Audio ที่รองรับการใช้งานมัลติโปรไฟล์และเพิ่มคุณภาพเสียง ฟีเจอร์ Auracast แชร์เสียงจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หลายตัวพร้อมกัน และ Enhanced Attribute Protocol (EATT) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อหลายตัวพร้อมกัน
- Bluetooth 5.3: เพิ่มประสิทธิภาพของ LE Advertising ปรับปรุงการจัดการพลังงาน (Channel Classification Enhancement) และลดการรบกวนสัญญาณในพื้นที่ที่มีอุปกรณ์จำนวนมาก
สรุป Bluetooth 5.4 รู้ไว้ไม่เสียหาย ได้ประโยชน์มากมาย
Bluetooth v5.4 เป็นการอัปเดตล่าสุดของเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (LE) ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพใน 3 ด้านหลักได้ รองรับอุปกรณ์จำนวนมาก ประหยัดพลังงาน ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นแค่การอัปเดตเล็ก ๆ แต่เป็นการพัฒนาที่ตอบโจทย์ยุค IoT ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงระบบที่ต้องการอุปกรณ์จำนวนมาก ฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้สร้างความปลอดภัย ประหยัดพลังงาน ทั้งในชีวิตประจำวันและธุรกิจ
ทุกวันนี้เรียกได้ว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในทุกมิติ การที่เราไม่ได้อัปเดตหรือไม่รู้นั้น คุณก็อาจจะพลาดสิ่งสำคัญที่อยู่ใกล้ตัวไป ที่สำคัญคือการรู้ฟีเจอร์ใหม่ไม่ได้เสียอะไรเลย แต่ได้ประโยชน์มากมายและช่วยให้คุณไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก devzone
บทความ สาระความรู้
แนะนำ 7 ลำโพง PA Active รุ่นยอดนิยม 2025
ไม่ว่าจะงานไหนๆตู้ลำโพง PA Active มักจะเป็นตัวเอกสำหรับให้เสียงกลางแหลม แต่จะเลือกรุ่นไหนดี ?
dBTechnologies KL Series ลำโพงแอคทีฟ ที่มาพร้อม DSP ขั้นสูงและ FIR filters
dBTechnologies KL Series ลำโพง Active แบบ 2 ทาง ที่มาพร้อม ที่มาพร้อม DSP ขั้นสูงและ FIR filters ที่เป็นเทคโนโลยีจากทางแบรนด์
dBTechnologies LVX Series คำตอบของงานดนตรีสด น้ำหนักเบา มีสไตล์ ใช้งานง่าย ทรงพลัง
LVX Series อีกหนึ่งชุดลำโพง Active จาก dBTechnologies ที่ตอบโจทย์งานดนตรีสด น้ำหนักเบา มีสไตล์ ใช้งานง่าย ทรงพลัง
ใหม่! SOUNDVISION Raptor Series ลำโพง Active พลังดุดันในแบบนักล่า เสียงชัดใสดุจคริสตัล
ใหม่!! SOUNDVISION Raptor Series ลำโพงแอคทีฟ (Active) ในรุ่น RT-12 และ RT-15 สัมผัสพลังเสียงที่ดุดัน และชัดใส่ดังคริสตัล ได้แล้ววันนี้!!
โปรโมชั่น
โชว์รูมใหม่ บูธเครื่องเสียง SE AUDIOTECHNIK แบรนด์จากเยอรมัน
แชร์หน้านี้ :
โปรโมชั่น Summer Sound of Klipsch ลำโพง ซาวด์บาร์ ลดฉ่ำกว่า 45%
1 เม.ย. - 30 เม.ย. 2568
JBL Karaoke Contest ชุดโปรโมชันเครื่องเสียงคาราโอเกะ
1 เม.ย - 31 พ.ค. 2568 เท่านั้น !!
โชว์รูมใหม่ บูธเครื่องเสียง Martin Audio แบรนด์ดังจากอังกฤษ
แชร์หน้านี้ :
ผลงานการติดตั้ง
ลูกค้าของเรา บริษัท เอพิลส์ วิสดอม จำกัด ระบบเสียงห้องประชุม
เรามาดูระบบเสียงห้องประชุมทีใช้ลำโพงคอลัมน์กันครับ จุดเด่นการสะท้อนและกระจายเสียงได้ไกล งานนี้ติดตั้งแล้วจะออกมาเป็)นอย่างไร ไปชมกันเลย
ระบบเสียงร้าน อีหล่า อีสานกายะ สาขาบางนา
SoundDD ขอนำเสนอผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ, ระบบเสียง BGM, ระบบเสียงดนตรีสด จากลูกค้าของเรา ร้าน อีหล่า อีสานกายะ สาขาบางนา
ลูกค้าของเรา ตลาดต้นไม้ชายคา ระบบประกาศ/แบคกราวด์มิวสิค
ตลาดเป็นสถานที่ที่เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก เรามาดูกันว่าระบบเสียงจากแบรนด์ TOA นั้นจะเอาอยู่หรือไม่?
ลูกค้าของเรา บริษัท พี.ที.แกรนด์โฮเทล จำกัด ระบบเสียงห้องสัมมนา
พาชมระบบเสียงที่ครบครันในห้องสัมมนา ห้องประชุม และห้องจัดเลี้ยงของลูกค้าเรา P.T. Grand Hotel จะจัดเต็มขนาดไหน ไปชมกันเลย!