USB VS XLR MICROPHONE แบบไหนดีกว่ากัน? ควรใช้แบบไหน!?

XLR VS USB MICROPHONE
Home » เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) » USB VS XLR MICROPHONE แบบไหนดีกว่ากัน? ควรใช้แบบไหน!?

เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 นาที

คุณคงเคยได้ยินเรื่องราวประมาณว่า “XLR Microphone เสียงดีกว่า USB Microphone” และอาจจะสงสัยว่าแล้วมันดีกว่ากันจริงมั้ย? วันนี้ทางทีมงานจึงจับ USB VS XLR Microphone มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน และชี้จุดเด่นจุดด้อยของไมโครโฟนทั้ง 2 แบบ 

โดยส่วนตัวทางทีมงานเองใช้ไมโครโฟนทั้ง 2 แบบเลย แต่เลือกใช้งานในสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งไมโครโฟนแต่ละแบบ ก็มีจุดเด่นที่ต่างกัน หลังจากอ่านบทความนี้จบ เพื่อนๆ จะเลือกใช้ไมโครโฟนแต่ละแบบ ได้อย่างถูกต้อง และตอบโจทย์งานของเพื่อนๆ ได้อย่างแน่นอน

โดยไมโครโฟนที่เราจะหยิบยกมาพูดถึงกันในบทความนี้ จะเป็น Audio-Technica AT2020 และ Audio-Technica AT2020USB+ ถ้าพร้อมแล้ว ไปชมกันเลยครับ ~

USB VS XLR MICROPHONE แบบไหนดีกว่ากัน!?

แชร์หน้านี้ :
USB VS XLR Microphone แตกต่างกันยังไง

USB VS XLR Microphone แตกต่างกันยังไง?


เราจะเริ่มต้นกันในเรื่องของราคาของไมโครโฟนทั้ง 2 แบบ จากภาพด้านบน จะเห็นได้ว่า ไมโครโฟน USB มีราคาของตัวไมโครโฟน ที่แพงกว่าไมโครโฟนแบบ XLR 1 เท่าตัวโดยประมาณ

แต่เมื่อคิดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้เพื่อบันทึกเสียงหรือใช้งานต่างๆ แล้ว ไมโครโฟน USB จะมีราคาโดยรวมที่ถูกกว่า เนื่องจากไมโครโฟนแบบ XLR ไม่สามารถที่จะต่อตรงไปยัง PC ได้เลย หากจะใช้งาน เพื่อนๆ จำเป็นที่จะต้องมี Audio Interface ในการแปลงสัญญาณจาก อนาล็อก ไปเป็น ดิจิตอล (A to D) นั่นเองครับ

หากเป็น ไมโครโฟน USB เพื่อนๆ ไม่จำเป็นต้อง หา Audio Interface มาให้วุ่นวาย เพราะภายในตัวของไมโครโฟน USB จะมีตัวแปลงสัญญาณจาก อนาล็อก ไปเป็น ดิจิตอล (A to D)  อยู่ภายในตัวของไมโครโฟนอยู่แล้ว ต่อตรงสัญญาณเสียงเข้าไปยัง PC ได้เลยทันทีครับ

USB MICROPHONE

ข้อดีและข้อเสีย USB Microphone


ไมโครโฟน USB นั้นเป็นไมค์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ง่าย เพียงแค่ Plug&Play ก็สามารถใช้งานได้ในทันที ซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญของความดีงามทั้งหมดของไมโครโฟน USB เลยก็ว่าได้ครับ

ข้อดี

    • ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ให้มากมาย แค่มีแล็ปท็อปกับสาย USB ก็พร้อมใช้งานทันที
    • พกพาสะดวก คุณสามารถบันทึกเสียงได้ทุกที่
    • ใช้งบน้อยกว่า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นแต่มีงบจำกัด

ข้อเสีย

    • มีตัวเลือกในการอัพเกรดระบบน้อย อุปกรณ์เสียงโดยส่วนมากจะรองรับกับ XLR มากกว่า
การใช้งาน USB Microphone

