วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ เลือกยังไงให้ปัง!? อยากรู้ คลิกเลย!

วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ เลือกยังไงให้ปัง!? อยากรู้ คลิกเลย!

Estimated reading time: 9 นาที

สวัสดีครับ ห่างหายกันไปนาน สำหรับ “เคล็ดลับในการเลือกซื้อ” โดยในวันนี้ผมมี วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นการรวบรวมทุกสิ่งอย่างที่ผมรู้ เกี่ยวกับ โปรเจคเตอร์ มาอธิบายให้สั้น กระชับ และเข้าใจง่ายตามสไตล์ของผม โดยก็จะมีกล่าวถึงกันในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการฉายภาพ โปรเจคเตอร์, รูปแบบของแสง ไฟ โปรเจคเตอร์ ไปจนถึงพอร์ตการเชื่อมต่อของโปรเจคเตอร์

หลังจากอ่านบทความนี้จบรับประกันว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจหลักการทำงานเบื้องต้นของโปรเจคเตอร์ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกโปรเจคเตอร์ดีดีซักตัวได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน โปรเจคเตอร์ตัวนึงก็ไม่ใช่ถูกๆ ซื้อไปแล้วไม่ตอบโจทย์การใช้งาน โดนเมียด่าตาย ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ อย่างโปร!!
เลือกยังไงให้ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน?

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ Projector

เลือกช้อปสินค้า โปรเจคเตอร์

ก่อนที่จะเข้าเรื่อง วิธีเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ ผมต้องขออนุญาติอธิบายกันก่อนว่า โปรเจคเตอร์ คืออะไร โดยผมจะอธิบายง่ายๆ ว่าโปรเจคเตอร์ คือ อุปกรณ์ในส่วนของ Output ที่ทำหน้าที่ในการ รับข้อมูลจากเครื่องเล่น Blu-Ray หรือ คอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผล และสร้างภาพขึ้นมา (Generated) เพื่อฉาย (Projection) ไปยัง จอ, กำแพง หรือพื้นผิวอื่นๆ ที่ต้องการ โดยพื้นผิวที่จะฉายภาพไปส่วนมากจะเน้นเป็นพื้นผิวที่มีผิวเรียบ และมีสีที่อ่อน เพื่อให้ภาพที่ฉายมีความสวย และสดใสโดยไม่โดนสีของพื้นผิวทำให้ภาพผิดเพี้ยนไปนั่นเองครับ

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง โปรเจคเตอร์คืออะไร?

สารบัญ

เลือกโปรเจคเตอร์ให้ตรงกับงาน

เลือกโปรเจคเตอร์ให้ถูกกับงาน

เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานโปรเจคเตอร์ ในการชมภาพยนต์ภายในบ้าน หรือนำเสนอ PowerPoint ในที่ทำงาน สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณจำเป็นต้องรู้เลยคือ คุณจะใช้งานอะไร? แล้วโปรเจคเตอร์แบบไหนที่จะตอบโจทย์การใช้งานของเพื่อนๆ ได้ดีที่สุดกันละ?

เลือกใช้งานโปรเจคเตอร์ให้ตรงกับงาน นั่นคือสิ่งสำคัญที่สุด

โปรเจคเตอร์ ดูหนัง
โปรเจคเตอร์ นำเสนองาน
โปรเจคเตอร์ พกพา
โปรเจคเตอร์ ดูหนัง

โปรเจคเตอร์ ดูหนัง (Home Theater Projectors)


โปรเจคเตอร์ ดูหนัง เป็นโปรเจคเตอร์ที่เน้นในเรื่องของคุณภาพ (Quality) ของภาพ และคอนทราสก์ (Contrast) ที่สูง สีดำ ต้องดำสนิท (Deep Black) และสีสีนของภาพต้องสวยสด (Rich Color Saturation) หากเพื่อนๆ ต้องการประสบการณ์การชมภาพยนต์ให้ดียิ่งขึ้นกว่านั้นอีก แนะนำว่าให้มองหา โปรเจคเตอร์ 4K ที่จะช่วยให้รายละเอียดของภาพที่ดียิ่งขึ้น และสีสันที่สวยสดยิ่งกว่า ช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนต์ขั้นสุด!

