เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 minutes
วันนี้จะมานำเสนอ 2 เทคนิคการฟังเพลง ทั้งแบบ Critical Listening และ Analytical Listening มันคืออะไร? สามารถนำไปพัฒนาทักษะทางด้านการฟังได้อย่างไร? แล้วมุมมองที่มีต่อการฟังเพลงของเราจะเปลี่ยนไปหรือไม่? เรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย
Critical Listening VS Analytical Listening

Critical Listening
การฟังอย่างมีวิจารณญาณ ฟังโดยเน้นด้านเทคนิคของเสียง รายละเอียดลักษณะทางกายภาพของเสียงดนตรี เช่น การตอบสนองความถี่, ไดนามิกเรนจ์, โทนเสียง, และฟังเพื่อเรียนรู้ให้ได้ว่าเครื่องดนตรีทั้งหมด ผสมผสานกันเป็นอย่างไร? เช่น ภาพของการมิกซ์เสียง เป็นต้น การฟังแบบนี้ถือว่าเป็นเป็นรากฐานของ Sound Engineer เลยก็ว่าได้ การทำเพลงให้สมบูรณ์แบบตามเทคนิค ตามทฤษฎีต่างๆ อาจไม่ได้ทำให้เพลงดีเสมอไป หรือบางทีอาจจะขาดความมีชีวิตชีวาจนเกินไป เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ที่จะต้องเข้าใจว่าแง่มุมทางเทคนิคของเสียงว่าส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ฟังอย่างไรด้วย

Analytical Listening
การฟังเชิงวิเคราะห์ ฟังเพื่อโฟกัสไปที่ Message ของเพลง, การตีความของเพลง, ความหมายของเสียง และเนื้อเพลงมากขึ้น การฟังเพื่อให้เข้าใจอารมณ์ของเพลงที่กำลังสื่อสารกับเรา ความรู้สึก และความหมาย จากเสียงที่ฟังนั้น ให้ความหมาย และมุมมองในชีวิตของเราอย่างไรบ้าง? เป็นเทคนิคการฟังที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้น สิ่งที่สำคัญ คือ เราต้องเข้าใจถึงอารมณ์ของการแสดงดนตรีที่อยู่ในเพลง ทุกอย่างในการทำเพลงต้องสะท้อนถึงความรู้สึกของเพลง ถ่ายทอดไปยังผู้ฟังได้อย่างดี
ความหมาย ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำเพลงทุกเพลง หากความหมายของเพลงไม่มีความชัดเจน ก็จะทำให้ผู้ฟังสับสน และไม่เข้าใจกับเนื้อหาของเพลงได้ ความหมายของเพลงถูกถ่ายทอดด้วยความรู้สึกที่มาในรูปแบบของเสียง การเซ็ตเครื่องดนตรี วิธีการบันทึกเสียงต่างๆ ก็ส่งผลต่อเสียงของเครื่องดนตรี ส่งผลต่ออารมณ์ของเพลงได้ด้วยเช่นกัน

ความแตกต่างระหว่าง Critical Listening และ Analytical Listening
บางทีเราอาจจะคิดว่าเทคนิคการฟังทั้ง 2 แบบนี้มีความเหมือนกัน แม้จะเกี่ยวข้องกับการฟังเหมือนกัน แต่มีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน หลายท่านอาจจะสงสัยระหว่าง Critical Listening กับ Analytical Listening ทั้งหมดทั้งมวลมีความแตกต่างกันอย่างไร? โดยสรุปเข้าใจอย่างง่ายๆ แล้ว
- Critical Listening คือ การฟังโดนเน้นเชิงเทคนิคของการมิกซ์เสียง เน้นไปที่รายละเอียดของดนตรีต่างๆ ภาพของเวทีเสียงในเพลงๆ นั้น
- Analytical Listening คือ การฟังเชิงวิเคราะห์ในสิ่งที่เพลงต้องการจะสื่อสาร โดยรวมก็คือฟังเพื่อให้เข้าใจความหมาย อารมณ์ของเพลง ทั้งเสียงดนตรี และเนื้อเพลงนั้นนั่นเอง
การฟังอย่างมืออาชีพ

