เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 minutes
วิธีดูกำลังวัตต์ลำโพง (Power Handling) | การใช้งานลำโพงร่วมกับเพาเวอร์แอมป์ เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า ลำโพงแบบ Passive หรือลำโพงที่ไม่มีภาคแอมป์ขยายในตัว และอีกหนึ่งคำ ลำโพงแบบ Active นั่นก็คือ ลำโพงที่มีภาคแอมป์ขยายในตัว (Powered Loud Speaker) ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงลำโพง Passive เนื่องจากไม่มีแอมป์ขยายในตัว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เวลาใช้งาน จะต้องใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง หรือเพาเวอร์แอมป์ด้วยนั่นเอง เพื่อดึงประสิทธิภาพการทำงานของตู้ลำโพง Passive นั้นๆ ออกมาให้เต็มที่
ข้อสงสัย
- ลำโพง 250 วัตต์ (RMS), ลำโพง 500 วัตต์ (Program Power), และลำโพง 1000 วัตต์ (Peak) เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร? เราควรต้องเลือกลำโพง และแอมป์ที่มีวัตต์เท่าไหร่? ถึงจะแมตซ์กันได้ดี มาติดตามได้ในบทความนี้เลย
แนะนำความรู้เกี่ยวกับลำโพง (Speaker)
และการดูกำลังวัตต์ (Power Handling) ก่อนเลือกใช้งาน…
ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเชิงกล เกิดเป็นรูปแบบพลังงานของเสียง
คำว่า “ลำโพง” มักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (Driver) และลำโพงทั้งตู้ (Speaker System) ภายในตู้ลำโพงจะประกอบไปด้วยลำโพง และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Crossover Network) สำหรับแบ่งแยกย่านความถี่ ซึ่งลำโพงที่ดีนั้น จะต้องสามารถตอบสนองความถี่เสียง ให้เสียงที่ใกล้เคียง หรือเหมือนต้นฉบับเดิมให้มากที่สุด หรือผิดเพี้ยนให้น้อยที่สุด
วิธีดูกำลังวัตต์ (Power Handling) ของตู้ลำโพง
วัตต์ (Watts) เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถของตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงนั้นๆ ว่าสามารถรองรับกำลังขับจากเครื่องขยายเสียง (Power Amplifier) ได้มากหรือน้อยเท่าไหร่ เราสามารถตรวจสอบกำลังวัตต์ของตู้ลำโพงได้จาก สเปคของลำโพงแต่ละรุ่น หรืออาจสังเกตได้จากแผ่นเพลตด้านหลังของตู้ลำโพง ในส่วนนี้เราเรียกค่านี้ว่า Power Handling

วิธีดู Power Handling 3 ประเภทหลักๆ
– Continuous Power หรือ RMS Power
เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบด้วยการป้อนกำลังขับด้วยสัญญาณ Sine Wave อย่างเนื่องติดต่อกันตามเวลาที่กำหนด โดยที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงทำงานได้อย่างไม่เกิดความเสียหาย
– Program Power
เป็นค่าที่มากกว่า RMS Power หนึ่งเท่าตัว ใช้เพื่อเป็นตัวเลขอ้างอิงในการกำหนดค่าพารามิเตอร์ในระบบเสียง (เสียงร้อง เสียงดนตรี หรือการเล่นดนตรีสด) ซึ่งแอมพลิจูดของสัญญาณไม่ต่อเนื่อง และไม่นิ่งมีการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา
– Peak Power
เป็นค่าที่มากกว่า Program Power อีกหนึ่งเท่าตัว เป็นค่าสูงสุด (Max) ที่ตู้ลำโพง หรือดอกลำโพงที่จะสามารถรองรับได้ อาจจะเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำดอกลำโพงนั่นเอง


ตัวอย่าง…
การตรวจสอบกำลังวัตต์ (Watts) ของตู้ลำโพง และการจับคู่ (Matching) กับเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เบื้องต้น การเลือกตู้ลำโพงเพื่อใช้งาน เราต้องตรวจสอบกำลังวัตต์ของตู้ลำโพงเป็นอันดับแรกเสียก่อน ว่าสามารถรับกำลังวัตต์ได้อยู่ที่เท่าไหร่ จะได้มองหาเพาเวอร์แอมป์ (Power Amplifier) หรือเครื่องขยายเสียงให้เหมาะสมกัน
หากตู้ลำโพงมีกำลังวัตต์ที่
- 250 วัตต์ (Continuous Power หรือ RMS Power )
- 500 วัตต์ (Program Power)
- 1,000 วัตต์ (Peak Power)



สรุป
การเลือกเครื่องขยายเสียงให้เหมาะกับลำโพง ต้องเลือกให้มีกำลังวัตต์ที่มากกว่า หรือต้องไม่น้อยกว่าค่าวัตต์ (Continuous Power หรือ RMS Power) นั่นคือ 250 วัตต์ นั่นเอง และต้องเลือกกำลังวัตต์สูงสุดไม่ให้เกินค่า (Peak Power) นั่นก็คือ 1,000 วัตต์ ของตู้ลำโพง เพื่อความปลอดภัยของดอกลำโพงขณะใช้งาน ดั่งตัวอย่างเครื่องขยายรุ่นที่แมตซ์ก็จะเป็นรุ่น 1502,2002 เป็นต้น
ตู้ลำโพง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของงานระบบเสียง เป็นอุปกรณ์เสียงลำดับสุดท้าย เพราะมีหน้าที่หลักในการแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ให้เราได้ยินนั่นเอง วิธีดูกำลังวัตต์ของลำโพงจึงเป็นเกณฑ์สำคัญในการจับคู่ให้แมตซ์กับเพาเวอร์แอมป์ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเสียง สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นส่วนเสริมสร้างประโยชน์ให้กับทุกท่านสำหรับวันนี้ขอบคุณ และสวัสดีครับ
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
เครื่องเสียง Klipsch ฉลองโปรโมชั่นวาเลนไทน์ ทั้งลด ทั้งแถม
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Marshall เปิดตัว Middleton ลำโพงบลูทูธพกพา เข้มขรึม กระหึ่มโดนใจ
Chromecast Built-in คืออะไร? ใช้งานยังไง?
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
Volume และ Gain คืออะไร? แตกต่างกันยังไง!? บทความนี้มีคำตอบ..
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า