โปรเจคเตอร์ ดูหนัง เป็นโปรเจคเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้เหมือนกับคุณกำลังชมภาพยนต์อยู่ภายในโรงภาพยนต์จริงๆ แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมที่จะนำไปใช้เป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อย แนะนำว่าควรที่จะมีห้องที่มีไว้สำหรับชมภาพยนต์โดยเฉพาะ ควรจะเป็นห้องที่มืดสนิท ไม่มีแสงภายนอกเล็ดลอดเข้ามารบกวน จะเป็นอะไรที่เพอเฟ็คต์เป็นอย่างมาก

หรือหากไม่มีห้องในลักษณะนั้น ทีมงานแนะนำให้เพื่อนๆ มองหาโปรเจคเตอร์ที่มีค่าความสว่างสูงขึ้นมาอีก และเลือกใช้จอโปรเจคเตอร์ที่เป็นจอ High Quality Reflective Screen ก็สามารถทดแทนในกรณีที่ไม่มีห้องสำหรับชมภาพยนต์โดยเฉพาะได้เช่นกันครับ

โปรเจคเตอร์ นำเสนองาน

โปรเจคเตอร์ นำเสนองาน หรือ โปรเจคเตอร์สำหรับธุรกิจ


เป็นโปรเจคเตอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานในการนำเสนองาน, การประชุม หรือการเรียนการสอนภายในห้องเรียน โดยในบางครั้งอาจถูกเรียกว่า มัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ (Multimedia Projectors) หรือดาต้าโปรเจคเตอร์ (Data Projectors)

โดยโปรเจคเตอร์ นำเสนองาน จะมีจุดเด่นคือ ค่าความสว่าง (Brightness) ของโปรเจคเตอร์ จะมีความสว่างเป็นพิเศษ โดยจะมีค่าความสว่างที่มากกว่าโปรเจคเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ จึงเหมาะกับการใช้งานภายในห้องประชุม หรือห้องเรียนที่มีความสว่าง เพราะห้องประชุม หรือห้องเรียนตามปกติ จะเป็นห้องที่มีแสงสว่างมาก จากทางหน้าต่าง หรือหลอดไฟภายในห้อง ถูกออกแบบมาสำหรับการนำเสนอภาพนิ่งเป็นหลัก เช่น กราฟ และสไลด์ PowerPoint แต่ก็ยังสามารถใช้งานด้านมัลติมีเดียได้ในบางกรณีครับ

โปรเจคเตอร์ พกพา

โปรเจคเตอร์พกพา (Portable Projectors)


โปรเจคเตอร์พกพา จะมีขนาดตัวที่เล็ก กะทัดรัด และมีน้ำหนักตัวไม่ถึง 1.5 กก. เพื่อนๆ สามารถที่จะถือโปรเจคเตอร์เหล่านี้ได้ด้วยมือเดียว แม้ขนาดตัวจะเล็กแต่ในเรื่องของคุณภาพของภาพที่ได้ ต้องบอกว่าทรงพลังมากพอที่จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมภาพยนต์เรื่องโปรดของเพื่อนๆ ได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ข้อดีที่ไม่พูดถึงไม่ได้ของโปรเจคเตอร์พกพาเลย คือ หลอดไฟของโปรเจคเตอร์พกพานั้นถูกออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเป็นพิเศษ และที่สำคัญเลยคือโปรเจคเตอร์เหล่านี้จะมีการติดตั้งใช้งานที่ง่ายมากๆ เพื่อนๆ สามารถพกออกไปประชุมนอกสถานที่, พักผ่อนกับครอบครัว หรือไปดูหนังที่บ้านเพื่อนตอนกลางคืน โปรเจคเตอร์พกพา ก็ตอบโจทย์การใช้งานเหล่านั้นได้ทั้งหมดครับ

รูปแบบการฉายภาพ

รูปแบบการฉายภาพ

ขอบเขตในการแสดงสีของโปรเจคเตอร์ เราจะเรียกกันว่า “Color Gamut” (คัล-เลอ-กา-มุท) โดยยิ่งโปรเจคเตอร์แสดงขอบเขตของสี (Color Gamut) ได้กว้างเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีเท่านั้น โดยโปรเจคเตอร์ในปัจจุบัน จะมีรูปแบบในการฉายภาพ แยกออกมาเป็น 3 แบบ โดยเราจะแยกกันด้วยเทคโนโลยีในการฉายภาพ ได้แก่

    1. เทคโนโลยีการฉายภาพแบบ DLP
    2. เทคโนโลยีการฉายภาพแบบ LCD หรือบางที่อาจจะเรียก 3LCD
    3. เทคโนโลยีการฉายภาพแบบ LCoS

โดยเทคโนโลยีการฉายภาพแต่ละแบบก็จะมีข้อดีของตัวเอง และให้ขอบเขตของสีที่แตกต่างกันไป ดังนี้ครับ

LCD โปรเจคเตอร์

LCD (Liquid Crystal Display)

    • มีค่าความสว่างมาก
    • เสียงขณะใช้งานเงียบ
    • ให้ภาพที่มีสีสันสวยงาม
DLP โปรเจคเตอร์

DLP (Digital Light Processing)

    • ให้ภาพเคลื่อนไหวที่ลื่นไหล เป็นธรรมชาติ
    • มีขนาดที่เล็ก พกพาง่าย
    • ให้ค่าคอนทราสก์ที่ดี
LCOS โปรเจคเตอร์

LCoS (Liquid Crystal on Silicon)

    • ให้ค่าความคมชัดและสีดำที่ยอดเยี่ยม
    • ให้สีสันและคอนทราสก์ที่ยอดเยี่ยม
    • ให้ภาพเคลื่อนไหวที่ลื่นไหลดูเป็นธรรมชาติ

โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องประเภทของการฉายภาพโปรเจคเตอร์แบบละเอียดได้ที่
โปรเจคเตอร์ คืออะไร? มีกี่ประเภท!?

โปรเจคเตอร์ คืออะไร? มีกี่ประเภท!? บทความนี้มีคำตอบ

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับโปรเจคเตอร์กันแบบละเอียด พร้อมทั้งชี้จุดเด่น และข้อจำกัดกันแบบชัดๆ อยากรู้ คลิกเลย!

รูปแบบของแสง ไฟ โปรเจคเตอร์

โดยแหล่งกำเนิดแสง ไฟ โปรเจคเตอร์ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบหลักๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

Lamp โปรเจคเตอร์
LED โปรเจคเตอร์
LAMP โปรเจคเตอร์

ยุคเริ่มแรกของ หลอดไฟ โปรเจคเตอร์
High-Intensity Discharge Lamp หรือ HID Lamp


HID Lamp เป็นแหล่งกำเนิดแสง ไฟ โปรเจคเตอร์ ที่ผลิตขึ้นมาจาก เหล็ก Halide (Metal Halide) และปรอท (Mercury Vapor) เป็นแหล่งกำเนิดแสงของโปรเจคเตอร์ ที่เก่าแก่ที่สุด ถูกคิดค้นขึ้นราวๆ ปี 1960 เป็นหลอดไฟ (ขออนุญาติเรียกว่าหลอดไฟนะครับ) ที่ให้ความสว่าง 100 ลูเมนต่อ 1 วัตต์

แต่มี ข้อเสีย หลักๆ เลยคือ รูปแบบการกำเนิดแสงของ หลอดไฟแบบ HID Lamp มีผลข้างเคียงที่ตามมาด้วย คือ ในขณะที่ใช้งานความร้อนของตัวหลอดไฟจะสูงมาก จำเป็นต้องมีพัดลมในการระบายความร้อนของตัวหลอดไฟ เพื่อให้หลอดไฟไม่โอเวอร์ฮีทจนพัง จึงส่งผลให้ในขณะที่ใช้งาน จะมีเสียงการทำงานของพัดลมที่ดัง รบกวนสมาธิขณะใช้งานครับ

นอกจากนี้การใช้งานยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีก เช่น เมื่อเปิดใช้งาน จำเป็นต้องรอให้หลอดไฟทำงานไปสักประมาณ 1 นาที เพื่อให้ได้ความสว่างสูงสุดตามที่ควรจะเป็น และเวลาปิดเครื่องก็จำเป็นต้องรอราวๆ 1 นาที เพื่อให้ปรอทด้านในได้ระบายความร้อนภายในให้หมดก่อนครับ

HID LAMP

ต่อมาจึงมีการพัฒนา UHP (Ultra-High Performance) Lamp ขึ้นมาทดแทน HID Lamp โดยหลอดไฟแบบ UHP จะให้ประสิทธิภาพที่ สูงกว่า HID ในทุกๆ ด้าน แต่มีข้อเสียใหญ่ๆ เลยคือ หลอดไฟแบบ UHP จะเริ่ม สูญเสีย ความสว่าง เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ และหลอดไฟแบบ UHP จะใช้แหล่งกำเนิดแสง ที่สร้างแสงขึ้นมาจาก สารปรอท ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราครับ (ไอ้หย๋าาาาาาา~)

LED โปรเจคเตอร์

ก้าวถัดไปของ หลอดไฟ โปรเจคเตอร์
Light Emitting Diode หรือ LED


หลอดไฟแบบ LED เป็นแหล่งกำเนิดแสง ไฟ โปรเจคเตอร์ สเต็ปถัดมาที่ถูกนำมาใช้ใน โปรเจคเตอร์ ซึ่งเข้ามาทดแทน Lamp ที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และมี ข้อจำกัด ในการใช้งานที่ค่อนข้างมาก โดยหลอดไฟแบบ LED เป็นผลมาจากการที่เทคโนโลยีของมนุษย์เริ่มเข้าสู่ ระดับการผลิตชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก (Semi-Conductor) ได้

โดยหลอดไฟแบบ LED เข้ามา แก้ปัญหา ข้อจำกัดของ Lamp ในหลายๆ ด้านได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น การเปิด/ปิด ที่สามารถทำได้ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น, การจัดการความร้อนของหลอดไฟ, ขนาดเล็ก กว่าหลอดไฟแบบ Lamp และที่สำคัญเลยคือ หลอดไฟแบบ LED เป็นหลอดไฟที่ ไม่ก่อให้เกิด สารปรอท ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ใช้งานเหมือนกับหลอดไฟแบบ Lamp

โดยในปัจจุบัน หลอดไฟแบบ LED ก็ยังเป็นรูปแบบของ ไฟ  โปรเจคเตอร์ ที่ ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยคุณภาพที่ยอดเยี่ยม และราคาที่ค่อนข้างน่าคบหา จัดเป็นทางเลือกที่ดูดีทีเดียวครับ

LED

สู่ยุคใหม่ของ แหล่งกำเนิดแสง ไฟ โปรเจคเตอร์
Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation หรือ LASER


สู่มาตรฐานใหม่ของแหล่งกำเนิดแสง ไฟโปรเจคเตอร์ ด้วยการมาถึงของเลเซอร์ เทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของ โปรเจคเตอร์ โดย LASER ย่อมาจากคำว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation (การขยายแสงโดยใช้การกระตุ้นการปล่อยรังสี) โดยแสง เลเซอร์ นั้นจะเป็นแสงชนิดพิเศษที่ไม่เหมือนกับแสงโดยทั่วไปที่เราๆ รู้จักกัน!

ตามปกติแสงจะเดินทางกระจายออกไปในหลายๆ ทิศทาง และจะค่อยๆ อ่อนลง เมื่อเดินทางไปในระยะทางที่ไกลยิ่งขึ้น กลับกัน แสงเลเซอร์ จะมีการเดินทางของแสงที่ค่อนข้างพิเศษ แสงเลเซอร์ ถูกออกแบบมาให้เดินทางไปในแนวตรง เพื่อให้สามารถเดินทางไปในระยะทางที่ ไกลกว่า แสงปกติเป็นอย่างมาก ด้วยการบีบอัดอนุภาคของแสง ทำให้แสงเลเซอร์จะมีความเข้มข้น และให้ความสว่างเป็นอย่างมาก เรียกว่า สว่างที่สุด และให้ สีสันที่สวยสดที่สุด เมื่อเทียบกับหลอดไฟทุกรูปแบบที่กล่าวมาเลยครับ (เรียกว่าเป็นเดอะเบสเลยฮ้ะ ~)

แต่อย่างไรก็ตาม แม้แสงเลเซอร์จะมีข้อดีในเรื่องของความสว่าง และสีสันที่สวยสด แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากแสงเลเซอร์นั้นสามารถให้กำเนิดแสงได้เพียงสีเดียว ทางผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ส่วนมากจะเลือกใช้แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน แล้วยิ่งผ่านแผ่น RGB เพื่อแยกแสงออกเป็น 3 สี แล้วส่งไปรวมกันที่แผง LCD เพื่อให้เกิดเป็นภาพ จึงส่งผลให้เกิดเป็น ข้อจำกัดสำคัญ ของ เลเซอร์ คือ เทคโนโลยีเลเซอร์ยังนับว่าใหม่มากสำหรับวงการโปรเจคเตอร์ แม้จะมีข้อดีที่มากมาย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าตัวที่ต้องยอมรับกันตามตรงว่า โหดใช้ได้” เรียกว่าโหดที่สุด เมื่อเทียบกับโปรเจคเตอร์ที่ใช้แหล่งกำเนิดไฟทั้งหมดก่อนหน้าครับ