ฟังเพลงอย่าง Music Producer
โปรดิวเซอร์ หรือผู้ควบคุมการผลิตเพลง ฟังเพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับแนวเพลง เรียนรู้ วิเคราะห์ในแง่ของศิลปะการแต่งเพลง (ทั้งดนตรี และเนื้อเพลง) ตลอดไปจนถึงการเรียบเรียงเพลง และคุณภาพของการแสดงดนตรีของศิลปิน ผู้ที่ชื่นชอบดนตรี นอกเหนือจากการฟังเพลงที่หลากหลายแล้วการอ่านบทสัมภาษณ์, ฟังพอดแคสต์, และดูวิดีโอที่เกี่ยวของกับดนตรียังมีประโยชน์อีกด้วย เมื่อเราได้ดื่มด่ำกับการฟังเพลงแล้ว เราจะสามารถเข้าใจในแง่มุมทางศิลปะของเพลง หรืออัลบั้ม มองอย่างเปิดกว้าง เข้าใจรากฐานของแนวดนตรีนั้นๆ มากขึ้น

ฟังเพลงอย่าง Sound Engineer
ความสามารถในการวิเคราะห์จากงานบันทึกเสียง มุมมองทางเทคนิค จับรายละเอียดที่ติในงานบันทึกเสียงได้ เช่น รับรู้ถึงความผิดเพี้ยน, การคอมเพรสเสียงที่มากเกินไป, การปรับ EQ ที่ไม่สมดุลกัน นำไปใช้ในการพัฒนาในงานบันทึกเสียง เช่น มิกซ์เสียงให้มีความสมดุลของเสียงที่ดี, ไดนามิกที่ทรงพลัง เราอาจไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางดนตรี หรือทางด้านการมิกซ์เสียงในสตูดิโอ เราก็สามารถฝึกได้ ฟังบ่อยๆ เวลาผ่านไป เราก็จะสามารถเรียนรู้ในแง่มุมทางเทคนิคการมิกซ์เสียงต่างๆ ของเพลงที่เรากำลังฟังอยู่ได้เช่นกัน
- จุดเริ่มต้นที่ดี คือ การฟังแพนเสียงซ้าย/ขวา เป็นหน้าที่ Sound Engineer มืออาชีพใช้ในการมิกซ์เสียง เพื่อให้แต่ละองค์ประกอบของเครื่องดนตรีมีพื้นที่ของตัวเอง ไม่ให้ตำแหน่งของเครื่องดนตรีดูรก หรือทับกันเกินไป
- ฝึกฟังเพลงโปรด โดยคำนึงถึงตำแหน่งขององค์ประกอบเสียงต่างๆ เสียงที่ได้ยิน เสียงอะไรที่อยู่ข้างหน้า? แพนเสียงร้องคอรัสอยู่จุดไหน? เสียงกีต้าร์อยู่มุมซ้าย และขวา เล่นได้เต็มที่หรือไม่? คีย์บอร์ดเล่นอย่างไรบ้าง? ลองใช้เกณฑ์นี้วิเคราะห์ดู ฟังซ้ำๆ แล้วเราจะเริ่มเข้าใจในสไตล์ และทักษะการมิกซ์ของ Sound Engineer อย่างแน่นอน