การเชื่อมต่อ

จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการใช้งานที่เรียบง่ายสุดๆ แค่ต่อสาย USB จากตัวไมโครโฟนเข้ากับ PC และเสียบหูฟังเข้ากับตัวไมโครโฟนสำหรับมอนิเตอร์เสียง ก็พร้อมที่จะเริ่มงานต่างๆ ได้เลย ทำให้ไมโครโฟน USB ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างหลากหลาย พกพาสะดวก ไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์ต่างๆ ให้มากชิ้น มีเพียงแค่ไมโครโฟน, แล็บท็อป และหูฟัง ก็พร้อมสำหรับการสตรีมมิ่ง หรือบันทึกเสียงในทันที

XLR MICROPHONE

ข้อดีและข้อเสีย XLR Microphones


หากเพื่อนๆ ต้องการที่จะมองหาไมโครโฟนสำหรับบันทึกเสียงแบบจริงจัง ทีมงานแนะนำให้เริ่มต้นด้วยไมโครโฟน XLR ไปเลยจะดีที่สุด จุดเด่นของไมโครโฟนแบบนี้ คือ สายเชื่อมต่อ 3-pin XLR เป็นสายมาตรฐานที่อุปกรณ์ต่างๆ ในสตูดิโอ นั้นเลือกใช้ หมายความว่า การจะเพิ่มหรืออัพเกรดอุปกรณ์ต่างๆ จะมีทางเลือกที่มากกว่านั่นเองครับ

ข้อดี

    • มีตัวเลือกในการอัพเกรดระบบที่มากกว่า สามารถเลือกอัพเกรดไปทีละส่วนได้
    • ใช้สายที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับอุปกรณ์ภายใน Studio อุปกรณ์เสียงโดยส่วนมากจะรองรับกับสาย XLR
    • ใช้งานบันทึกเสียงที่มีไมค์มากกว่า 2 ตัว ได้ดีกว่า เพราะมีอุปกรณ์ช่วยในการแยกการทำงานต่างๆ 

ข้อเสีย

    • ใช้งบที่มากกว่า เนื่องจากต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ในการจะใช้งาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
การใช้งาน XLR Microphone

การเชื่อมต่อ

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ภายในระบบจะต่อเชื่อมไปที่ Audio Interface ทั้งหมด โดย Interface จะทำหน้าที่ในการกระจายสัญญาณอนาล็อก ไปยังอุปกรณ์ Output ต่างๆ และแปลงสัญญาณอนาล็อก ให้เป็น ดิจิตอล แล้วส่งไปบันทึกที่ PC ผ่านทางสาย USB นั่นเองครับ

USB Microphone เหมาะกับงานแบบใด
XLR Microphone เหมาะกับงานแบบใด

ไมโครโฟนแต่ละแบบเหมาะกับงานแบบใด?


ไมโครโฟนทั้งสองแบบ แม้จะแตกต่างกันเพียงแค่พอร์ตการเชื่อมต่อ XLR หรือ USB แต่การใช้งานโดยรวมค่อนข้างแตกต่างกัน โดยทางทีมงานมีคำแนะนำในการเลือกใช้ไมโครโฟนทั้ง 2 แบบ ดังนี้ครับ

USB Microphone

เหมาะกับงาน ประชุมออนไลน์(Online Meetings), เสริมไมโครโฟนสำหรับเล่นเกม(Gaming) และ สตรีมมิ่ง(Steaming) เพราะจริงๆแล้ว ไมโครโฟนแบบ USB ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานแนวนี้โดยเฉพาะ ด้วยความง่ายในการติดตั้ง และมีซอฟต์แวร์ที่รองรับการใช้งานด้านนี้ให้เลือกใช้มากมายครับ

มีการติดตั้งใช้งานที่ง่าย สะดวก ไม่ว่าใครก็สามารถที่จะ Set up ระบบได้

XLR Microphone

เหมาะกับงาน บันทึกเสียงที่มีความเป็นมืออาชีพ(Professional Recording) ด้วยความที่มีอุปกรณ์ในระบบที่มากกว่า ทำให้เราจัดการรายละเอียดของเสียงได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดการกับเสียงร้อง, เสียงกีต้าร์ หรือจะเป็นการเลือก Audio Interface ที่ตอบโจทย์ความต้องการในเรื่องของการแปลง A to D ต้องบอกว่าด้วยการเชื่อมต่อแบบ XLR จะตอบโจทย์งานด้านนี้มากกว่านั่นเองครับ