LASER
เปรียบเทียบ ไฟ โปรเจคเตอร์ ทั้ง 3 แบบ

คุณสมบัติของโปรเจคเตอร์

ถัดมาก็จะเป็นเรื่องของคุณสมบัติของโปรเจคเตอร์ที่สำคัญๆ โดยในส่วนนี้ก็จะมีลักษณะของค่าต่างๆ ที่ค่อนข้างคล้าย กับของทีวี (ก็เป็นเอาต์พุตด้านภาพเหมือนกันนิเนอะ) แต่ก็จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยผมจะยกคุณสมบัติต่างๆ มาให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้ครับ

Resolution ความละเอียด
Brightness ความสว่าง
Contrast ความต่างของสี
Throw Ratio อัตราส่วนภาพ

Resolutions | ความละเอียด

Resolutions หรือความละเอียด คือ ค่าที่บ่งบอกถึงจำนวนของเม็ดพิกเซล (Pixel) บนหน้าจอนั้นๆ โดยยิ่งค่าของความละเอียดมากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าปริมาณของเม็ดพิกเซลยิ่งเยอะเท่านั้น การที่เม็ดพิกเซลเยอะ

ยิ่ง Resolution ของโปรเจคเตอร์มากเท่าไหร่ ย่อมหมายความว่าภาพที่ได้จะยิ่งคมชัดมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีความละเอียดที่มาก หมายความคุณสามาถนั่งใกล้จอแล้วสามารถมองเห็นภาพที่ไม่แตกเป็น เม็ด Pixel ซึ่งเชื่อเถอะครับ ไม่มีใครชอบการชมภาพยนต์แบบภาพแตกละเอียดแน่นอน โดยความละเอียดของโปรเจคเตอร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน ก็จะมีค่าต่ำสุดที่ 480p (ทีมงานไม่มั่นใจว่าจะยังมีอยู่มั้ยนะครับ) ไปจนถึง 4K หรือในปัจจุบันเราจจะสามารถพบเห็น ความละเอียดมากถึง 8K บนโปรเจคเตอร์ได้แล้วครับ

โดยเทคนิคในการเลือกซื้อโปรเจคเตอร์หากจะพิจารณาถึงความละเอียด ทีมงานแนะนำว่าให้พิจารณาจาก ความละเอียดปกติที่เพื่อนๆ ใช้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น หากเพื่อนๆ จะซื้อโปรเจคเตอร์ไปใช้งานในการรับชมภาพยนต์ ร่วมกับเครื่องเล่น Blu-ray 4K เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเลือกโปรเจคเตอร์ที่ให้ความละเอียดถึง 4K, หากเพื่อนๆ จะซื้อโปรเจคเตอร์ไปใช้ในการแชร์ภาพหน้าจอของ PC หรือแล็ปท็อป ก็เลือกซื้อโปรเจคเตอร์ความละเอียด 1080p ก็น่าจะเพียงพอครับ

เปรียบเทียบความละเอียดโปรเจคเตอร์

Brightness | ความสว่าง

ความสว่างของโปรเจคเตอร์ จะใช้หน่วยวัดเป็น ลูเมน(Lumens) ยิ่งโปรเจคเตอร์มีค่าลูเมนสูง ก็หมายความโปรเจคเตอร์นั้นมีค่าความสว่างที่มาก โดยโปรเจคเตอร์จะแยกค่าความสว่างออกเป็น 2 ค่า ได้แก่ ความสว่างของสีขาว (White Brightness) และความสว่างของสีสัน (Color Brightness)

    • ความสว่างของสีขาว (White Brightness) : เป็นค่าที่บอกปริมาณความสว่างแสงสีขาว ของโปรเจคเตอร์ โดยไม่นับรวมกับแสงสีอื่น
    • ความสว่างของสีสัน (Color Brightness) : เป็นค่าที่บอกปริมาณของสีที่ฉาย ยิ่งตัวเลขมีค่ามาก เพื่อนๆ จะยิ่งได้สีสันที่สวยสด และรายละเอียดของสีที่ดียิ่งขึ้น
ภาพตัวอย่างจาก โปรเจคเตอร์

โดยอย่าลืมที่จะเทียบค่า ความสว่างของสีขาว และสีสัน หากค่าความสว่างของสี ต่ำกว่าค่าความสว่างของสีขาว ภาพที่ได้อาจจะมืด หรือมัวได้ครับ

หากคุณจะซื้อ โปรเจคเตอร์ สำหรับการนำเสนองาน ทีมงานแนะนำให้มองหา โปรเจคเตอร์ ที่มี ค่าลูเมน ให้มากเข้าไว้ ทั้งความสว่างของสีขาว และสีสัน

แต่ถ้าหากคุณจะซื้อ โปรเจคเตอร์ สำหรับการใช้งานในการชมภาพยนต์ ไม่จำเป็นว่า โปรเจคเตอร์ ที่มี ค่าลูเมน มากกว่า จะดีกว่าเสมอไป เพื่อนจำเป็นต้องเลือก โปรเจคเตอร์ ที่ให้ความสว่างที่เพียงพอ ไม่สว่างจนเกินไป มิเช่นนั้น แสงสว่างที่มากเกินไปอาจจะกลบให้คอนทราสก์ ของภาพที่ได้ ดูไม่สวยงามอย่างที่มันควรจะเป็นครับ

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ความสว่าง (Brightness) ของโปรเจคเตอร์

Contrast Ratio

Contrast Ratio | ความต่างของสี

คอนทราสก์ คือ ค่าที่ใช้ในการวัดความต่างระหว่างจุดที่มืดที่สุด และสว่างที่สุดของภาพ โดยโปรเจคเตอร์ที่มีค่าคอนทราสก์ที่สูง จะช่วยให้คุณมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดของเงาจะมีความชัดเจน สีดำจะมีความลึก ช่วยให้รายละเอียดต่างๆ ของภาพดูมีมิติ เพิ่มความลึกให้กับองค์ประกอบต่างๆ 

คอนทราสก์เป็นค่า ที่คุณ จำเป็น ต้องพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ หากคุณกำลังมองหาโปรเจคเตอร์สำหรับชมภาพยนต์ภายในบ้าน (Home Theater)

HDR

และลูกเล่นอีกอย่างนึงที่เป็นที่ฮอตฮิตในปัจจุบัน สำหรับคอหนังในบ้านเราเลยคือ ฟีเจอร์ HDR (High Dynamic Range) ทีมงานขอบอกว่าใน โปรเจคเตอร์ ดูหนัง ตัวท็อปๆ ก็มีฟีเจอร์นี้เช่นกัน โดยเจ้าฟีเจอร์ HDR นั้นจะเป็นฟีเจอร์ ที่จะช่วยยกระดับให้ภาพมีสีสันที่สวยสด กว่าปกติ แสงเงาของภาพจะดูดียิ่งขึ้น และที่สำคัญเลยคือ ความต่างของจุดที่สว่างและมืดที่สุด จะยิ่งชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Throw Ratio อัตราส่วนในการฉายภาพ

Throw Ratio | อัตราส่วนในการฉายภาพ

อัตราส่วนในการฉายภาพ จะเป็นค่าที่บอกคุณว่า ภาพที่ได้จากโปรเจคเตอร์ จะกว้างแค่ไหน เมื่อเราวางโปรเจคเตอร์ในระยะห่างจากหน้าจอที่กำหนด ยกตัวอย่าง เช่น Throw Ratio 1.25 : 1 หมายความว่า หากฉายโปรเจคเตอร์ห่างจากหน้าจอในระยะ 1 ฟุต จะได้ภาพกว้าง 1.25 และถ้าหากวางโปรเจคเตอร์ไว้ห่างจากจอ 25 (1.25×20) ฟุต ก็ได้จะภาพกว้าง 20 ฟุต (1×20) นั่นเองครับ

อัตราส่วนในการฉายภาพ มีความสำคัญอย่างมาก เมื่อคืนจะเลือกซื้อโปรเจคเตอร์สักตัว และจำสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าหากห้องที่คุณจะนำ โปรเจคเตอร์ ไปใช้มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถวางโปรเจคเตอร์ให้ห่างจากหน้าจอได้มากพอ ทีมงานแนะนำให้ลองมองหา โปรเจคเตอร์ที่มีระยะในการฉายสั้น ซึ่งเป็นโปรเจคเตอร์ที่จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของพื้นที่ที่มีจำกัดครับผม

พอร์ตการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์แบบใช้สาย
การเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์แบบไร้สาย

ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการฉายภาพ มีสิ่งนึงที่คุณจะมองข้ามไม่ได้เลย นั่นคือ “การเชื่อมต่อ” อุปกรณ์ในการป้อนข้อมูล เข้าไป (Inputs) ยังโปรเจคเตอร์ เพื่อฉายภาพ โดย โปรเจคเตอร์ ในปัจจุบัน มีพอร์ตการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ไม่ต่างจาก ทีวี หรือคอมพิวเตอร์ โดย โปรเจคเตอร์ ดูหนัง (Home Theater Projectors) ก็จะมีอินพุตแบบนึง และ โปรเจคเตอร์นำเสนองาน (Business Projectors) ก็จะมีอินพุตอีกแบบนึง โดยแต่ละแบบก็จะมีอินพุตตามนี้ครับ