รูปภาพจาก vocalist
ฟังเพลงอย่าง Arranger
การฟังแบบ Critical Thinking ส่วนใหญ่ในงานของผู้เรียบเรียงเพลง คือ ความสามารถในการเลือกเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมาใช้ในงานเพลง ส่วนผสม บทบาทของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นเป็นอย่างไร? เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา เมื่อฟังบ่อยๆ โฟกัสไปที่เครื่องดนตรีแต่ละชิ้น เราก็จะสามารถแยกแยะ และเข้าใจได้ดีขึ้นถึงเครื่องดนตรีต่างๆ ที่ประสานกันออกมาเป็นในรูปแบบของแนวเพลงใดแนวเพลงหนึ่ง เช่น เทคนิคการเล่นแบบนี้ จังหวะแบบนี้ เป็นแนวเพลงอะไร? การเรียบเรียงโดยรวมของเพลงนี่แหละ เป็นการช่วยในการกำหนดแนวเพลงต่างๆ

เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานมิกซ์เสียงได้อย่างไร?
- Balance ความสมดุลของเสียง เครื่องดนตรีทั้งหมดให้เสียงที่เหมาะสมในการมิกซ์หรือไม่? มีเครื่องดนตรีชิ้นไหนที่ฟังแล้วรู้สึกๆ ขาดๆ เกินๆ ไปหรือไม่? เครื่องดนตรีบางชิ้นให้เสียงที่เด่นกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ หรือไม่? ทั้งหมดขึ้นอยู่กับตัวผู้มิกซ์เองด้วยเช่นกัน
- Panorama ภาพเวทีเสียงมุมกว้างของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น เรียงกันอยู่ตามจุดต่างๆ อย่างไรบ้าง? ทับกันหรือไม่?
- Frequency Range ความสมดุลของความถี่เป็นอย่างไร?
- Dimension ความเป็น 3 มิติ เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นฟังดูใกล้ หรือไกลกว่า เครื่องดนตรีอื่นๆ หรือไม่? ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวผสมอยู่ในเพลงอย่างไร?
- Dynamics ไดนามิกของเพลงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร? หรือลองเปลี่ยนไดนามิกแบบอื่นๆ เช่น เปลี่ยนสัดส่วนจังหวะ, คีย์ หรือโทนเสียง Major/Minor ดูไหม?
- Interest มี 2 มุมที่น่าสนใจ อันดับแรก คือ ท่อนฮุค – มีอะไรที่สร้างการจดจำของเพลงระหว่างการมิกซ์เสียงได้ไหม? อาจจะเป็นท่อนฮุคที่ไพเราะ หรือให้โทนเสียงที่น่าจดจำ
ประโยชน์
- พัฒนาทักษะทางด้าน Music Production
- เรียนรู้ และเข้าใจคาแรคเตอร์ของเครื่องดนตรี
- เรียบเรียงเพลงด้วยอารมณ์ สื่อสารไปยังผู้ฟังในแบบที่เราต้องการ
- ใส่ใจในรายละเอียดของสิ่งๆ ต่างๆ มากขึ้น
- จับเทรนด์การฟังเพลงของผู้ฟัง
ข้อแนะนำในการฟัง
- ฟังบ่อยๆ ฟังซ้ำๆ ฟังทุกวัน
- โฟกัสไปที่เพลงใดเพลงหนึ่ง
- ทดลองฝึกฟังในแนวเพลงที่หลากหลาย
- แลกเปลี่ยน แชร์ผลลัพธ์กับผู้อื่น
สรุป
ด้วยเทคนิคการฟังทั้ง 2 แบบนี้ หากเราฝึกฟังบ่อยๆ เราก็จะเริ่มเห็นแง่มุมต่างๆ และคุณค่าของเพลงนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถนำมาปรับใช้ในงานด้านเสียงของเราได้ ขอให้มีความสุขกับเสียงเพลงครับ 🙂
ขอบคุณบทความจาก YAMAHA Music USA, SHURE, Gemtracks
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
เครื่องเสียง Klipsch ฉลองโปรโมชั่นวาเลนไทน์ ทั้งลด ทั้งแถม
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Marshall เปิดตัว Middleton ลำโพงบลูทูธพกพา เข้มขรึม กระหึ่มโดนใจ
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
Volume และ Gain คืออะไร? แตกต่างกันยังไง!? บทความนี้มีคำตอบ..
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า