สำหรับงานบันทึกเสียง XLR จะให้ อิสระ และความยืดหยุ่นในการทำงานที่มากกว่า

และหากจะถามว่า ไมโครโฟนแบบ USB สามารถนำมาใช้ในการบันทึกเสียงระดับ Studio ได้มั้ย? ทีมงานก็ต้องขอตอบว่า “ใช้ได้อย่างแน่นอน” เนื่องจากตัวแคปซูล และการทำงานต่างๆ ภายใน ก็เป็นการรับเสียง และแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลเหมือนกัน แต่ความยืดหยุ่นในการใช้งานระดับ Studio เมื่อนำมาเทียบกับไมโครโฟนแบบ XLR การที่มีทางเลือกและสามารถแก้ไขรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้มากกว่านับว่าช่วยในงานด้านนี้ได้ดีกว่านั่นเองครับ

สรุป XLR VS USB Microphone

สรุป


ไม่ว่าจะเป็นไมโครโฟนแบบ XLR หรือไมโครโฟนแบบ USB ก็มีข้อดีและข้อเสีย ในการใช้งาน สิ่งที่ทีมงานอยากจะแนะนำคือ ให้เพื่อนๆ เลือกใช้งานไมโครโฟน ตามโจทย์ในการใช้งานของเพื่อนๆ จะเป็นอะไรที่ลงตัว และเกิดผลดีกับงานนั้นๆ มากที่สุด หากจะใช้แค่ประชุมออนไลน์ หรือสตรีมเกม ไมโครโฟน USB ก็เพียงพอแล้ว แต่หากต้องการจะบันทึกเสียง เริ่มต้นด้วย ไมโครโฟน XLR ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีด้วย หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามที่ทีมงานขายของเราได้ SoundDD.Shop ยินดีให้คำแนะนำในการเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องเสียง วันนี้ผมต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ ~

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก Audio University, Lewitt และ Buzzsprout 

บทความที่คุณอาจสนใจ..

แชร์หน้านี้ :

บทความ สาระความรู้

รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์

ติดเทรนไปด้วยกันที่รวมเพลงฮิต 2024 ลิสต์เพลงดังโซเชียล เอาใจสายปาร์ตี้ ร้องเกะในช่วงสงกรานต์ ทุกแนวเพลงร้อง เต้น ปาร์ตี้ได้อย่างเมามัน

เพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ ไม่ตายไมค์ มั่นใจทุกคีย์

ปีใหม่ สงกรานต์ งานสังสรรค์ ฯลฯ เลือกเพลงไว้ร้องอย่างไร ให้เฉิดฉาย เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) SoundDD มีเพลงคาราโอเกะ ร้องง่ายๆ มาแนะนำครับ

หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้นจริงหรือ!?

เกร็ดความรู้ (Tip & Trick) หูฟังใส่นอน (Sleepbuds) ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นจริงหรือ!? บทความนี้มีคำตอบ คลิกเลย!!

พาชมบรรยากาศงาน SC OPEN HOUSE 2024 ณ อาคาร วิชัย กรุ๊ป

พาชมภาพบรรยากาศ SC OPEN HOUSE 2024 การอัพเดตผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น ชุดไมค์ประชุม, โซลูชันห้องประชุม, Network Switch สำหรับระบบ AV พร้อมชม Solutions สำหรับห้องรูปแบบต่างๆ

ผลงานการติดตั้ง

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL PASION จากทีมงาน SoundDD โดย บริษัท เอสพีเค ซาวด์ ซิสเต็มส์ จำกัด

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด

ผลงานติดตั้งวันนี้พบกับ ระบบเสียงแบคกราวด์ มิวสิค บริษัท สุกี้นินจาร่ำรวย จำกัด หรือ ร้านสุกี้นินจา ครับ เป็นระบบง่ายๆ แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพ!

ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND

พาชมผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ JBL BEYOND สุดพรีเมียมและให้เสียงคาราโอเกะอันเป็นเอกลักษณ์ของ JBL

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ พร้อมจออินเตอร์แอคทีฟ

ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงและภาพ ด้วยชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ JBL EON208P ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก