ไฟเวที อุณหภูมิสี โทนของสี สำคัญอย่างไร?

ไฟเวที - สำคัญไหม
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » ไฟเวที อุณหภูมิสี โทนของสี สำคัญอย่างไร?

เวลาอ่านโดยประมาณ : 2 minutes

เพื่อนๆ เคยสังเกตกันบ้างไหมว่าเวลาที่เราไปงานคอนเสิร์ต หรือ งานปาร์ตี้แต่ละงานนั้น ทำไมการจัด ไฟเวที หรือ โทนสี ในแต่ละงานนั้นถึงแตกต่างกัน. วันนี้ SoundDD จะมาให้คำตอบเกี่ยวกับแสงไฟบนเวทีให้เพื่อนๆ นั้นทราบกัน.

ไฟเวที - สำคัญไหม
ไฟเวที - สำคัญไหม

ทำความรู้จักกับการแยก โทนสี ที่ใช้กับไฟเวที


อุณหภูมิของสีนั้นจะถูกวัดกันในค่า Kelvins (K) ตามดังภาพข้างบน ที่เพื่อนๆ สามารถหาได้ตาม specsheet ที่มาคู่กับอุปกรณ์แสงไฟ. ซึ่งตามดังภาพค่าของสีนั้นอาจจะดูขัดกับจำนวนตัวเลข แต่ทาง SoundDD จะมาบอกให้เพื่อนๆ ฟังง่ายๆ ว่าค่า (K) ยิ่งสูงก็จะเป็นโทนสีที่เย็นมาก และถ้าค่า (K) ยิ่งต่ำโทนสีก็จะเป็นโทนที่อุ่นมาก.

ในอุณหภูมิสีของสีเขียวและสีม่วงส่วนใหญ่มักใช้เป็นคำอธิบายสำหรับแสงสีขาว เพราะมีการบิดเบือนของโทนสีออกมาเป็นสีแดงไปจนถึงสีขาวอมฟ้า มีผลอย่างมากต่อการสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกถึงการผ่อนคลาย.

ไฟเวที - สำคัญไหม

อุณหภูมิสีของไฟเวที กับการใช้แสงขาว


อุณหภูมิสีสำหรับแสงสีขาวเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการใช้งานหลากหลายประเภทเพราะในการแสดงแสงสีบนเวที สามารถใช้เพื่อแสดงช่วงเวลาของวัน หรือความรู้สึกของอารมณ์ที่ถูกถ่ายทอดจากแสงไฟ ณ จุดใดจุดหนึ่งก็ได้.

ในการติดตั้งแสงไฟตามสถานที่สามารถสร้างบรรยากาศให้มีสีสันที่บ่งบองถึงอารมณ์ได้ เช่น แสงไฟสีขาวที่เป็นโทนอุ่นในร้านอาหารช่วยให้รู้สึกถึงอารมณ์ใกล้ชิด หรือ โทนสีเย็นในสถานที่บันเทิงช่วยให้ผู้คนรู้สึกถึงอารมณ์ที่ตื่นเต้นได้.

ไฟเวที - สำคัญไหม

โทนสี สำคัญอย่างไร?


เพราะว่าสีต่อการใช้งานในสถานที่บันเทิง หรือสื่อภาพยนต์ จะช่วยบ่งบอกถึงการเล่าเรื่องราวของสถานการณ์นั้นๆ ซึงอ้างอิงจากทฤษฎีของสีแล้วว่าสีนั้นส่งผลต่อจิตวิทยาของเรา ยกตัวอย่างได้เช่น ตามคอนเสิร์ตมักจะใช้แสงที่มีสี แดง ที่สื่อถึงอารมณ์ที่ดุเดือดมีพลัง และสี น้ำเงินม่วง ที่สื่อถึงอารมณ์ที่ เฮฮา สนุกสนาน เป็นต้น.

ไฟเวที - สำคัญไหม

ตำแหน่งการจัดไฟเวที


  • ไฟหน้าเวที (Front Lights): เป็นไฟดวงหลักที่ใช้ในการแสดง. ในบางสถานการณ์ไฟหน้าเวทีจะช่วยส่องแสงสว่างไปทั่วพื้นที่เวที. ในจุดนี้จะทำให้นักแสดงบนเวทีนั้นดูสว่างเห็นได้ชัด และโดดเด่นมากที่สุด.
  • ไฟหลังฉาก (Backlighting): จะเป็นไฟส่องหลังฉากเวทีทำให้นักแสดงดูมีมิติในตอนที่เปิดตัวบนเวที สามารถจัดวางตำแหน่งด้วยไฟ PAR ในแนวตั้งเนื่องจากสามารถติดตั้งได้ดีในตำแหน่งไฟ Back Light โดยเฉพาะ และสามารถปรับสีได้ตามใจชอบตามสถานกาณ์ที่เหมาะสม.
  • ไฟดาวน์ไลท์ (Downlighting): เป็นไฟที่ช่วยเพิ่มมิติบนเวทีอีกวิธีนึ่งซึ่งไฟ Downlighting มีความเข้มความสว่างที่แตกต่างกัน นักออกแบบไฟบางกลุ่มได้กล่าวไว้ว่า “Downlighting” เป็นไฟที่เอาไว้ใช้ส่องจากล่างขึ้นบน หรือส่องจากบนลงล่างลงมุมใดมุมหนึ่งของเวที.
  • ไฟข้างเวที (Side and High side lighting): เป็นไฟที่ใช้ส่องด้านข้างเวที เพื่อให้แสงสว่างกับนักแสดงมุมใดมุมหนึ่งของเวที ซึ่งไฟข้างอาจจะส่องกระทบกับศีรษะ หรือหัวไหล่ของนักแสดงเพื่อให้ดูมีมิติมากขึ้นก็ได้. และแสงเหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการแสดงออกทางสีหน้าของนักแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน.

สรุป ไฟเวทีนั้น…


จำเป็นต่อสถานบันเทิง สื่อภาพยนต์ หรือแม้กระทั้งร้านอาหารเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นการช่วยเล่าเรื่องราวบนเวทีนั้นๆ ว่ากำลังสื่อถึงอารมณ์อะไรอยู่ มากกว่าการใช้ประดับตกแต่ง.  ส่วนวันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก thoughtco, studiobinder, prosound 

บทความที่คุณอาจสนใจ..

Share :

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก