เวลาอ่านโดยประมาณ : 3 minutes
สำหรับผู้ที่กำลังสนใจ หรือมองหาตู้ลำโพง ต้องผ่านการศึกษาสเปคของลำโพงมาบ้าง คงคุ้นๆ กับค่า Impedance คืออะไร? วันนี้เราจะมาติว “วิธีการดูสเปคลำโพง” เบื้องต้นกัน เกี่ยวกับเรื่องของค่า Impedance (อิมพิแดนซ์) ลำโพง พร้อมเทคนิคการต่อลำโพง โดยศึกษาจากค่า Impedance (อิมพิแดนซ์) เบื้องต้นกันครับ

ค่า Impedance คืออะไร?

ข้อควรรู้เกี่ยวกับค่า Impedance
ค่า Impedance ตัวเลขต่างๆ ที่เราพบเจอในข้อมูลสเปค ไม่ใช่ค่าตายตัวของแอมป์ หรือลำโพง แต่เป็นค่าที่ให้ข้อมูลกับเราว่าแอมป์ หรือลำโพงนั้นๆ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ค่าความต้านทานเท่าไหร่
ค่า Impedance หรือค่าความต้านทานที่ใช้งานจริง อาจจะสูง หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ในบางงาน ซึ่งแอมป์ หรือลำโพงก็ยังสามารถรองรับการทำงานได้ หรือผิดเพี้ยนไปจากค่าที่แจ้งไว้ หรือสูงกว่าได้
เทคนิคการต่อลำโพง โดยศึกษาจากค่า Impedance
วิธีการต่อลำโพง ถือว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้น วิธีการต่อลำโพงสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ แบบอนุกรม (Series), แบบขนาน (Parallel), และแบบผสม (Series-Parallel)

การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series)
การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ไปต่อกับขั้วลบ (-) ของดอกลำโพงใบถัดไปเรื่อยๆ การต่อลำโพงแบบอนุกรม มีผลทำให้ค่า Impedance รวมเพิ่มมากขึ้น
วิธีการคำนวณ
จากสมการ ZT (ค่า Impedance รวม) = Z1 + Z2 + Z3 ….+ Zn หรืออย่างเข้าใจง่าย โดยนำค่า Impedance ของดอกลำโพงมาบวกกัน
ตัวอย่าง
มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 2 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม, ดอกที่ 3 มีค่าอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม, ดอกที่ 4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม
ค่าอิมพิแดนซ์รวม = 8 + 8 + 4 + 4 = 24 โอห์ม
สรุป
ความต้านรวมที่มากขึ้นทำให้แอมป์ไม่เสียหาย แต่ก็มีข้อจำกัด คือ หากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา หรือเสีย ก็จะทำให้การต่อลำโพงทั้งหมด ไม่ทำงาน ไม่มีเสียง และอีกหนึ่งข้อจำกัด คือ ลำโพงทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะความต้านทานที่มากขึ้น ลดทอนสัญญาณจากแอมป์ เกิดการสูญเสียของสัญญาณเสียงไป ความคมชัดของเสียงลดลง เสียงเบาตามไปด้วย

การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel)
การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel) คือ การต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวก (+) ต่อกับขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-) ต่อกับขั้วลบ (-) โดยการต่อลำโพงแบบขนาน มีผลทำให้ค่าอิมพิแดนซ์รวมลดลง
วิธีการคำนวณ
จากสมการ 1/ZT (อิมพิแดนซ์รวม) = (1/Z1 ) + (1/Z2 ) + (1/Z3 )…(1/Zn) การคำนวณแบบขนาน จะค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กรณีที่ทุกดอกมีอิมพิแดนซ์เท่ากัน สามารถนำค่าอิมพิแดนซ์มาหารจำนวนของดอกลำโพงได้เลย
ตัวอย่าง
มีดอกลำโพงจำนวน 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
1/ค่าอิมพิแดนซ์รวม = (1/8) + (1/8) + (1/8) + (1/8)
ค่าอิมพิแดนซ์รวม = 4/8 แล้ว กลับเศษเป็นส่วน ได้ 8/4
ค่าอิมพิแดนซ์รวม = 2 โอห์ม
หรือในกรณีที่ดอกลำโพงมีค่าอิมพิแดนซ์เท่ากัน
มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1, 2, 3, และ 4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
อิมพิแดนซ์รวม = (อิมพิแดนซ์) / (จำนวนดอก)
อิมพิแดนซ์รวม = 8/4
อิมพิแดนซ์รวม = 2 โอห์ม
สรุป
เป็นการต่อลำโพงที่ง่ายที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัด หากยิ่งต่อลำโพงมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ค่าความต้านทานรวมต่ำลงไปเรื่อยๆ ส่งผลให้แอมป์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดความร้อนสะสมขึ้นเรื่อยๆ

การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit)
การต่อลำโพงแบบผสม (Series-Parallel Circuit) คือ การต่อลำโพงที่นำการต่อลำโพงแบบอนุกรม และขนานมารวมผสมกัน
วิธีการคำนวณ
คิดคำนวณทีละส่วน คือ ส่วนที่ต่อแบบอนุกรม และส่วนที่ต่อกันแบบขนาน แล้วจึงนำส่วนดังกล่าวมาอนุกรมหรือขนานกับแล้วแต่ความเหมาะสม
ตัวอย่าง
มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 ต่อแบบอนุกรมกับดอกที่ 2 และดอกที่ 3 อนุกรมกับดอกที่ 3 และที่สองชุดขนานกัน
อิมพิแดนซ์รวม = (8 + 8) // (8 + 8)
อิมพิแดนซ์รวม = 16 / 16
อิมพิแดนซ์รวม = 8 โอห์ม
สรุป
การต่อลำโพงแบบผสม มีความซับซ้อนเล็กน้อย แต่จะให้เสียงที่ค่อนข้างดี ทั้งยังสามารถควบคุมความต้านทานรวมได้เพื่อที่จะให้แอมป์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ทำงานหนักจนเกินไป เสียงที่ออกมาก็เต็ม คมชัด ไม่เกิดการสูญเสียสัญญาณเสียงในระบบ
ข้อควรระวังในการต่อลำโพง
ข้อควรระวังของการการต่อลำโพง คือ เรื่องของขั้วลำโพง หากต่อลำโพงพ่วงกันหลายดอก เกิดปัญหาต่อกันผิดขั้ว ก็จะส่งผลให้เกิดการหักล้างของเฟสกัน ทำให้ได้เสียงที่เบาลง และหากการต่อพ่วงลำโพงมากจนเกินไป ทำให้ค่าอิมพิแดนซ์ต่ำเกินไป อาจสร้างความเสียหายต่อเพาเวอร์แอมป์ได้ เพราะเพาเวอร์แอมป์บางตัว บางรุ่นไม่ได้ออกแบบมากเพื่อรองรับการใช้งานกับค่าอิมพิแดนซ์ต่ำ
โปรโมชั่นดูทั้งหมด
PRO MEGA DEAL เครื่องเล่นดีเจ Pioneer DJ ลดราคา On Top 15% พร้อมของแถมอีกมากมาย
เครื่องเสียง Home Audio Mega Deal ทั้งลด ทั้งแถม 2023
PRO MEGA DEAL ลำโพง JBL และไมค์ SHURE ลดราคา On Top 10% พร้อมของแถมอีกมากมาย
ข่าวสารอัพเดท A/V WORLDดูทั้งหมด
Sony Walkman กว่าจะมาเป็นตำนานเครื่องเล่นเสียงพกพา
Apple เปิดตัว HomePod 2 ลำโพงอัจฉริยะ พร้อมชิป S7
เปิดตัว STAGEPAS 200 ลำโพง PA แบบพกพาระดับมืออาชีพจากแบรนด์ YAMAHA
รีวิวสินค้าดูทั้งหมด
รวมไมค์ SARAMONIC แนะนำ ที่คุณไม่ควรพลาด! ของเขาดียังไง?
ลำโพงกลางแจ้ง ยอดนิยม ประจำปี 2022 By SoundDD.Shop
รีวิว SHURE KSM11 ดียังไง ทำไมศิลปินต่างพากันเลือกใช้ ?
7 อันดับ ไมค์สาย สำหรับร้อง/พูด ยอดนิยม ปี 2022 ที่คุณไม่ควรพลาด!
7 อันดับ ไมค์ลอย SHURE รุ่นไหนดี? แนะนำไมค์ลอยน่าใช้ ปี 2022
รีวิว Harman Kardon FLY ANC หูฟังตัดเสียงรบกวน ให้เสียงระดับพรีเมียม
เกร็ดความรู้ดูทั้งหมด
เครื่องเสียงรถยนต์ vs เครื่องเสียงบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
สมาร์ททีวี คืออะไร? Apple TV กับ Android TV เลือกอะไรดี
จริงหรือไม่? ลำโพง HiFi ดีกว่า ลำโพงทั่วไป?
HDR คืออะไร? ทำไมทีวีและโปรเจคเตอร์ในยุคปัจจุบันถึงต้องมี!
ค่าโอห์มในหูฟังคืออะไร เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน ?
Lumens และ ANSI Lumens คืออะไร? โปรเจคเตอร์ที่ดี ควรมี Lumens เท่าไหร่!?
ผลงานติดตั้งดูทั้งหมด
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานติดตั้ง ระบบภาพและเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม สำนักงานสุขภาพเขต 4 จังหวัด สระบุรี
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงห้องประชุม กรมควบคุมสิทธิ และเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ผลงานการติดตั้ง ระบบเสียงเวทีการแสดง Live Sound มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ผลงานติดตั้ง ระบบเสียงคาราโอเกะ บ้านลูกค้า