โปรเจคเตอร์ ดูหนัง | Home Theater Projectors

โดยทั่วไปแล้ว โปรเจคเตอร์ ดูหนัง จะมาพร้อมช่องอินพุต HDMI อย่างน้อย 1 ช่อง ไว้สำหรับรับอินพุตจาก กล่องเคเบิลดาวเทียม, เครื่องเล่น Blu-ray, เครื่องเล่นเกมคอนโซล และอุปกรณ์อื่นๆ

นอกจากพอร์ต HDMI แล้ว โปรเจคเตอร์ ดูหนัง ของเพื่อนๆ อาจจะมีพอร์ตอินพุตอื่นๆ เช่น VGA, SD Card หรือ USB มาด้วย แต่พอร์ตการเชื่อมต่อ ที่ โปรเจคเตอร์ ดูหนัง จำเป็นต้องมีเลยคือ พอร์ตเอาท์พุตสำหรับ “เสียง” เพราะ เสียง นับเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการชมภาพยนต์ ที่จะช่วยเพิ่ม อรรถรส ในการรับชมภาพยนต์ของเพื่อนๆ ให้ได้รับประสบการณ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดครับ

โดยการดูพอร์ตการเชื่อมต่อ ของ โปรเจคเตอร์ ในการประกอบการตัดสินใจนั้นก็ง่ายๆ คือเลือก โปรเจคเตอร์ ที่มีพอร์ตอินพุตเพียงพอต่อการเชื่อมต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่เพื่อนๆ มี หากเพื่อนๆ ต้องการเชื่อมต่อ เครื่องเล่น Blu-ray, เกมคอนโซล และกล่องเคเบิลทีวี เพื่อนๆ ก็ควรเลือก โปรเจคเตอร์ ที่มีอินพุต HDMI อย่างน้อย 3 ช่อง 

การเชื่อมต่อ โปรเจคเตอร์นำเสนองาน

โปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองาน | Business Projectors

โปรเจคเตอร์ นำเสนองาน หรือ Business Projectors โดยทั่วไปจะมาพร้อมอินพุตแบบ VGA หรือ USB เป็นมาตรฐานปกติ แต่ในโปรเจคเตอร์ นำเสนองานบางตัวจะมีอินพุต DVI หรือ HDMI มาให้ด้วย

นอกจากนี้โปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองาน โดยส่วนมากจะมีฟีเจอร์ในการเชื่อมต่อแบบไร้สายมาให้ด้วย ทีมงานแนะนำว่า หากเพื่อนๆ จะซื้อ โปรเจคเตอร์ นำเสนองาน เพื่อนๆ ควรเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ที่มีฟีเจอร์ในการเชื่อมต่อแบบไร้สายไปเลยจะดีที่สุด มันจะช่วยให้การนำเสนอของเพื่อนๆ ง่าย และดูเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้นครับ

ประเภทและขนาดจอโปรเจคเตอร์

ทำไมต้องใช้จอโปรเจคเตอร์

อย่างที่เรารู้กันว่าเราสามารถใช้ผนังห้องหรืออะไรก็ตามที่มีผิวเรียบและเป็นสีขาว แทนจอโปรเจคเตอร์ได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ จอโปรเจคเตอร์ ที่มีคุณภาพ จะช่วยให้ภาพที่ได้ มีสีสันและดูสมจริงยิ่งกว่า เนื่องจากจอโปรเจคเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อฉายภาพโดยเฉพาะ จึงมีคุณสมบัติในการรับ และสะท้อนแสงที่ดีกว่าพื้นผิวอื่นๆ

โดยจอโปรเจคเตอร์จะมี 2 สีหลักๆ ที่เรามักพบเห็นกันได้ นั่นคือ จอโปรเจคเตอร์สีขาว และจอโปรเจคเตอร์สีเทา โดยจอโปรเจคเตอร์สีขาว จะช่วยให้ภาพที่ฉาย มีความสว่างมากขึ้น เหมาะกับการใช้กับ โปรเจคเตอร์นำเสนองาน และจอโปรเจคเตอร์สีเทา จะช่วยให้ภาพที่ฉาย มีค่าคอนทราสก์ที่ดี และให้สีสันที่สวยโดดเด่นมากยิ่งขึ้น จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการใช้งานกับ โปรเจคเตอร์ ดูหนัง

ขนาดจอโปรเจคเตอร์ Projectors Screen Size

เลือกขนาด จอโปรเจคเตอร์ ให้เหมาะสม

โปรเจคเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้คุณได้เห็นภาพที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ ทีวี จะให้คุณได้ โดยอัตราส่วนของ จอโปรเจคเตอร์ ควรที่จะแมตช์กับอัตราส่วนของเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ที่คุณมี โดยอัตราส่วนของโปรเจคเตอร์ก็จะมีให้เลือกเหมือนกับทีวีโดยทั่วไปเลยคือ 4:3, 16:9 และ 2.4:1

โดยขนาดของ จอโปรเจคเตอร์ ก็จะมีให้เพื่อนๆ เลือกใช้ตั้งแต่ 50 นิ้ว ไปจนถึง 300 นิ้ว แต่โดยส่วนมากขนาดของจอโปรเจคเตอร์ ที่เรามักพบเห็น กันได้คือ จอโปรเจคเตอร์ 100 นิ้ว, จอโปรเจคเตอร์ 120 นิ้ว, จอโปรเจคเตอร์ 150 นิ้ว และ จอโปรเจคเตอร์ 200 นิ้วขึ้นไป ทีมงานแนะนำให้เพื่อนๆ วัดขนาด และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับห้องของเพื่อนๆ ครับ

6 เคล็ดลับในการเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์

สรุป

วิธีเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ดีดีสักตัว มีปัจจัยให้เพื่อนๆ ต้องพิจารณาไม่น้อยเลย ทีมงานจะสรุปให้สั้นๆ ก่อนอื่นให้ดูความต้องการใช้งานของเราเป็นหลัก และเลือกประเภทของโปรเจคเตอร์ให้ตรงกับการใช้งาน และงบประมาณของเพื่อนๆ ส่วนในเรื่องอื่นๆ สามารถสอบถามมาที่ทีมงานของเราได้เลย SoundDD.Shop ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา ทั้งในด้านภาพและเสียง ผมหวังว่า คู่มือในการเลือกซื้อ โปรเจคเตอร์ นี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เลือกซื้อโปรเจคเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีและภาพประกอบจากจาก BestBuy, OfficePlus

โปรเจคเตอร์มีเทคโนโลยีการฉายภาพกี่แบบ? อะไรบ้าง?

ตอบ : โปรเจคเตอร์มีเทคโนโลยีการฉายภาพ 3 แบบ คือ 1.เทคโนโลยีการฉายภาพ LCD 2.เทคโนโลยีการฉายภาพ DLP 3.เทคโนโลยีการฉายภาพ LCoS

โปรเจคเตอร์มีแหล่งกำเนิดแสง ไฟ โปรเจคเตอร์ กี่แบบ? อะไรบ้าง?

ตอบ : โปรเจคเตอร์มีแหล่งกำเนิดแสง ทั้งหมด 3 แบบ คือ Lamp (หลอดไฟ HID), LED และ Laser

คุณสมบัติสำคัญที่ควรพิจารณา เมื่อต้องการซื้อโปรเจคเตอร์ มีอะไรบ้าง?

ตอบ : คุณสมบัติหลักๆ ที่ต้องพิจารณา เมื่อต้องการซื้อโปรเจคเตอร์ มีทั้งหมด 4 อย่าง คือ Resolutions (ความละเอียด), Brightness (ความสว่าง), Contrast (ความต่างของสี) และ Throw Ratio (อัตราส่วนในการฉายภาพ)

จำเป็นต้องใช้จอโปรเจคเตอร์ หรือไม่?

ตอบ : อย่างที่เรารู้กันว่าเราสามารถใช้ผนังห้องหรืออะไรก็ตามที่มีผิวเรียบและเป็นสีขาว แทนจอโปรเจคเตอร์ได้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ จอโปรเจคเตอร์ ที่มีคุณภาพ จะช่วยให้ภาพที่ได้ มีสีสันและดูสมจริงยิ่งกว่า เนื่องจากจอโปรเจคเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อฉายภาพโดยเฉพาะ จึงมีคุณสมบัติในการรับ และสะท้อนแสงที่ดีกว่าพื้นผิวอื่นๆ

บทความที่คุณอาจสนใจ..
แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก